โรควุ้นในตาเสื่อม


3,622 ผู้ชม


 โรควุ้นในลูกตาเสื่อม
คน ที่เล่นคอมพ์เกือบทุกคน เป็นโรค 'วุ้นในลูกตาเสื่อม' ตอนนี้ในประเทศไทย มีคนเป็นโรคนี้ถึง 14 ล้านคนแล้ว จากข้อมูลทางหนังสือพิมพ์ (นี่เฉพาะแค ่ที่มีข้อมูลบันทึกไว้ คนที่ไม่รู้ตัวว่าตัวเองเป็นจะมากขนาดไหน?)
อาการก็คือ !
คุณ จะ เห็นเป็นคราบดำๆ เหมือนหยากไย่ ลอยไปลอยมาเหมือนคราบที่ติดกระจก จะเห็นชัดก็ต่อเมื่อ คุณมองไปยังภาพแบล็คกราวนด์ที่มีสีสว่าง เช่น ท้องฟ้าขาวๆ ฝาห้องขาวๆ ฝาห้องน้ำขาวๆ จะเห็นเป็นคราบดำๆ ลอยไปลอยมา ถ้าอาการมากกว่านั้นก็คือ ประสาทตาฉีกขาด คุณจะมองเห็นแสงแฟลชในที่มืด ไม่ว่าหลับตาหรือลืมตา (น่ากลัวมากๆค่ะ) และถึงขั้นนี้จะต้องผ่าตัด (ซึ่งไม่มีอะไรรับประกันว่าจะดีเหมือนเดิม จะตาบอดหรือไม่?)
สาเหตุของโรคนี้คือ !
'การ ใช้สายตามากเกินไป' (เล่นคอม) แต่ก่อนโรคนี้จะเกิดกับผู้สูงอายุ หรือ คนที่มีอาชีพใช้ที่สายตามากๆ เช่น ช่างเจียระไนเพชรพลอย ! ที่ต้องใช้สายตาเพ่งมากๆ แต่เดี๋ยวนี้คนเป็นโรควุ้นในลูกตาเสื่อมกันมากเพราะ เล่นเนต หรือ เล่นคอม (คุณฟังไม่ผิดหรอก เดี๋ยวนี้คนเป็นโรคนี้กันมากเพราะเล่นคอมนี่แหละ)
ถามว่าทำไม คนเล่นเนต เล่นคอม ถึงเป็นกันมาก?
ไม่ ว่าคุณจะเล่นเนต, เล่นเกมส์, อ่านไดอารี่, อ่านบทความ, อ่านหนังสือหรืออะไรก็ตาม ที่อยู่บนจอคอมพิวเตอร์ ล้วนทำให้สายตาคุณเสียได้ทั้งสิ้นเพราะว่า ถ้าคุณอ่านหนังสือที่เป็นแผ่นกระดาษธรรมดาๆ 'ระยะห่างระหว่าง ลูกตา กับ ตัวหนังสือ จะคงที่ แน่นอนเพราะขอบของตัวหนังสือจะคมชัด ทำให้สมองกะระยะโฟกัสได้ถูกต้องแน่นอนกว่า กล้ามเนื้อและประสาทตาจึงทำงานค่อนข้างคงที่
แต่ ! ตัวหนังสือบนจอคอมพิวเตอร์นั้น มีลักษณะเป็นจุดๆ ประกอบกัน เหมือนแขวนลอยบนจอ ขอบของตัวหนังสือไม่คมชัด สมองจะสับสนในการปรับระยะโฟกัส ( เพราะจอแก้ว จะมีความหนาของแก้ว แต่เรามองผ่านมันไป ) (จอ LCD เราก็ต้องมองผ่านเข้าไปเหมือนกัน ตัวหนังสือไม่ได้ติดอยู่ด้านบนเหมือน อยู่บนแผ่นกระดาษ)
การปรับระยะโฟกัสจึงไม่แน่นอน บวกกับ ลักษณะการอ่านหนังสือในคอมนั้น จะต้องใช้เม้าส์จิ้ม ลากแถบด้านข้างจอ เพื่อเลื่อนบรรทัดหนังสือขึ้นลง เพื่อที่จะอ่านบรรทัดด้านล่างได้หรือไม่ก้อ ใช้ลูกหมุนที่อยู่บนเม้าส์หมุนเพื่อเลื่อนบรรทัดหนังสือ
