เป็นรังแค รังแคเป็นแผ่น ยารักษารังแค
อาการ รังแค
- ผิวหนังคัน และลอก ซึ่งเป็นได้ทั้งใบหน้า และอก รวมทั้งหนังศีรษะ
- รังแค ทำให้มีอาการคัน และมองดูไม่สะอาดตา ยิ่งเกายิ่งคัน และจะมีขุยหลุดร่วงมากขึ้น สร้างความรำคาญ และบั่นทอนบุคลิกภาพเป็นอย่างมาก บางครั้งสามารถรักษาให้หายได้ แต่มักจะกลับเป็นซ้ำได้อีก
- โรคบางอย่างที่ก่อให้เกิดโรครังแคได้ เช่น โรคสะเก็ดเงิน โรคเชื้อราบนหนังศีรษะ โรคผิวหนังอักเสบ การแพ้สารเคมีบางชนิด เป็นต้น
- รังแคมีทั้งชนิดผมมัน และชนิดผมแห้ง อาจตรวจสอบได้ง่ายๆ ด้วยการก้มศีรษะลง วางกระดาษดำ หรือผ้าสีเข้มๆ ไว้ตรงหน้า แล้วหวีเอาฝุ่นผงต่างๆ จากเส้นผมออก ดูว่าฝุ่นผงที่หลุดมาจากเส้นผมมีลักษณะอย่างไร ถ้าเป็นผงเล็กๆ เหมือนแป้ง แสดงว่าเป็นปัญหา รังแค ผมแห้ง แต่ถ้าฝุ่นผงที่หลุดออกมามีลักษณะชิ้นใหญ่ เป็นก้อน และชื้น แสดงว่าเป็นปัญหารังแคผมมัน
- โดยทั่วไปรังแคจะไม่มีการอักเสบบวมแดงทีบริเวณหนังศีรษะเลย แต่ถ้ามี รังแค มาก ร่วมกับอาการคัน หรือผื่นแดงที่หนังศีรษะ อาจเป็นอาการของโรคผิวหนัวบางชนิด เช่น โรคผิวหนังอักเสบเซ็บเดิร์ม (seborrheic dermatitis) โรคสะเก็ดเงิน (psoriasis) หรือโรคแพ้สารเคมี หรือน้ำยาบางอย่าง
การวินิจฉัย
สามารถให้การวินิจฉัยได้ไม่ยาก ในกรณีที่ไม่แน่ใจว่ามีโรคผิวหนังชนิดอื่นๆ เกิดขึ้นร่วมด้วยหรือไม่ ควรปรึกษาแพทย์
การรักษา
- ดูแลเอาใจใส่ผมด้วยการสระผมบ่อยๆ จะช่วยให้ดีขึ้นได้ พิจารณาใช้แชมพูที่มีส่วนผสมของยาบางตัว เช่น เซเลเนี่ยม ซัลไฟด์ (selenium sulfide) , ซิงค์ ไพรีตั้น (zinc pirition) หรือ คีโตโคนาโซล (ketoconazole) เป็นต้น ซึ่งช่วยให้ปัญหารังแคทุเลาเบาบางลงได้ โดยใช้สระผมสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ไม่ควรใช้บ่อยเกินไป เนื่องจากมีส่วนผสมของตัวยาที่อาจทำให้ผมแห้งเป็นสีเหลืองน้ำตาลได้ ถ้ามีข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์
- เวลาสระผมต้องทิ้งไว้อย่างน้อย 10 นาทีแล้วค่อยล้างออก เพื่อให้แชมพูออกฤทธิ์เต็มที่ ยิ่งเป็นรังแคมากก็ยิ่งต้องทิ้งไว้นาน ยีให้เป็นฟองทั่วศีรษะ แล้วใช้หมวกอาบน้ำคลุมไว้สัก 1 ชั่วโมงค่อยล้างงออก
- เลือกใช้แชมพูที่มีส่วนผสมของซีลีเนียมซัลไฟด์ (selenium sulphide) ซิงค์ไพริไทออน (zinc pyrithione) หรือทาร์ (tar) สารสองอย่างแรกช่วยยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์หนังศีรษะ มีอยู่ในแชมพูขจัดรังแคสูตรอ่อนโยน เช่น เฮดแอนด์โชลเดอร์ส ส่วนแชมพูที่ผสมทาร์จะยับยั้งการเติบโตของเซลล์ แชมพูทั้งสองชนิดนี้ล้วนขจัดรังแคได้ดีกว่าแชมพูที่ผสมซัลเฟอร์ (sulphur) หรือกรดซาลิไซลิก (salicylic acid) ซึ่งแค่ทำให้หนังศีรษะหลุดลอกออกมา แล้วล้างออกไประหว่างการสระ
- ถ้าใช้แชมพูขจัดรังแคสูตรอ่อนโยนแล้วไม่ดีขึ้น ให้ใช้แชมพูผสมสารคีโตโคนาโซล (ketoconazole) เช่น ไนโซรัล คีโตโคนาโซลเป็นยาฆ่าเชื้อรา จะช่วยฆ่ายีสต์ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เกิดรังแค
- ถ้าใช้แชมพูขจัดรังแคไปสักพักแล้วเริ่มกลับมามีรังแคอีก แสดงว่าหนังศีรษะาจเกิดอาการดื้อยา ลองเปลี่ยนไปใช้แชมพูที่ผสมสารขจัด รังแค ชนิดอื่น ใช้ไปสัก 2-3 เดือนแล้วค่อยกลับมาใช้ยี่ห้อเดิม
แหล่งที่มา : 108health.com