วิธีรักษาเริมที่อวัยะเพศหญิง เริมที่อวัยะเพศหญิง รักษาเริมที่อวัยะเพศหญิง


3,545 ผู้ชม


วิธีรักษาเริมที่อวัยะเพศหญิง  เริมที่อวัยะเพศหญิง รักษาเริมที่อวัยะเพศหญิง


โรคเริมที่เกิดบริเวณอวัยวะเพศ (Genital herpes) ถือเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยโรคนี้เกิดจากติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่เรียกว่า Herpes simplex viruses type 1 (HSV-1 หรือ เอชเอสวี-1) หรือ Herpes simplex viruses type 2 (HSV-2 หรือ เอชเอสวี-2) แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว เริมที่อวัยวะเพศจะเกิดจาก HSV-2 มากกว่า ส่วนการติดเชื้อ HSV-1 มักจะทำให้เกิดตุ่มน้ำใส หรือแผลที่บริเวณปาก หรือริมฝีปากมากกว่า หรือเริมที่ปากนั่นเอง
ในผู้ที่ติดเชื้อเริมส่วนใหญ่ อาจไม่มีอาการผิดปกติ หรือมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย ในกรณีที่มีอาการ สิ่งที่จะสังเกตได้ คือ การมีตุ่มน้ำใสเกิดขึ้นที่บริเวณอวัยวะเพศ หรือบริเวณทวารหนัก โดยอาจเกิดขึ้นอย่างน้อยหนึ่งตุ่ม หรือมากกว่า และเมื่อตุ่มน้ำแตกก็จะเกิดเป็นแผลขึ้น อาการดังกล่าวมักจะเกิดร่วมกับอาการปวดแสบปวดร้อน ในกรณีที่เป็นโรคนี้ครั้งแรก อาการดังกล่าวอาจคงอยู่ได้นานถึง 2-4 สัปดาห์ หลังจากนั้นอาจมีอาการปรากฏขึ้นอีกครั้งในระยะเวลาหลายสัปดาห์ หรือในหลายเดือนต่อมา แต่อาการที่ปรากฏในระยะหลังๆนี้จะมีความรุนแรงน้อยกว่า และหายเร็วกว่าที่เคยแสดงอาการในครั้งแรก
เชื้อไวรัสที่ก่อเริมนี้ จะคงอยู่ในร่างกายของผู้ที่ติดเชื้อไปตลอด ถึงแม้จะไม่มีอาการใดๆเกิดขึ้นเลยก็ตาม อย่างไรก็ดี ความถี่ของการแสดงอาการของโรคจะน้อยลงเรื่อยๆเมื่อเวลาผ่านไปหลายๆปี

อาการของเริมที่อวัยวะเพศเป็นอย่างไร?
ผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัส HSV-2 ไม่มีโอกาสที่จะรู้ว่าตนเองติดโรคเริม จนกว่าจะมีอาการของโรคแสดงให้เห็น โดยทั่วไปอาการมักปรากฏภายหลังได้รับ เชื้อประมาณสองสัปดาห์ (ระยะฟักตัวของโรค) ในผู้ที่ติดโรคเริมที่อวัยวะเพศและเกิดอาการครั้งแรก อาการที่ปรากฏมักเกิดขึ้นอย่างชัดเจนและรุนแรง และรอยโรคที่พบ จะปรากฏอยู่นาน 2-4 สัปดาห์ โดยจะพบตุ่มน้ำใส และแผลเจ็บ ที่บริเวณอวัยวะเพศ นอกจากนี้ ผู้ติดโรคบางรายอาจมีไข้ และมีต่อมน้ำเหลืองโตได้ โดยเฉพาะบริเวณขาหนีบ อย่างไรก็ตาม ผู้ติดเชื้อไวรัส HSV-2 ส่วนใหญ่มักจะไม่มีอาการ หรือมีอาการเพียงเล็กน้อยจนกระทั่งในบางครั้งอาจไม่รู้ว่าตนเองเป็นโรค และในบางครั้งอาจเข้าใจผิดว่ารอยโรคที่เกิดขึ้น เกิดจากถูกแมลงกัดต่อย หรือเป็นโรคผิวหนังอื่นๆ
ในผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเริมครั้งแรก จะมีการกลับเป็นซ้ำของโรคอีกหลายๆครั้ง โดยส่วนใหญ่จะอยู่ที่ประมาณ 4-5 ครั้งต่อปี และความถี่ของการเกิดเป็นซ้ำจะลดลงเรื่อยๆเมื่อเวลาผ่านไป

โรคเริมควบคุมและรักษาได้ อย่าวิตกจนเกินไป โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล


โรคเริมควบคุมและรักษาได้ อย่าวิตกจนเกินไป

โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล 

คุณ ผู้หญิงคงอาจเคยได้ยินเกี่ยวกับโรคเริมนี้มาก่อน อาจสงสัยว่าติดโรคนี้เข้าให้แล้วหรือเปล่า และถ้าติดแล้วก้อกังวลว่าเริมจะทำให้ไม่สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ แม้ว่าปัจจุบันเราจะยังไม่สามารถรักษาโรคเริมให้หายขาดได้ แต่ก้อมีวิธีบรรเทาโรคได้และมีวิธีป้องกันเพื่อไม่ให้อาการโรคกลับมากำเริบ ซ้ำหรือขยายใหญ่โตไปติดต่อคนที่เรารักได้อีก

โรคเริมคืออะไรคะ ?

