วิธีสังเกตอาการมะเร็งปากมดลูก


1,268 ผู้ชม


แม้ มะเร็งปากมดลูก จะเป็นโรคที่ป้องกันและรักษาให้หายได้ แต่ โรคมะเร็งปากมดลูก  ยังคงครองแชมป์อันดับหนึ่งของมะเร็งที่คร่าชีวิตผู้หญิง โดยมีอัตราการเสียชีวิตของ มะเร็งปากมดลูก เฉลี่ยสูงถึง 7 คนต่อวัน  และพบผู้ป่วย มะเร็งปากมดลูก รายใหม่สูงถึง 6,000 คนต่อปี โดยในจำนวนของผู้มีเชื้อนี้กว่าครึ่งต้องเสียชีวิต เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่มักอายและกลัวที่จะไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาเชื้อ มะเร็ง ทำให้กว่าจะรู้ว่าป่วยด้วย โรคมะเร็งปากมดลูก นี้  ความรุนแรงของโรคก็อยู่ในระยะลุกลามแล้ว..ดังนั้น  วันนี้เราจึงนำข้อมูลเกี่ยวกับ มะเร็งปากมดลูก มาให้คุณรู้เท่าทัน โรคมะเร็งปากมดลูก กันค่ะ  
           โรคมะเร็งปากมดลูก (Cancer of Cervix)  เกิดจากเชื้อไวรัสตัวหนึ่งที่ชื่อว่า HPV (Human Papilloma Virus) ภาษาไทยเรียกกันว่า ไวรัสหูด ไวรัสชนิดนี้ติดต่อจากการสัมผัส ส่วนใหญ่เป็นการสัมผัสทางเพศสัมพันธ์ที่ทำให้มีรอยถลอกของผิวหรือเยื่อบุ และเชื้อไวรัสจะเข้าไปที่ปากมดลูก ทำให้ปากมดลูกมีการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อหรือเซลล์ จากปากมดลูกปกติกลายเป็นระยะก่อนเป็น มะเร็งปากมดลูก

           ไวรัสเอชพีวี มีทั้งหมดกว่า 100 ชนิด แต่ที่ทำให้ติดเชื้ออวัยวะสืบพันธุ์มีประมาณ 30-40 ชนิด แบ่งเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มเสี่ยงต่ำและกลุ่มเสี่ยงสูง กลุ่มเสี่ยงต่ำไม่ก่อให้เกิดมะเร็ง แต่ทำให้เกิดหูดหงอนไก่ที่อวัยวะเพศ หรือหูดที่กล่องเสียง ส่วนกลุ่มเสี่ยงสูงก่อมะเร็งต่างๆ ได้แก่ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด และมะเร็งปากช่องคลอด

            สำหรับความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชพีวีดำเนินได้โดยง่าย เชื้อชนิดนี้เป็นเชื้อที่ทนทานต่อความร้อน และความแห้งได้ดี สามารถเกาะติดตามผิวหนัง อวัยวะเพศ เสื้อผ้า หรือแม้แต่กระจายอยู่รอบตัวในรูปของละอองฝุ่น ซึ่งผู้หญิงทุกคนที่เคยมีเพศสัมพันธ์ย่อมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชพีวี อย่าง ไรก็ตาม การติดเชื้อมักหายได้เอง ด้วยภูมิต้านทานของร่างกาย มีเพียง 10% เท่านั้น ที่การติดเชื้อยังดำเนินต่อไป สร้างความผิดปกติให้กับเยื่อบุปากมดลูก และทำให้กลายเป็นมะเร็งในเวลาต่อมา ซึ่งเมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายจนกระทั่งก่อให้เกิด มะเร็งปากมดลูก ได้นั้น ใช้เวลานานประมาณ 10-15 ปี


