| - การรับประทานยาคุมกำเนิด ทำให้อีตราการเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมหรือไม่ ได้มีข้อสรุปในปี 2529 ว่าไม่มีความสัมพันธ์กับมะ��
|
�ร็งเต้านม แต่สืบเนื่องจากในปี 2539 ได้มีรายงานการรวบรวมผลการศึกษาทางระบาดวิทยา 54 รายงานทางการแพทย์ ว่าหญิงที่รับประทานยาคุมกำเนิดมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น 1.24% แต่อย่างไรก็ยังมีข้อกังขากันอยู่ เพราะการศึกษานั้นเป็นการรวบรวมการศึกษาหลายชิ้นที่มีรูปแบบการวิจัยและคุณภาพการวิจัยที่แตกต่างกันมารวบรวมไว้ด้วยกัน - Marchbanks PA และคณะในอเมริกา ได้ทำการวิจัยใหม่อีกครั้ง ในเรื่อง การรับประทานยาคุมกำเนิด ทำให้อีตราการเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมหรือไม่ โดยได้ทำ case control ด้วยทั้งในกลุ่มที่เคยรับประทานยาคุมกำเนิดมาก่อนและกลุ่มที่กำลังรับประทานยาคุมอยู่ โดยทำการศึกษาจากหญิงอายุ 35-64 ปี โดยเป็นกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งเต้านม จำนวน 4,575 ราย และกลุ่มเปรียบเทียบกับประชาชนทั่วไป จำนวน 4,682 ราย พร้อมทั้งได้มีการสอบถามประวัติ ย้อนหลังในเรื่องการรับประทานยาคุมกำเนิด
- ผลการศึกษาพบว่า ในกลุ่มคนที่ขณะนี้ยังรับประทานยาคุมกำเนิดอยู่ มีอัตราเสี่ยงเท่ากับ 1% ส่วนกลุ่มที่เคยรับประทานยาคุมกำเนิดมาก่อน มีอัตราเสี่ยง ต่อมะเร็งเต้านม เท่ากับ 0.9% คณะผู้วิจัย จึงสรุปว่า การรับประทานยาคุมกำเนิดในปัจจุบันหรือเคยกินมาก่อน ไม่มีโอกาสเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
- นอกจากนี้ยังได้สรุปเพิ่มเติมว่า ในคนผิวดำ คนผิวขาว หรือ คนที่รับประทานยาคุมด้วยขนาดเอสโตรเจนมากน้อย หรือ คนที่รับประทานนานมากน้อยเพียงใด หรือ คนที่มีประวัติครอบครัวมีมะเร็งเต้านม หรือ เริ่มรับประทานยาคุมตั้งแต่อายุน้อยๆ ก็ไม่ได้ทำให้อัตราเสี่ยงเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด
- จากผลการศึกษาดังกล่าว ทำให้นักวางแผนครอบครัว ผู้หญิงที่รับประทานยาคุมกำเนิด ตลอดจนบริษัทยาที่ผลิต คงจะโล่งอกขึ้นมาหน่อยนะครับ นอกจากนี้ข้อดีนอกจากการป้องกันการตั้งครรภ์แล้ว ยังมีรายงานเพิ่มเติมว่า ช่วยลดอัตราการเกิดมะเร็งรังไข่ และมะเร็งเยื่อบุมดลูกด้วย แต่อย่างไรก็ดี ยาคุมกำเนิดก็ยังมีข้อเสียอยู่บ้าง คือ อาจจะทำให้เกิดผลข้างเคียงอย่างอื่นได้ (แต่น้อย) อาทิ เส้นเลือดดำอุดตันที่ขา (Deep vein thrombosis) กล้ามเนื้อ หัวใจขาดเลือด ภาวะเส้นเลือดอุดตันถุงลมปอด (Pulmonary embolism) เส้นเลือดอุดตันที่สมอง หรือมะเร็งตับ หรือมะเร็งปากมดลูกในรายทีเคยติดเชื้อไวรัส human papilloavirus
- แต่เมื่อชั่งน้ำหนักระหว่างข้อดีของการป้องกันการตั้งครรภ์ และข้อเสียที่กล่าวแล้ว ข้อดีของยาคุมกำเนิดก็ยังมากกว่าข้อเสีย หรือผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดได้ แต่ก็คาดว่าในอนาคต อาจจะมีการพัฒนายาคุมกำเนิดใหม่ ให้มีผลข้างเคียงน้อยสุดและได้ผลมากสุด ออกมายังท้องตลาดเรื่อยๆ
ค้นคว้าและเรียบเรียงใหม่ โดยนพ.จรัสพล รินทระ เอกสารอ้างอิง.............Oral contraceptives pill and the risk of breast cancer, N Eng J Med 2002;346:2025-32 |
ที่มา : https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=2&sdata=&col_id=215