โรคเริม เป็นโรคติดเชื้อที่ผิวหนังและเยื่อบุบริเวณปากและอวัยวะเพศ เกิดจากเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า เฮอร์ปีซิมเพลกซ์ (Herpes simplex virus) ซึ่งมี 2 ชนิด คือ

1.เฮอร์ปีซิมเพลกซ์ 1 Herpes simplex virus 1 (HSV-1) ถ้าติดเชื้อนี้แล้วมักจะเกิดอาการโรคบริเวณปากและผิวหนังเหนือสะดือขึ้นไป เกิดที่ปากเรียก Herpes labialis โรคนี้ไม่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์

2.เฮอร์ปีซิมเพลกซ์ 2 Herpes simplex virus 2 (HSV-2)  มักเกิดบริเวณอวัยวะเพศและติดต่อโดยเพศสัมพันธ์เรียก Herpes genitalis

แล้วจะติดโรคได้อย่างไรกัน

ทุกๆ คนจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อนี้ได้ทั้งนั้น เชื้อไวรัสเริมติดต่อทางการสัมผัสโดยตรงกับผู้ได้รับเชื้อที่มีแผลถลอกอยู่ โดยเจ้าเชื้อนี้สามารถเคลื่อนผ่านรอยแตกเล็กๆ บริเวณผิวหนัง หรือเยื่อบุผิวที่ชุ่มชื้นบริเวณริมฝีปาก ช่องคลอด หรือทวารหนัก ทำให้เชื้อเริมเข้าไปได้

เช่น เดียวกับ มีรายงานการติดเชื้อเริมจากการเข้าห้องน้ำสาธารณะ บางคนเป็นเริมที่นิ้วมือ ติดจากการจับมือกัน การโหนราวรถเมล์ การจับลูกบิดประตูห้องน้ำสาธารณะ การจับโทรศัพท์สาธารณะ โดยทั่วระยะเวลาฟักตัวของไวรัสเริมประมาณ 2-20 วัน

โดยเชื้อ (HSV-1) จะ ติดต่อทางสารหลั่งในปาก โดยมากมักพบเริมที่บริเวณริมฝีปาก หรือบริเวณอวัยวะเพศ การจูบหรือดื่มน้ำแก้วเดียวกันทำให้เชื้อเริมติดต่อได้

ส่วน (HSV-2) การ มีเพศสัมพันธ์ขณะที่อีกฝ่ายกำลังเป็นเริมอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเพศสัมพันธ์ปกติ ทางปาก หรือทางทวารหนัก เชื้อจะติดต่อไปยังอวัยวะเพศและทวารหนัก เมื่อเชื้อเข้าทางผิวหนังเชื้อจะไปตามเส้นประสาททำให้เชื้อลามเป็นบริเวณ กว้างและอาจจะเกิดผื่นที่บริเวณใหม่ ที่พบมากในผู้ชาย คือบริเวณองคชาติ อัณฑะ หรือก้น ส่วนในผู้หญิงมักเป็นบริเวณปากช่องคลอดภายนอกหรืออาจเป็นภายในช่องคลอดก็ได้

ฉันอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะติดโรคนี้ไหม ? จะได้ป้องกันไว้ก่อน

ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อเริมที่ปากคือวัยเด็กอายุ 4-5 ปีมักติดต่อทางการสัมผัสเช่นการใช้ของร่วมกัน ส่วนผู้ใหญ่ก้อมักจะติดต่อกันโดยการจูบ ไม่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เชื้อนี้ยังสามารถติดต่อจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งโดยเฉพาะที่ตาโดยการสัมผัส ด้วยมือ การป้องกันก็ต้องหมั่นล้างมือทำความสะอาด

ส่วนผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อเริมที่อวัยวะเพศ (HSV-2) การติดเชื้อเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะทางตรงจากการมีการร่วมรักกันตามปกติหรือทางปาก oral sex จึง ควรต้องระวังเป็นพิเศษสังเกตคู่ของคุณดูด้วยว่า บริเวณริมฝีปากและบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ มีแผลหรือไม่ ซึ่งอาจเป็นแผลเริม การป้องกันควรงดมีเพศสัมพันธ์ หรือใช้ถุงยางคุมกำเนิดขณะมีอาการติดเชื้อ ส่วนเด็กทารกมักจะติดเชื้อในแม่ที่ติดเชื้อ HSV-2 และมีการคลอดก่อนกำเนิดหรือต้องใช้เครื่องมือในการคลอด

