Argireline ครีมลดริ้วรอยตัวใหม่ ! ที่ออกฤทธิ์คล้าย Botox


2,048 ผู้ชม


  • ปัญหาริ้วรอยต่างๆ เป็นความกังวลอย่างหนึ่งของคนเราเมื่อวัยเริ่มร่วงโรย ทำให้ได้มีการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ มากมาย �
��พื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาริ้วรอยให้ดีขึ้น โดยได้มีการศึกษา ค้นคว้า หาสาเหตุของปัญหาของการเกิดริ้วรอย และในปัจจุบัน ได้พบว่า สาเหตุหนึ่งที่สำคัญของการริ้วรอย หรือร่องลึกบนใบหน้า ก็คือ เกิดจากความตึงตัวของเซลล์ผิวหนัง ที่มีผลไปดึงรั้งกล้ามเนื้อที่ผิวหนังทำให้เกิดริ้วรอยร่องลึกบนใบหน้าขึ้น
  • จากการศึกษาสาเหตุของตึงตัวของเซลล์ผิวหนังดังกล่าว พบว่าเกี่ยวข้องกับกลุ่มโปรตีนชนิดหนึ่ง มีชื่อว่า SNARE COMPLEX ที่มีฤทธิ์กระตุ้นสารสื่อประสาทที่ชื่อ Calcium-dependent catecholamine ที่มีผลต่อการส่งผ่านสัญญาณไปสู่กล้ามเนื้อให้มีการหดตัว ที่ดึงให้เกิดริ้วรอยร่องลึก โดยเฉพาะในบริเวณที่บอบบาง และมีการเคลื่อนไหวหดเกร็งของกล้ามเนื้อบ่อยๆจากการแสดงสีหน้า เช่น รอบดวงตา หน้าผาก หัวคิ้ว
  • ในการแก้ปัญหาดังกล่าวจึงได้มีการค้นคว้าหาสารเพื่อไปยับยั้งการทำงานของ SNARE COMPLEX และ CATECHOLAMINES เพื่อลดการตึงตัว และการดึงรั้งของกล้ามเนื้อ โดยในทางการแพทย์ ได้มีการค้นพบสาร BOTOX ซึ่งใช้ฉีดแก้ปัญหา และเป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบัน โดยสารBotox นี้ จะประกอบด้วยสาร Botulinum toxin ชนิด A ซึ่งเป็นกลุ่มโปรตีนสายยาวจากแบคทีเรียที่มีคุณสมบัติในการทำลาย SNARE COMPLEX และยับยั้งการส่งสัญญาณของสาร CATECHOLAMINES ( Acetylcholine) ทำให้เกิดการเป็นอัมพาตชั่วคราวของเซลล์ Botox เป็นสารที่ใช้ฉีดบริเวณที่ต้องการ แต่ก็ต้องควบคุมการใช้งานโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เพราะถ้าผู้ฉีดขาดความชำนาญ อาจจะมีผลข้างเคียงได้ เช่น คิ้วตก หลับตาไม่สนิท หรือกล้ามเนื้ออัมพาตชั่วคราวในตำแหน่งที่ไม่ต้องการ ซึ่งได้เขียนบทความเรื่องสาร Botox โดยละเอียดไว้แล้วที่นี่ (https://www.clinicneo.co.th/column/col.php?cid=118)
  • จากการศึกษาค้นคว้าสาเหตุดังกล่าว และผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดได้จากการฉีดสาร Botox งานวิจัยด้านคอสเมติค จึงได้มีการศึกษาและค้นคว้าสาร ที่ให้ผลในแนวทางเดียวกันกับ Botox แต่จะเน้นในแบบเป็นกลุ่มครีมหรือเจลที่ใช้ทาแทน และในปัจจุบันก็ได้ค้นพบสาร ARGIRELINE ซึ่งเป็นกลุ่มโปรตีนกรดอะมิโนขนาดเล็กที่มีความบริสุทธิ์มากกว่า 80 % ที่ประกอบด้วยกรดอะมิโนสำคัญคือ Glutamic Acid , Methionine และ Arginine โดยจะไปรบกวนการรวมตัวและการทำงานของสาร SNARE COMPLEX ทำให้ลดหรือยับยั้งการหลั่งสารสื่อประสาท CATECHOLAMINES ( Acetylcholine) ส่งผลให้กล้ามเนื้อบนใบหน้าผ่อนคลายริ้วรอยต่างๆ จึงลดลงได้ แม้จะมีประสิทธิภาพด้อยกว่าสาร Botox แต่ก็ถือว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ด้านการแก้ไขริ้วรอย
