เนื้อเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของวัยรุ่น


10,349 ผู้ชม


ความรุนแรงของวัยรุ่นที่มีอิทธิพลมาจากสื่อ นางสาวอาจรีย์ พิจารสรรค์ 53242940

บทความเชิงวิชาการ
เรื่อง ความรุนแรงของวัยรุ่นที่มีอิทธิพลมาจากสื่อ

เด็ก กับความรุนแรงในสังคมไทยสังคมไทย จำเป็นต้องเข้าใจปัญหาการใช้ความรุนแรงของเด็กในสังคมไทยให้แจ่มชัดมากขึ้น เพราะการใช้ความรุนแรงในการดำเนินชีวิตได้คืบคลานเข้ามาอยู่กับเด็กไทยทุก ขณะแล้ว กระแสการต่อต้านเกมที่ใช้ความรุนแรงและรัฐได้ปราบไม่ให้ร้านเกมมีเกมประเภท ความรุนแรงบริการเด็ก อันเนื่องมาจากกรณีเด็กนักเรียนอายุ 16 ปล้นฆ่าแท็กซี่โดยรับว่าได้รับอิทธิพลจากเกมที่มีความรุนแรงเป็นสาระหลัก ก่อนที่เราจะไปดูถึงปัญหาความรุนแรงของวัยรุ่นที่มีอิทธิพลมาจากสื่อ ไม่ว่าจะเป็น ภาพยนตร์ โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต ละคร และยังมีอื่นๆอีกมากมาย เรามาดูว่าปัญหาความรุนแรงของวัยรุ่นที่กำลังเกิดขึ้นนั้นเป็นอย่างไร มาจากสาเหตุอะไรและจะเกิดปัญหาอะไรตามมาอีกบ้าง 
ปัญหาความรุนแรงในวัยรุ่น
วัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงในชีวิตและความเป็นอยู่อย่างมากเพื่อปรับตัวให้เข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อม ปัญหาความรุนแรงในวัยรุ่นเป็นประเด็นสำคัญที่ควรพิจารณาหาแนวทางแก้ไข ซึ่งเป็นปัญหาความรุนแรงต่อสังคม ดังนี้
                1) การก่ออาชญากรรมโดยใช้ความรุนแรง   เช่น ปล้นจี้ ทำร้ายร่างกายแล้วชิงทรัพย์หรือข่มขืนกระทำ
ชำเรา ซึ่งเป็นความรุนแรงที่ทำให้ถูกจับดำเนินคดีอาญาส่งผลเสียกับตัวเองทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ รวมถึงบุคคลรอบข้างด้วย
                2) การใช้อาวุธ เช่น ปืน มีด เป็นต้น ทำร้ายผู้อื่นให้ได้รับบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต  มีผลทั้งต่อตนเองและผู้อื่นด้วย
 3) กลุ่มวัยรุ่นระหว่างสถาบันที่ใช้ความรุนแรง เช่ย ยกพวกตีกัน การดักรอทำร้ายกัน การชกต่อยกันระหว่างชมการแสดงดนตรี เป็นต้น ซึ่งเป็นปัญหาที่พบบ่อยในปัจจุบัน เกิดความเสียหายทางด้านทรัพย์สิน การบาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก
ผลกระทบจากความรุนแรงในวัยรุ่น
                ปัญหาความรุนแรงในวัยรุ่นมีหลายประการ ซึ่งจะส่งผลกระทบทั้งต่อตนเองและผู้อื่นในหลายๆ ด้าน ผลกระทบดังกล่าวสามารถแบ่งได้ ดังนี้
1) ผลกระทบระยะสั้น ความรุนแรงในวัยรุ่นจะก่อให้เกิดผลกระทบระยะสั้น คือ ขาดความพร้อมในการเรียนหนังสือ การเรียนตกต่ำ เรียนไม่ทันเพื่อน มีความเสี่ยงที่จะต้องหยุดเรียนกลางคัน มีเจตคติต่อต้านสังคม มีความก้าวร้าวและวิตกกังวล ได้รับการปฏิเสธจากการเข้ากลุ่มเพื่อน ทำให้ต้องเข้ากลุ่มกับเพื่อนที่มีปัญหา ไม่สามารถควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมความรุนแรงได้
2) ผลกระทบระยะยาว ความรุนแรงในวัยรุ่นจะก่อให้เกิดผลกระทบระยะยาว คือ การทำผิดกฎหมาย  มีประวัติที่มัวหมองมีคดีติดตัว มีปัญหาเรื่องความประพฤติ ระเบียบวินัยกับโรงเรียนถูกพักการเรียน หรือถูกไล่ออก เกิดความซึมเศร้ารุนแรง เสพสารเสพติดและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ใช้ความรุนแรงต่อผู้อื่น เป็นภาระแก่สังคม
ลักษณะความรุนแรง พฤติกรรมความรุนแรงและผลกระทบ
ลักษณะความรุนแรง
พฤติกรรมความรุนแรง
ผลกระทบต่อผู้ถูกกระทำ
ผลกระทบต่อผู้กระทำ
1. ความรุนแรงทางกาย
 - ใช้กำลังทำร้าย เช่น ตบ ตี ต่อย เตะ
 - ใช้อาวุธ เช่น มีด ปืน ของที่หาได้ ใกล้มือ
 - ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยจนถึงสาหัส
 - อาจทำให้พิการหรือเสียชีวิต
 - ถูกลงโทษทางกฎหมาย หรือ ทางสังคม โรงเรียน
2. ความรุนแรงทางจิตใจ
 - ใช้คำพูด ดุ ด่า ว่ากล่าว ตะคอก
 - ใช้คำพูด / ภาษาที่หยาบคาย ดูถูกเหยียดหยาม ข่มขู่
 - มีผลเสียต่อจิตใจ ขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง ขาดความนับถือตนเอง
 - ไม่มีใครคบหาสมาคม เป็นที่รังเกียจของผู้อื่น
 - อาจมีความผิดทางกฎหมายเรื่องการหมิ่นประมาทผู้อื่น
3. ความรุนแรงทางสังคม
 - ปล่อยปละละเลย/ทอดทิ้ง
 - ไม่ให้ความสำคัญ ไม่สนใจ
 - ขัดขวางความก้าวหน้า
 - ขัดขวางการติดต่อ พบปะกับผู้อื่น เช่น เพื่อน
 - ถูกจำกัดสิทธิอันพึงมี
 - เสียสิทธิ เสียโอกาส
 - ไม่ได้รับเกียรติ ไม่ได้รับการยกย่อง
 - ไม่มีคนรัก
 - ขาดความภูมิใจในตนเอง
4. ความรุนแรงด้านเศรษฐกิจ
 - ควบคุมทรัพย์สิน จำกัดค่าใช้จ่าย
 - ไม่รับผิดชอบค่าใช้จ่าย
 - ดำเนินชีวิตด้วยความลำบาก
 - ขาดปัจจัยการยังชีพ
 - ไม่ได้รับความรัก ความไว้วางใจ
 - ขาดความภูมิใจในตนเอง
5. ความรุนแรงทางเพศ
 - อนาจาร ข่มขืน การกระทำชำเรา
 - การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ยินยอม
 - บังคับ ข่มขู่ ล่อลวง ใช้ประโยชน์หรือชักชวนให้ขายบริการทางเพศ
 - ทารุณทางกาย จิตใจ
 - ทำให้เกิดความเสื่อมเสีย
 - ติดโรค ตั้งครรภ์
 - ขาดอิสระ
 - ถูกลงโทษทางกฎหมายบ้านเมือง
 - ถูกเรียกร้องให้รับผิดชอบ
 - เป็นที่รังเกียจ
เด็กวัยรุ่นกับความรุนแรง เราจะหลีกเลี่ยงได้อย่างไร?
ปัจจุบันพบว่าเด็กวัยรุ่นมักมีความรุนแรงมากจนไม่คาดถึง เท่าที่พบเป็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์มีมากมาย สาเหตุพฤติกรรมรุนแรงของเด็กวัยรุ่นที่แสดงออกจากการวิเคราะห์ มักพบว่า นอกจากเด็กส่วนใหญ่มาจากครอบครัวที่แตกแยกทำให้เด็กมีปัญหา เนื่องจากพ่อแม่ไม่มีเวลาอบรมสั่งสอน และดูแลอย่างใกล้ชิด เด็กมักขาดระเบียบวินัย และขาดความอดทนต่อการรอคอยแล้วที่น่าสนใจไม่น้อยยังพบว่า เด็กอีกหลายคนที่พ่อแม่ดูแลดีเกินไป ประคบประหงมจนลูกทำอะไรไม่เป็น ไม่เคยต่อสู้อุปสรรคปัญหาใด ๆ หรือขาดความเข้มแข็งเปลาะบางจนไม่สามารถทนต่อความผิดหวังได้
ในวัยเด็กเล็กการตามใจลูกทำให้เด็กขาดระเบียบวินัย จนเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็กดื้อ เอาแต่ใจตนเองหากไม่ได้ดั่งใจก็จะก้าวร้าวกับพ่อแม่ ต่อมาอาการก้าวร้าวจะเพิ่มมากขึ้นจนกลายเป็นความรุนแรงตามข่าวที่มักพบบ่อย ๆ ในวัยรุ่นซึ่งเป็นวัยที่เป็นตัวของตัวเองมีความสนใจเข้ากลุ่มเพื่อนและเชื่อ ฟังเพื่อนมากกว่าผู้ใหญ่ผู้ใดังนั้นหากถูกเพื่อนปฏิเสธ หรือมีปัญหาทางการเรียนด้วยแล้วมักถูกเพื่อนชักจูงไปในทางที่ไม่เหมาะสม ยิ่งมีตัวกระตุ้นด้วยการลองดื่มเหล้า หรือสารเสพติดด้วยแล้ว ยิ่งก่อให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงเสี่ยงต่อการก่ออาชญากรรมได้ในที่สุด
การลดพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงได้นั้น พญ.วิริย์อร สุภัทรเกียรติ์ (คัดลอกจากสารสุขภาพจิต , ฉบับที่ 3 : 2546 ) กล่าว ว่า พ่อแม่สามารถฝึกเด็กได้ตั้งแต่ยังเล็ก โดยฝึกให้เขาเคยได้รับความผิดหวังบ้าง เช่น อาจสร้างมุมมองแนวคิดเมื่อเผชิญกับความผิดหวัง ฝึกให้เขามองโลกในแง่ดี มองถึงอนาคตรวมทั้งข้างหน้ายังมีโอกาสที่ผ่านเข้ามาอีกเรื่อย ๆ “ไม่ใช่หมดแล้วหมดเลย แต่โอกาสข้างหน้ายังมี หรือ เสียแล้วเสียไปหาใหม่ดีกว่า” จะทำให้เขามองโลกได้กว้างขึ้น รวมทั้งยังช่วยลดความโกรธ ความเคียดแค้นที่มีอยู่ภายในใจด้วยการให้เขารู้จักเรียนรู้ในการให้อภัยแก่ ผู้อื่นและตนเองด้วย ทุกคนมีโอกาสผิดพลาดได้ รวมทั้งหัดให้เด็กรู้จักวิเคราะห์ผลการกระทำโดยให้มองแบบลูกโซ่ เช่น ถ้าเขาทำแบบนี้จะเกิดผลอย่างไรต่อใครบ้างนอกจากตนเอง รวมทั้งทำแล้วถ้าผลไม่เป็นตามที่คิดที่หวังจะยอมรับได้หรือไม่ เพื่อให้เด็กสามารถจัดการกับปัญหา และตัดสินใจยอมรับผลที่เกิดขึ้นด้วยตนเองซึ่งสำคัญมากเมื่อเขาเติบโตเป็น ผู้ใหญ่ในอนาคต