มี รายงานพบว่าบางคนเป็นเริมที่นิ้วมือ อาจเกิดจากการจับมือกัน การโหนราวรถเมล์ การจับลูกบิดประตูห้องน้ำสาธารณะ การจับโทรศัพท์สาธารณะ โดยทั่วระยะเวลาฟักตัวของไวรัสเริมประมาณ 2-20 วัน ยิ่งไปกว่านั้นยังมีรายงานการศึกษาแม้จะไม่มีผื่นหรืออาการเชื้อก็สามารถ แพร่ออกมาได้ ดังนั้นจึงไม่ยืนยันว่าว่าการมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ไม่มีอาการจะปลอดภัยจาก โรคเริมได้

ถ้าคิดว่าฉันติดเชื้อเข้าให้แล้ว จะมีอาการของการติดเชื้ออย่างไรบ้าง ?

หากว่า สงสัยว่าตัวคุณผู้หญิงนั้นจะมีโอกาสติดเชื้อนี้เข้าบ้างไหมเพราะมีปัจจัย เสี่ยงเสียเหลือเกินเช่น คู่ของคุณมีแผลบริเวณดังกล่าว หรือการไม่ได้สวมถุงยางอนามัย เอาหล่ะถ้าติดเชื้อไปแล้ว อาการเริ่มต้นที่คุณจะรู้สึกและสังเกตได้ก็คือจะมีอาการปวดแสบปวดร้อนตรง ตำแหน่งที่ได้รับเชื้อ อาการของการติดเชื้อที่ปากและที่อวัยวะเพศจะเหมือนๆกันเพียงแต่ขึ้นกันคนละ ที่

อาการจะแบ่งเป็น

1. การเป็นครั้งแรก Primary Infection เริ่ม ด้วยอาการปวดแสบร้อน อาจมีอาการคัน เจ็บจี้ดๆหรือปวดแสบปวดร้อนบ้าง ต่อมาจะมีอาการบวมและอีก 2-3 วันจะมีตุ่มน้ำพองใสเหมือนหยดน้ำเล็กๆ มีขอบแดง ตุ่มน้ำมักจะแตกออกใน 24 ชั่วโมงและตกสะเก็ดเป็นแผลถลอกตื้นๆ ตุ่มอาจจะรวมเป็นกลุ่มใหญ่และเป็นแผลกว้างทำให้ปวดมาก โดยทั่วไปหากรักษาความสะอาดได้ดีไม่ให้ติดเชื้อซ้ำหรือมีหนอง แผลที่เกิดจากตุ่มจะหายเองได้ใน 2-3 สัปดาห์ ตำแหน่งที่พบได้บ่อยได้แก่ ปาก ริมฝีปาก ตา เมื่อแผลแห้งแล้วจะไม่ติดต่อ ระหว่างที่เป็นผื่นต่อมน้ำเหลืองใกล้ๆเช่นรักแร้หรือขาหนีบอาจจะโต และอาจจะมีไข้ปวดเมื่อยตามตัวได้

หลังจากนั้นจะเข้าสู่ระยะปลอดอาการ Latency and Shedding ช่วง นี้เชื้ออยู่ในร่างกายโดยที่ไม่เกิดอาการอะไรเลยเหมือนปกติทั่วไป แต่เชื้อก้ออาจจะแบ่งตัวและสามารถติดต่อได้โดยเฉพาะเชื้อที่อวัยวะเพศแม้ว่า จะไม่มีผื่น

2. การกลับมาเป็นซ้ำ Recurring Infections เมื่อ มีการติดเชื้อครั้งแรกแล้ว หลังจากนั้นจะมีการกลับเป็นผื่นใหม่เป็นระยะๆ เนื่องจากร่างกายกำจัดเชื้อไวรัสได้ไม่หมด การกลับมาเป็นใหม่ของโรคเริมแต่ละครั้งมักมีอาการน้อยกว่าและเป็นเกิดเป็น พื้นที่น้อยกว่าไม่ค่อยมีไข้ แต่มักเป็นบริเวณใกล้ๆกับที่เดิมโดยเฉพาะที่อวัยวะเพศ ผู้ที่เป็นโรคนี้มาแล้วมักรู้สึกว่ามี “อาการเตือน” นำมาก่อน ได้แก่ตุ่มน้ำมาก่อน 1–3 วัน เจ็บเสียวแปลบๆ คันยุบยิบ ปวดแสบปวดร้อนในบริเวณรอยโรคเดิม

