คำประกาศสิทธิพื้นฐานของผู้ป่วย 10 ประการ ที่ควรรู้ !


1,605 ผู้ชม


  • "เกิด-แก่-เจ็บ-ตาย" คำกล่าวข้างต้นล้วนเป็นธรรมชาติแท้ของสรรพสัตว์ทั้งหลายบนโลกใบนี้ กล่าวสำหรับมนุษย์ เ��
�าเมื่อเกิดขึ้นมาย่อมหนีไม่พ้นความเสื่อมของสังขารที่แสดงออกในรูปของอาการ"ป่วย-ไข้"และ เป็นที่แน่นอนเมื่อคนเราต้องเผชิญกับ"ความเจ็บป่วยไข้ "และหากยังไม่อยาก"ตาย" เกือบร้อยทั้งร้อยต้องหันหน้า ไปพึ่ง "แพทย์" หวังเยียวยารักษากายให้หายจากความป่วยที่ทรมาน
  • หากจะพูดให้ถูกจุดงานของแพทย์ก็คือ"การซ่อมสุขภาพ"ให้ผู้เจ็บไข้ แต่ช่วงที่ผ่านมามีข่าวอยู่บ่อยครั้งว่าคนป่วยหลายรายลุกขึ้นมาฟ้องหมอ-ฟ้องโรงพยาบาล ถามหาความรับผิดชอบจากความบกพร่องในการรักษาพยาบาลกันอุตลุด ส่งผลให้เกิดวิกฤติศรัทธาระหว่างคนไข้กับผู้ประกอบการ วิชาชีพด้านสุขภาพอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเพื่อให้ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ประกอบการวิชาชีพด้าน สุขภาพกับผู้ป่วยตั้งอยู่บนพื้นฐานความเข้าใจอันดี จึงขออาสาบอกกล่าวถึง "สิทธิของ ผู้ป่วย" ที่ประชาชนทุกคนพึงได้รับโดยมุ่งหวังที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจอันดี ลดความขัดแย้งและนำไปสู่ความไว้วางใจซึ่งเป็นพื้นฐานที่นำไปสู่การรักษาพยาบาลที่ดีในที่สุด
  • "สิทธิของผู้ป่วย" ถูกบัญญัติขึ้นเพื่อมุ่งหวังให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างคนไข้กับผู้ประกอบการวิชาชีพด้านสุขภาพ จนนำไปสู่การรักษาพยาบาลที่ดีที่สุดสำหรับตัวผู้ป่วยเอง คำกล่าวอ้างสิทธิมีดังนี้ 
    ข้อ 1 ผู้ป่วยทุกคนมีสิทธิพื้นฐานที่จะได้รับบริการด้านสุขภาพ ตามที่ บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
    "คำอธิบาย" รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มีมาตราสำคัญที่เกี่ยวข้องกับ สุขภาพคนไทยโดยตรงคือ บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการทางสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ โดยไม่ต้องเสียค่า ใช้จ่าย ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ 
    2.ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับการบริการจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ เนื่องจากความแตกต่าง ด้านฐานะ เชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา ลัทธิการเมือง เพศอายุและลักษณะ ของความเจ็บป่วย 
    "คำอธิบาย" หลักการของข้อนี้เป็นหลักการที่แพทย์ทั่วโลกยอมรับและถือปฏิบัติ ดังนั้นผู้ป่วยทุกคน มีสิทธิที่จะได้รับบริการสุขภาพในมาตรฐานที่ดีที่สุด ตามฐานานุรูปโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ 
    3.ผู้ป่วยที่ขอรับบริการด้านสุขภาพ มีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลอย่างเพียงพอและชัดเจนจาก ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเลือกตัดสินใจ ในการยินยอมหรือไม่ยินยอมให้ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพปฏิบัติต่อตน เว้นแต่เป็นการช่วยเหลือรีบด่วน หรือจำเป็น 
    "คำอธิบาย" ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพมีหน้าที่ต้องอธิบาย ให้ผู้ป่วยทราบถึงอาการ,การ ดำเนินโรค,วิธีการรักษา ความยินยอมของผู้ป่วยนั้นจึงจะมีผลตามกฎหมาย ซึ่งเรียกว่า"ความยิน ยอมที่ได้รับการบอกกล่าว "(Informed consent) ยกเว้นการช่วยเหลือในกรณีรีบด่วน ฉุกเฉิน ซึ่งจำเป็นต้องกระทำเพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วย 
    4.ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะฉุกเฉินเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต มีสิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือรีบด่วนจาก ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยทันที ตามความจำเป็นแก่กรณี โดยไม่คำนึงว่าผู้ป่วยจะร้องขอความ ช่วยเหลือหรือไม่ 
    "คำอธิบาย" การช่วยเหลือในลักษณะเช่นนี้เป็นความจำเป็นในการช่วยชีวิต แม้ว่าจะไม่ได้ รับการร้องขอจากผู้ป่วยซึ่งบ่อยครั้งที่ไม่อยู่ในสภาพมีสติพอที่จะร้องขอได้ ถือว่าเป็นการกระทำโดย ความจำเป็น ไม่มีความผิด การปฏิเสธไม่ให้ความช่วยเหลือ นับว่าเป็นการละเมิดข้อบังคับแพทย สภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรมและอาจผิดกฎหมายอาญา มาตรา 374 ด้วย 
    5.ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะทราบชื่อ-สกุล และประเภทของผู้ประกอบวิชาชีพ ด้านสุขภาพ ที่เป็นผู้ให้ บริการแก่ตน
