โครงสร้าง ส่วนประกอบ และหน้าที่ของผิวหนัง


976 ผู้ชม


  • ผิวหนัง ถือว่าเป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย เพราะมีเนื้อที่ทั้งหมดเกือบ 2 ตารางเมตร มีความหนาแตกต่างกันตามบ
ริเวณที่ต่างๆ ของร่างกาย ตั้งแต่น้อยกว่า 0.5 มม. (ที่บริเวณเปลือกตา) และหนามากกว่า 5 มม.(ที่กลางหลัง) แต่โดยเฉลี่ยก็จะประมาณ 1-2 มม.
  • หน้าที่ของผิวหนัง ที่สำคัญ ก็คือ การปกป้องอวัยวะภายในใต้ชั้นผิวหนัง นอกจากนี้ยังมีหน้าที่อื่นๆ ดังนี้ 
       1. Protection ผิวหนังทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันอันตรายจากจุลินทรีย์และสิ่งแปลกปลอมทั้งหลายมิให้เข้าสู่ร่างกาย และป้องกันการสูญเสียของเหลวจากร่างกาย โดยเกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะดังนี้ 
        1.1 ชั้นบางๆ ของไขมันในเซลล์บุผิวชั้นนอก ( fat epithelial tissue) ซึ่งทำหน้าที่คล้ายๆ กระเบื้องมุงหลังคา 
        1.2 ชั้นกันน้ำของเคอราตินในชั้นนอกของผิวหนังกำพร้า 
       2. Temperature regulation ผิวหนังจะมีรูพรุนของต่อมเหงื่อมาเปิด เพื่อระบายความร้อนที่มีอยู่ ในร่างกาย จึงทำให้รู้สึกเย็นลง หรือกรณีที่อากาศเย็น ผิวหนังจะเป็นฉนวนป้องกันมิให้ความร้อนออกไปจากร่างกาย ทำให้ร่างกายอบอุ่น 
       3.Excretion การที่มีเหงื่อออก จะขับถ่ายของเสีย เช่น ยูเรีย ซึ่งมีไนโตรเจนในกระบวนการเผาผลาญพลังงาน ถูกขับออกมา 
       4.Synthesis ผิวหนังช่วยป้องกันรังสียูวี จากแสงแดด แต่ยอมให้ยูวีบางส่วนผ่านเข้าไปได้ เพื่อเปลี่ยนสารเคมีที่ผิวหนัง เป็นวิตามินดี3 ( 7-dehydrocholesterol เป็น cholecalciferol) ที่มีความจำเป็นต่อกระดูกและฟันให้แข็งแรง 
       5.Sensory receptor ผิวหนังช่วยในการรับรู้สัมผัส ตอบสนองต่อความร้อน ความเย็น ภาวะกดดัน และความเจ็บปวด
  • โครงสร้างของผิวหนัง ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วนดังนี้ (ดูภาพประกอบ) 
       1. ผิวหนังกำพร้า หรือผิวหนังชั้นนอก( Epidermis) เป็นชั้นของเซลล์บุผิวของกล้ามเนื้อลาย (Stratified squamous epithelium) ผิวหนังชั้นนี้ไม่มีเลือด ส่วนใหญ่จะบาง ยกเว้นที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า การทำ Peeling,Ionto หรือการกรอผิวด้วยเกร็ดอัญมณี มักจะทำให้ผิวหนังชั้นนี้หลุดลอกออกแล้วแต่จะลึกมากน้อย ซึ่งขึ้นอยู่กับกระบวนการที่ทำ ประกอบด้วยชั้นต่างๆ ดังนี้ 
       1.1 Stratum corneum เป็นชั้นผิวหนังที่เรียงตัวเป็นระเบียบ ประกอ้วยด้วยเคอราติน ที่ทำให้ผิวหนังมีความยืดหยุ่น ป้องกันเซลล์ที่ยังมีชีวิตทีอยู่ข้างใต้ไม่ให้แห้งจากการสัมผัสอากาศ เซลล์ผิวหนังนี้ บางครั้งก็หลุดลอกจากการเสียดสี (ขี้ไคล) แต่ก็จะมีเซลล์ใหม่ในชั้นถัดไปขึ้นมาแทนที่ การทำ Peeling,Ionto หรือการกรอผิว มักจะทำให้ผิวหนังชั้นนี้หลุดลอกออก 