ตรง นี้แหละครับที่ผู้ป่วยมักจะรำคาญ เพราะการเป็นเริมครั้งถัดๆ มา จะไม่ใช่เป็นการติดเชื้อใหม่ แต่เป็นเชื้อเดิมที่หายแล้วแต่จะซ่อนตัวอยู่ในบริเวณปมประสาทที่อยู่ใกล้ เคียงในร่างกายคุณ เมื่อมีการกระตุ้น ก็จะย้อนแนวเส้นประสาทออกมาแสดงอาการได้อีก

การรักษา ถึงเวลาไปพบแพทย์หรือเภสัชกรได้แล้วครับ 

โดย ทั่วไปแล้ว โรคเริมนี้สามารถหายได้เองโดยไม่ต้องรักษา การใช้ยาต้านไวรัสไม่ได้ช่วยให้หายขาด เพียงแต่ช่วยลดความรุนแรงของโรค ลดความถี่และลดระยะเวลาที่เป็นช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น เว้นเสียแต่ในรายที่เพิ่งเริ่มแสดงอาการ หรือมีภูมิต้านทานบกพร่อง หรือไม่มีแนวโน้มที่แผลจะหายได้เอง จึงควรที่จะได้รับยาต้านไวรัสที่จำเพาะกับโรค ร่วมไปกับยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนที่อาจติดตาม ตุ่มน้ำที่แตกออกมา

1. ยาทาที่นิยมใช้ ได้แก่ Acyclovir จะได้ผลในด้านลดอาการปวด ทำให้ผื่นแห้งเร็วขึ้น ยาทาซึ่งมีส่วนผสมของ steroid ไม่ควรใช้เพราะแผลจะหายช้า

2. ยาชนิดรับประทาน ได้แก่ Acyclovir, Valacyclovir, Famciclovir นิยมใช้ในกรณีสำหรับผู้ที่มักจะกลับเป็นซ้ำได้บ่อย

อย่าวิตกจนเกินไป โรคเริมสามารถควบคุมและรักษาได้ 

สุขอนามัย ที่ดีเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากเมื่อคุณผู้หญิงเริ่มมีอาการของโรคเริม การดูแลแผลเริมอย่างถูกวิธีจะช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น และลดโอกาสการแพร่กระจายไปถึงผู้อื่น ลองมาฟังคำแนะนำเคล็ดลับน่ารู้ในการดูแลและควบคุมโรคเริมดีไหมครับ

* ความ เครียด การทำงานหนักมากเกินไป นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ จะทำให้ร่างกายอ่อนแอ ภูมิต้านทานของร่างกายลดน้อยลง ทำให้ติดเชื้อไวรัสได้ง่ายขึ้น หรือถ้าเป็นโรคนี้อยู่แล้ว ก็จะมีอาการโรคแย่ลง ระยะเวลาเป็นโรคนานขึ้น หรือกลับมามีการกลับมาเป็นซ้ำได้บ่อยยิ่งขึ้น

* เชื้อ ไวรัสเริมชอบอากาศร้อนชื้นเหงื่อออกง่ายและเกลียดความแห้งสะอาด อย่าใช้สิ่งใดๆ ไปปิดหรือพันบริเวณแผลเริม ความแห้งและอากาศที่ถ่ายเทได้ดีจะช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น พยายามซับและดูแลแผลให้แห้งตลอดเวลา

* ถ้าตุ่มน้ำใสแตกออกมา ให้ทำความสะอาดแผลเริมด้วยน้ำสบู่และน้ำสะอาดก็เพียงพอแล้ว

* อย่าแกะสะเก็ดแผลเริม ไม่ได้ช่วยให้หายเร็วขึ้นเลยครับ

* สวม ใส่เสื้อผ้าที่ไม่คับแต่หลวมสบายอากาศถ่ายเทสะดวก การใส่ชุดชั้นในที่เป็นไนลอนจะทำให้อับชื้นง่าย ควรใช้เสื้อผ้าที่มาจากใยธรรมชาติก็จะโล่งโปร่งสบาย อย่าใช้ผ้าเช็ดตัวร่วมกับผู้อื่นจะได้ไม่แพร่เชื้อต่อไป

* ถ้าปวดแผลให้ใช้ยาระงับปวดทั่วๆไป

* หากมีแผลบริเวณปากช่องคลอด จะปวดแสบแผลเวลาปัสสาวะได้ การนั่งแช่ก้นในน้ำอุ่นจะบรรเทาปวดแสบได้ผล

แหล่งข้อมูล 

ศ.นพ. สมยศ จารุวิจิตรรัตนา, โรคเริม, นิตยสารหมอชาวบ้าน ปีที่ 27 ฉบับที่ 320 ธันวาคม 2548

นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ, เริม Herpes simplex, ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ

โรคเริม ภัยจากไวรัสที่กำราบได้, นิตยสาร Health Today

-------------

อัพเดทล่าสุด