ถามว่า โรคสันนิบาต รักษาได้ไหม - โรคสันนิบาต รักษา หายไหม


2,113 ผู้ชม

โรคทางสมองที่เกิดจากเซลล์ประสาทในบางตำแหน่งเกิดมีการตายโดยไม่ทราบสาเหตุ ที่แน่ชัด ทำให้สารสื่อประสาทในสมองที่ชื่อว่า โดปามีน (Dopamine) มีปริมาณลดลง


ถามว่า โรคสันนิบาต รักษาได้ไหม - โรคสันนิบาต รักษา หายไหม หรือโดยทั่วไปเรียก โรคพาร์กินสัน

โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) หรือโรคสันนิบาต หรือโรคสั่นสันนิบาต คือโรคทางสมองที่เกิดจากเซลล์ประสาทในบางตำแหน่งเกิดมีการตายโดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ทำให้สารสื่อประสาทในสมองที่ชื่อว่า โดปามีน (Dopamine) มีปริมาณลดลง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการที่สำคัญ คือ อาการสั่นขณะช่วงการพัก (Resting tremor) เคลื่อนไหวร่างกายช้าลง (Bradykinesia) ร่างกายมีสภาพแข็งเกร็ง (Rigidity) และการทรงตัวขาดความสมดุล (Postural instability)
แพทย์ชาวอังกฤษชื่อ James Parkinson เป็นคนแรกที่ได้อธิบายลักษณะของผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ในปี พ.ศ. 2360

รักษาโรคพาร์กินสันอย่างไร?
แนวทางการรักษาโรคพาร์กินสัน คือ
    การใช้ยา เป็นการรักษาหลักสำหรับโรคนี้ แบ่งออกได้เป็น
        ยาที่ใช้รักษาอาการเกี่ยวกับระบบประสาทสั่งการ เป็นยาในรูปแบบกิน มีอยู่หลายกลุ่ม เช่น Dopamine agonist, Levodopa/Carbidopa, Monoamine oxidase inhibitor เป็นต้น โดยส่วนใหญ่จะเริ่มต้นด้วยการใช้ยาเพียงตัวใดตัวหนึ่ง ซึ่งในช่วงแรกจะสามารถคุมอาการได้ดี แต่เมื่อผ่านไปนานๆ จะเริ่มมีการดื้อยา ทำให้ต้องเพิ่มปริมาณยามากขึ้นและต้องเพิ่มยาอีกกลุ่มมาใช้ร่วมด้วย นอกจากนี้เมื่อใช้ยาไปนานๆ ผู้ป่วยมักเกิดอาการแทรกซ้อน (ผลข้างเคียง) จากการใช้ยา ทำให้ต้องลดยาหรือหยุดยาลง เช่น เกิดการเคลื่อนไหวร่างกายที่ผิดปกติและควบ คุมไม่ได้ และทำให้เกิดอาการทางจิตประสาท เช่น เกิดภาวะซึมเศร้า อาการประสาทหลอนและหลงผิด รวมทั้งความผิดปกติทางจิตที่เรียกว่า Punding คือผู้ป่วยจะหมกมุ่นกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งซ้ำไปซ้ำมา เช่น ถอดแกะชิ้นส่วนวิทยุออกและประกอบใหม่ ทำอย่างนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า หรืออาจเกิดความผิดปกติที่เรียกว่า Impulse control disorder คือไม่สามารถควบคุมการกระทำที่ไม่ดีได้ เช่น ติดการพนัน หมกมุ่นทางเพศ ติดการช้อปปิ้ง เป็นต้น
        ยาที่ใช้รักษาอาการทางจิตประสาท โดยใช้ยารักษาตามอาการที่ปรากฏ หรือหากเป็นผล ข้างเคียงจากการใช้ยารักษาอาการทางระบบประสาทสั่งการ ก็ต้องลดขนาดยาลง หรือปรับ เปลี่ยนตัวยาใหม่
        ยาที่ช่วยป้องกันการตายของเซลล์ประสาท (Neuroprotective therapy) ซึ่งเกิดจากการค้นพบว่า การตายของเซลล์ประสาทมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการสะสมของอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นในเซลล์ การให้สารต้านอนุมูลอิสระจึงอาจช่วยรักษาได้ ซึ่งได้แก่ Coenzyme Q10, Creatine , และ Selegiline
    การรักษาโดยวิธีอื่นๆนอกเหนือจากการใช้ยา โดยจะเลือกใช้ต่อเมื่อได้ใช้ยาทุกกลุ่มเต็มที่แล้วแต่ยังไม่สามารถคุมอาการต่างๆได้ จะไม่เลือกใช้ในการรักษาตั้งแต่เริ่มแรก เพราะผลของการรักษายังไม่แน่นอน เช่น การผ่าตัดสมองเพื่อใส่เครื่องช่วยกระตุ้นสมอง (Deep brain stimulation) การผ่าตัดเอาเนื้อเยื่อบางส่วนของสมองออก (Neuroablative surgery) การผ่าตัดสมองเพื่อปลูกถ่ายเนื้อเยื่อชนิดที่ผลิตสารโดปามีนได้ (Neurotransplan tation) เช่น เนื้อเยื่อจากต่อมหมวกไต เนื้อเยื่อจากจอตา หรือการปลูกถ่ายเซลล์ตัวอ่อน (Stem cell) เป็นต้น

