โรค SLE ( Sysemic Lupus Erythematosus) และอาการแสดงทางผิวหนัง


2,591 ผู้ชม


  • SLE( Sytemic Lupus Erythromatosus) เป็นโรคอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ที่ไม่หายขาด และก่อให้เกิดโรคได้ในหลายๆ ระบบ ( เช่น ไต ไขข้อ ร��
�บบเลือด ระบบผิวหนัง )
  • โรคที่พบได้ไม่บ่อย และบางคนอาจยังไม่รู้จักโรคนี้กันเท่าใดนัก เคยมีอดีตราชินีลูกทุ่งหญิงของไทยท่านหนึ่ง ได้เสียชีวิตจากโรคนี้ เมื่อไม่กี่ปีมานี้ ทำให้โรคนี้ได้มีกล่าวถึงกันมากขึ้น
  • แต่ในวงการแพทย์โรคนี้รู้จักกันมานาน แต่ก็ยังไม่ทราบสาเหตุที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริง เชื่อว่าเกิดจากความผิดปกติของกลุ่มเนื้อเยื่อเกี่ยวกัน( connective tissue diseases) โดยมีการทำลายเนื้อเยื่อในระบบภูมิคุ้มกัน อาการทางผิวหนังเป็นปรากฏการณ์อย่างหนึ่งของโรคที่สังเกตให้เห็นได้
  • อุบัติการณ์ของโรคนี้ พบประมาณ 2-3 คนใน 100,000 คน มักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ในอัตราส่วน 9:1 ในช่วงอายุ 20-50 ปี อาการของโรคที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต คือภาวะแทรกซ้อนทางไต ทำให้ไตวาย และระบบประสาทส่วนกลาง
  • อาการของโรค ที่พบได้บ่อย คือ การปวดข้อ ข้ออักเสบ ไตอักเสบ ไข้ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ โรคโลหิตจาง เกร็ดเลือดต่ำ ผื่นทางผิวหนัง พบว่า ผู้ป่วยประมาณ 77 % หลังจากป่วยด้วยโรคนี้ และไม่ได้พบแพทย์รักษาตัวต่อเนื่อง หรือมีอาการแทรกซ้อนหลายระบบ จะเสียชีวิตภายใน 5 ปี
  • ผื่นทางผิวหนัง ในผู้ที่ป่วยด้วยโรค SLE แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
       1. ระยะเฉียบพลัน มักพบกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการทางระบบอื่น ร่วมด้วย ผื่นมีได้หลายแบบ เช่น ผื่นราบแดงหรือม่วงคล้ำ หรือ ตุ่มน้ำ แต่มักในบริเวณที่สัมผัสกับแสงแดด เช่น ใบหน้า และที่พบได้บ่อย คือ ลักษณะผื่นบวมนูนแดงที่แก้มทั้งสองข้าง คล้ายปีกผีเสื้อ( malar rash) ดังในภาพที่แสดง มักเกิดขึ้นทันทีที่โดนแดด บางครั้งอาจจะคัน ผื่นมักหายได้เอง ในเวลาหลายวันหรือเป็นสัปดาห์ สีผิวอาจไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อหาย หรือคล้ำลงเล็กน้อย
       2.ระยะกึ่งเฉียบพลัน( subacute phase) มักพบในผู้ป่วยอายุน้อยถึงวัยกลางคน พบได้ประมาณ 25-85 % ของผู้ป่วยทั้งหมด มีลักษณะผื่นดังในภาพที่แสดง
       3.ระยะเรื้อรัง( chronic phase) ผื่นชนิดนี้ มักมีอาการแสดงทางระบบอื่นร่วมด้วยน้อย ประมาณร้อยละ 5-10 มักพบได้บ่อยสุดในผื่นระยะต่างๆ มีลักษณะผื่นแดง ขอบเขตชัด ตรงกลางบาง(ดังในภาพ) พบได้บ่อยบริเวณที่ถูกแสงแดดเป็นประจำ เช่น หน้า หนังศีรษะ หู ริมฝีปากล่าง ถ้าเป็นที่หนังศีรษะมักเกิดแผลเป็น และทำให้ผมร่วง และแก้ไขให้หาย ผมก็จะไม่ขึ้นมาทดแทน
  • การวินิจฉัยผู้ป่วย SLE แนะนำให้ไปรพ. เพราะต้องมีการวินิจฉัยหลายๆ อย่างร่วมกัน เช่น การตรวจเลือด การเจาะหา Antinuclear antibody การตรวจปัสสาวะ การตรวจทางชิ้นเนื้อ( กรณีผื่นที่ผิว-หนังไม่แน่ชัด) ฯลฯ เพื่อการประเมินภาวะความรุนแรงของโรค ระบบต่างๆ ที่โรค SLE ทำให้ผิดปกติ พร้อมการวางแผนรักษา ซึ่งอาจต้องแพทย์เฉพาะทางหลายๆ แขนงร่วมกันรักษา 
    เรียบเรียงและค้นคว้าใหม่โดย นพ.จรัสพล รินทระ ...ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด...4 August,2005

ที่มา : https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=8&sdata=&col_id=105

อัพเดทล่าสุด