แต่การ เลื่อนบรรทัดนี้ ไม่เหมือนกับการอ่านหนังสือจากแผ่นกระดาษ ที่แขนกับคอเราจะปรับการมองขึ้นลงโดยอัตโนมัติ มีระยะที่แน่นอน สัมพันธ์กัน แต่ว่าการเลื่อนบรรทัดด้วยแถบด้านข้าง หรือลูกกลิ้งบนเม้าส์นั้น มันจะมีลักษณะการเลื่อนแบบกระตุกๆ (คุณสังเกตุดู ) มันจึงทำให้ปวดตามากๆ เพราะจะต้องลากลูกตาเลื่อนตามบรรทัดที่กระตุกๆ นั้นไปตลอด บวกกับ การพิมพ์ตัวหนังสือนั้น บางทีคุณต้องก้มเพื่อมองนิ้ว ว่ากดตำแหน่งบนแป้นพิมพ์ถูกตัวอักษรหรือไม่ ทำให้เดี๋ยวก้ม เดี๋ยวเงย ลูกตาปรับโฟกัสบ่อยเกิน ทำให้ลูกตาทำงานหนัก กว่าจะพิมพ์งานเสร็จ คุณจะปวดตามากๆ ตัวอย่างเช่นกรณีเด็กนักศึกษา เร่งพิมพ์รายงานส่งอาจารย์ ติดต่อกันข้ามคืน ! สองสามวัน ตาจะปวดมากๆ
รวมทั้งเวลาการเปิดใช้ โปรแกรม word ในการพิมพ์ตัวหนังสือมักจะมีสีพื้นที่เป็นสีขาวสว่าง (ที่นิยมก็คือ ตัวหนังสือสีดำบนพื้นสีขาว) สีพื้นที่สว่างจ้านี่เอง ทำให้ตาคุณจะเกิดอาการแพ้แสง ถ้ามีการพิมพ์ติดต่อกันนานๆ เพราะจ้องจอสีขาวนานเกินไป หรือไม่ก็คนที่ชอบเล่นเกมส์บ่อย ๆ มักจะมีการปรับแสงสว่าง เพราะเวลาเล่นเกมส์ ภาพพื้นหลังของเกมส์มักจะมืดๆ
สรุปก็คือ
1. การมองตัวหนังสือที่แขวนลอยอยู่ในจอโฟกัสไม่แน่นอน กล้ามเนื้อลูกตาทำงานหนัก 'ทำให้สายตาเสีย'
2. การเลื่อนตัวหนังสือและแถบบรรทัด ในหน้าคอม หรือ หน้าเนต มันจะเลื่อนแบบเป็นกระตุกๆ ทำให้สายตาเสีย การกระตุกๆ ของแถบบรรทัดนี่เอง ที่ทำให้สายตาเสีย
3. การก้มๆเงยๆ มองแป้นพิมพ์ และมองจอคอม กลับไปกลับมา 'ทำให้สายตาเสีย '
4. การปรับจอภาพที่! มีแสงสว่างจ้ามากเกินไปโดยไม่รู้ตัว 'ทำให้สายตาเสีย' (คล้ายๆ กับการเปิดดูทีวี ในห้องมืดๆ เป็นประจำ แล้วทำให้สายตาเสียน่ะเองค่ะ อย่างเดียวกัน)
5. การใช้จอคอม ที่มีความกว้างมากเกิน !! (จอคอมกว้างๆ นั้น เหมาะสำหรับการดูภาพ ดูหนัง แต่ไม่เหมาะกับการดูตัวหนังสือ !!) เพราะว่า สายตาคนเรานั้นมีระยะการมองตัวอักษรที่ 1 ฟุต (12นิ้ว) แต่จอคอมสมัยใหม่ กลับมีความกว้าง 17 นิ้ว 19 นิ้ว หรือมากกว่านั้น ซึ่งมันกว้างเกินระยะกวาดสายตามอง จากขอบหนึ่งไปสู่อีกขอบหนึ่ง (ทำให้ปวดทั้งคอ ทั้งลูกตา)
ถามกลับไปว่า ทำไม กระดาษเอกสาร ที่ใช้ในการอ่านการเขียนทั่วไปจึงมีขนาด A4 ?
คำ ตอบ ก็คือ ความกว้างของกระดาษ A4 ไม่กว้างเกินไป กำลังพอดีกับการกวาดสายตามอง และเป็นคำตอบเดียวกับที่ว่าทำไมขนาดของจอคอมคุณที่ใช้ ไม่ควรเกิน 15 นิ้ว นั่นเอง
ส่วนมากคนทั่วไป มักจะคิดไม่ถึงว่า การเล่นคอมทุกวันนั้น จะเป็นสาเหตุใหญ่ที่สามารถทำให้ตาบอดได้ ถ้าเกิดอาการรุนแรงเพราะกว่าจะรู้ตัวแล้วไปหาหมอ หมอก็อาจจะบอกว่า คุณไม่สามารถรักษาหายได้แล้ว และต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเท่านั้น!!!