โรคพาร์กินสันมีผลข้างเคียงไหม? รุนแรงไหม?
ผลข้างเคียงจากโรคพาร์กินสัน เกิดจากอาการการสั่น เช่น การล้ม ปัญหาในการพูด การเคี้ยว การกลืน การปัสสาวะ การอุจจาระ ในเพศสัมพันธ์ และเกิดจากปัญหาด้านอารมณ์และจิตใจ ดังได้กล่าวแล้วในหัวข้ออาการ
ความรุนแรงของโรคพาร์กินสัน
    ในสมัยก่อนที่จะมีการค้นพบยารักษาโรคพาร์กินสัน ผู้ป่วยโรคนี้ประมาณ 25%จะเสียชีวิตภายใน 5 ปี ประมาณ 65% จะเสียชีวิตภายใน 10 ปี และ 90% จะเสียชีวิตภายใน 15 ปี หรือโดยเฉลี่ย ผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีอัตราตายมากกว่าคนปกติ 3 เท่าเมื่อเปรียบ เทียบในขณะที่มีอายุเท่ากัน และเป็นเพศเดียวกัน การใช้ยารักษาโรคพาร์กินสันจะช่วยทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตอยู่ได้นานขึ้นเพิ่มอีกหลายปี และลดอัตราตายลงได้ประมาณ 50%
    ธรรมชาติของโรคนี้คือ อาการของผู้ป่วยจะพัฒนารุนแรงขึ้นเรื่อยๆ โดยที่การรักษาด้วยยาจะช่วยลดอาการต่างๆได้ดีเฉพาะในช่วงแรก แต่เมื่อผ่านไปประมาณ 4-5 ปี ผู้ ป่วยจะเริ่มไม่ตอบสนองต่อยา แม้จะใช้ยาในปริมาณสูงและหลายชนิด แต่ในที่สุดอาการก็จะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆจนเสียชีวิต
ควรดูแลตนเองอย่างไร? ควรพบแพทย์เมื่อไหร่?
การดูแลตนเอง และการพบแพทย์ในโรคพาร์กินสัน คือ
    ผู้ป่วยต้องพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
    ไม่ควรปล่อยให้ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันอยู่คนเดียว เนื่องจากผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงจะมีโอกาสหกล้มได้ตลอดเวลา และคนใกล้ชิดควรสังเกตความผิดปกติของผู้ป่วย ไม่แต่เฉพาะเรื่องของกายภาพ แต่ต้องสังเกตอารมณ์และสภาพจิตใจด้วย เนื่องจากอาการทางจิตประสาทบางอย่าง เช่น ภาวะซึมเศร้า อาจทำให้อาการที่เป็น Bradykinesia ดูเหมือนแย่ลง (ซึ่งจริงๆแล้วอาการทางระบบสั่งการไม่ได้แย่ลง แต่เพราะภาวะซึมเศร้าทำให้ดูเหมือนยิ่งเคลื่อนไหวตัวช้าลง) หากได้ยารักษาภาวะซึมเศร้า อาการดังกล่าวก็จะดีขึ้น
    ภายในบ้านที่มีผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ควรปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมตามสภาพอาการ และเพื่อให้ปลอดภัยต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การมีราวสำหรับจับเดินเป็นระยะๆ พื้นสำหรับเดินต้องไม่ลื่น ต้องไม่มีของระเกะระกะกีดขวางทางเดินในบ้าน ช้อน ส้อมและแก้วน้ำที่ใช้ควรมีที่สำหรับจับขนาดใหญ่ เก้าอี้อาจเป็นแบบมีสปริงสำหรับช่วยยกตัวเวลาลุกขึ้นได้ แต่ต้องมั่นคง ไม่โยกเยกล้มง่าย การติดเครื่องช่วยขยายเสียงเวลาพูด เป็นต้น
    แม้จะมีข้อมูลว่าการดื่มกาแฟ การสูบบุหรี่ การใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจน(ในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน) จะช่วยลดการเกิดโรคพาร์กินสันได้ แต่ก็ไม่แนะนำ เพราะมีโทษทำให้เกิดโรคอื่นๆ ที่น่ากลัวเป็นอันตรายต่อชีวิตได้มากกว่า
ป้องกันโรคพาร์กินสันอย่างไร?
เนื่องจากสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรคพาร์กินสันยังไม่ทราบชัดเจน ดังนั้นการป้องกันเต็มร้อยจึงเป็นไปไม่ได้ แต่บางการศึกษาพบว่า การกินอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ในปริมาณที่เหมาะสม โดยจำกัดอาหารกลุ่มไขมันและเนื้อแดง (เนื้อของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) จำกัดอาหารในกลุ่มผลิตภัณฑ์จากนม กินผัก ผลไม้เพิ่มขึ้นให้มากๆเนื่องจากมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง อาจช่วยลดโอกาสเกิดอาการ หรือ ลดความรุนแรงจากอาการของโรคนี้ลงได้บ้าง

