เรียงความวันภาษาไทยแห่งชาติ เรียงความเรื่องวันภาษาไทยแห่งชาติ คําขวัญวันภาษาไทยแห่งชาติ 2554


167,325 ผู้ชม


เรียงความวันภาษาไทยแห่งชาติ เรียงความเรื่องวันภาษาไทยแห่งชาติ คําขวัญวันภาษาไทยแห่งชาติ 2554

 

เรียงความเรื่อง "โชคดีที่มีภาษาไทย"

“ ... เรามีโชคดีที่มีภาษาเป็นของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ ปัญหาเฉพาะในด้านรักษาภาษานี้ก็มีหลายประการ อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง คือให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน อีกอย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีใช้ หมายความว่า วิธีใช้คำมาประกอบเป็นประโยค นับเป็นปัญหาที่สำคัญ ปัญหาที่สาม คือความร่ำรวยในคำของภาษาไทย ซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ร่ำรวยพอ จึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้ ..."

พระราชดำรัส ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในคราวเสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานการประชุมคณะกรรมการชุมนุมภาษาไทย ในการประชุมทางวิชาการ ของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ ๒๙ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๐๕


ภาษาไทย เป็นภาษาที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นภาษาที่มีความไพเราะภาษาหนึ่งในโลก

เป็นภาษาที่เกิดจากอัจฉริยภาพของบรรพบุรุษไทยที่ได้สั่งสมและถ่ายทอดมาเป็นเวลาหลายร้อยปีนับตั้งแต่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นจวบจบปัจจุบัน แม้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระองค์ทรงตระหนักถึงปัญหาในการใช้ภาษาไทย จนกลายเป็นต้นกำเนิดของ "วันภาษาไทยแห่งชาติ"

เพื่อเป็นการสร้างแรงกระตุ้นให้คนไทยภูมิใจในเอกลักษณ์ที่แสดงถึงความเป็นชาติไทย แสดงถึงความเป็นชนชาติที่มีภาษาเป็นของตนเอง ในขณะที่หลายประเทศในโลกนั้นไม่มีภาษาซึ่งแสดงความเป็นเอกลักษณ์ของชาติ

ภาษาไทย มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า เป็นภาษาดนตรี เนื่องจากเป็นภาษาที่มีครบทั้งเสียงพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ เป็นภาษาที่สามารถใช้บันทึกเสียงที่เปล่งออกมาได้เกือบจะครบถ้วน เช่น ภาษาจีนจะไม่สามารถบันทึกเสียง "ด" ได้

นอกจากนี้ ภาษาไทย ยังเป็นภาษาที่มีจังหวะจะโคน มีสัมผัสคล้องจองที่ไพเราะเสนาะหูเมื่อเปรียบเทียบกับภาษาอื่น สะท้อนถึงอุปนิสัยของคนไทยที่เป็นคนเรียบง่ายแต่งดงาม อยู่กับธรรมชาติและเสพสุนทรียะจากสิ่งรอบตัวได้ จะมีรูปแบบฉันทลักษณ์ที่เป็นแบบแผน มีการใช้กลบท เล่นเสียง เล่นคำ และรูปแบบที่หลากหลาย ซึ่งล้วนแล้วแต่กลั่นกรองมากจากธรรมชาติทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นกลบทบัวบานขยายกลีบ กลบทงูกินหาง กลบทสะบัดสะบิ้ง ซึ่งหาภาษาอื่นใดในโลกที่จะทำได้เช่นนี้ไม่มีอีกแล้ว

ภาษาไทยเป็นภาษาที่แสดงถึงความมีสัมมาคารวะ เพราะว่ามีระดับของภาษา เช่น ภาษาทางการ ภาษากึ่งทางการภาษาปาก ซึ่งต้องใช้ให้ถูกกาลเทศะ ยกตัวอย่างเช่น คำว่า กิน ของพระใช้ ฉัน ของคนธรรมดาใช้ รับประทานของพระมหากษัตริย์ใช้ เสวย

แต่ในปัจจุบันเราจะเห็นว่า ภาษาไทย ถูกนำมาใช้อย่างผิดๆ เกิดการสร้างคำแบบใหม่ มีการตัดคำและไม่มีกาลเทศะในการใช้คำ แม้ว่าธรรมชาติของภาษาจะบอกว่า "ภาษาที่มีชีวิตนั้นต้องมีการเปลี่ยนแปลง" แต่ทว่าหาก ภาษาไทย เปลี่ยนแปลงไปเช่นนี้ เกรงว่าเอกลักษณ์ของชาติคงจะเสียหายและสูญหายไปในที่สุด เพราะเหตุนี้เราจึงควรร่วมกันอนุรักษ์ภาษาไทย เพราะ "เราโชคดีที่มีภาษาไทย" ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น


แหล่งที่มา : roikamhom.blogspot.com

อัพเดทล่าสุด