โทษของน้ำอัดลม ประโยชน์ของน้ำอัดลม บทความเกี่ยวกับ การตรวจคุณภาพน้ำอัดลม


1,397 ผู้ชม


  • โรคเก๊าท์ (Gout/ Gouty arthritis) เป็นภาวะของโรคที่เกิดจากการมีกรดยูริค (Uric acid) ในเลือดมีปริมาณสูงมากผิดปกติ( มากกว่า 7 Mg% ) จนไม่สามาร��
�อยู่ในเลือดในรูปสารละลายได้ จึงเกิดการตกผลึกสะสมตามที่ต่าง ๆ เช่น ข้อ ทำให้ข้ออักเสบ หรือ ทำให้เกิดก้อนขึ้นตามร่างกาย อาการของGoutที่สำคัญคือ ข้ออักเสบ ปวดข้อรุนแรงซึ่งเกิดขึ้นค่อนข้างเร็ว และมักจะมีอาการกำเริบขึ้น เมื่อรับประทานอาหารที่มีกรดยูริคสูง เช่น เครื่องในสัตว์ทุกชนิด กะปิ เนื้อสัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ พืชผักยอดอ่อน เช่น หน่อไม้ ถั่วงอก สะเดา ยอดกระถิน ยอดผักอ่อน แตงกวา ชะอม น้ำหรือซุปที่สกัดจากเนื้อหรือน้ำต้มกระดูก กุ้ง หอย ปลาซาดีน เป็นต้น
  • Choi HK และคณะวิจัย จากฮ่องกง พบว่านอกจากอาหารกลุ่มดังกล่าวแล้ว ประเภทเครื่องดื่มน้ำอัดลมหรือฟรุคโตส จะมีผลต่อการเกิด โรคเก๊าท์ ด้วยหรือไม่ เพราะปัจจุบัน ได้มีการบริโภคเครื่องดื่มประเภทนี้กันมากขึ้นทั่วโลก เพราะเครื่องดื่มเหล่านี้จะมีฟรุคโตส ที่ทำให้กรดยูริคในเลือดสูงขึ้นได้ จึงได้ทำการทดลองวิจัยดังนี้ ได้นำบุคคลากรทางการแพทย์ เพศชาย จำนวน 46,393 คนมาสัมภาษณ์เกี่ยวกับความถี่ในการดื่มน้ำอัดลม ทั้งแบบผสมน้ำตาลแท้และน้ำตาลเทียม หรือน้ำผลไม้
  • ผลการศึกษาในช่วง 12 ปี พบว่ามีอุบัติการณ์การเกิดโรคเก๊าท์จำนวน 755 ราย ยิ่งดื่มมากก็ยิ่งเสี่ยงต่อการเกิดโรคมากขึ้น อย่างมีนัยสำคัญ เช่น พบว่า ถ้าดื่มมากกว่าสัปดาห์ละ 5-6 ส่วน (serving) จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 1.29 เท่า เมื่อเทียบกับคนที่ดื่มสัปดาห์ละ 1 ส่วน นอกจากนี้ยังพบว่า ฟรุคโตส ที่ทำให้กรดยูริคในเลือดสูงขึ้นได้ เพราะมีการเพิ่มการแปลงพลังงาน ATP ไปเป็น ADP ซึ่งเป็นตัวตั้งต้นของการเกิดกรดยูริคในร่างกาย
  • จากผลการวิจัยดังกล่าว แม้จะมีข้อจำกัดที่การรับประทานอาหาร ได้เฉพาะจากการซักประวัติ ซึ่งอาจจะมีความคลาดเคลื่อนได้ แต่ก็พอเป็นแนวทางสำหรับการดื่มน้ำอัดลม น้ำหวาน หรือน้ำผลไม้หวานๆ ให้มีปริมาณที่พอดีๆ มากกว่าการดื่มแบบไม่จำกัด เพราะนอกจากจะทำให้อ้วนได้ง่ายแล้ว ยังเสี่ยงต่อการเกิดข้ออักเสบได้ง่ายด้วย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มี ประวัติโรคเก๊าท์ หรือมีภาวะกรดยูริค (Uric acid) ในเลือดมีปริมาณสูงมากผิดปกติ
  • เรียบเรียงและค้นคว้าโดย นพ.จรัสพล รินทระ.....10 April,2008
  • เอกสารอ้างอิง..Chot HK,et all.soft drinks,fructost comsumtion,and the risk of gout in men:prospective cohort stusy.BMJ 2008;309-312

ที่มา : https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=2&sdata=&col_id=326

อัพเดทล่าสุด