เรื่องเล่าวันมหิดล วันมหิดล เชียงใหม่ 55 ตอบปัญหาวันมหิดล


949 ผู้ชม


เรื่องเล่าวันมหิดล วันมหิดล เชียงใหม่ 55 ตอบปัญหาวันมหิดล

พระดำรัส'ฟ้าหญิง' เนื่องใน'วันมหิดล'ปี55

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จไปทรงบันทึกแถบวีดิทัศน์พระราชทานสัมภาษณ์รายการพิเศษเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระมหิตลาธิ เบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เนื่องในวันมหิดล ประจำปี 2555 โดยมี ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะรองประธานคณะกรรมการจัดงานหารายได้ และคณะเฝ้ารับเสด็จ และ นายวุฒิธร (วู้ดดี้) มิลินทจินดา ดำเนินรายการ กราบทูลขอพระราช ทานสัมภาษณ์ ที่ห้องทรงงาน อาคารศรีสวรินทิรา ชั้น 3 โรงพยาบาลศิริราช 
ในการนี้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬา ภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ตรัสถึงพระอาการของพระองค์ว่า ดีขึ้นมากเดินได้ดี ถึงขนาดเดินบนเครื่องออกกำลังได้ แต่เวลาเดินไกลๆ ยังเจ็บตรงที่ผ่าตัดอยู่ หมอบอกว่าต้องติดตามถึง 2 ปี จึงจะแน่ใจว่าปลอดภัย 
ทรงเล่าถึงการแบ่งเวลาของพระองค์เองในฐานะที่ทรงเป็นทั้งพระอาจารย์และแม่ว่า ทำปัจจุบันให้ดีที่สุดคือดูไปแต่ละวันเราต้องพิจารณาว่าหน้าที่ใดสำคัญก็ต้องทำหน้าที่นั้นๆ ก่อน หน้าที่อาจไม่เหมือนกันทุกวัน บางวันต้องไปออกพอ.สว. บางวันไปคุยกับคนไข้ ต้องดูว่าวันไหนมีอะไรก็เอางานนั้นมาเรียงๆ ก็ต้องยอมรับว่าเวลาว่างไม่ค่อยจะมี 
'ปัญหาเราต้องแก้แต่เราต้องปล่อยวาง เช่น ใกล้เวลาจะนอนเรามีปัญหาเยอะแยะ เมื่อถึงเวลานอนต้องบอกตัวเองว่าถึงเวลานอนแล้วต้องนอน ไม่ใช่เวลาแก้ปัญหา ต้องนอนเสียก่อน เราจะนอนให้หลับและพักผ่อนให้พอ นอนให้หลับปัญหาเหล่านั้นเราค่อยมาแก้กัน'


สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ตรัสถึงการถวายการดูแลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า 'ในทางพระวรกายมีคณะแพทย์ของโรงพยาบาลศิริราชดูแลในทุกแง่ทุกมุม เรื่องโรคปอดก็มีคนดูแล เรื่องกระเพาะอาหารก็มีคนดูแล เรื่องพระสมองก็มีคนดูแลอยู่ ทุกคนตั้งใจเกินร้อยที่จะถวายงานให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และที่กระชั้นมากคือต้องถวายกำลังพระทัย ไม่ควรปล่อยให้เหงา ควรมีลูกหลาน ญาติพี่น้องไปเยี่ยมไปคุย ไปถามไถ่ทุกข์สุขจะช่วยให้พระองค์ท่านสบายพระทัยและทรงมีความสุขขึ้น
พระอาการล่าสุดที่วันนี้ได้เข้าเฝ้าฯ มาทรงแจ่มใสดี ทรงมีปัญหาทรงพระดำเนินลำบากและใช้แขนขาลำบาก เพราะมีหลายโรคที่ต้องดูแล ตอนนี้แพทย์กำลังดูแลเรื่องการใช้แขนขาของพระองค์ และเรื่องพระสมองด้วย มีหลายเรื่องที่ต้องพิจารณา เพราะว่าเกี่ยวกับระดับน้ำในโพรงพระสมอง แต่ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงแฟกเตอร์อื่นๆ ต้องถวายยากันพระอาการชัก จะต้องไม่ให้เลือดออกในพระสมองอีก ซึ่งตอนนี้ไม่ออกแล้ว แต่เราต้องเฝ้าดูแลพระองค์ท่านในทุกแง่ทุกมุม ทุกอย่างต้องดูแลด้วยความละเอียดอ่อน ที่สำคัญที่สุดต้องให้ทรงมีกำลังพระทัย ไม่ใช่เฉพาะตัวฉันคนเดียว สมเด็จพระเทพฯ เสด็จฯมาถวายกำลังพระทัยบ่อยๆ สมเด็จพระบรมฯ ก็เสด็จฯมาเวลาทรงว่าง และคณะแพทย์เองก็เป็นผู้ถวายเรื่องกำลังพระทัยให้ทรงเพลิดเพลินด้วย'