การตรวจหามะเร็งปากมดลูกทำได้อย่างไร
มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคที่สามารถสืบค้นและป้องกันได้ค่ะ โดยการตรวจภายในเพื่อค้นหามะเร็งปากมดลูก เรียกว่า การตรวจแป็ปสเมียร์ค่ะ เป็นการตรวจภายในแล้วใช้ไม้พายเล็ก ๆ ป้ายบริเวณปากมดลูก เพื่อนำเซลล์ไปตรวจหาความผิดปกติในระยะก่อนเป็นมะเร็ง หรือที่เป็นมะเร็งระยะก่อนลุกลาม ใช้เวลาในการตรวจประมาณ 5 นาที โดยไม่มีความเจ็บปวดใด ๆ ขณะตรวจเลย
สตรีที่มีเพศสัมพันธ์แล้วทุกช่วงอายุ หรือที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์แต่มี อายุ 30 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจภายในหามะเร็งปากมดลูกด้วยการตรวจแป็ปสเมียร์ปีละ 1 ครั้ง อย่างสม่ำเสมอ ที่โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลใกล้บ้านนะค่ะ การตรวจภายในไม่ใช่เรื่องน่าอายหรือมีความเจ็บปวดใด ๆ เลยค่ะ สตรีควรพิทักษ์สิทธิในร่างกายเราและป้องกันการเกิดโรคซึ่งสามารถจะป้องกันด้วยตัวเราเองนะคะ
สำหรับการเตรียมตัวในการตรวจแป็ปสเมียร์ไม่ยากเลยค่ะ โดยควรจะตรวจทันทีที่นึกได้ว่าปีนี้ยังไม่ได้ตรวจภายใน โดยวันที่จะมาตรวจภายใน
- ไม่ควรจะเป็นวันที่มีประจำเดือน และควรตรวจหลังประจำเดือนหมดไปแล้ว 2 สัปดาห์
- งดเพศสัมพันธ์และงดการสวนล้างช่องคลอดในวันก่อนตรวจ 1 วัน ค่ะ
นอกจากการตรวจหามะเร็งปากมดลูกแล้ว เรายังสามารถป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ด้วยการ ดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจให้สมบูรณ์โดยการ
- งดสูบบุหรี่
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- ดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายและอวัยวะสืบพันธุ์
- ทำจิตใจให้เบิกบาน แจ่มใส
- ไม่สำส่อน หรือมีเพศสัมพันธ์กับบุคคลที่สาม
มะเร็งปากมดลูกสามารถป้องกันได้ โดยการลดความเสี่ยงและด้วยการตรวจมะเร็งปากมดลูกปีละครั้ง ซึ่งใช้เวลาเพียง 5 นาที

วิธีสังเกตอาการเบื้องต้นของ มะเร็งปากมดลูกทำอย่างไร? ลักษณะอาการเริ่มแรกของมะเร็งปากมดลูกเป็นอย่างไร หาคำตอบได้ที่บทความนี้ ปัจจุบันการรักษามะเร็งปากมดลูกได้ผลดีมากขึ้นกว่าในอดีต เนื่องจากความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี โดยเฉพาะในระยะก่อนลุกลามและระยะลุกลามเริ่มแรก โดยในระยะก่อนลุกลามการรักษาได้ผลดีเกือบ100 % ดังนั้นการตรวจค้นหามะเร็งในระยะแรกเริ่มจึงมีความสำคัญมาก โดยสตรีที่เคยมีเพศสัมพันธ์มาแล้วควรรับการตรวจภายในทุกคน 
อาการเริ่มแรกของมะเร็งปากมดลูก
ลักษณะอาการเริ่มแรกของมะเร็งปากมดลูก
อาการที่อาจจะพบในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งปากมดลูกนั้นพบว่า อาจจะพบในผู้ป่วยโรคอื่นได้เช่นกัน ผู้ป่วยที่มีอาการเหล่านี้จึงควรที่จะไปปรึกษาแพทย์เพื่อการวินิจฉัยที่แน่ชัด
อาการที่อาจจะพบในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกได้แก่
  • การมีเลือดออกทางช่องคลอด (การตกเลือดทางช่องคลอด) 
  • การมีสารคัดหลั่งผิดปกติออกจากช่องคลอด เช่น ตกขาว 
  • อาการปวดท้องน้อย 
  • อาการเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ 
  • เลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ 
  • เลือดออกหลังวัยหมดประจำเดือน 
อาการในระยะหลังเมื่อมะเร็งลุกลามมากขึ้น ได้แก่
  • ขาบวม 
  • ปวดหลังรุนแรง ปวดก้นกบและต้นขา 
  • ปัสสาวะเป็นเลือด 
  • ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด 
หากพบว่ามีสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นควรพบแพทย์เพื่อทำการตรวจคัดกรองหรือการตรวจ วินิจฉัยมะเร็งปากมดลูกต่อไป เพราะถ้าตรวจพบมะเร็งปากมดลูกตั้งแต่ระยะแรกๆ จะมีโอกาสในการหายจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้มากกว่า

อัพเดทล่าสุด