แร่ธาตุสังกะสี (Zinc=Zn) กับบทบาทสำคัญในร่างกาย


1,743 ผู้ชม


  • ร่างกายคนเราจะทำหน้าที่ได้ตาม จำเป็นต้องอาศัยแร่ธาตุสำคัญๆประมาณ 16 ชนิด เพื่อทำหน้าที่ให้ร่างการเจรีญเติบโต หรือ
การสืบพันธุ์ แร่ธาตุสังกะสี ถือว่าเป็นแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการอย่างหนึ่ง แม้จะต้องการเพียงปริมาณที่น้อย (trace elements) แต่ถ้าขาดไป ก็เกิดผลเสียต่อการทำงานของเอนไซม์ในร่างกายหลายๆ ตัวทีเดียว เราลองมาทำความรู้จักแร่ธาตุสังกะสี กันหน่อยดีกว่านะครับ
  • บทบาทการทำงานของแร่ธาตุสังกะสี 
        1. สังกะสีเป็นส่วนหนึ่งของเอนไซม์ Alcohol Dehydrogenase ซึ่งมีหน้าที่กำจัดอัลกอฮอล์ ซึ่งถือเป็นสารพิษต่อตับ 
        2. สังกะสีเป็นส่วนหนึ่งของเอนไซม์ Lactate and Malate Dehydrogenase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ร่างกายใช้ในขบวนการสร้างกำลังงาน 
        3. สังกะสีเป็นส่วนหนึ่งของเอนไซม์ Alkaline Phosphatase ซึ่งเป็นขบวนการในการสร้างกระดูกและฟัน และทำให้เส้นผมและเล็บแข็งแรงไม่หลุดร่วงง่าย 
        4. สังกะสีเป็นส่วนหนึ่งของเอนไซม์ Superoxide Dismutase ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย 
        5. สังกะสีเป็นส่วนหนึ่งของเอนไซม์ Carbonic Anhydrase ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำงานอย่างสมดุลของระบบประสาทสมอง 
        6. สังกะสีช่วยให้เซลล์สามารถจับกับวิตามินเอ ได้ดีขึ้น ทำให้ร่างกายได้ใช้ประโยชน์จากวิตามินเอได้มากขึ้น ทำให้ผิวพรรณดีขึ้นได้ 
        7. สังกะสี มีส่วนสำคัญในขบวนการสังเคราะห์กรด Nucleic acid หรือสารทางพันธุกรรม DNA และ RNA ซึ่งมีความสำคัญในการรักษาแผลหรือสมานแผล 
        8. สังกะสี ช่วยในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยเฉพาะเม็ดเลือดขาว T-cell ( T-lymphocyte) ที่ป้องกันและทำลายเชื้อโรคแปลกปลอมในร่างกาย ดังนั้นสังกะสี จึงเหมาะสำหรับผู้สูงอายุ หรือ ผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง เพราะมีโอกาสติดเชื้อแทรกซ้อนได้สูง 
        9. สังกะสี ช่วยในการควบคุมการทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน ที่ควบคุมระดับน้ำตาล และควบคุมการทำงานของอวัยวะสัมผัส ให้ทำงานให้ดีขึ้นและมีประสิทธิภาพ
  • ร่างกายต้องการสังกะสี ในปริมาณที่แตกต่างกันในแต่ละเพศ วัย และภาวะของร่างกาย ในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำการวิจัยและกำหนดความต้องการของสังกะสี ในร่างกายไว้ดังนี้ 
        -อายุน้อยกว่า 1 ปี ต้องการสังกะสีประมาณ วันละ 3-5 มิลลิกรัม 
        -อายุระหว่าง 1-10 ปี ต้องการสังกะสีประมาณ วันละ 10 มิลลิกรัม 
        -อายุ 11 ปีขึ้นไป ต้องการสังกะสีประมาณ วันละ 15 มิลลิกรัม 
        -สตรีในระยะตั้งครรภ์ ต้องการสังกะสีประมาณ วันละ 20-25 มิลลิกรัม 
        -สตรีในระยะให้นมบุตร ต้องการสังกะสีประมาณ วันละ 25-30 มิลลิกรัม
  • อาหารที่มีแร่ธาตุสังกะสีสูง ได้แก่ อาหารทะเล โดยเฉพาะหอยนางรม เนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ ไข่และนม รวมทั้งธัญพืช โดยร่างกายจะดูดซึมสังกะสีจาก โปรตีนของสัตว์ได้ดีกว่าธัญพืช เพราะสังกะสีในธัญพืชมักอยู่ที่เยื่อหุ้มเมล็ด ซึ่งมักถูกขัดให้หลุดไป และในเส้นใยอาหารจากธัญพืช จะมีสารไฟเทตที่สามารถยับยั้งการดูดซึมแร่ธาตุใด้หลายชนิด ดังนั้นในชาวมังสวิรัติที่ไม่กินนมและไข่ มักจะต้องรับประทานแร่ธาตุสังกะสีเสริม
  • ไม่พบว่าการรับประทานอาหารที่มีสังกะสีมากๆ จะเกิดการสะสมหรือเป็นพิษต่อร่างกายได้ นอกจากคนที่ได้รับอาหารเสริมที่มีสังกะสีปริมาณมากๆ และต่อเนื่องเป็นเวลานาน
  • คำแนะนำในการรับประทานอาหารเสริมสังกะสี คือ ควรเป็นสังกะสีในรูปของ Chelated Zinc ซึ่งจะอยู่ในรูปของเกลือกลูโคเนต หรือ Zinc Gluconate ซึ่งจะดูดซึมแร่ธาตุสังกะสีได้ดีที่สุด และควรรับประทานตอนท้องว่าง(อาจมีอาการคลื่นใส้ อาเจียนได้บ้างในระยะแรก) และควรเสริมด้วยแร่ธาตุทองแดง ( copper) เสริมในอัตราส่วน สังกะสี:ทองแดง=15:1 
    เรียบเรียงและค้นคว้าใหม่โดย นพ.จรัสพล รินทระ ...ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด...4 August,2005

ที่มา : https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=2&sdata=&col_id=155

อัพเดทล่าสุด