สาระน่ารู้ เรื่อง อาการสะอึก ( Hiccup)


934 ผู้ชม


  • สะอึก เป็นอาการที่พบได้บ่อย เกิดจากกล้ามเนื้อหายใจ ส่วนกระบังลมและกล้ามเนื้อซี่โครงเกิดการหดตัวอย่างรุนแรง ทำให
้เกิดการหายใจเข้าอย่างแรง แต่ถูกหยุดชะงักด้วยการปิดของช่องสายเสียง ทำให้เกิดเสียงดังขึ้น
  • กลไกการเกิดการสะอึก ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าอาการนี้อาจจะเป็นการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติชนิดหนึ่ง โดยศูนย์กลางของการสะอึก (Hiccup Center) จะอยู่บริเวณก้านสมองบริเวณ Medulla oblongata แล้วเชื่อมระบบประสาทต่อกับระบบทางเดินอาหารส่วนต้น ด้วยเส้นประสาท Vagus nerve และ Phrenic nerve
  • การสะอึกที่เกิดขึ้นปกติ มักจะมีสาเหตุจากการกระตุ้นหลอดอาหารส่วนบนขณะกลืนอาหาร โดยมากแล้วอาการสะอึกมักเกิดขึ้นไม่นาน ประมาณ 2 – 3 นาทีก็จะหายไป แต่ถ้าคุณสะอึกนานกว่านั้น เช่นเป็นชั่วโมงๆ หรือครึ่งค่อนวัน โดยเฉพาะเกิดร่วมกับอาการเหล่านี้ เช่น สะอึกร่วมกับอาการปวดท้องอย่างรุนแรงหรือถ่ายเป็นเลือด หรือ สะอึกนานมากกว่า 8 ชั่วโมงในผู้ใหญ่ และมากกว่า 3 ชั่วโมงในเด็ก สะอึกทุกครั้งหลังจากรับประทานยาบางชนิด คงต้องปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุอย่างอื่น
  • สาเหตุของอาการสะอึกที่ไม่ธรรมดา อาจจะเกิดจากโรคทางกายอย่างอื่นๆ ดังนี้ 
    1. โรคทางเดินอาหาร กระบังลม และช่องท้อง เช่น กระเพาะลำไส้อุดตัน ลำไส้โป่งพอง เยื่อบุช่องท้องอักเสบ 
    2. โรคในช่องอกที่รบกวนต่อเส้นประสาท Vagus nerve,Phrenic nerve หรือกระบังลม เช่น การกลืนอาหารอย่างรีบร้อน อาหารติดคอ ปอดอักเสบ 
    3. โรคทางระบบประสาทที่มีรอยโรคบริเวณก้านสมอง เช่น หลอดเลือดสมองตีบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ พิษสุราเรื้อรัง 
    4. จากยาบางชนิด เช่น ยาปฏิชีวนะกลุ่ม Beta-lactans,macrolides,Fluoroquinolone หรืออัลกอฮอล์ 
    5. ภาวะทางจิตใจ เช่น เครียด หรืออาการแสร้งทำ (ซึ่งพบบ่อยในผู้หญิง จากสาเหตุทางจิตใจมากกว่าร้อยละ 90) 
    6. ภาวะภายหลังการผ่าตัดบางอย่าง เช่น ผ่าตัดช่องท้อง หรือผ่าตัดช่องอก
  • แนวทางการแก้ไข 
    1. แต่ถ้าเป็นการสะอึกทั่วๆไป เราสามารถจัดการกับตัวเองได้ง่ายๆดังนี้ 
    1.1 ใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้จับลิ้นเอาไว้แล้วดึงออกมาข้างหน้าแรงๆ เพื่อช่วยเปิดหลอดลมที่ปิดอยู่ 
    1.2 กลั้นหายใจเอาไว้โดยการนับ 1 – 10 แล้วหายใจออก จากนั้นดื่มน้ำตามทันที 
    1.3 ดื่มน้ำเย็นจัดช้าๆ โดยดื่มตลอดเวลา และกลืนติดๆ กัน ไปเรื่อยๆ จนกว่าอาการสะอึกหาย หรือจนกลั้นหายใจไม่ได้ 
    1.4 เขี่ยภายในรูจมูกให้จาม 
    1.5 ให้พยายามกลืนน้ำตาลทรายขาวประมาณ 1-2 ช้อนโต๊ะ โดยไม่ต้องใช้น้ำ 
    1.6 ทำให้เกิดอารมณ์รุนแรง เช่น โกรธ ตื่นเต้น หรือกลัว 
    1.7 ถ้าทำดังกล่าวแล้วไม่ดีขึ้น อาจจะต้องพบแพทย์เพื่อใช้ยาบางตัวช่วย เช่น Lagactil,Baclofen หรือกลุ่มยาช่วยย่อย เช่น Cisapride,Omperazole เป็นต้น 
    2. ถ้าดำเนินการในข้อ 1 แล้วไม่ดีขึ้น อาจจะต้องพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุโรคอย่างอื่นร่วมด้วย แล้วแก้ไขตามสาเหตุ หรือทำการผ่าตัดทางศัลยกรรมประสาท 
    เรียบเรียงและค้นคว้าโดย นพ.จรัสพล รินทระ.....................29 July,2003

ที่มา  : https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=2&sdata=&col_id=247

อัพเดทล่าสุด