กลอนแปดวันภาษาไทยแห่งชาติ 2555 ประวัติความเป็นมาวันภาษาไทยแห่งชาติ คําถามเกี่ยวกับวันภาษาไทยแห่งชาติ


14,336 ผู้ชม


กลอนแปดวันภาษาไทยแห่งชาติ 2555 ประวัติความเป็นมาวันภาษาไทยแห่งชาติ คําถามเกี่ยวกับวันภาษาไทยแห่งชาติ

 

ประกวดคัดลายมือ

วันภาษาไทยแห่งชาติ

ที่ วิทยาลัยเทคโนโลยีธีรภาดา

ว่าที่ร.ต.ดร.สมโชค เฉตระการ

 .

         เวียนมาถึงอีกครั้ง วันภาษาไทยแห่งชาติ ซึ่งตรงกับวันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปี  รัฐบาลประกาศให้เป็นวันสำคัญ ซึ่งมีมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2542 ทั้งนี้เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ.2505  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินไปที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทรงอภิปรายเรื่อง “ปัญหาการใช้คำไทย” ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิอีกหลายท่าน

        วิทยาลัยเทคโนโลยีธีรภาดา จัดกิจกรรมการประกวดแข่งขัน เพื่อสนับสนุน วันภาษาไทยแห่งชาติ จำนวน 14 รายการคือ การประกวดคัดลายมือ, มารยาทไทย, อ่านทำนองเสนาะ, อ่านภาษาไทย, แต่งกลอนแปด, กล่าวสุนทรพจน์, วาดภาพตัวละครในวรรณคดี, สอบแข่งขันวิชาภาษาไทย, ร้องเพลงลูกทุ่งชายหญิง, แต่งกายละครในวรรณคดี, แต่งเรียงความ, จัดบอร์ดในห้องเรียน, แต่งคำขวัญวันภาษาไทยและเรื่องเล่า  

            ผมได้รับการแต่งตั้งจากวิทยาลัยเทคโนโลยีธีรภาดา เป็นประธานกรรมการประกวดคัดลายมือ ซึ่งมีกรรมการทั้งหมอ 4 ท่านคือ ว่าที่ร.ต.ดร.สมโชค เฉตระการ, อาจารย์อุดม ภาษี, อาจารย์สุวิทย์ ทูลธรรม  และ อาจารย์ธีรนุช สารรัตน์ (เลขานุการ) เกณฑ์การประกวดคัดลายมือประกอบด้วย 1)ตัวอักษรอาลักษณ์ 10 คะแนน 2) ระยะช่องไฟ 10 คะแนน 3) ความสวยงามและเป็นระเบียบ 10 คะแนน 4) การใช้อักขระวิธีการเขียน 10 คะแนน รวม 40 คะแนน  กำหนดเวลาในการเขียน 20 นาที

ความสำคัญเกี่ยวกับลายมือ

          แม้ว่าในปัจจุบันความรุ่งเรืองด้าน เทคโนโลยี เกี่ยวกับการพิมพ์ด้วยเครื่องสามารถช่วยให้งานเขียนมีความสวยงาม  และเครื่องเขียนดังกล่าว มีส่วนสำคัญที่ทำให้คนไทยในปัจจุบันละเลยในการเขียนตัวหนังสือด้วยลายมือ ถึงอย่างไร ก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่า คนไทยเรายังคงต้องเขียนตัวหนังสือด้วยลายมือ โดยเฉพาะ ภาษาไทย  ด้วยเหตุดังกล่าว เราคนไทยจึงควรเขียนตัวหนังสือให้สวยงาม และถูกตามอักขรวิธี เพื่อให้ภาษาไทยเป็นภาษาที่งดงามสืบต่อไป

          ลายมือของคนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ลายมือจะสามารถสื่อให้เห็นว่า เจ้าของลายมือนั้นเป็นคนอย่างไร เพราะลายมือ จะสื่อให้เห็นความรู้สึกและจิตใจของเจ้าของ บางคนลายมือสวยงามมาก ถือได้ว่าเป็นเสน่ห์ที่น่าชื่นชมมาก อีกหลายคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับการเขียนตัวหนังสือ แม้จะใช้ความพยายามในการหัดเขียนอย่างไร ก็ไม่ประสบความสำเร็จ ลายมือขาดความสวยงาม ช่องไฟของตัวหนังสือไม่เป็นระเบียบ  ทำให้อ่านยาก  จริง ๆ แล้วถ้าหมั่นฝึกฝนในการเขียน ทั้งการเขียนแบบหวัด หรือคัดลายมือ ก็สามารถทำในสิ่งที่คิดว่ายากนั้น กลายเป็นง่ายได้ ดังนั้นการฝึกฝนเขียนลายมือให้สวย และเขียนให้ถูกอักขรวิธี โดยปกติตัวหนังสือจะมีหลายรูปแบบ แต่ตัวหนังสือ อาลักษณ์ คือตัวหนังสือที่ใช้ทางราชการ

การประกวดการคัดลายมือ

บรรยากาศภายในห้องคัดลายมือ

อาจารย์ธีรนุช สารรัตน์ เดินให้กำลังใจกับศิษย์ทุกคน

นักศึกษาเกือบทุกสาขาวิชา ให้ความสนใจกับกิจกรรมการประกวดคัดลายมือ

นักศึกษา SCG สาขาธุรกิจค้าปลีก (เฉพาะอย่าง)

ร่วมกิจกรรมประกวดคัดลายมือ...อาจารย์อุดม ภาษี ร่วมให้กำลังใจ

นักศึกษาทุกคนต่างก็ให้ความตั้งใจในการประกวดคัดลายมือ


แหล่งที่มา : oknation.net

อัพเดทล่าสุด