เชื้อโรคแอนแทรกซ์(Anthrax) ว่าที่อาวุธชีวภาพในสงครามอนาคต


1,038 ผู้ชม


  • โรคแอนแทรกซ์(Anthrax) เป็นโรคติดเชื้อของสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์กินหญ้า เช่น วัว ควาย แพะ แกะ ที่รู้จักกันแต่โบราณกาล มีการบั�
��ทึกแรกสุด ที่พบในประเทศอียิปต์ และมีการตรวจพบเชื้อนี้ครั้งแรก จากกล้องจุลทรรศน์ ในปี ค.ศ. 1877 แต่ที่ฮือฮาและน่ากลัวที่สุดก็คือ เชื้อโรคนี้อาจจะเป็น อาวุธสงครามเชื้อโรคได้ในอนาคต หลังมีการถล่มตึกเวิลด์เทรดของอเมริกา เมื่อกลางปี 2001 คงไม่สายเกินไปที่จะนำเรื่องนี้มานำเสนอ
  • โรคแอนแทรกซ์(Anthrax) เกิดจากการติดเชื้อ Bacillus anthracis ซึ่งเป็นแบคทีเรียแกรมบวก สร้างสปอร์ภายในเซลล์ ( ดูภาพประกอบที่ 1) โดย อยู่ในรูปสปอร์ได้เป็นเวลานานหลายปี และมีความทนทานต่อความร้อนแห้งที่อุณหภูมิ 140 องศาเซลเซียส ได้นานถึง 1-3 ชั่วโมง และความร้อนที่มีไอน้ำได้ถึง 5 นาทีที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส
  • การติดต่อ: มนุษย์สามารถรับเชื้อ Bacillus anthracis โดยได้รับสปอร์เข้าสู่ร่างกาย ได้ 3 วิธีดังนี้ 
        1. ทางการสัมผัสโดยตรงกับเชื้อโรค จากซากสัตว์ที่ตายจากโรคนี้ หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากสัตว์ เช่น แปรงโกนหนวด อานม้า ผ้าคลุมของม้า หนังสัตว์ ขนสัตว์ 
        2. ทางเดินอาหาร โดยการรับประทานเนื้อสัตว์ที่เป็นโรคนี้ 
        3. ทางลมหายใจ โดยการสูดดมสปอร์ของเชื้อโรคโดยบังเอิญ เช่นที่เกิดขึ้นกับคนไข้ในอเมริกาเมื่อเร็วๆ นี้
  • ลักษณะอาการทางคลินิกที่ตรวจพบ 
        1. โรคแอนแทรกซ์ผิวหนัง( Cutaneous anthrax): โดยเชื้อโรคจะสัมผัสกับผิวหนังที่ถลอก หรือมีบาดแผล พบบ่อยบริเวณแขน และมือ ซึ่งใช้ในการชำแหละสัตว์ หรืออาจพบที่ต้นคอ หน้าอก มีระยะฟักตัว 1-7 วัน แผลมีลักษณะจำเพาะ คือมีลักษณะกลมขนาดเส้นผ่าศูนต์กลาง 1-3 เซนติเมตร เป็นแผลคลุมด้วยสะเก็ดดำล้อมรอบ (eschar) คือมีอาการบวมนุ่มๆ แต่กดไม่บุ๋ม ขอบแข็ง ตรงกลางมีรอยแผลไหม้ดำ ต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้รอยโรคมีอาการอักเสบและกดเจ็บ (ดูภาพประกอบที่ 2 ) 
        2. โรคแอนแทรกซ์ของระบบทางเดินอาหาร (Gastrointestinal anthrax) มักพบจากการรับประทานเนื้อสัตว์ที่ปนเปื้อนสปอร์เชื้อโรค มกมีอาการไข้ คลื่นไส้ เบื่ออาหาร อาจมีอาการปวดท้อง ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ในรายที่มีอาการรุนแรงจะมีการติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งพบได้ประมาณ 20-60% และช๊อคเสียชีวิต ภายใน 2-5 วันหลังจากมีอาการที่รุนแรง 
        3. โรคแอนแทรกซ์ของระบบทางเดินหายใจ ( Inhalational anthrax,Woolsorter's disease) มีความสำคัญมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะในอเมริกา เนื่องจากผู้ก่อการร้ายใช้สปอร์ของเชื้อ Bacillus anthracis โรยตามจดหมายและพัสดุภัณฑ์ ผู้ป่วยได้รับการสูดหายใจเอาสปอร์เข้าไปในร่างกาย ผู้ป่วยจะมีอาการทางคลินิกได้ 2 ระยะ ก็คือ ระยะแรกใน 1-2 วัน อาจมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ มีไข้ ปวดเมื่อยตามตัว และอาจปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย และไอแห้งๆ อาจมีอาการแน่นหน้าอก ตรวจร่างกายมักไม่พบความผิดปกติ อาการอาจหายๆไปภายใน 2-3 วัน หรืออาจจะมีอาการมากขึ้นหลังจากนั้นอีก 2-4 วัน โดยทำให้เกิดการติดเชื้อทางระบบหายใจรุนแรง หายใจไม่ออก เหนื่อยหอบ ขาดออกซิเจน ตัวเขียว และอาจถึงแก่ชีวิตได้ถึง 90% ภายใน 24-36 ชั่วโมง โดยเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และเลือดออกในสมอง ถ้าทำการรักษาไม่ทันท่วงที
  • การรักษาและป้องกัน: 
        - โดยทั่วไปเชื้อโรคแอนแทรกซ์(Anthrax) จะไวต่อยากลุ่มเพนนิซิลิน กรณีโรคแอนแทรกซ์(Anthrax) ที่ผิวหนังการให้ยารับประทานด้วย PenV 250 มก.ทุก 6 ชั่วโมง เป็นเวลานาน 5-7 วันก็ทำให้เชื้อโรคหมดไปได้ใน 24 ชม.แรกและอาการยุบบวมสะเก็ดหลุดอีก 3-7 วันต่อมา 
        - แต่ในกรณีที่เป็นรุนแรง หรือติดเชื้อแทรกซ้อน เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือติดเชื้อในกระแสเลือด อาจจะต้องฉีดยาเข้าเส้นแทน และนอนรพ. 
        - วัคซีนป้องกันโรคแอนแทรกซ์(Anthrax) มักจะฉีดให้แก่คนที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง เช่น คนที่ทำงานเกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์ โดยประกอบด้วย การฉีด 6 ครั้ง ใต้ผิวหนังสัปดาห์ที่ 0,2,4,6,12,18 และกระตุ้นปีละครั้ง - โรคแอนแทรกซ์(Anthrax) ในประเทศไทยเป็นโรคที่ต้องแจ้งความต่อข่ายงานเฝ้าระวังโรค กรณีที่ตรวจพบ 
    เรียบเรียงและค้นคว้าใหม่โดย นพ.จรัสพล รินทระ ...ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด...8 August,2005

ที่มา : https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=2&sdata=&col_id=187

อัพเดทล่าสุด