ทั้งยังตรัสด้วยว่า 'พระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงเรื่องน้ำท่วม ตอนก่อนประชวรครั้งหลังสุด เสด็จฯไปทรงเปิดเขื่อน 5 แห่งที่สำนักงานชลประทาน หลังจากนั้นรับสั่งว่าอยากเสด็จฯราชบุรี แต่ประชวรก่อนจึงไม่ได้เสด็จพระราชดำเนิน แต่ทรงเป็นห่วงว่าปีนี้น้ำจะท่วมไหม น่าจะท่วมน้อยกว่าปีที่แล้ว ทรงให้ความสำคัญมาก'
ด้าน ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระอาการดีขึ้นและเสด็จฯไปทรงเยี่ยมพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นกำลังพระทัยที่ดีมาก
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงมีพระดำรัสด้วยว่า 'รายการนี้ออกเนื่องใน วันมหิดล เป็นรายการที่หาทุนให้โรงพยาบาลศิริราช ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย และดูแลผู้ป่วยผู้ยากไร้มากมาย คนมีมากก็บริจาคมาก คนมีน้อยก็บริจาคน้อย บุญที่ได้นั้นอยู่ที่เจตนาของเรา เพราะฉะนั้นขอเชิญชวนทำบุญเพื่อคนไข้ผู้ยากไร้ ตัวท่านจะได้อานิสงส์อาจเป็นรูปแบบผู้ที่มีอายุยืน มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงและมีความสุขความเจริญกันถ้วนหน้าไป ถ้าทุกคนช่วยกันบริจาค'
รายการพิเศษเนื่องใน วันมหิดล กำหนดออกอากาศวันที่ 22 ก.ย. เวลา 22.20 น. ทางสถานีโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 เพื่อนำเงินที่ผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคไปซื้ออุปกรณ์การแพทย์และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ แก่ผู้ป่วย สนใจร่วมบริจาคได้ที่ ศิริราชมูลนิธิ ตึกมหิดลบำเพ็ญ ชั้น 1 โรงพยาบาลศิริราช โทร.0-2419-7658-60 ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ 
สำหรับ 'วันมหิดล' ตรงกับวันที่ 24 ก.ย.ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของสมเด็จพระบรมราชชนก ทรงเป็นเจ้านายพระองค์แรกที่ทรงประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุข ทรงอุทิศพระองค์เพื่อผู้ป่วยผู้ยากไร้และด้อยโอกาสทรงวางรากฐานการพัฒนาการแพทย์และการสาธารณสุขของไทย ตลอดจนหลักสูตรการเรียนการสอนจนก้าวหน้ามีมาตรฐานถึงระดับแพทยศาสตรบัณฑิต ซึ่งเป็นการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาแรกของประเทศไทย
จวบจนปัจจุบันการแพทย์และสาธารณสุขไทยเจริญก้าวหน้าเป็นที่ยอมรับทัดเทียมมาตรฐานสากล บุคลากรทางการแพทย์และประชาชนจึงร่วมใจถวายพระสมัญญานามว่า 'พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย'
แหล่งที่มา : khaosod.co.th

อัพเดทล่าสุด