อย่างไรก็ดีหากพ่อแม่ที่คิดว่าลูกโตแล้วฝึกไม่ทันเพราะผ่านการฝึกฝนในวัย เด็กเล็กไปแล้วก็ตาม แต่แต่เรื่องนี้ไม่มีคำว่าสายเกินไป อย่าท้อใจที่จะเริ่มต้นฝึกเด็กด้วยความอดทน เพื่อให้เขาปรับตัวและมีชีวิตที่เป็นสุขกับสังคมรอบข้างได้เป็นอย่างดีในต่อไป
อีก หนึ่งปัญหาที่เป็นสาเหตุให้เกิดความรุนแรงของวัยรุ่นก็คือสื่อ เพราะในปัจจุบันสื่อเข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมากในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์ เพลง หรือแม้แต่ข่าว ล้วนเข้ามามีบทบาททั้งสิ้นเพราะทุกคนสามารถเข้าถึงสื่อเหล่านี้ได้อย่าง สะดวกสบายต่อไปนี้จะกล่าวถึงว่าทำไมสื่อถึงได้มีอิทธิพลต่อความรุนแรงที่ เกิดในวัยรุ่นในปัจจุบันมากขนาดนี้
ปัจจุบันมีภัยที่เกิดขึ้นจากสื่อและเทคโนโลยีสมัยใหม่มากขึ้น วัยรุ่นหลายๆ คนเป็นเหยื่อ ไม่ว่าจะเรื่องเกมส์ออนไลน์, การแต่งกายตามแฟชั่นที่ล่อแหลม, การติดตอเพศตรงข้ามผ่านอินเตอร์เน็ต หรือสาวๆ หลายคนกลายเป็นสินค้าหน้าจอโดยไม่รู้ตัว ธุรกิจอื่นๆ อาจจะซบเซาไปถึงขั้นล้มหมอนนอนเสื่อ แต่นับว่ากลับยิ่งเฟื่องฟูและมีกำลังซื้อมากเป็นอันดับต้นๆ
ความรุนแรงในเด็กวัยรุ่นในสังคมปัจจุบันมีจำนวนมากขึ้น และทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ดังเราจะเห็นเป็นข่าวที่ปรากฏอยู่ตามหน้าหนังสือพิมพ์รายวันทั่วไป เช่น เด็กนักเรียนอาชีวะยกพวกตีกัน , เด็กวัยรุ่น ใช้ปืนยิงคู่อริ และยิงตัวตาย กลุ่มเด็กวัยรุ่นรุมข่มขืนเด็กผู้หญิง ฯลฯ มีการใช้อาวุธที่รุนแรงและอันตราย เช่น มีด ปืน วัตถุระเบิด ความรุนแรงในเด็กวัยรุ่นนำไปสู่สาเหตุการตายในเด็กวัยรุ่นมีจำนวนมากขึ้นนอก จากสาเหตุจากอุบัติเหตุจากยานยนต์ที่เคยเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่ง เด็กวัยรุ่นเป็นช่วงระยะเวลาของการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ วุฒิภาวะทางด้านอารมณ์ การปรับตัวเข้าอยู่ในสังคม ที่สำคัญโดยธรรมชาติของเด็กวัยรุ่น เป็นช่วงระยะเวลาแห่งการเรียนรู้หาประสบการณ์ อยากลองสิ่งแปลกใหม่และทำในสิ่งที่ท้าทาย โดยมีความรู้สึกว่าตนเองแน่ เก่ง ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน หลายสิ่งหลายอย่างที่เกิดกับคนอื่นจะไม่เกิดกับตนเองและไม่คำนึงผลที่จะเกิด ตามมาในอนาคต ซึ่งเป็นสาเหตุนำไปสู่การมีพฤติกรรมเสี่ยงหรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่าง ๆ ในวัยรุ่นมากมาย
เด็กวัยรุ่นเรียนรู้ชีวิตจากชีวิตจริงที่เขาดำเนินอยู่ ขณะเดียวกันเขาก็เรียนรู้หรือซึมซับความรุนแรงจากชีวิตจริงที่เขาได้เห็นได้ สัมผัสจากคนใกล้ชิด , ครอบครัว , ชุมชน , สังคม , โรงเรียน , สิ่งแวดล้อม ตลอดจนจากสื่อต่างๆ ที่มีผลกระทบอย่างมากต่อเด็กเล็กๆ และเด็กวัยรุ่นในสังคมปัจจุบัน ความหมายของคำว่า Violence หรือ ความรุนแรง หมายถึง การกระทำที่มีหรือส่อว่ามีเจตนาที่จะกระทำให้บุคคลอื่นหรือกลุ่มบุคคลอื่น ได้รับบาดเจ็บ การบาดเจ็บนี้อาจเนื่องมาจากการทำร้ายร่างกายและจิตใจ ตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ บทบาทของเด็กวัยรุ่นนั้นในความรุนแรงนั้น อาจจะเป็นทั้งผู้กระทำและถูกกระทำ ซึ่งขึ้นอยู่กับโอกาสปัจจัยสิ่งแวดล้อม ฯลฯ จากการศึกษาพบว่าเด็กวัยรุ่นจะตกเป็นผู้ถูกกระทำ ( ถูกทำร้าย ) เป็น 2 เท่า ของผู้ใหญ่และในปัจจุบันพบว่าเด็กที่ถูกทำร้ายและทำร้ายผู้อื่นจะมีอายุ น้อยลงเรื่อยๆ และผู้ชายโดยทั่วไปแล้วจะเป็นทั้งผู้ทำร้ายและผู้ถูกทำร้ายสูงกว่าเด็ก ผู้หญิง ยกเว้นบางกรณีเรื่องทางเพศ กลุ่มเด็กผู้หญิงจะเป็นผู้ถูกกระทำสูงกว่าเพศชายและที่น่าสนใจก็คือ เด็กที่ถูกทำร้ายคนที่เป็นผู้กระทำมักจะเป็นคนใกล้ชิดและมักจะเป็นคนในครอบ ครัวและสาเหตุการตายความรุนแรงในเด็กวัยรุ่นมักจะเป็นสาเหตุจากการใช้อาวุธ ปืน เป็นสาเหตุอันดับหนึ่ง นักวิชาการบางกลุ่มเชื่อว่าสมมุติฐานของความรุนแรงเกิดมาจากประสบการณ์หรือ การเรียนรู้ความรุนแรงที่เคยได้รับรู้ได้เห็นมาก่อน
วัยรุ่นในยุคนี้เลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเผชิญกับสิ่งยั่วยุทั้งหลายผ่านสื่อ ต่างๆ ทุกรูปแบบ และหลายๆครอบครัวพ่อแม่ทำงานหนัก เพื่อให้ฐานะมั่นคงมีเงินซื้อสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้ลูกเพื่อให้ลูกมีความสุข ทำให้เวลาที่อยู่กับลูกน้อยลงหรือแทบจะไม่มี โดยลืมไปว่า การให้แต่วัตถุก็เปรียบเหมือนการปลูกต้นไม้ที่ให้แต่น้ำกับปุ๋ยเท่านั้น ถ้าไม่มีการพรวนดินแต่งกิ่งใบ ให้ได้รับแสงที่เหมาะสมกับชนิดของต้นไม้นั้นๆ ต้นไม้ก็จะไม่เจริญงอกงามหรือบางต้นเติบโตได้แต่ใบหงิกงอ ถูกแมลง, เพลี้ยกิน กิ่งก้านไประรานต้นอื่น
ก็เหมือนกับเด็กที่ขาดความอบอุ่นและการอบรมบ่มนิสัยให้รู้ถูกผิด ซึ่งมักจะรับเอาค่านิยมผิดๆ เข้ามาและเกิดปัญหาพฤติกรรมต่างๆ ตามมา ปัญหาพฤติกรรมทางเพศในวัยรุ่น เป็นเรื่องที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ และสื่อเองก็ได้นำเสนอตัวอย่างออกมามากมาย ทั้งที่เหมาะสมและไม่เหมาะสมปนเปกันไป ยิ่งกระแสสังคมปัจจุบันที่ถือว่าเรื่องเพศเป็นเรื่องเสรี หญิงชายไปไหนมาไหนตามลำพัง หรือถูกเนื้อต้องตัวกันเป็นเรื่องธรรมดา แต่วัยรุ่นเองลืมไปว่า ถ้าได้รับการกระตุ้นที่ยั่วยุ ก็จะมีการสนองตอบต่ออารมณ์ทางเพศได้ง่าย ถ้าสองฝ่ายต่างมีวุฒิภาวะไม่พร้อมย่อมก่อให้เกิดปัญหาตามมา ได้แก่ การมีเพศสัมพันธ์การตั้งครรภ์ก่อนแต่งงาน การติดเชื่อทางเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์ก่อนแต่งงาน ตามมาด้วยปัญหาการทำแท้ง และอาจมีอันตรายถึงชีวิต
ฉะนั้น ในการแก้ไขและป้องกันปัญหาความรุนแรงจะต้องไม่ให้มีตัวอย่างหรือเห็นความ รุนแรงในสังคมให้เด็กได้เห็นหรือเรียนรู้ปัญหาความรุนแรงในเด็กวัยรุ่นจะมี ปัจจัยต่างๆ เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องหลายปัจจัยร่วมกัน ส่งเสริมให้มีความรุนแรงเกิดขึ้น เช่น ปัญหาทางด้านพันธุกรรม , ฮอร์โมน , ความผิดปกติทางด้านร่างกาย , พื้นฐานทางด้านอารมณ์ , การเลี้ยงดู , สภาพทางด้านครอบครัว , วัฒนธรรม , ค่านิยม , ความเชื่อถือ , เชื้อชาติ ตลอดจนกฎเกณฑ์ทางด้านสังคมและกฎหมายต่างๆ แต่ปัจจัยที่สำคัญที่นำไปสู่ความรุนแรงที่เราพบเห็นเป็นประจำที่ปัจจุบันมี อิทธิพลอย่างมาก คือ สื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ วิดีโอเกมส์ คอมพิวเตอร์ และสิ่งที่จะชักจูงนำไปสู่ความรุนแรงได้ง่ายมากขึ้น คือ พวกเหล้า เบียร์ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ผสมต่างๆ ยา สารเสพติด ฯลฯ ซึ่งกลุ่มเด็กวัยรุ่นเป็นกลุ่มเสี่ยงและล่อแหลมต่อสิ่งดังกล่าว ถ้าหากไม่มีการควบคุมกำกับดูแลที่ดีในปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เหล่านี้จะมีผลเสียเกิดขึ้นตามมากับเด็กวัยรุ่นมากกว่าผลดีที่เด็กวัยรุ่น ควรจะได้รับ