    "คำอธิบาย" ในสถานพยาบาลต่างๆ จะมีผู้ประกอบวิชาชีพ ด้านสุขภาพต่างๆ หลายสาขาปฏิบัติ งานร่วมกัน ซึ่งบ่อยครั้งก่อให้เกิดความไม่แน่ใจ และความไม่เข้าใจแก่ผู้ป่วย ดังนั้นการกำหนดให้ ผู้ป่วยมีสิทธิ์ที่จะสอบถามชื่อ และประเภทของผู้ประกอบวิชาชีพที่ให้บริการแก่ตน จึงช่วยผู้ป่วยเกิด ความเข้าใจและสามารถตัดสินใจเพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากผู้ ให้บริการซึ่งไม่มีคุณภาพเพียงพอ 
    6.ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะขอความเห็นจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพอื่น ที่มิได้เป็นผู้ให้บริการแก่ตน และมีสิทธิในการขอเปลี่ยนผู้ให้บริการและสถานบริการได้ 
    "คำอธิบาย"ในปัจจุบันผู้ป่วยยังมีความเกรงใจและไม่ตระหนักถึงสิทธินี้ทำให้เกิดความไม่เข้าใจและความขัดแย้ง ในขณะเดียวกันผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพบางรายก็อาจมีความรู้สึกไม่พอใจ เมื่อผู้ป่วยขอความเห็นจากผู้ให้บริการสุขภาพผู้อื่น การกำหนดสิทธิผู้ป่วยในประเด็นนี้จึงมีประโยชน์ ที่จะลดความขัดแย้งและเป็นการรับรองสิทธิผู้ป่วยที่จะเลือกตัดสินใจด้วยตนเอง 
    7.ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับการปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง จากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดย เคร่งครัดเว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยหรือการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย 
    "คำอธิบาย"อย่างไรก็ตาม มีข้อยกเว้นในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็นที่เหนือกว่าเช่นการ ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย หรือการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ เพื่อความสงบเรียบร้อยและความ มั่นคงของประชาชนหรือในกรณีที่คุ้มครองอันตรายร้ายแรงของบุคคลอื่น 
    8.ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลอย่างครบถ้วน ในการตัดสินใจเข้าร่วมหรือถอนตัว จากการเป็นผู้ถูกทดลองในการทำวิจัยของ ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ 
    "คำอธิบาย"ในปัจจุบันความจำเป็นในการทดลองในมนุษย์เพื่อความก้าวหน้าทางการแพทย์มี มากยิ่งขึ้น การรับรองสิทธิผู้ป่วยด้านนี้เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติว่าความยินยอมจะต้องเป็นความยิน ยอมภายหลังจากที่ได้รับทราบข้อมูลต่างๆ อย่างครบถ้วนแล้วและแม้ว่าจะตัดสินใจยินยอมแล้วก็มี สิทธิที่จะเลิกได้เพื่อคุ้มครองผู้ถูกทดลองให้ได้รับความปลอดภัย 
    9.ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเฉพาะของตน ที่ปรากฏในเวชระเบียน เมื่อร้องขอ ทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวต้องไม่เป็นการละเมิด สิทธิส่วนตัวของบุคคลอื่น
    "คำอธิบาย"การที่แพทย์บันทึกประวัติการรักษาต่างๆ ของผู้ป่วยในเวชระเบียน นับเป็นเครื่อง มือที่สำคัญในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องและมีคุณภาพ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่ปรากฏในเวช ระเบียนนั้น เป็นข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งเจ้าของประวัติมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลนั้นได้ 
    10. บิดาหรือมารดา หรือผู้แทนโดยชอบธรรมอาจใช้สิทธิแทนผู้ป่วย ที่เป็นเด็กอายุ ยังไม่ เกิน 18 ปีบริบูรณ์, ผู้บกพร่องทางกายหรือจิตซึ่งไม่สามารถใช้สิทธิด้วยตนเองได้ 
    "คำอธิบาย"เด็กหมายถึงมนุษย์ทุกคนที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี เว้นแต่จะบรรลุนิติภาวะก่อนหน้านั้น ตามกฎหมายที่ใช้บังคับแก่เด็กจึงได้กำหนดไว้ให้บิดา-มารดา หรือผู้แทนอาจใช้สิทธิแทนผู้ป่วยเด็ก สำหรับผู้บกพร่องทางกายหรือทางจิตผู้ดูแลผู้ป่วยย่อมสามารถใช้สิทธิต่างๆ แทนผู้ป่วยได้ "สิทธิของผู้ป่วย"ถูกบัญญัติขึ้นเพื่อมุ่งหวังให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างคนไข้กับผู้ประกอบ การวิชาชีพด้านสุขภาพ จนนำไปสู่การรักษาพยาบาลที่ดีที่สุดสำหรับตัวผู้ป่วยเอง
  • ในปัจจุบัน ได้มีระเบียบและข้อบังคับกำหนดให้ทุกรพ.และสถานบริการทางการแพทย์ (คลินิก) ทุกที่ ต้องติดประกาศสิทธิของผู้ป่วย 10 ประการนี้ให้เห็นได้ชัดเจน ซึ่งเชื่อว่าหากผู้ป่วยทุกคนใช้สิทธิของผู้ป่วยอย่างครบถ้วน ครบครัน ปัญหาคนเจ็บ คนไข้ลุกขึ้น มาฟ้องหมอ-ฟ้องโรงพยาบาล จะลดลงไปอีกมากโขเลยทีเดียว 
    เรียบเรียงและค้นคว้าโดย นพ.จรัสพล รินทระ................................30 June,2005 
    อ้างอิงจากคำประกาศของแพทยสภา กระทรวงสาธารณสุข

ที่มา  : https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=2&sdata=&col_id=282

อัพเดทล่าสุด