เชื้อราที่เล็บ (Onychomycosis)


1,090 ผู้ชม


  • การติดเชื้อราที่เล็บ เป็นความผิดปกติของเล็บที่พบกันบ่อยที่สุด ส่วนใหญ่เกิดในสตรี มากกว่าบุรุษ โดยพบที่เล็บเท้า ��
�่อยกว่าเล็บมือ เพราะมีความอับชื้นสูงกว่า ทำให้เชื้อโรคมีโอกาสก่อโรคมากกว่า
  • ปัจจัยที่อาจทำให้เกิดเชื้อราที่เล็บ คือ 
        1. เบาหวาน 
        2. ความชรา 
        3. ภาวะการไหลเวียนของเลือดต่ำ 
        4. ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง อาทิ โรคเอดส์ ซึ่งในปัจจุบัน คนไข้ที่มาพบแพทย์ผิวหนัง ด้วยเชื้อราที่เล็บ ทั้งมือ และเท้า และเป็นมากๆ ทุกนิ้ว และพบว่าผู้ป่วย อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ ไม่มีอาการของโรคอื่นๆ มักแนะนำให้ตรวจเลือดหาเชื้อ เอชไอวี
  • สาเหตุ: ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อรา Dermatophyte แต่อาจเกิดจากยีสต์ก็ได้ เช่น C.albicans
  • ลักษณะอาการที่พบ มักเกิดจากบริเวณปลายเล็บ หรือ ซอกเล็บด้านข้างก่อน แล้วเชื้อราจะลุกลามแทรกเข้าไปใต้เล็บ ทำให้เกิดการแยกตัวของเล็บกับเนื้อข้างใต้ และมีขุยใต้เล็บมาก ทำให้ตัวเล็บดูขุ่นขาว ถ้าปล่อยทิ้งไว้ อาจลุกลามทั่วเล็บ ทำลายเล็บ ทำให้เล็บเสียรูปทรง ทำให้ดูไม่สวยงาม และมักไม่ค่อยมีอาการอื่น เช่นการอักเสบ หรือ ปวดเล็บ
  • แนวทางการป้องกัน คือ ต้องระวังไม่ให้เล็บมือ เล็บเท้าอับชื้น หลีกเลี่ยงการแช่มือ เท้า ในน้ำนานๆ เช่น บางคนชอบไปทำเล็บที่ร้านเสริมสวย และมักติดเชื้อราที่เล็บกลับมาเป็นของแถม ได้บ่อยๆ ไม่ควรใช้กรรไกรตัดเล็บร่วมกับคนอื่น
  • แนวทางการรักษา 
        1. ยาฆ่าเชื้อรา ชนิดรับประทาน เป็นการรักษาที่ดีที่สุด ซึ่งปัจจุบันมีหลายตัว ที่ได้ผลดี ระยะเวลาในการรักษาก็แตกต่างกันแล้วแต่ชนิดของยา กรณีที่รับประทานสะดวก ใช้เวลาไม่มากนัก ก็จะราคาแพง แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ดีกว่าจะเลือกซื้อยามารับประทานเอง 
        2. ครีมทาฆ่าเชื้อรา ใช้ทาที่เล็บมักไม่ค่อยได้ผล เนื่องจาก ตัวยาไม่สามารถซึมผ่านเล็บไปได้ ยกเว้นกรณีที่พบเป็นขุยๆ ที่ขอบเล็บไม่มาก 
        3. ในปัจจุบัน ในยุโรป ได้มียาทารักษาเชื้อราที่เล็บชนิดใหม่ เรียกว่า Ciclopirox nail laqure ซึ่งตัวยาทาเล็บนี้ จะติดทน และซึมผ่านเล็บไปยับยั้งเชื้อราได้ โดยให้ทาวันเว้นวันในช่วงแรก แล้วค่อยๆ ลดความถี่ในการทาลง ภายใน 6 เดือน 
        4. ไม่แนะนำให้ถอดเล็บ เนื่องจากไม่ได้ผล ฆ่าเชื้อราไม่ได้ นอกจากนี้ยังทำให้เจ็บปวด และทำลายเนื้อเยื่อเซลล์ ( Nail matrix) ทำให้เล็บที่จะงอกใหม่บูดเบี้ยว หรือผิดรูปอย่างถาวรได้ 
    เรียบเรียงและค้นคว้าโดย นพ.จรัสพล รินทระ ................27/7/48

ที่มา : https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=8&sdata=&col_id=58

อัพเดทล่าสุด