ในอดีตนั้นบุคลากรทางด้านการแพทย์มองปัญหาความรุนแรงใน เด็กวัยรุ่นเป็นเรื่องทางด้านกฎหมาย ตำรวจ ศาลพิจารณาคดี แต่ในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าแพทย์จะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการ แก้ไขป้องกันปัญหาดังกล่าว รวมทั้งองค์กรต่างๆ ในสังคมทั้งภาครัฐเอกชนจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมอย่างมากจึงจะทำให้ผลที่เกิด ตามมาจากความรุนแรง เช่น การตาย การกระทำความรุนแรงเป็นนิสัยปกติ , การถูกลงโทษกักขังผู้กระทำความรุนแรงหรือความผิดมีจำนวนลดน้อยลงและสังคมมี ความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
                ข้อแนะนำเกี่ยวกับการใช้สื่อต่างๆ ที่ทางสมาคมกุมารแพทย์ของสหรัฐอเมริกาเสนอเป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อให้เกิด ประโยชน์ต่อเด็กและวัยรุ่นให้มากที่สุด พอสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
                1. แพทย์ควรได้เข้าไปมีบทบาทพิจารณาดูความเหมาะสมของสื่อต่างๆ ที่มีผลต่อความรุนแรง พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมและมีมาตรการควบคุมอย่างเหมาะสม
                2. แพทย์ควรจะได้ให้คำแนะนำกับผู้ปกครองให้เข้าไปมีส่วนร่วมในการเลือกสื่อที่ เหมาะ สมและใช้เวลาดูสื่อร่วมกับบุตรหลาน กำหนดระยะเวลาการดูโทรทัศน์ วิดีโอ 1-2 ชั่วโมง / วัน ใช้เครื่องมือ V - chip ป้องกันโปรแกรมที่ไม่เหมาะสม หลีกเลี่ยงวิดีโอหรือเกมส์ที่รุนแรงและไม่ควรมีโทรทัศน์หรือคอมพิวเตอร์อยู่ ในห้องนอนของเด็ก ควรอยู่ในที่ที่พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถสอดส่องดูแลได้ว่าบุตรหลานกำลังทำอะไร อยู่
                3. รายการหนัง , วิดีโอ , เกมส์ต่างๆ ที่จะให้เด็กดูหรือเล่น ขณะที่เด็กรอแพทย์ตรวจควรได้มีการตรวจสอบดูความเหมาะสม ควรจะเป็นเรื่องที่ไม่มีความรุนแรงเท่านั้น มีเครื่อง V - chip ป้องกัน คัดกรอง
                4. แพทย์ควรให้คำแนะนำแก่พ่อแม่ โรงเรียนและชุมชนให้เข้าใจและเห็นความสำคัญเกี่ยวกับการสื่อที่เหมาะสมในการ เรียนการสอนเด็ก การใช้สื่อที่เหมาะสมสามารถลดความรุนแรงในเด็กลงได้
                5. แพทย์ควรเข้าไปมีบทบาทชี้แนะองค์กรระดับสูงที่ควบคุมนโยบายของประเทศเกี่ยว กับการนำเสนอ เนื้อหาเกี่ยวกับความรุนแรงที่แฝงอยู่ ทางสื่อต่างๆ ที่จะมีผลเสียกระทบต่อพฤติกรรมของเด็กวัยรุ่น พร้อมหาแนวทางสังคม ศิลปวัฒนธรรม การให้การบริการทางด้านการแพทย์ ที่จะช่วยลดผลกระทบของสื่อต่อความรุนแรง
                6. แพทย์ควรให้คำแนะนำ ข้อเสนอแนะและสนับสนุนให้มีการผลิตสื่อที่สร้างสรรค์เกิดประโยชน์ต่อเด็กให้ มากขึ้น ให้ความรู้แก่ ผู้ผลิตสื่อต่างๆ รวมทั้งตัวแทนจำหน่ายจะต้องเข้าใจและตระหนักถึงบทบาทและความสำคัญของสื่อ ต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อเด็ก
                - หลีกเลี่ยงการนำเสนอการใช้อาวุธหรือพกพา ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ว่าเป็นเรื่องปกติ หลีกเลี่ยงการนำเสนอความรุนแรงในรูปแบบการแสดงเรื่องเพศหรือในเรื่องอื่นๆ ที่ออกมาในลักษณะสนุกสนาน เป็นเรื่องเล็กน้อยไม่สำคัญ
                - ถ้า ต้องการนำเสนอเกี่ยวกับความรุนแรงจะต้องถือเป็นเรื่องสำคัญและบอกให้ทราบ ถึงผลกระทบที่จะได้รับตามมาทั้งผู้กระทำและผู้ถูกกระทำซึ่งจะต้องมีคำอธิบาย ที่เข้าใจได้ง่ายที่พ่อแม่สามารถอ่านก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ
                - วิดีโอเกมส์ต่างๆ ไม่ควรใช้คนหรือสิ่งมีชีวิตเป็นเป้ายิงและได้คะแนนเพิ่มขึ้นเมื่อมีการฆ่า สำเร็จ ต้องนำเอาอายุเด็กมาเป็นข้อพิจารณาดูความเหมาะสมในการเลือกเกมส์แต่ละชนิด สำหรับเด็ก รวมถึงการแจกจ่ายหรือนำเสนอแก่เด็กในช่วงอายุต่าง ๆ
                7. แพทย์ควรมีบทบาทช่วยจัดจำแนกระดับของสื่อ , เกมส์ต่างๆ เพื่อให้พ่อแม่สามารถเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสม
                8. แพทย์ต้องเน้นย้ำกับผู้ปกครองว่าสื่อเกมส์ต่างๆ ถ้าผู้ปกครองไม่ซื้อต่อไปผู้ผลิตก็คงจะเลิกไปเอง
                สื่อต่างๆ ไม่ว่าโทรทัศน์ วิดีโอเกมส์ วิดีโอเพลง เพลง ภาพยนตร์ รวมถึงสื่อโฆษณาต่างๆ ถือว่าเป็นสิ่งที่มีความรุนแรงมากที่สุดมีผลกระทบต่อความคิดค่านิยมและ พฤติกรรมของเด็กวัยรุ่นเพราะในปัจจุบันนี้เด็กใช้เวลาอยู่หน้าจอโทรทัศน์ เล่มคอมพิวเตอร์ และวิดีโอเกมส์ต่างๆ มากกว่าทำกิจกรรมอย่างอื่น และเป็นการสื่อสารทางเดียว ขณะเดียวกันผู้ผลิตสื่อต่างๆ ก็มีการพัฒนาให้มีความตื่นเต้นเร้าใจ หลอกล่อให้ผู้เล่นหลงใหลในเกมส์ต่างๆ มากขึ้นโดยลืมผลกระทบที่จะตามมา ภาพยนตร์ที่เหมือนความเป็นจริง และมีคนเป็นผู้แสดงยิ่งทำให้ดูเหมือนจริงและเด็กเลียนแบบได้ง่ายขึ้น
ดัง นั้น พ่อแม่เองแม้ไม่สามารถควบคุมสื่อได้ แต่สามารถที่จะสอนลูกๆได้โดยเริ่มตั้งแต่การที่พ่อแม่ต้องหาความรู้เรื่อง พัฒนาการเด็กแต่ละวัย ให้รู้จักอารมณ์ของลูกและเริ่มสอนตั้งแต่เด็กๆ ให้รู้จักควบคุมตัวเอง ปล่อยให้มีอิสระในการทำสิ่งที่ควรทำตามวัยและรู้จักห้ามเมื่อทำในสิ่งที่ไม่ เหมาะสม ด้วยเทคนิคการสอนที่เหมาะสมด้วย รู้จักและยอมรับอารมณ์ของลูกและฝึกให้แสดงออกเหมาะสม ยอมรับสิ่งที่ลูกทำผิดพลาดและแสดงความชื่นชมเขาเมื่อเขาทำดี
ฉะนั้นพ่อแม่ผู้ปกครองจะต้องมีความเข้าใจและตระหนักถึงปัญหาต่างๆ เหล่านี้ให้มากขึ้นแล้ว พยายามป้องกันแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้มากที่สุดเท่าทีจะทำได้ทั้งในระดับครอบครัว ชุมชนหรือระดับประเทศ การนำเสนอความรุนแรงควรจะต้องแสดงให้เห็นผลกระทบที่ตามมาด้วย ซึ่งจะช่วยทำให้เด็กเข้าใจได้อย่างถูกต้องและที่สำคัญที่สุดคือผู้ปกครอง ชุมชน และสังคมจะต้องทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เด็กวัยรุ่น ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งโดยไมใช้ความรุนแรง ซึ่งจะช่วยปลูกฝังและหล่อหลอมเด็กเหล่านี้ เพื่อทำให้ปัญหาความรุนแรงต่าง ๆ คงลดน้อยลงหรือหมดไป
ซึ่งสิ่งเหล่านี้ จะเป็นหนทางสู่สัมพันธ์ภาพที่ดีต่อกันในครอบครัว และเกิดความไว้วางใจกัน ลูกจะเติบโตเป็นวัยรุ่นที่มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ที่ดี รู้จักคิดว่าอะไรถูกผิดควรไม่ควร ดังนั้นแม้จะต้องเผชิญกับสื่อหรือสิ่งที่ยั่วยุต่างๆ เขาก็จะรู้จักวิเคราะห์หรือถ้ามีปัญหา ไม่รู้ไม่แน่ใจเขาก็จะกล้าที่จะนำมาปรึกษาพ่อแม่ที่เขาไว้วางใจ มั่นใจว่าคุยกับเขาได้อย่างไม่อึดอัด และเรื่องเพศก็จะเป็นเรื่องที่สามารถพูดคุยได้อย่างไม่อึดอัดใจอีกต่อไป และเมื่อสื่อที่ขาดจรรยาบรรณจะยังไม่แก้ไขการนำเสนอแต่ลูกๆ วัยรุ่นของคุณพ่อแม่ก็จะเติบโตเป็นคนที่มีวุฒิภาวะที่ดีได้
ต่อมาจะเป็นวิธีการเลี้ยงลูกไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของละครหลังข่าว ซึ่งเป็นสื่อที่วัยรุ่นเข้าถึงได้ง่ายมากที่สุดและเกิดพฤติกรรมเลียนแบบมากที่สุดในปัจจุบันนี้ ในการดูละคร พ่อ แม่ ต้องคอยบอกว่าอะไรถูก อะไรผิด ต่อไปจะขอเสนอวิธีการดูแลลูกเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของละครหลังข่าวจนเกิดเป็นพฤติกรรมเลียนแบบ

