โรคสันนิบาต รักษายังไง คนเป็นโรคสันนิบาต มีคำแนะนำ


3,990 ผู้ชม


รักษาโรคพาร์กินสันอย่างไร?
แนวทางการรักษาโรคพาร์กินสัน คือ
    การใช้ยา เป็นการรักษาหลักสำหรับโรคนี้ แบ่งออกได้เป็น
        ยาที่ใช้รักษาอาการเกี่ยวกับระบบประสาทสั่งการ เป็นยาในรูปแบบกิน มีอยู่หลายกลุ่ม เช่น Dopamine agonist, Levodopa/Carbidopa, Monoamine oxidase inhibitor เป็นต้น โดยส่วนใหญ่จะเริ่มต้นด้วยการใช้ยาเพียงตัวใดตัวหนึ่ง ซึ่งในช่วงแรกจะสามารถคุมอาการได้ดี แต่เมื่อผ่านไปนานๆ จะเริ่มมีการดื้อยา ทำให้ต้องเพิ่มปริมาณยามากขึ้นและต้องเพิ่มยาอีกกลุ่มมาใช้ร่วมด้วย นอกจากนี้เมื่อใช้ยาไปนานๆ ผู้ป่วยมักเกิดอาการแทรกซ้อน (ผลข้างเคียง) จากการใช้ยา ทำให้ต้องลดยาหรือหยุดยาลง เช่น เกิดการเคลื่อนไหวร่างกายที่ผิดปกติและควบ คุมไม่ได้ และทำให้เกิดอาการทางจิตประสาท เช่น เกิดภาวะซึมเศร้า อาการประสาทหลอนและหลงผิด รวมทั้งความผิดปกติทางจิตที่เรียกว่า Punding คือผู้ป่วยจะหมกมุ่นกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งซ้ำไปซ้ำมา เช่น ถอดแกะชิ้นส่วนวิทยุออกและประกอบใหม่ ทำอย่างนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า หรืออาจเกิดความผิดปกติที่เรียกว่า Impulse control disorder คือไม่สามารถควบคุมการกระทำที่ไม่ดีได้ เช่น ติดการพนัน หมกมุ่นทางเพศ ติดการช้อปปิ้ง เป็นต้น
        ยาที่ใช้รักษาอาการทางจิตประสาท โดยใช้ยารักษาตามอาการที่ปรากฏ หรือหากเป็นผล ข้างเคียงจากการใช้ยารักษาอาการทางระบบประสาทสั่งการ ก็ต้องลดขนาดยาลง หรือปรับ เปลี่ยนตัวยาใหม่
        ยาที่ช่วยป้องกันการตายของเซลล์ประสาท (Neuroprotective therapy) ซึ่งเกิดจากการค้นพบว่า การตายของเซลล์ประสาทมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการสะสมของอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นในเซลล์ การให้สารต้านอนุมูลอิสระจึงอาจช่วยรักษาได้ ซึ่งได้แก่ Coenzyme Q10, Creatine , และ Selegiline
    การรักษาโดยวิธีอื่นๆนอกเหนือจากการใช้ยา โดยจะเลือกใช้ต่อเมื่อได้ใช้ยาทุกกลุ่มเต็มที่แล้วแต่ยังไม่สามารถคุมอาการต่างๆได้ จะไม่เลือกใช้ในการรักษาตั้งแต่เริ่มแรก เพราะผลของการรักษายังไม่แน่นอน เช่น การผ่าตัดสมองเพื่อใส่เครื่องช่วยกระตุ้นสมอง (Deep brain stimulation) การผ่าตัดเอาเนื้อเยื่อบางส่วนของสมองออก (Neuroablative surgery) การผ่าตัดสมองเพื่อปลูกถ่ายเนื้อเยื่อชนิดที่ผลิตสารโดปามีนได้ (Neurotransplan tation) เช่น เนื้อเยื่อจากต่อมหมวกไต เนื้อเยื่อจากจอตา หรือการปลูกถ่ายเซลล์ตัวอ่อน (Stem cell) เป็นต้น


  คำแนะนำในการดูแลผู้ป่วย
          - ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันจำเป็นต้องมีผู้ดูแลใกล้ชิด
          - ป้องกันการหกล้มโดยเลือกรองเท้าที่มีพื้นรองเท้าเป็นยาง ทางเดินในบ้านไม่ควรมีของเล่นหรือสิ่งของ หรือเปื้อนน้ำ ควรติดราวไว้ในห้องน้ำ ทางเดิน และบันได
          - ผู้ป่วยมีปัญหาเรื่องการทรงตัวและการเดิน แนะนำให้ก้าวยาวๆ ยกเท้าสูง และแกว่งแขนเมื่อรู้สึกว่าเดินเท้าลาก ให้เดินช้าลงแล้วสำรวจท่ายืนของตัวเอง ท่ายืนที่ถูกต้องต้องยืนตัวตรง ศีรษะไหล่และสะโพกอยู่ในแนวเดียวกัน เท้าห่างกัน 8 - 10 นิ้ว
          - ช่วยให้ผู้ป่วยได้ออกกำลังกาย หรือบริหารร่างกายตามสมควรและสม่ำเสมอ จะช่วยให้อาการต่างๆ ดีขึ้น และช่วยให้ผู้ป่วยไม่เกิดอาการซึมเศร้าตามมาอีกด้วย
          - ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันอาจท้องผูกได้ง่าย เนื่องจากการทำหน้าที่ของระบบประสาทอัตโนมัติบกพร่อง ทำให้การบีบตัวของลำไส้ผิดปกติ เกิดอาการท้องผูก 3 - 4 วัน ถึงจะถ่ายอุจจาระครั้งหนึ่ง นอกจากนี้ผู้ป่วยที่ใช้ยา Artane และ Cogentin ก็เป็นสาเหตุให้ท้องผูกได้
          ในอดีตโรคนี้รักษาไม่ได้ และทำให้มีอาการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ ผู้ป่วยต้องนอนอยู่กับเตียงตลอดจนในที่สุดก็จะเสียชีวิตเพราะโรคแทรกซ้อน ในปัจจุบันความก้าวหน้าทางการแพทย์ทำให้สามารถรักษาจนทำให้ผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตได้เช่นเดียวกับคนปกติทั่วไปได้ ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ที่ป่วยเป็นโรคพาร์กินสันดีขึ้นมาก

อัพเดทล่าสุด