สมุนไพรรักษากลากเกลื้อน ยารักษาเกลื้อน โรคเกลื้อน


10,354 ผู้ชม


สมุนไพรรักษากลากเกลื้อน ยารักษาเกลื้อน โรคเกลื้อน

 

 
โรคเกลื้อน

         เกลื้อน (Tinea versicolor) จัดว่าเป็นโรคติดเชื้อราของผิวหนังชนิดตื้น การติดเชื้อเกิดขึ้นบริเวณผิวบนของผิวหนัง หรือหนังกำพร้าส่วนบนเท่านั้น เกลื้อนเป็นโรคผิวหนังที่แตกต่างจากโรคกลาก เกิดจากการติดเชื้อเกลื้อนที่ผิวหนังชั้นนอกสุด ทำให้ผิวหนังเกิดเป็นด่างดวง บริเวณที่เป็นโรคมักมีสีอ่อนกว่าสีผิวหนังเดิม หรืออาจเป็นสีน้ำตาล... 

พบได้บ่อยในคนหนุ่มสาว โดยเฉพาะในผู้ที่ใส่เสื้อผ้าที่อบ มีเหงื่อออกมาก หรือผิวมันในระยะ เริ่มแรกจะปรากฏเป็นดวงเล็กๆ ต่อมาจะเพิ่มจำนวนขึ้นเป็นหลายดวงได้ หรืออาจรวมตัวกันขยายเป็นปืนใหญ่ โดยมากเกลื้อนไม่ทำให้มีอาการคัน แต่บางครั้งก็อาจมีอาการคันเกิดขึ้นได้

 

เกลื้อน พบบ่อยในกลุ่มวัยรุ่น ทั้งหนุ่ม และสาว เพราะเป็นวัยที่ต่อมไขมันทำงานมาก ผู้ที่เป็นโรคเกลื้อนมีแนวโน้มทางพันธุกรรมอยู่กล่าวคือจะเป็นคนผิวมัน มีความต้านทานต่อเชื้อ เกลื้อน น้อยกว่าคนทั่วไป ผู้ที่ปฏิบัติงานในสถานที่อบ ร้อน เหงื่อมาก มีโอกาสเกิดได้ง่ายกว่าปกติ

สาเหตุ

สาเหตุเกิดจากเชื้อยีสต์ที่ชอบไขมันชนิดหนึ่ง ซึ่งอาศัยอยู่บริเวณขุมขนใช้น้ำมันที่หลั่งออกมาจากต่อมไขมันเป็นอาหาร ในสภาวะปกติ ยีสต์จะมีจำนวนน้อยไม่ทำให้เกิดโรค แต่ในบางภาวะที่ผิวหนังมันมากๆและอับชื้นเนื่องจากมีเหงื่อชุ่มอยู่กับเสื้อผ้า ยีสต์จะแบ่งตัวเพิ่มจำนวนมากขึ้น และเปลี่ยนรูปร่างเป็นชนิดที่ทำให้เกิด โรคเกลื้อน

เกลื้อนเกิดจากการกำเริบของเชื้อยีสต์ที่มักอาศัยอยู่ที่ผิวหนังของคนเราอยู่แล้ว เห็นเป็นรอยจุดขาวตามรูขุมขน ชาวบ้านจึงเรียกว่า "เกลื้อนดอกหมาก" แต่ในบางรายก็อาจเห็นเป็นผื่นสีชมพู สีน้ำตาล จนถึงสีดำก็ได้ อาจมีอาการคันหรือไม่คันก็ได้

อาการ

เกิดผื่นขนาดต่างๆ กัน ส่วนใหญ่สีขาว บางครั้งสีออกชมพู หรือน้ำตาล มีสะเก็ดบางๆ ที่ผิว ไม่มีอาการ แต่ลุกลามเร็ว เกลื้อนทำให้เกิดอาการคันที่ผิวหนังได้ในบางคน แต่อาการส่วนใหญ่ที่นำให้ผู้ป่วยมาหาแพทย์ คือ ลักษณะที่มีรอยด่างที่ผิวหนัง ทำให้ดูไม่สวยงาม ดูไม่สะอาด ดวงขาวในโรคเกลื้อนอาจเป็นอยู่นานหลายเดือนผู้ป่วยบางราย ทั้งๆ ที่เชื้อเกลื้อนถูกทำลายด้วยยาแล้ว แต่ดวงขาวยังคงอยู่ทั้งนี้เพราะขณะนี้เป็น โรคเกลื้อน เชื้อราได้สร้างสารเคมีบางชนิดไป กดการทำงานของเซลล์เม็ดสี ดังนั้นดวงขาวในโรคนี้จะกลับมาเป็นผิวสีปกติได้ต่อเมื่อเซลล์เม็ดสี สร้างเม็ดสีกลับมาดังเดิมซึ่งต้องใช้เวลานานเป็นเดือนในผู้ป่วยบางราย

เกลื้อนสามสี

เกลื้อน ที่พบโดยทั่วไปมี 3 ประเภท ซึ่งเกิดจากเชื้อราตัวเดียวกัน คือ Malassesia furfur ได้แก่

  1. เกลื้อนดอกหมาก มีลักษณะเป็นจุดด่างขาวๆ เป็นหย่อมๆ พบมากที่หลัง อก และสีข้าง คนโบราณเป็นคนช่างเปรียบเทียบ จึงเอาสีขาวบนผิวไปเปรียบกับสีของดอกหมาก และเรียกเกลื้อนว่า "เกลื้อนดอกหมาก" เนื่องจากมีสีขาวคล้ายๆ กัน
  2. เกลื้อนสีแดง มีลักษณะคือ ผิวแดงเป็นหย่อมๆ ขนาดครึ่งถึงหนึ่งเซนติเมตร ผิวแดงจะปกคลุมด้วยสะเก็ดบางๆ มักพบที่บริเวณเนื้อย่นๆ เช่น ขาหนีบ รักแร้ รอบคอ พบในคนที่รักษาสุขภาพดี แต่ผิวมีเหงื่อซึ่งประกอบด้วยสารบางชนิดที่เหมาะในการเป็นอาหารของเชื้อเกลื้อน
  3. เกลื้อนสีดำ เป็นผื่นราบสีดำคล้ำ คลุมด้วยสะเก็ดบางๆ ไม่มีอาการคันขนาดตั้งแต่ 1-2 มม. จนกว้างหลายเซนติเมตร พบบ่อยที่เอว ขาหนีบ รักแร้ ต้นคอ พบในคนมีฐานะดี และสุขภาพดี

แหล่งที่มา : 108health.com

อัพเดทล่าสุด