เลี้ยงลูกอย่างไรไม่ตกเป็นเหยื่อ "ละครหลังข่าว"

                เป็นปัญหาที่มีการพูดถึงกันมาทุกยุคทุกสมัย สำหรับการเลียนแบบตัวละครของเด็ก ไม่ว่าจะเป็นความรุนแรงทางคำพูด และการกระทำ ตลอดจนการคิดสั้นฆ่าตัวตาย เห็นได้จากก่อนหน้านี้เคยมีเด็กวัย 6 ขวบ เลียนแบบละครเรื่องไทรโศก ด้วยการแขวนคอตายจนเสียชีวิต และในกรณีล่าสุดที่กำลังตกเป็นกระแสอยู่ ณ ตอนนี้ก็คือ เด็กหญิงวัย 8 ปีเลียนแบบฉากผูกคอตายในละครเรื่องแรงเงา และรายการคนอวดผีจนเกือบเสียชีวิต
                เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น กลายเป็นเรื่องเดิม ๆ ที่หลายฝ่ายพยายามเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยกันแก้ปัญหา และสิ่งที่ดูเหมือนจะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาอย่าง "เรตติ้งละครโทรทัศน์" ก็ดูเหมือนจะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามมาถึงความไม่ใส่ใจในตัวเนื้อหา รวมไปถึงความเหมาะสมของช่วงเวลาออกอากาศ เป็นเหตุให้เด็กเข้าถึง และเลียนแบบพฤติกรรมความรุนแรง และการใช้ภาษาจนเกิดปัญหาอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้
                เห็นได้จากเรื่องเล่าจากประสบการณ์ตรงที่สะท้อนอิทธิพลละครไทยได้เป็น อย่างดีของ เรืองศักดิ์ ปิ่นประทีป กรรมการผู้จัดการมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก และนักวิจัยด้านศึกษาและพัฒนาการศึกษาเด็กปฐมวัย ที่เคยพบเห็นมากับตาตอนลงไปเยี่ยมเด็กๆ ในต่างจังหวัด ซึ่งเด็กบางคนอยู่แค่วัยอนุบาลเท่านั้น
               "เริ่มจากเหตุการณ์ที่หนึ่ง มีเด็กหญิงแบ่งเป็น 2 พวก พวกหนึ่งเดินมาจากฝั่งซ้าย อีกพวกหนึ่งเดินมาฝั่งขวา แล้วมาประชันหน้ากันโดยมีเด็กผู้ชายยืนกลาง พวกซ้ายเป็นพวกของภรรยารอง ทำหน้าถมึงทึงใส่อีกพวกซึ่งเป็นภรรยาเอก แล้วบอกพวกของตนว่า ตบมันเลย ฆ่ามันเลย มันแย่งสามีฉัน แล้วทำท่าทางปรี่เข้าไปตบตี นี่คือ บทบาทสมมุติที่เด็ก ๆ เขาเล่นกัน ซึ่งถามไถ่ได้ความว่า เอาอย่างละคร ส่วนเหตุการณ์ที่สอง เกิดที่จังหวัดหนึ่ง มีเด็กผู้ชายคนหนึ่ง ตอนครูเผลอๆ เจอเด็กผู้หญิงไม่ได้ จูงมือไปห้องน้ำขึ้นคร่อมจูบปากเลย ถามไถ่ได้ความว่า เอาอย่างละครอีกเช่นกัน"
                ภาพการเลียนแบบที่เกิดขึ้น หากลองมองย้อนกลับไป เราคงจะปฏิเสธไม่ได้ว่า ต้นเหตุสำคัญมาจากการเปิดรับสื่อของพ่อแม่ที่ส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้า ใจ และมักชะล่าใจปล่อยให้เด็กอยู่ตามลำพังกับโทรทัศน์ หรือบางทีนั่งดูด้วยกันแต่ไม่ได้สอนให้ลูกรู้เท่าทัน ส่งผลให้เกิดการเลียนแบบพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมได้ง่าย  เราจึงขอเสนอวิธีการเลี้ยงดูลูกเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของละครหลังข่าว ดังนี้
1. สร้างวินัยให้เด็ก
                ปฏิเสธไม่ได้ว่า เด็กที่ติดละคร และมีพฤติกรรมเลียนแบบละครส่วนใหญ่มาจากพ่อแม่ที่ติดละคร นอนดึก และไม่มีวินัยในการนอน การปลูกฝังวินัยให้ลูกนอนแต่หัวค่ำ เป็นสิ่งที่พ่อแม่ต้องเป็นแบบอย่างให้ลูกเห็น โดยเฉพาะเด็กเล็กที่หากนอนดึก อาจส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ได้ ทางที่ดี ไม่ควรให้ลูกมาคอยเพื่อนอนรอพ่อแม่ดูละคร แต่ควรพาลูกเข้านอนก่อนแล้วค่อยลงมาเปิดดู และยิ่งมีทางเลือกจากการดูละครย้อนหลังด้วยแล้ว อาจหาเวลาว่างเปิดดูได้ตลอดเวลา
                นอกจากนี้ การกำหนดช่วงเวลาในการดูโทรทัศน์ เป็นอีกเรื่องที่สำคัญ ถ้าเป็นเด็กเล็กที่อายุยังไม่ถึง 2 ขวบ ไม่ควรดูโทรทัศน์ หรือเล่นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นดีวีดี คอมพิวเตอร์ และเกมอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เพราะการใช้เวลาอยู่แต่หน้าจอทีวี อาจจะทำให้เด็กๆ มีกิจกรรมกรรมทางสังคม หรือได้ออกไปเล่นกับเพื่อนๆ น้อยลง ส่วนเด็กโต การเล่นควรมีกฎกติกาชัดเจน โดยเฉพาะเวลาในการเล่น ซึ่งไม่ควรเกิน 3 ชม.ต่อวัน เพราะมีการศึกษาวิจัยพบว่า เด็กที่เล่นเกมเกิน 3 ชม.ต่อวัน มีแนวโน้มที่จะติดเกมมากกว่าเด็กที่เล่นน้อยครั้งถึง 3 เท่าเลยทีเดียว ทางที่ดีควรจัดตารางเวลาให้ดีเพื่อฝึกให้ลูกได้ทำงานตามเป้าหมาย และช่วยในการบริหารเวลาได้ดีอีกด้วย
2. ฝึกเด็กให้คิดเป็น
                เด็กทุกคนต้องการพี่เลี้ยง ที่ปรึกษา และบุคคลที่จะเป็นพี่เลี้ยงของเด็กได้ดีก็คือ พ่อแม่ เนื่องจากเด็ก โดยเฉพาะวัยรุ่นจะเน้นที่การแสดงออกทางอารมณ์ จึงต้องมีการพัฒนาสมองในส่วนการรู้คิดตั้งแต่เด็ก หวังไปพึ่งระบบการศึกษาบ้านเราก็ยังไม่พัฒนาทักษะการรู้คิด วิเคราะห์ และแก้ปัญหาให้แก่เด็กได้ดีเท่าที่ควร ทางที่ดี พ่อแม่ และครูต้องฝึกให้เด็กคิด และวิเคราะห์เป็น เพราะบางครั้ง การสอนแบบอบรมสั่งสอนอาจใช้ไม่ได้ผล ซึ่งการสอนให้เด็กคิด และวิเคราะห์เพื่อรู้เท่าทันสื่อ เริ่มได้ง่าย ๆ จากการชวนกันตั้งคำถาม และข้อสังเกต       
                ยกตัวอย่างเช่น ดูฉากแล้วลูกรู้สึกอย่างไร ถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น ลูกคิดว่าจะทำอย่างไร อย่างในเรื่องมีฉากผูกคอตาย ต้องอธิบายให้ลูกฟังว่า นี่คือการแสดง ตัวละครไม่ได้ตายจริง เอามาเลียนแบบในชีวิตจริงไม่ได้ เพราะอาจถึงตายได้ หรืออาจชวนกันหาทางออกว่า ทุกปัญหามีทางออก การฆ่าตัวตายไม่ใช่ทางออก ลูกยังมีพ่อ แม่ หรือครูคอยเป็นที่ปรึกษา ถ้าเกิดมีปัญหา หรือมีเรื่องที่ไม่สบายใจ หันมาเลือกปรึกษาพ่อแม่หรือครูได้ (แต่พ่อแม่ต้องเปิดใจจริง ๆ และเข้าใจวิธีการคุยกับลูกด้วย เพราะไม่เช่นนั้นอาจกลายเป็นการเพิ่มปัญหาขึ้นไปอีก)แต่สำหรับในมุมของ พญ.พรรณพิมล วิปุลากร ผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูล คุณหมอท่านนี้เคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะให้เด็กดูละครหลังข่าว หรือถ้าปล่อยให้ดู แล้วบอกว่า สอน หรือบอกเด็กอยู่ตลอด วิธีนี้ก็อาจช่วยได้ แต่มันซับซ้อนเกินกว่าที่เด็กจะเข้าใจ ดังนั้น ผลเสียในระยะยาวที่เกิดจากการดูโทรทัศน์ เป็นสิ่งที่ไม่อาจย้อนเวลากลับไปแก้ไขได้ แทนที่จะให้ลูกดูโทรทัศน์ หรือรอตัวช่วยจากผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้อง พ่อแม่ควรหากิจกรรม หรืออ่านหนังสือให้ลูกฟัง
3. อินได้แต่อย่ามาก
                อารมณ์สะใจจนดูโอเวอร์ของผู้ใหญ่ โดยเฉพาะพ่อแม่ที่นั่งดูไปพร้อม ๆ กันกับเด็กนั้น หลายคนอาจหลุดพฤติกรรม และวาจาที่ไม่เหมาะสมออกมาด้วย ไม่ว่าจะเป็นความสะใจ คาดแค้นแทนตัวละคร สิ่งเหล่านี้ หากเด็กได้เห็นพ่อแม่กำลังด่าทอนางร้าย หรือสาปแช่งให้ไปตาย อาจไม่สนุกอย่างที่คิดได้ เพราะคุณกำลังสร้างค่านิยมใหม่ ๆ ให้ลูกแบบเนียนๆ และอย่างชอบธรรมว่าความรุนแรง และเรื่องเพศเป็นเรื่องปกติที่คนใกล้ตัวของเขายังทำได้เลย
                ถึงวันนี้ เราคงต้องยอมรับว่า ละครเป็นของคู่กันของคนไทย แต่สำหรับเด็ก การมีพ่อแม่คอยแนะนำอยู่เคียงข้าง คือความจำเป็นที่จะช่วยป้องกันไม่ให้ตกเป็นเหยื่อจาก "ละครหลังข่าว" เห็นได้จากคำสัมภาษณ์ของคุณเรืองศักดิ์ ปิ่นประทีป นักวิจัยด้านศึกษาและพัฒนาการศึกษาเด็กปฐมวัย เคยให้ความเห็นเกี่ยวกับละครไทยไว้อย่างน่าสนใจว่า
       "อย่า เอาความบันเทิงหยาบๆ ที่หาดูได้ง่าย มาใส่ให้เด็กบันทึกลงในชีวิตทุกวันๆ เลย เพราะเมื่อเด็กเห็นพฤติกรรมเหล่านี้บ่อยๆ เด็กก็รับ รับ รับไปเรื่อยๆ เพราะตอนดูนั้น ตัวละครแสดงไปเรื่อยๆ สีสันมันดึงให้อินจนไม่มีเวลาหยุดคิด พ่อแม่ควรพูดคุย ชี้แนะและแลกเปลี่ยนความเห็นต่อพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของตัวละคร อย่าเอาแต่จดจ่อรอสะใจ ที่ได้เห็นตัวละครตบตีกัน ถากถางกัน หรือมองเป็นเรื่องขำๆ ซึ่งกรรมจะตกอยู่ที่เด็กเอาได้" นับเป็นปัญหาที่ครอบครัวไทยจะชะล่าใจไม่ได้อีกต่อไปแล้ว.
 ห้ามทานอาหารตอนดึกๆ หรือทานจนพุงกาง  เคล็ดลับในการทานอาหารเพื่อให้ได้วิตามิน  เกลือแร่ครบ  ในระหว่างที่กำลังควบคุมพลังงานก็คือ  ทานอาหารหลากชนิด  หรือมีส่วนผสมหลายอย่างระหว่างมื้ออาหารควรดื่มนม  1 แก้วหรือผลไม้ ทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารหรือผักสีเขียว สีเหลือง เป็นต้น ควรเคียวอาหารช้าๆ  ตามสบาย  เพื่อให้สมองมีเวลาสั่งการให้รู้สึกอิ่มทันเวลา  หากทานเร็ว  จะทำให้ทานเข้าไปมากเกินขนาดก่อนที่สมองจะสั่งการให้มีความรู้สึกอิ่ม