--------

โรคพาร์กินสันรักษาอย่างไร ?
โรคพาร์กินสันนี้ในปัจจุบันสามารถรักษาได้ผลอย่างดีจนเป็นที่น่าพอใจ ทำให้กลับสู่สภาพปกติได้ โดยรักษาด้วย 3 วิธีหลัก คือ
การรักษาทางยา แม้ว่ายาจะไม่สามารถทำให้เซลล์สมองที่ตายไปแล้วฟื้นตัวกลับมาหรืองอกใหม่ทดแทนเซลล์เดิมได้ก็ตาม แต่ยาก็จะทำให้สารเคมีโดปามีนในสมองมีปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายได้ การปรับขนาดยาในแต่ละคนที่มีอาการมากน้อยต่างกันจึงมีความสำคัญที่จะไม่ให้ยามากหรือน้อยเกินไป เพราะยาทุกชนิดเป็นดาบสองคมมีทั้งคุณและโทษ ถ้าใช้ไม่ถูกต้องหรือขนาดไม่เหมาะสม โดยเฉพาะยากลุ่มที่ใช้รักษาโรคนี้อาจมีผลแทรกซ้อนต่อหลอดเลือดหัวใจ โรคต้อหิน โรคต่อมลูกหมากโต (ทำให้ปัสสาวะลำบาก) บางคนอาจมีการเคลื่อนไหวผิดปกติหรืออาจมีความสับสนวุ่นวายอันเป็นผลจากยา เป็นต้น อาการที่พบบ่อยอันเป็นผลจากยา คือ อาการทางระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ อาการคลื่นไส้อาเจียนและท้องผูก
การรักษาทางกายภาพบำบัด จุดมุ่งหมายของการรักษาโรคพาร์กินสัน คือทำให้ผู้ป่วยกลับคืนสู่สภาพชีวิตที่ใกล้เคียงกับคนปกติให้มากที่สุด สามารถเข้าสังคมได้ ช่วยเหลือตนเองได้ และมีความสุขทั้งทางด้านจิตใจและร่างกาย การรักษาทางกายภายบำบัดจะช่วยในเรื่องการเคลื่อนไหว ท่าเดิน นั่ง การทรงตัว ตลอดจนแก้ไขอาการต่างๆ เช่น หลังโกง ไหล่ติด ปวดหลัง ปวดเอว ปวดคอ ปวดขา เป็นต้น
การรักษาโดยการผ่าตัด ปัจจุบันมีกรรมวิธีก้าวหน้าทางประสาทศัลยกรรม ซึ่งเพิ่งเริ่มทำกันมาได้ราว 10 ปีนี้เอง เป็นการผ่าตัดสมองโดยเอาเนื้อเยื่อจากต่อมหมวกไต หรือปมประสาทบริเวณคอไปปลูกเลี้ยงในโพรงสมองเพื่อให้เนื้อเยื่อเหล่านี้สร้างสารเคมีโดปามีนขึ้นมาทดแทนส่วนที่สมองขาดไปได้ วิธีการนี้เริ่มใช้กันมากขึ้นทั้งในต่างประเทศและประเทศไทย ผลดีของการรักษาวิธีนี้คือ ผู้ป่วยอาจไม่ต้องรับประทานยาหรือลดขนาดยาลงได้ เพราะยาส่วนใหญ่มีราคาแพงส่วนผลแทรกซ้อนของการผ่าตัดก็ย่อมเกิดขึ้นได้เช่นกัน โดยมากนิยมผ่าตัดในคนที่อายุน้อยและมีอาการไม่มากนัก ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการรักษาโรคพาร์กินสันในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตามภายหลังจากที่ผู้ที่ป่วยเป็นโรคพาร์กินสันได้รับการรักษาแล้วก็อาจกลับมามีการดำเนินชีวิตได้ตามปกติ และอาจมีอายุยืนยาวเหมือนคนทั่วไป แต่ถ้าไม่ได้รับการรักษาในที่สุดอาจจะพิการและต้องนอนอยู่แต่บนเตียง มีบางคนที่นอนอยู่กับเตียงมานานนับปี เพราะญาติเข้าใจว่าเกิดจากโรคสมองเสื่อมหรือโรคอัมพาตนอนแข็งกับเตียงมาตลอด เดินไม่ได้จึงไม่ได้ให้การรักษาแต่อย่างใด เมื่อมาหาหมอจึงทราบว่าเป็นโรคพาร์กินสัน หลังจากได้รับการรักษาก็ทำให้คุณภาพชีวิตครอบครัวกลับมาดีเหมือนเดิมอีกครั้ง ดังนั้นโรคพาร์กินสันนี้เป็นโรคสั่นสันนิบาต ในปัจจุบันสามารถรักษาได้และคืนชีวิตที่สดใสได้ดังเดิม
ที่มา : นิตยสาร Healthtoday

อัพเดทล่าสุด