  • โดยมีการทดสอบการยับยั้ง SNAR COMPLEX และ CATECHOLAMINES ในห้องทดลองของสาร ARGIRELINE กับอาสาสมัคร พบว่าใน 1 สัปดาห์ กล้ามเนื้อบริเวณริ้วรอยเริ่มคลายตัว และริ้วรอยรอบดวงตาลดลงเฉลี่ย 17 % ในสัปดาห์ที่ 2 และริ้วรอยเลือนลางลงถึง 27-30 % ใน 4 สัปดาห์ ส่วนการศึกษาถึงผลข้างเคียงที่กระทบต่อเซลล์ผิว ยีน และเซลล์ที่บอบบางอย่างเซลล์ในช่องปาก ผลการทดสอบสรุปว่า พบความระคายเคืองได้บ้างเล็กน้อย แต่อันตรายในแง่การดูดซึม สะสม ไม่พบรายงานแต่อย่างใด
  • บทบาทของการแก้ไขปัญหาริ้วรอยด้วยสาร ARGIRELINE ได้มีการตีพิมพ์รายงานเผยแพร่มากมาย ทั้งการเผยแพร่ทางวิชาการในวารสารทางวิชาการหลายชนิด เช่น International Journal of Cosmetic Science และ Specialty Chemicals Magazine และทางอินเตอร์เนต ซึ่งสามารถค้นหา ศึกษาเพิ่มเติมได้ และปัจจุบันได้มีผลิตภัณฑ์ของสารประเภทนี้ ออกมาวางจำหน่ายกันบ้างแล้ว เช่น Lipotoc,Serutox,Bella's Tox และยังมีการเพิ่มเติมสารนี้ในครีมบำรุงยี่ห้อดังๆ หลายยี่ห้อ ขณะเดียวกันก็มีการจดสิทธิบัตรในหลายประเทศ ทั้งยุโรป , ญี่ปุ่น , อเมริกา , แคนาดา และ บราซิล เช่น สิทธิบัตรที่ได้ทำการจด ( Patents) : European Patent EP1.180524, Japanese Patent HEI 2001 614281, USA Patent WO00/64932, Canadian PCT ES00/00058,Brazilian Patent PI0011152-0
  • อนึ่งจากอดีตจวบจนปัจจุบัน การแก้ไขปัญหาริ้วรอยบนใบหน้า ได้มีการพัฒนาค้นคว้ากันอย่างต่อเนื่อง และก้าวหน้ามากขึ้น แนวทางการแก้ไขก็มีได้หลากหลายวิธี การเลือกพิจารณาแก้ไข ในความเห็นของผู้เขียน คงต้องพิจารณาผสมผสานกันให้เหมาะสม และป้องกันและแก้ไขให้ได้ผลดีที่สุด และมีผลข้างเคียงน้อยที่สุด ( และสบายกระเป๋าสตางค์ด้วยมั้ง ! ) ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ เภสัชกร และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะจะดีกว่าการลองผิดอลงถูกด้วยตนเอง 
    เรียบเรียงและค้นคว้าโดย นพ. จรัสพล รินทระ ...............................15 January,2004 
    เอกสารอ้างอิง: 
    - International Journal of Cosmetic Science, 2002, 24, 303 - 310: 
    - 'A synthetic hexapeptide (Argireline) with antiwrinkle activity' - Specialty Chemicals Magazine, November 2002, volume 22, no 10: 'Synthetic actives for cosmetic applications'

ที่มา : https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=1&sdata=&col_id=258

อัพเดทล่าสุด