ร่างกาย อารมณ์ สังคม และจิตใจ

 

 พัฒนาการของวัยรุ่นจะแบ่งเป็น 3 ช่วง คือ วัยแรกรุ่น (10-13ปี) วัยรุ่นตอนกลาง (14-16 ปี ) และวัยรุ่นตอนปลาย (17-19 ปี)  ทั้ง นี้เพื่อจะชี้ให้เห็นถึงลักษณะที่เด่นเป็นพิเศษของวัยรุ่นแต่ละช่วง ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนในด้านความรู้สึกนึกคิด และความสัมพันธ์กับบิดามารดาโดยแบ่งดังนี้

  1. วัยแรกรุ่น (10-13ปี) เป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายทุกระบบ โดยจะมีความคิดหมกมุ่นกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย ซึ่งจะส่งผลกระทบไปยังจิตใจ ทำให้อารมณ์หงุดหงิดและแปรปรวนง่าย
  1.  วัยรุ่นตอนกลาง(14-16 ปี )  เป็นช่วงที่วัยรุ่นจะยอมรับสภาพร่างกายที่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นหนุ่มเป็นสาวได้แล้ว มีความคิดที่ลึกซึ้ง (abstract) จึง หันมาใฝ่หาอุดมการณ์และหาเอกลักษณ์ของตนเอง เพื่อความเป็นตัวของตัวเอง และพยายามเอาชนะความรู้สึกแบบเด็กๆ ที่ผูกพันและอยากจะพึ่งพาพ่อแม่
  1.  วัยรุ่นตอนปลาย(17-19 ปี)  เป็นเวลาของการฝึกฝนอาชีพ ตัดสินใจที่จะเลือกอาชีพที่เหมาะสม และเป็นช่วงเวลาที่จะมีความผูกพันแน่นแฟ้น (intimacy) กับเพื่อนต่างเพศ สภาพทางร่างกายเปลี่ยนแปลงเติบโตโดยสมบูรณ์เต็มที่ และบรรลุนิติภาวะในเชิงกฎหมาย

          การเปลี่ยนแปลงในวัยรุ่น มี 3 ทางใหญ่ๆ คือ

  1. การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย
  1. การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ สังคม
  1. การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ

ลักษณะทั่วไปของวัยรุ่น

               การ ที่เด็กผู้ชายผู้หญิงเติบโตเข้าสู่วัยรุ่นเร็วช้าต่างกัน โดยที่เด็กผู้หญิงจะเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงทางร่าง กายก่อนเด็กผู้ชายประมาณ 2 ปี ซึ่งจะทำให้ในชั้นประถมตอนปลาย หรือชั้นมัธยมต้นจะพบว่าวัยรุ่นหญิงจะมีร่างกายสูงใหญ่ เป็นสาวน้อยแรกรุ่น ในขณะที่พวกเด็กผู้ชายยังดูเป็นเด็กชายตัวเล็กๆ ทำให้ทั้งสองฝ่ายเกิดความสับสนและวิตกกังวลได้ เด็กผู้หญิงอาจกังวลว่าตนเองไม่หยุดสูงเสียที ในขณะที่เด็กผู้ชายก็เกิดความกังวลว่าทำไมตัวเองจึงไม่สูงใหญ่

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย  

             1. ขนาดและความสูง : ในวัยเด็กทั้งเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชายจะมีความกว้างของไหล่และสะโพกใกล้ เคียงกัน   แต่ เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น ผู้ชายจะมีอัตราเร็วในการเจริญเติบโตของไหล่มากที่สุด ทำให้วัยรุ่นผู้ชายจะมีไหล่กว้างกว่า ในขณะที่วัยรุ่นผู้หญิงมีอัตราการเจริญเติบโตของสะโพกมาก กว่าผู้ชาย  นอก จากนี้การที่วัยนี้มีการเจริญเติบโตสูงใหญ่ได้รวดเร็ว โดยเฉพาะที่ คอ แขน ขา มากกว่าที่ลำตัว จะทำให้วัยรุ่นรู้สึกว่าตัวเองมีรูปร่างเก้งก้างน่ารำคาญ และการเจริญเติบโตหรือการขยายขนาดของร่างกายในแต่ละส่วน อาจเกิดขึ้นไม่พร้อมกัน หรือไม่เป็นไปตามขั้นตอน เช่น ร่างกายซีกซ้ายและซีกขวาเจริญเติบโตมีขนาดไม่เท่ากันในระยะแรกๆ  ซึ่งเป็นเหตุทำให้เด็กตกอยู่ในความวิตกกังวลสูงได้ จึงควรให้ความมั่นใจกับวัยนี้

2. ไขมันและกล้ามเนื้อ : เด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิงมีความหนาของไขมันที่สะสมอยู่ใต้ผิวหนังใกล้เคียงกัน จนกระทั่งอายุประมาณ 8 ปี  จะเริ่มมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว วัยรุ่นชายจะมีกำลังของกล้ามเนื้อมากกว่าวัยรุ่นผู้หญิง พละกำลังของกล้ามเนื้อจะแข็งแรงขึ้น  หลัง จากนั้นวัยรุ่นชายจะมีไขมันใต้ผิวหนังบางลง พร้อมๆกับมีกล้ามเนื้อเพิ่มมากขึ้นและแข็งแรงขึ้น ซึ่งจะทำให้วัยรุ่นชายดูผอมลงโดยเฉพาะที่ขา น่อง และแขน  สำหรับ วัยรุ่นหญิงถึงแม้ว่าจะมีการเพิ่มขึ้นของกล้ามเนื้อ แต่ขณะเดียวกันจะมีการสะสมของไขมันใต้ผิวหนังเพิ่มขึ้นอีกโดยที่น้ำหนักจะ เพิ่มได้ถึงร้อยละ 25 ของน้ำหนัก โดยเฉพาะไขมันที่สะสมที่เต้านมและสะโพก ประมาณร้อยละ 50 ของ วัยรุ่นหญิงจะรู้สึกไม่พอใจในรูปลักษณ์ของตน และมักคิดว่าตัวเอง "อ้วน" เกินไป มีวัยรุ่นหลายคนที่พยายามลดน้ำหนัก จนถึงขั้นที่มีรูปร่างผอมแห้ง

             3. โครงสร้างใบหน้า ช่วงนี้กระดูกของจมูกจะโตขึ้น ทำให้ดั้งจมูกเป็นสันขึ้น กระดูกขากรรไกลบนและ ขากรรไกรล่างเติบโตเร็วมากในระยะนี้ เช่นเดียวกับกล่องเสียง ลำคอ และกระดูกอัยลอยด์ และพบว่าในวัยรุ่นชายจะเจริญเติบโตเร็วกว่าวัยรุ่นหญิงชัดเจน เป็นเหตุให้วัยรุ่นชายเสียงแตก

4. การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน ทั้งฮอร์โมนการเติบโต (growth hormone) และ ฮอร์โมนจาก ต่อมธัยรอยด์มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโต รวมทั้งฮอร์โมนทางเพศ นอกจากระดับฮอร์โมนจะมีผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตทางร่างกาย และอวัยวะเพศในวัยรุ่นแล้ว ตัวของมันเองยังส่งผลถึงความรู้สึกทางอารมณ์และจิตใจ ปฏิกิริยาการเรียนรู้ ฯลฯ ในวัยรุ่นอีกด้วย วัยรุ่นที่จะผ่านช่วงวิกฤตนี้ได้ นอกจากจะต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพร่างกายที่เปลี่ยนไปแล้ว ยังต้องเข้าใจและควบคุมอารมณ์ความรู้สึกที่พลุ่งพล่านขึ้น จากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนต่างๆ อีกด้วยโดยเฉพาะต่อมไขมันใต้ผิวหนัง และต่อมเหงื่อจะทำหน้าที่เพิ่มมากขึ้น เป็นสาเหตุทำให้เกิดปัญหาเรื่อง "สิว" และ "กลิ่นตัว" แต่เนื่องจากวัยนี้จะให้ความสนใจเกี่ยวกับร่างกายที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่าง รวดเร็ว และมีความระแวดระวังตัวเองมาก จึงทำให้วัยรุ่นพยายามที่จะรักษา "สิว" อย่างเอาเป็นเอาตาย ทั้งๆที่ "สิว" จะเป็นปัญหาในช่วงวัยนี้แค่ระยะสั้นๆ เท่านั้น

5. การเปลี่ยนแปลงของอวัยวะเพศ วัยรุ่นหญิงมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงระยะ 1 ปี ก่อนที่ จะมีประจำเดือน โดยเฉพาะการเจริญเติบโตของเต้านม ซึ่งเริ่มมีการขยายในขนาดเมื่ออายุประมาณ 8-13ปี และจะใช้เวลา 2-2 ปีครึ่ง จึงจะเจริญเติบโตเต็มที่ ในช่วงอายุ 11-13 ปี วัยรุ่นหญิงส่วนใหญ่ (ร้อยละ 80) จะ มีรูปร่างเป็นสาวเต็มตัว ดังนั้นในชั้นประถมตอนปลายหรือมัธยมต้น จะเห็นว่าวัยรุ่นสาวจะมีรูปร่างสูงใหญ่เป็นสาวน้อยแรกรุ่น ในขณะที่พวกผู้ชายยังดูเป็นเด็กชายตัวเล็กๆ ทั้งๆ ที่เด็กผู้หญิงเคยตัวเล็กกว่าเด็กผู้ชายมาตลอด ทำให้เด็กสับสนและเป็นกังวลกับสภาพร่างกายได้

การมีรอบเดือนครั้งแรก จะมีเมื่ออายุประมาณ 12-13 ปี การที่มีประจำเดือนแสดงให้เห็นว่า มดลูกและช่องคลอดได้เจริญเติบโตเต็มที่ แต่ในระยะ 1-2 ปี แรกของการมีประจำเดือน มักจะเป็นการมีประจำเดือนโดยไม่มีไข่ตก รอบเดือนในช่วงปีแรกจะมาไม่สม่ำเสมอ หรือขาดหายไปได้  และเมื่อมีประจำเดือนแล้ว พบว่าเด็กผู้หญิงยังสูงต่อไปอีกเล็กน้อยไปได้อีกระยะหนึ่ง และจะเติบโตเต็มที่เมื่อประมาณอายุ 15-17 ปี การมีรอบเดือนครั้งแรกอาจทำให้รู้สึกพอใจและภูมิใจที่เป็นผู้หญิงเต็มตัว หรืออาจจะรู้สึกในทางลบ คือ หวั่นไหว หวาดหวั่นหรือตกใจได้เช่นกัน โดยทั่วไปการมีรอบเดือนครั้งแรกจะเพิ่มความใกล้ชิดระหว่างวัยรุ่นหญิงกับ มารดาถ้าเคยไว้วางใจกันมาก่อน แต่วัยรุ่นหญิงบางคนจะปกปิดไม่กล้าบอกใคร เพราะเข้าใจไปว่าอวัยวะเพศฉีกขาด หรือเป็นแผลจากการสำรวจตัวของวัยรุ่นเอง  ใน ช่วงนี้วัยรุ่นจะกังวลหมกมุ่นกับรูปร่างหน้าตา และมักใช้เวลาอยู่หน้ากระจกนานๆ เพื่อสำรวจรูปร่าง ส่วนเว้าส่วนโค้งหรือใช้กระจกส่งดูบริเวณอวัยวะเพศด้วยความอยากรู้ อยากเห็น ซึ่งก็ไม่ใช่พฤติกรรมที่ผิดปกติแต่อย่างใด

สำหรับวัยรุ่นชาย ซึ่งจะเริ่มมีการเจริญเติบโตของลูกอัณฑะ เมื่อเข้าสู่ช่วงอายุ 10-13 ปี ครึ่ง และจะใช้เวลานาน 2 - 4 ปี กว่าที่จะเติบโตและทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ในขณะที่รูปร่างภายนอกจะมีการเจริญเติบโตเปลี่ยนแปลงช้ากว่าวัยรุ่นหญิง ประมาณ 2 ปี คือ ประมาณอายุ 12-14 ปี ในขณะที่เพื่อนผู้หญิงที่เคยตัวเล็กกว่า กลับเจริญเติบโตแซงหน้า ทำให้วัยรุ่นชายมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับรูปร่าง ความสูง ได้มาก  เมื่อเติบโตเข้าสู่วัยรุ่นตอนกลางช่วงวัย 14-16 ปี ลูกอัณฑะเจริญเติบโตและทำงานได้เต็มที่จึงสามารถพบภาวะฝันเปียกได้ บางคนเข้าใจผิดคิดว่าฝันเปียกเกิดจากการสำรวจความใคร่ด้วยตัวเอง หรือเป็นความผิดอย่างแรง หรือทำให้สภาพจิตผิดปกติ หรือบางรายวิตกกังวลไปกับจินตนาการหรือความฝัน เพราะบางครั้งจะเป็นความคิด ความฝันเกี่ยวข้องกับคนในเพศเดียวกัน ซึ่งก็ไม่ถือว่าเป็นเรื่องที่ผิดปกติอย่างใด           

การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ สังคม

ผล จากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายจะทำให้เกิดผลกระทบต่ออารมณ์และจิตใจได้อย่าง ตรงไปตรงมา ทั้งความวิตกกังวล หงุดหงิด หมกมุ่น ไม่พอใจในรูปร่างที่เปลี่ยนไป 

  1. ความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย  เด็ก ผู้ชายที่เข้าสู่วัยรุ่นช้า จะมีความวิตกกังวลสูงเกี่ยวกับความแข็งแรงของร่างกาย ซึ่งอาจจะไม่มั่นใจในความเป็นชาย รู้สึกว่าตัวเองไม่สมบูรณ์มักลูกล้อเลียน กลั่นแกล้งจากเพื่อนๆ ที่รูปร่างใหญ่โตกว่า มีความภาคภูมิใจในตนเองในระดับต่ำและรู้สึกว่าตัวเองมีปมด้อยฝังใจไปได้อีก นาน วัยรุ่นหญิงที่โตเร็วกว่าเพื่อในวัยเดียวกัน (early mature) มักจะรู้สึกอึดอัดและรู้สึกเคอะเขิน ประหม่าอายต่อสายตาและคำพูดของเพศตรงข้าม ในขณะที่สภาพอารมณ์ จิตใจยังเป็นเด็ก
  1. ความวิตกกังวลกับอารมณ์เพศที่สูงขึ้น  การ เปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนทางเพศ ซึ่งจะส่งผลทำให้วัยรุ่นเกิดอารมณ์เพศขึ้นมาได้บ่อย  วัย รุ่นหลายคนที่มีกิจกรรมส่วนตัวที่เบี่ยงเบนความสนใจ ทำให้สามารถควบคุมอารมณ์ได้อย่างดี โดยเฉพาะในวัยรุ่นที่ชอบเล่นกีฬากลางแจ้งเป็นประจำวัยนี้จะมีความสนใจ อยากรู้อยากเห็นอยู่แล้วเป็นทุน และเมื่อมาผสมกับการที่มีระดับฮอร์โมนทางเพศเพิ่มสูงขึ้น จะทำให้เด็กเรียนรู้ที่จะหัดสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง อยากรู้อยากเห็นกิจกรรมทางเพศผู้ใหญ่ควรเข้าใจถึงความรู้สึกนึกคิดร่วมกับ ความอยากรู้อยากเห็นของวัยรุ่น ควรให้ความรู้ในเรื่องเพศที่ถูกต้อง และถือว่าความรู้สึกในวัยนี้เป็นเรื่องธรรมดา เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งการที่วัยรุ่นจะสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองนั้น ไม่มีอันตรายต่อร่างกาย และไม่ถือว่าเป็นเรื่องที่ผิดศีลธรรม ถ้ากระทำอย่างระมัดระวังเป็นส่วนตัว และไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน เป็นต้น
  1. ความวิตกกังวลกลัวการเป็นผู้ใหญ่   วัย นี้จะมีความคิดวิตกกังวล กลัวจะไม่เป็นที่ยอมรับจากคนรอบข้าง มักจะ กลัวความรับผิดชอบ ซึ่งจะรู้สึกว่าเป็นภาระที่หนักหนา ยุ่งยาก บางครั้งอยากจะเป็นเด็ก อยากแสดงอารมณ์สนุกสนาน ร่าเริง เบิกบาน
  1. ความวิตกกังวลในความงดงามทางร่างกาย   ไม่ ว่าวัยรุ่นหญิงหรือชายก็จะมีความรู้สึกต้องการให้คนรอบข้าง ชื่นชมเกี่ยวกับรูปลักษณ์ภายนอกของตน สมเพศ สมวัย นั่นเป็นเพราะว่าเด็กจะสำนึกว่าความสวยงามทางกายเป็นแรงจูงใจ ทำให้คนยอมรับ ทำให้เพื่อนยอมรับเข้าไปในกลุ่มได้ง่าย เป็นวิถีทางหนึ่งที่จะเข้าสู่สังคมและเป็นที่ดึงดูดใจของเพศตรงข้าม ช่วงนี้จะเห็นว่าวัยรุ่นจะสนอกสนใจ พิถีพิถันในการเลือกเสื้อผ้า การหวีผม เอาใจใส่ต่อการออกกำลังกาย สนใจคุณค่าทางอาหาร เครื่องประดับ สุขภาพอนามัย การวางตัวให้สมบทบาททางเพศ การวางตัวในสังคม และความสนใจในแต่ละเรื่องอาจอยู่ได้ไม่นาน

การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ  

           1.ความรักและความห่วงใย   ความ รู้สึกอยากที่จะถูกรัก และยังอยากได้รับความเอาใจใส่ ห่วงใยจากบุคคลที่มีความสำคัญต่อเด็ก แต่มักจะมีข้อแม้ว่าจะต้องไม่ใช่การแสดงออกของพ่อแม่ที่ทำกับเขาราวกับเด็ก เล็กๆ ไม่ต้องการความเจ้ากี้เจ้าการ ไม่ต้องการให้แสดงความห่วงใยอยู่ตลอดเวลา

