อาการมะเร็งปากมดลูกระยะแรก อาการมะเร็งปากมดลูก ตกขาว


1,093 ผู้ชม


สตรีที่มีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูกได้มาก คือสตรีที่มี
- อายุอยู่ในช่วง 30 – 50 ปี
- มีเพศสัมพันธ์ขณะอายุยังน้อย
- มีคู่นอนหลายคน
- สามีเที่ยวโสเภณี
- ติดโรคทางเพศสัมพันธ์บ่อย ๆ เช่น หูดหงอนไก่ เริม
- สูบบุหรี่
- ไม่เคยตรวจภายในเลย
ส่วนอาการแสดงของการเป็นมะเร็งปากมดลูกนั้น- ในมะเร็งระยะเริ่มต้นส่วนมากจะไม่มีอาการใด ๆ เลยค่ะ
- ในรายที่มะเร็งมีอาการลุกลามมากแล้วทำให้เกิดอาการ
- เลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์
- เลือดออกทางช่องคลอดที่ไม่ใช่ประจำเดือน
- ตกขาวมีกลิ่นเหม็น มีหนองหรือเลือดปน
- ซีด อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
อาการที่พบของมะเร็งปากมดลูกคือ มีตกขาวจำนวนมากผิดปกติ ลักษณะเป็นหนอง กลิ่นเหม็นหรือมีลักษณะคล้ายน้ำไหลออกมาจากช่องคลอด เลือดออกกระปริบกระปรอย เลือดออกหลังร่วมเพศ หรือเลือดออกในขณะที่ไม่ใช่รอบเดือน เป็นต้น แต่อาการเหล่านี้ไม่ใช่จะเป็นอาการของมะเร็งปากมดลูกเสมอไปนะค่ะ เพราะอาจจะเป็นอาการของโรคทางระบบอวัยวะสืบพันธุ์อื่น ๆ ได้ด้วยค่ะ ซึ่งอย่างไรก็ตามควรไปตรวจวินิจฉัยกับแพทย์ค่ะ
ทำอย่างไรคุณผู้หญิงจึงจะทราบว่า เราเป็นมะเร็งปากมดลูกหรือไม่
เนื่องจากมะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่สามารถป้องกันและตรวจพบได้ ตั้งแต่เซลเริ่มผิดปกติ และสามารถรักษาให้หายได้ในระยะเริ่มต้น เพราะมีการดำเนินโรค แบบค่อยเป็นค่อยไป ใช้ระยะเวลาค่อนข้างนาน และเป็นอวัยวะที่อยู่ในตำแหน่งที่สามารถตรวจวินิจฉัยง่ายกว่าอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกาย แพทย์สามารถตรวจวินิจฉัยและรักษาได้เร็ว ก่อนที่จะเป็นมะเร็งลุกลาม จากการตรวจภายในและเก็บตัวอย่างเซลบริเวณปากมดลูกไปตรวจหรือที่เรียกว่าการทำ แป๊ปสเมียร์ ( Pap smear ) ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการตรวจหามะเร็ง ปากมดลูกระยะเริ่มต้นค่ะ ฉะนั้น คุณผู้หญิงทุกคนควรตระหนักถึง ความสำคัญของการมาตรวจหามะเร็งปากมดลูกให้มาก ๆ นะค่ะ

ผู้หญิงควรจะเริ่มตรวจหาโรค มะเร็งปากมดลูก เมื่อใด
 
           ผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์ทุกช่วงอายุ ควรมาตรวจคัดกรองเชื้อ มะเร็งปากมดลูก หรือที่เรียกว่า แพปสเมียร์ (Pap Smear)   อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และผู้หญิงที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ ควรเริ่มเมื่อ อายุ 30 ปีขึ้นไป แต่ในกรณีที่เริ่มพบความผิดปกติแพทย์อาจนัดให้ไปตรวจถี่ขึ้น 
 
           ทั้งนี้ แพปสเมียร์ คือ วิธีการตรวจหาความผิดปกติ หรือโรค มะเร็งปากมดลูก ที่ค่อนข้างง่าย ใช้เวลาเพียง 2–3 นาทีเท่านั้น เป็นการตรวจที่ทำควบคู่ไปกับการตรวจภายในของผู้หญิง แพทย์จะสอดเครื่องมือเข้าไปในช่องคลอด โดยใช้ไม้ขนาดเล็กขูดเบาๆ เพื่อเก็บเซลล์มาป้ายบนแผ่นกระจก และนำไปตรวจหาความผิดปกติ โดยก่อนที่จะตรวจ ควรเตรียมร่างกายให้พร้อม ไม่ควรตรวจในช่วงระหว่างมีประจำเดือน งดการมีเพศสัมพันธ์ และงดการสวนล้างช่องคลอด หรือสอดยาใดๆ ก่อนเข้าทำการตรวจ ข้อดีคือ วิธีการตรวจแบบแพปสเมียร์นี้ จะช่วยลดความเสี่ยงจากการเป็น โรคมะเร็งปากมดลูก ได้ถึง 70 เปอร์เซ็นต์


           โรค มะเร็งปากมดลูก แบ่งเป็น 0-4 ระยะ ดังนี้
 
           ระยะ 0  คือ เซลล์มะเร็งยังไม่กระจาย วิธีรักษา มะเร็งปากมดลูก ระยะ 0 คือ ผ่าตัดเล็ก ซึ่งใช้เวลาเพียง 15 นาที และตรวจติดตามอาการ การรักษาระยะนี้ได้ผลเกือบ 100%
           ระยะที่ 1 เซลล์มะเร็งอยู่ที่ปากมดลูก การรักษา มะเร็งปากมดลูก ระยะ 1 คือผ่าตัดใหญ่ ผ่าตัดมดลูก เลาะต่อมน้ำเหลืองในเชิงกราน ซึ่งได้ผลดีถึง 80%
            ระยะที่ 2 เซลล์มะเร็งกระจายออกจากปากมดลูก โดยยังไม่ไปไกลมาก แต่ก็ไม่สามารถผ่าตัดได้ การรักษา มะเร็งปากมดลูก ระยะที่ 2 นี้ ต้องรักษาด้วยการฉายรังสี และการให้เคมีบำบัด  (คีโม) ได้ผลราว 60%
            ระยะที่ 3 เซลล์มะเร็งกระจายชิดเชิงกราน การรักษา มะเร็งปากมดลูก ระยะที่ 3 คือใช้รังสีรักษา และการให้เคมีบำบัด การรักษาระยะนี้ได้ผลประมาณ 20-30%
           ระยะที่ 4 เป็นระยะที่เซลล์มะเร็งกระจายทั่วร่างกาย การรักษา มะเร็งปากมดลูก ระยะที่ 4 คือการให้คีโม และรักษาตามอาการ โดยหวังผลได้เพียง 5-10% และโอกาสรอดน้อยมาก แต่ก็ไม่แน่ โดยมีผู้ป่วย มะเร็งปากมดลูก บางรายสามารถอยู่ต่อได้นานถึง 1-2 ปี จึงเสียชีวิต

อัพเดทล่าสุด