แคลเซียม กับบทบาทอาหารเสริม


1,226 ผู้ชม


  • ในผู้สูงอายุ หรือในสตรีวัยหมดประจำเดือน มักจะขาดแคลนแคลเซียม จึงเกิดปัญหากระดูกแตกหักง่าย หลังงอ ปวดหลัง และเกิด�
��รคกระดูกพรุน (Osteoporosis) เนื่องจากความสามารถในการดูดซึมแคลเซียมในทางเดินอาหารลดลง โดยมีปัจจัยด้านเพศ เชื้อชาติ อายุ และขนาดรูปร่างเป็นปัจจัยด้วย แต่ก็มีปัจจัยด้านอื่น ที่มีผลต่อการดูดซึมแคลเซียมได้ลดลง ได้แก่ 
    1. การขาดวิตามินดี เพราะวิตามินดี มีส่วนช่วยให้การดูดซึมแคลเซียมดีขึ้น 
    2. ความผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคกระเพาะอาหาร หรือลำไส้อักเสบ มะเร็งลำไส้ การติดเชื้อในทางเดินอาหาร ท้องเสีย 
    3. ภาวะความเป็นกรดของกระเพาะสูงเกินไป ทำให้แคลเซียมแตกตัวเป็นอิออนมาก และดูดซึมน้อยลง 
    4. ความเครียด ทำให้กรดในกระเพาะหลั่งมากขึ้น 
    5. การรับประทานอาหารพวกไขมัน หรือโปรตีนในปริมาณสูงๆ ทำให้ไปบดบังการดูดซึมแคลเซียมในทางเดินอาหาร 
    6. อาหารบางอย่างที่ให้กรด Oxalic acid ในปริมาณสูง ทำให้กรดนี้ไปจับกับแคลเซียมในทางเดินอาหารทำให้การดูดซึมเกิดขึ้นไม่ได้ ซึ่งกรด Oxalic acid นี้พบได้มากใน ผักขม โกโก้ ถั่วเขียว เป็นต้น 
    7. การได้รับฟอสฟอรัสมากเกินไป จึงเกิดการแย่งกันดูดซึมกับแคลเซียม 
    8. คาเฟอีนและแอลกอฮอร์ จะทำให้ร่างกายเร่งการขับถ่ายแคลเซียมออกจากร่างกายได้ 
    9. การสูบบุหรี่ ทำให้สตรีเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนเร็วขึ้น และทำให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลง
  • อาการขาดแคลเซี่ยม 
        1. เกิดความผิดปกติของกระดูกและฟัน ทำให้กระดูกเปราะ งอ หักง่าย และฟันผุ 
        2. ทำให้เกิดการปวดเกร็งในช่องท้องอย่างมาก ในระหว่างการมีประจำเดือนในผู้หญิง 
        3. ทำให้เกิดการกระตุกของกล้ามเนื้อ มีอาการมือจีบเกร็ง 
        4. กล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติ ทำให้ความดันโลหิตไม่ปกติ 
        5. ทำให้ระบบประสาทและอวัยวะรับสัมผัสผิดปกติ ทำให้นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย และอาจเกิดภาวะซึมเศร้าได้ 
        6. อาจเกิดอาการชาหรือเจ็บกล้ามเนื้อ มีตะคริวได้บ่อยๆ
  • บุคคลที่ควรได้รับการรับประทานแคลเซียมเสริม 
        1. ผู้สูงอายุ ตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เพราะมีอัตราการดูดซึมแคลเซียมลดลงประมาณ 30-50 % จึงมีโอกาสเกิดภาวะกระดูกเสื่อม แตกหักง่ายได้ถึง 70-90% 
        2. สตรีวัยหมดประจำเดือน 
        3. ผู้ที่ขาดแคลเซียมจากภาวะโรคประจำตัว เช่น หลังผ่าตัดต่อมพาราไทรอยด์ หรือต่อมไทรอยด์ที่มีผลข้างเคียง 
        4. สตรีมีครรภ์
  • ปริมาณแคลเซียมที่ต้องการ: ในภาวะปกติ ร่างกายต้องการแคลเซียมประมาณ 800-1000 มก.ต่อวัน แต่ในกรณีของบุคคลที่ต้องรับประทานเสริม ตามตัวอย่างข้างบน แนะนำให้รับประทานเพิ่มเป็น 1,200-1,500 มก.ต่อวัน โดยการเลือกซื้อในท้องตลาดมีได้หลายรูปแบบ ให้เลือกดูจากปริมาณธาตุแคลเซียม ที่ระบุต่อเม็ด โดยพบว่าแคลเซียมซิเตรท จะแตกตัวและดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ดีกว่า แคลเซียมคาร์บอเนต
  • แหล่งอาหารที่มีแคลเซียมสูง ได้แก่ นมวัว นมแพะ เนยแข็ง ผักใบเขียว กระหล่ำใบ ผักกาด ถั่วเหลือง เมล็ดทานตะวัน โยเกิร์ต ปลาซาดีนพร้อมกระดูก บร็อคเคอรี่ สาหร่าย ถั่วอัลมอนต์ เป็นต้น 
    เรียบเรียงและค้นคว้าใหม่โดย นพ.จรัสพล รินทระ ...ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด...4 August,2005

ที่มา : https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=1&sdata=&col_id=171

อัพเดทล่าสุด