       1.2 Stratum lucidum เป็นชั้นผิวหนังที่ตายแล้ว ประกอบด้วย โปรตีน Eleidin มักพบเฉพาะที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ที่หน้าที่ป้องกันภาวะ sunburn จากรังสีอุลตราไวโอเลต 
       1.3 Stratum granulosum เป็นชั้นที่ถัดจากชั้น 1.2 มีความหนา 2-4 ชั้น ประกอบด้วย granules,keratohyaline ในขบวนการตายไปของเซลล์ผิวหนังเกิดขึ้นที่ชั้นนี้ 
       1.4 Stratum spinosum ประกอบด้วยเซลล์หลายเหลี่ยม(polyhedral) มีลักษณะเป็นหนามแหลมยึดเกาะกัน เพื่อพยุงให้ชั้นนี้แข็งแรงป้องกันการติดเชื้อโรคของผิวหนัง มีการสังเคราะห์โปรตีน มีการแบ่งตัว และเจริญเติบโตของเซลล์ผิวหนัง เซลล์ผิวหนังใหม่ๆ เกิดที่ชั้นนี้แลัวผลักขึ้นไปที่ผิวในชั้น 1.1-1.3 
       1.5 Stratum basale เป็นชั้นล่างสุดของหนังกำพร้า ต่อกับชั้นหนังแท้ เป็นเซลล์ชั้นเดียวที่เรียงต่อกัน ( colunar or cuboidal cells) มีการแบ่งเซลล์เกิดขึ้นเป็นเซลล์ใหม่เพื่อทดแทนเซลล์ที่หลุดลอกไปในชั้นบนๆ เป็นแหล่งที่มีเซลล์สร้างเม็ดสีผิว (Melanocyte) สร้างเม็ดสีเมลานิน และเป็นบริเวณเริ่มต้นของเซลล์มะเร็ง 
       2. ผิวหนังแท้ หรือผิวหนังชั้นกลาง( Dermis) เป็นส่วนประกอบส่วนใหญ่ของผิวหนังเป็นชั้นทีแข็งแรง แยกได้ชัดเจนจากชั้นหนังกำพร้า ประกอบด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissues) ของคอลลาเจน อีลาสติน และ reticular fiber เรียงโยงใยเป็นร่างแห ทำให้เกิดความหนาแน่น ยึดติดกับชั้นหนังกำพร้าแบบลิ้นยื่นสอดเกี่ยว(papillar network) ประกอบด้วยหลอดเลือด ท่อน้ำเหลือง เส้นประสาท ต่อมไขมัน ท่อต่อมเหงื่อ เซลล์กระเปาะผม-ขน fat cell,macrophages (ที่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน) ผิวหนังแท้นี้มีความยืดหยุ่นสูง แต่ถ้าเกินพิกัดก็อาจจะเกิดการฉีกขาดของเส้นใยคอลลาเจนได้ เช่น ภาวะท้องลาย ขาลาย จากการตั้งครรภ์ หรือการเพิ่มน้ำหนักเร็วเกินไป 
       3. ผิวหนังชั้นล่าง(Hypodermis or Subdermis) เป็นชั้นที่อยู่ติดกับชั้นไขมัน(Adipose tissues) ประกอบด้วยเส้นใย เกาะกันหลวมๆ และหนากว่าผิวหนังแท้ อุดมไปด้วยเส้นเลือด ท่อน้ำเหลือง และเส้นประสาท ท่อต่อมเหงื่อ ฐานของเซลล์ขน แยกได้ไม่ชัดเจนจากชั้นหนังแท้ เป็นชั้นที่เคลื่อนไหวได้ไม่มากนัก เพื่อเทียบกับชั้นหนังแท้ เพราะอยู่ติดกับชั้นไขมันและกระดูก ในบางส่วนจะมีความหนามากกว่าปกติ เช่นที่ บริเวณหน้าอก สะโพก ทำให้เกิดความแตกต่างในสัดส่วนของเพศชายและเพศหญิง
  • การนำเสนอบทความเรื่องโครงสร้างของผิวหนังนี้ เพื่อเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจในภาวะผิดปกติของผิวหนังต่างๆ โรคทางผิวหนัง เม็ดสีเมลานินที่ผิดปกติ หรือการภาวะติ่งเนื้อ หรือเนื้อเยื่อที่ผิดปกติ ในบทความก่อนๆ หรือจะนำเสนอต่อๆไป
  • เรียบเรียงและค้นคว้าโดยนพ.จรัสพล รินทระ ..............11 July,2005

ที่มา : https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=8&sdata=&col_id=94

อัพเดทล่าสุด