มองเห็นแสงไฟแว่บๆในที่มืด.. retinal detachment

ผมอายุ 60 ปี ไม่เคยมีปัญหาเรื่องสายตา แต่สองวันมานี้มีแสงแว่บๆเกิดขึ้น ตอนแรกนึกว่าแสงไฟแยงตาตอนขับรถ แต่พอมาอยู่ที่มืดยิ่งแว่บๆชัดขึ้น ผมเป็นอะไรไปหรือเปล่า ควรจะทำอย่างไรต่อไปดี
..............................
ตอบครับ
1. ผมเห็นแล้วรีบตอบให้เลย เพราะโรคที่คุณมีโอกาสเป็นมากที่สุดคือจอประสาทตาฉีกขาด (retinal tear) หรือจอประสาทตาหลุดลอก (retinal detachment) ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ถึงตาบอด และเป็นเรื่องฉุกเฉิน อาการที่บ่งบอกถึงโรคนี้มีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างจาก 3 อย่างต่อไปนี้ คือ
1.1 มีแสงวาบๆ (flashing) เหมือนมีใครฉายไฟ ซึ่งเห็นชัดในที่มืด
1.2 เงาดำๆเล็กที่ลอยไปลอยมาให้เห็นในลูกตา (floatings) ซึ่งแต่เดิมมีจำนวนไม่มาก เกิดเพิ่มจำนวนขึ้นรวดเร็ว
1.3 พื้นที่การมองเห็น (visual field) หดหายไปเหมือนมีใครรูดม่านดำมาบังการมองเห็นไว้ส่วนหนึ่ง
2. เมื่อมีอาการของจอประสาทตาฉีกขาดหรือหลุดลอก ถือเป็นภาวะฉุกเฉิน ต้องไปหาจักษุแพทย์ที่เชี่ยวชาญเรื่องจอประสาทตาเพื่อทำการผ่าตัดแก้ไขทันที เพราะหากปล่อยให้การหลุดลอกขยายไปมากจนกินบริเวณศูนย์ร้บภาพ (macula) ก็จะเกิดภาวะตาบอดมืดสนิทถาวรได้ง่ายๆ อนึ่งเนื่องจากจักษุแพทย์ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องจอประสาทตาและทำการ ผ่าตัดจอประสาทตาได้ทุกคน ดังนั้นจึงต้องตั้งคำถามให้จักษุแพทย์ตอบให้ได้ก่อนว่ามีหรือสงสัยว่ามีภาวะ จอประสาทตาฉีกหรือหลุดลอกหรือเปล่า ถ้ามี ตัวแพทย์ท่านนั้นรักษาเองได้ไหม ถ้ารักษาไม่ได้จะส่งไปให้ใครรักษา เพราะการรักษาจะต้องทำทันที จะใช้วิธีให้ยาไปกินไปหยอดแล้วดูเชิงก่อนนั้นไม่ได้ เพราะโรคนี้ไม่มียารักษา ต้องผ่าตัดหรือเลเซอร์เท่านั้น
3. วิธีรักษาโรคนี้มีสองระยะคือ
3.1 ถ้าเป็นระยะที่เพียงแค่จอประสาทตาฉีกขาด แต่ยังไม่หลุดลอกออกจากชั้นเยื่อบุสีดำด้านหลัง การรักษาทำโดยใช้เลเซอร์ยิงให้มีพังผืดยึดติดส่วนฉีกขาดนั้นไว้ไม่ให้หลุด ลอก ถือเป็นระยะที่มาได้เร็ว รักษาได้ง่าย และได้ผลดี
3.2 ถ้าเป็นระยะที่จอประสาทตาหลุดลอกออกมาจากเยื่อบุสีดำด้านหลังแล้ว ต้องทำการผ่าตัดเพื่อให้จอประสาทตากลับไปอยู่ชิดติดกับเยื่อบุสีดำเหมือน เดิมแล้วใช้เลเซอร์ยิงให้เกิดพังผืดยึดติดถาวร วิธีผ่าตัดมีหลายแบบ ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องใช้ทักษะมาก และมีแพทย์ที่เชี่ยวชาญเรื่องนี้น้อย ต้องสืบหาควานหาตัวให้เจอ แต่ผลการผ่าตัดส่วนใหญ่ทำแล้วมักได้ผลดี
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์

อัพเดทล่าสุด