           2. เป็นอิสระอยากทำอะไรได้ด้วยตัวของตัวเอง   อยาก ทำในสิ่งที่ตัวเองคิดแล้วว่าดี อยากมีส่วนในการตัดสินใจ อยากที่จะทำตัวห่างจากพ่อแม่ ห่างจากคำสั่งการเจริญเติบโตในการทำงานของสมอง ทำให้เด็กวัยนี้เริ่มมีความคิดอ่านเป็นของตนเอง เริ่มมีความคิดแบบนามธรรม (abstract thinking) การแยกจากพ่อแม่ในเกือบทุกรูปแบบ บางครั้งอาจทำให้วัยรุ่นเกิดความรู้สึกสับสน สองจิตสองใจ และอาจมีความรู้สึก "สูญ เสีย" ในความรัก ความเอาใจใส่จากพ่อแม่ แต่ถ้าพวกเขายอมรับการดูแลหรือยอมทำตามคำสั่งของพ่อแม่ ก็จะไปขัดกับความต้องการที่จะเป็นเด็กโต เป็นอิสระของตนเองที่ต้องการพึ่งพาตนเอง การให้การเลี้ยงดูจึงต้องอาศัยความเข้าใจ และเคารพในสิทธิส่วนบุคคลด้วย

 3. ต้องการเป็นตัวของตัวเอง   ความ ต้องการที่ ยอมรับในสิ่งที่มาจากตัวของตัวเขาทำให้พวกเขามั่นใจในตัวเอง พ่อแม่คงต้องส่งเสริมให้เด็กได้ช่วยเหลือตัวเองให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ตามวัย เพราะในการฝึกเด็กนั้น นอกจากจะทำให้เด็กได้ใช้มือได้อย่างคล่องแคล่วแล้ว ยังช่วยทำให้เด็กได้หัดคิด หัดตัดสินใจในการกระทำสิ่งต่างๆ ด้วย

4. อยากรู้, อยากเห็น, อยากลอง      การ ลองผิดลองถูก และคอยสังเกตดูจากปฏิกิริยาของคนรอบข้าง เพื่อตัดสินว่าสิ่งที่ทำนั้น ดีเลวเป็นอย่างไรวัยที่โตขึ้น เมื่อความสามารถเพิ่มขึ้น ร่างกายเจริญเติบโตขึ้นมา สิ่งรอบตัวต่างๆ ที่น่าสนใจ และท้าทายความสามารถก็จะเริ่มเข้ามาเพื่อทดลองการสนับสนุนส่งเสริมเด็กให้คง สภาพอยากรู้ อยากเห็น อยากลองและได้มีโอกาสทดลองสิ่งแปลกๆ ใหม่ๆ ในขอบเขตที่เหมาะสมเพิ่มขึ้นตามวัย จะทำให้เด็กก้าวเข้าสู่วัยรุ่นด้วยความภาคภูมิใจที่ตนเองเคยมีประสบการณ์ ต่างๆ มาบ้างสิ่งเหล่านี้จะมาเสริมความภาคภูมิใจในตนเองดังนั้นจะเห็นว่าการฝึกสอน และให้โอกาสเด็กได้ทดลองทำในสิ่งที่ถูกต้อง ควรฝึกสอนมาตั้งแต่เด็ก และควรค่อยๆ สอนถึงอันตรายในหลายสิ่งหลายอย่างที่มีอยู่ในสังคม และวิธีการแก้ไข เรียนรู้ทั้งสิ่งที่ดีและเลว การฝึกให้เด็กได้ลองในสิ่งที่น่าลอง แต่สนอให้หัดยั้งตัวเองในสิ่งที่อันตรายจึงเป็นวิธีที่สำคัญมาตั้งแต่วัย เรียน            แต่ ในทางตรงกันข้ามในกลุ่มวัยรุ่นที่ไม่เคยถูกฝึกให้ลองคิด ลองทำก่อน จะเกิดความสับสน วุ่นวายใจขาดความรู้ ขากทักษะ ขาดการฝึกฝน ขาดการลองทำผิดทำถูกมาก่อน จึงทำให้กลุ่มนี้ตกอยู่ในกลุ่มที่มีอันตรายสูง และในกลุ่มเด็กวัยรุ่นที่พ่อแม่ปล่อยปละละเลย หรือไม่เคยสอนให้ยับยั้งชั่งใจมาก่อน นึกอยากทำอะไรก็จะทำ ไม่เคยต้องผิดหวัง ไม่เคยสนใจว่าการกระทำของตัวจะส่งผลกระทบต่อผู้คนรอบข้างอย่างไร

พฤติกรรม อยากลองของ มักจะมีสูงสุดในช่วงวัยรุ่นตอนกลาง เป็นเด็กก็ไม่ใช่ เป็นผู้ใหญ่ก็ไม่เชิง แนวความคิดและการยับยั้งตัวเองมีไม่มากพอ

 5. ความถูกต้อง ยุติธรรม โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นตอนกลาง มักจะถือว่าความยุติธรรมเป็นลักษณะหนึ่งของความเป็นผู้ใหญ่ วัยรุ่นจึงให้ความสำคัญอย่างจริงจังกับความถูกต้อง ยุติธรรมตามทัศนะของตนเป็นอย่างยิ่ง และอยากจะทำอะไรหลายๆ อย่าง เพื่อเรียกร้องความยุติธรรม ทั้งในแง่บุคคลและสังคมส่วนรวม จึงมักจะเห็นภาพวัยรุ่นถกเถียงกันเรื่องของสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัว

6.ความตื่นเต้น ท้าทาย ความต้องการหาประสบการณ์แปลกๆ ใหม่ๆ เกลียดความจำเจซ้ำซาก  วัย รุ่นกลุ่มนี้จะสร้างความตื่นเต้นท้าทายกับการที่กระทำผิดต่อกฎเกณฑ์ต่างๆ ของทางบ้านและกฏของสังคมนั่นเป็นเพราะว่าเป็นความตื่นเต้นและความรู้สึกว่า ถูกท้าทาย   แนวทางการเลี้ยงดู เด็กฝึกให้เด็กได้มีโอกาสทำงานที่ท้าทายความสามารถทีละน้อยอยู่ตลอดเวลา จะส่งผลทำให้เด็กได้พัฒนาความเชี่ยวชาญขึ้นมาได้ แก้ปัญหาได้

7.ต้องการการยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของบ้าน ของกลุ่มเพื่อน     พื้น ฐานการเลี้ยงดูที่ยอมรับและมีความรักความผูกพันระหว่างพ่อแม่เด็ก จะมีผลทำให้เด็กเกิดความรู้สึก ดังที่กล่าวมานี้อย่างง่ายดาย จากการฝึกฝนให้โอกาสเด็กในการตัดสินใจลงมือกระทำหรือแสดงความคิดเห็นใน เรื่องต่างๆ และรับฟังพยายามทำความเข้าใจตาม ถ้าเบี่ยงเบนก็ช่วยแก้ไข ถ้าถูกต้องก็ชมเชยและชื่นชม สิ่งเหล่านี้จะไปกระตุ้นให้เด็กเกิดความรู้สึกเป็นที่ยอมรับจากบุคคลภายใน บ้าน ซึ่งจะส่งผลทำให้เด็กอยากเป็นที่ยอมรับจากเพื่อน จากครูและจากคนอื่นๆ ต่อๆ ไป จึงเป็นเหตุผลจูงใจกระทำความดีมากขึ้นๆ

แต่ ในกรณีตรงกันข้าม ถ้าเด็กคนใดเกิดมาในครอบครัวที่ยุ่งเหยิง ทำให้พ่อแม่ไม่มีปัญหาพอที่จะดูแลเด็ก กลับจะต้องส่งเด็กมาฝากให้ญาติเลี้ยงเป็นภาระ ไม่มีใครเป็นธุระจัดการอะไรให้อย่างออกนอกหน้า ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ค่อยอยากจะรับรู้ รับฟังเรื่องของเด็ก ถึงเวลาจะนานก็ไม่รู้ว่าใครจะให้ความอบอุ่นเมตตาหรือรักได้ มีความรู้สึกโดดเดี่ยว ไม่เป็นที่ต้องการของใครแม้แต่คนเดียวในบ้านไม่ว่าจะถูกหรือทำผิด ทำดีหรือทำชั่วก็ไม่มีคนเห็นคนทัก หาคนที่หวังดีจริงจังในการแนะนำตักเตือนอดทนช่วยฝึกสอนก็ไม่มี ในลักษณะเช่นนี้เด็กจะมีชีวิตที่เลื่อนลอย ไม่รู้สึกว่าตัวเองเป็นสมาชิกภายในบ้าน เป็นคนหนึ่งภายในครอบครัว ไม่มีใครรับฟังปัญหา หรือไม่รู้ว่าจะปรึกษาใคร เมื่อเติบโตไปโรงเรียนก็มักจะพกพาเอาความรู้สึกโดดเดี่ยว ว้าเหว่นี้ไปที่โรงเรียน ความที่ทักษะไม่ได้ถูกฝึกสอนมาตั้งแต่ที่บ้านจึงทำให้ผลการเรียนไม่ดี และมักจะแยกตัวออกจากกลุ่มเพื่อน

ปัญหาการปรับตัวในวัยรุ่น

ความ ขัดแย้งในจิตใจของวัยรุ่น ที่ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วนั้น เป็น สิ่งที่ปกติธรรมดาของการเจริญพัฒนาไปเป็นผู้ใหญ่ แต่จะไม่รุนแรงมีผลกระทบต่อการเรียน การงานหรือด้านสังคม ในกรณีที่ปัญหารุนแรงส่งผลกระทบต่อด้านต่างๆ นั้น จึงจะจัดว่ามีปัญหาในการปรับตัว พบได้ร้อยละ 10-15 ของ วัยรุ่นทั่วไป โดยเฉพาะปฏิกิริยาต่อการรับบทบาทหน้าที่ของความเป็นผู้ใหญ่ รู้สึกว่าการดูแลรับผิดชอบตัวเองเป็นภาระที่หนักหน่วงยากที่จะรับเอาไว้ได้ เกิดความเคร่งเครียด บางรายมีอาการวิตกกังวล กลุ่มใจ ท้อแท้ ทานอาหารไม่ได้ นอนไม่หลับ ติดพ่อแม่ ครู หรือเพื่อนเหมือนเด็กเล็ก หรือมีอาการแสดงออกมาทางร่างกาย เช่น ปวดหัว ปวดท้อง หรือมีอารมณ์ฉุนเฉียว วู่วาม ก้าวร้าว ต่อต้าน ซึ่งอาการเหล่านี้จะมีอยู่ไม่นาน ในที่สุดจะสามารถพัฒนาต่อไปได้ในที่สุด ชีวิตนี้แท้จริงมีปัญหาที่ทำให้เราต้องปรับตัว และแก้ไขความขัดแข้งประจำวันอยู่ตลอดเวลาแต่ในระยะวัยรุ่นซึ่งมีลักษณะพิเศษ เพราะเกิดผลต่อเนื่องลุกลามได้ง่าย ทั้งนี้เนื่องจากวัยรุ่นมีอารมณ์อ่อนไหวง่าย อยากเป็นอิสระ อยากเป็นผู้ใหญ่ ไม่อยากฟังเหตุผลของใคร เจ้าทิฐิ อวดดี ถือดี แต่ในขณะเดียวกันก็ยังขาดความเชี่ยวชาญในการแก้ไขปัญหา ในการพูด การทำงาน จึงทำให้เพลี่ยงพล้ำได้ง่าย วัยรุ่นผู้เข้าใจปัญหาประจำวัยของตน และสามารถปรับตัวดำเนินชีวิตอย่างเหมาะสม คือ วัยรุ่นที่มีความสุข มีความสามารถที่จะประสบความสำเร็จในอนาคต

การสร้างบุคลิกภาพ

  1. การค้นหาเอกลักษณ์ของตนเอง

พัฒนา ทางด้านความนึกคิด ค้นหาสิ่งต่างๆ ทั้งท่าทาง คำพูด การแสดงออก การแต่งกาย การเข้าสังคม วัยรุ่นที่สามารถผ่านพ้นภาวะวิกฤติในการค้นหาตัวเองได้อย่างไม่ยุ่งยากนัก มักจะมีลักษณะดังต่อไปนี้ คือ

เป็นผู้ที่ใช้สติปัญญาเผชิญกับเหตุการณ์ในชีวิตมากกว่าการใช้อารมณ์

เป็นผู้ที่เลือกเผชิญหน้ากับปัญหามากกว่าเป็นผู้ที่จะยอมหลีกเลี่ยงปัญหา

เป็นผู้ที่รู้เท่าทันธรรมชาติของตนมาก่อน

เป็นผู้ที่ไม่มีความรู้สึกว่าตนเองโดดเดี่ยวมีหนทางที่จะไปขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นได้

          วัยรุ่นที่สามารถผ่านวิกฤตการณ์และค้นพบตัวเอง ก็เท่ากับมีความสามารถที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มี บุคลิกภาพมั่นคง

          2. การเอาชนะตัวเอง    การ ควบคุมพฤติกรรม อารมณ์ให้ออกมาในรูปที่เหมาะสมในระยะแรกๆ จะพบลักษณะสองจิตสองใจระหว่างความอยากเป็นเด็กต่อไปกับความอยากเป็นผู้ใหญ่ จากความรู้สึกนึกคิดของวัยรุ่นมักจะมองว่าสภาวะผู้ใหญ่หมายความว่า พึ่งตนเองได้ ตัดสินใจได้ถูกต้อง            การ ที่จะเอาชนะใจตนเองนั้น เป็นสิ่งที่เด็กควรจะได้รับการเรียนรู้ ได้รับโอกาสในการฝึกฝนมาตั้งแต่เด็กๆ ทีละเล็กทีละน้อย ผ่านการที่พ่อแม่กำหนดขอบเขตต่างๆ ในชีวิต            แต่ ในวัยเด็กที่ไม่เคยเรียนรู้ที่จะยับยั้งชั่งใจมาก่อน ไม่เคยเอาชนะตัวเองโดยการทำตัวให้เหมาะสมได้เลย หรือถูกเลี้ยงดูให้เอาแต่ใจตัวเอง อยากได้อะไรก็ได้ อยากทำอะไรก็จะทำ ครั้งเติบโตเข้าวัยรุ่นมีอิสระมากขึ้น ก็จะเห็นพฤติกรรมที่ไม่ยั้งคิดได้บ่อยๆ และบางครั้งกลับเป็นอันตรายทั้งต่อตนเองและผู้อื่นอีกด้วย

           3. การแยกตัวเองเป็นอิสระ คำ ว่าอิสระในสายตาของวัยรุ่น ก็คือ มีสิทธิและเสรีภาพเท่าที่บุคคลหนึ่งพึงจะมี ซึ่งรวมทั้งการแสดงความคิดเห็น การตัดสินใจในเหตุการณ์ต่างๆ ขณะเดียวกัน พวกเขาก็จะสังเกตดูการยอมรับจากพ่อแม่คนข้างเคียงด้วย 

3.1              การได้แสดงออก

3.2              พึ่งตนเองได

3.3              มีความรับผิดชอบ

3.4              ที่ค่านิยมที่ถูกต้อง

3.5              มั่นใจและภูมิใจในตนเอง

          1. พ่อ แม่มีลักษณะที่ยอมรับความสามารถของเด็ก เข้าใจและสนับสนุนในความสามารถด้านอื่นๆ ที่เหลือมีความภาคภูมิใจในด้านอื่นๆ ของลูก และปรับสิ่งแวดล้อมในการเรียนให้เหมาะสม คือ ไม่เร่งรัด ไม่บังคับ แต่ให้กำลังใจยกตัวอย่างเช่น ป้อมลูกสาวคนเดียวของพ่อแม่ ขยัน รับผิดชอบดี แต่มีคะแนนสอนในชั้น ม.3 ได้ 2.2 และ พ่อแม่ไม่ได้บังคับให้เรียนสายวิทย์ ทั้งๆ ที่อยากให้ลูกเป็นหมอ เพราะรู้ว่าถ้าให้เรียนจะทำให้เด็กลำบาก ไม่มีความสุข เป็นต้น ขณะนี้เรียนจบมหาวิทยาลัยเปิด สาขาสังคมศาสตร์ ทำงานด้านคอมพิวเตอร์ เจ้านายรักเพราะรับผิดชอบดี เป็นต้น

          2. มี ความเป็นตัวของตัวเอง มั่นใจในตนเอง มองภาพพจน์ตัวเองดี แต่ไม่ใช่การเอาแต่ใจตัวเอง การฝึกให้เด็กเป็นตัวของตัวเอง และควบคุมตัวเองเป็น พึ่งพาตัวเองได้ ช่วยเหลือผู้อื่นได้ มีโอกาสคิด ตัดสินใจในเหตุการณ์ต่างๆ มาเป็นประจำ มีความยับยั้งชั่งใจ "การทำ" กับ "การไม่ทำ" ในสิ่งที่ดี และไม่ดี เด็กวัยรุ่นหลายคนที่จำยอมทำตามเพื่อนเพราะกลัวว่าเพื่อนจะดูถูกรังเกียจ นั้น ทั้งๆ ที่ทำไปแล้วจะขัดต่อความรู้สึกของตัวเองก็ตาม เป็นสาเหตุจากที่ตนเองไม่มั่นใจและไม่เป็นตัวของตัวเองอย่างมั่นคง ซึ่งจะต้องมาจากการฝึกหัดสะสมความรู้ ความสามารถมาตั้งแต่เด็ก ผ่านประสบการณ์ที่ถูกเลี้ยงดูมานั่นเอง

          3. มีการสื่อสารที่ดี กล้าพูด กล้าคิด กล้าแสดงออก และกล้าที่จะทำตัวต่างจากผู้อื่นโดยยึดหลักการที่ถูกต้อง

          4. มี ทางออกหลายทา เช่น กีฬา ดนตรี งานอดิเรก สังคม ศิลปะ การเรียน การงาน ฯลฯ การมีทักษะหลายๆ อย่างเป็นสิ่งที่พ่อแม่ต้องดูทักษะเด่นของลูก ซึ่งในความเด่นนั้นอาจไม่เก่งเท่าผู้อื่นก็จริง แต่ก็เป็นความสามารถที่ดีของลูกและควรให้ความสนับสนุน โดยเฉพาะทักษะในการเข้าสังคม และการปรับตัว

          5. มี โอกาสเรียนรู้จัดทั้งส่วนดีและส่วนที่เลวมาก่อนได้เรียนรู้ที่จะเข้าใจถึง คุณลักษณะของการเป็นคนดีไตร่ตรองดูคนเป็น แต่ขณะเดียวกันก็เรียนรู้ที่จะทันคน ว่ามีความเจ้าเลห์เพทุบาย โกหกหลอกลวง ซึ่งปะปนกันอยู่ในหมู่เพื่อนและคนในสังคม เรียนรู้ที่จะเข้าใจลักษณะดีและไม่ดีของพฤติกรรมของคน ทำให้ขณะที่วัยรุ่นคลุกคลีกับเพื่อนและผู้คนต่างๆ จะได้ไตร่ตรอง เพื่อว่าจะได้มาช่วยในการตัดสินใจอีกด้วย การสอนของพ่อแม่จึงควรชี้ให้เด็กเห็นความยับยั้งชั่งใจน้อยลง สิ่งต่างๆ รอบๆ ตัวจึงดูดีขึ้น ดูสบายใจขึ้น ภาระความรับผิดชอบดูเหมือนจะลดน้อยลงนั้นเอง เป็นคำตอบที่ถูกต้องและตรงกับความจริง จะทำให้เด็กเรียนรู้และยอมรับได้ดีกว่าคำตอบที่ว่า คนที่กินเหล้าเป็นเพราะคนนั้นเป็นคนไม่ดี เป็นต้น ถ้าเด็กได้เรียนรู้สิ่งเหล่านั้นทั้งด้านดี และด้านไม่ดีจนเข้าใจแล้วจะช่วยทำให้ความอยากลองเพราะอยู่รู้อยากเห็นลดลง

           ลักษณะของพ่อแม่ที่ไม่ค่อยมีปัญหากับวัยรุ่น จะมีลักษณะดังต่อไปนี้คือ

1. รัก อบอุ่น และให้ความไว้วางใจ


2. มี การสื่อสารที่ดีต่อกัน ต่างคนต่างไว้วางใจปรึกษาหารือ หรือเล่าเหตุการณ์ต่างๆ ที่ประสบมาให้ฟัง มีการยอมรับฟัง คิด สามารถที่ทั้งพ่อแม่และลูกจะแสดงความคิดเห็นคล้อยตามหรือขัดแย้งอันดีได้ ในบรรยากาศที่เป็นกันเอง


3. มั่นคง มีหลักการ มีเหตุผล มีความยืดหยุ่น


4. ควบคุมตัวเองได้ดี ทั้งอารมณ์และพฤติกรรม


5. เรียกร้องแสดงความต้องการให้เด็กเติบโตสมวัยมาทุกช่วงอายุ

ที่มา:นพ.สุริยเดว ทรีปาตี หัวหน้าคลินิกเพื่อนวัยทีน สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี

ข้อมูล : www.dekplus.org

อัพเดทล่าสุด