ประวัติฟุตซอลและกติกา ประวัติฟุตซอลแบบย่อ ประวัติฟุตซอล แบบย่อ


1,707 ผู้ชม


ประวัติฟุตซอลและกติกา ประวัติฟุตซอลแบบย่อ ประวัติฟุตซอล แบบย่อ


กติกาฟุตซอล

ประวัติฟุตซอล

กติกาฟุตซอล ข้อ 1

สนามแข่งขัน (THE PITCH)
ขนาดสนาม(Dimension)
   สนามแข่งขันต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความยาวของเส้นข้างต้องยาวกว่าความยาวของเส้นประตู
ความยาว   ต่ำสุด   25   เมตร
         สูงสุด   42   เมตร
ความกว้าง   ต่ำสุด   15   เมตร
         สูงสุด   25   เมตร
การแข่งขันระหว่างชาติ (International Matches)ความยาว   ต่ำสุด   38   เมตร
         สูงสุด   42   เมตร
ความกว้าง   ต่ำสุด   18   เมตร
         สูงสุด   22   เมตร
การทำเส้นสนามแข่งขัน (Pitch Markings)
   สนามแข่งขันประกอบด้วยเส้นต่างๆเส้นเหล่านั้นเป็นพื้นที่ของเขตนั้นๆ เส้นด้านยาวสองข้างเรียกว่า เส้นข้าง (Touch Line) เส้นด้านสั้นสองเส้น เรียกว่า เส้นประตู (Goal Line) เส้นทุกเส้นต้องมีความกว้าง 8 เซนติเมตร สนามแข่งขันแบ่งออกเป็นสองส่วนเท่าๆกัน โดยมีเส้นแบ่งแดน (A Halfway Line) ที่กึ่งกลางของเส้นแบ่งแดน มีจุดกึ่งกลางสนาม (Center Mark) และวงกลมรัศมี 3 เมตรล้อมรอบจุดนี้ไว้
เขตโทษ (The Penalty Area)
   เขตโทษทำไว้ตรงส่วนท้ายของสนามแต่ละด้าน ดั้งนี้ ให้วัดจากด่านนอกเสาประตูทั้งสองข้างออกไปตามแนวเส้นประตูข้างละ 6 เมตร เขียนส่วนโค้งซึ้งมีรัศมี 6 เมตร เข้าไปใน พื้นที่สนามแข่งขันจนปลายของส่วนโค้งสัมผัสกับเส้นขนานที่ตั้งฉากกับเส้นประตู ระหว่างเสาประตูทั้งสองข้างมีความยาว 3.16 เมตร พื้นที่ภายในเขตเส้นเหล่านี้และเส้นประตูล้อมรอบ เรียกว่า เขตโทษ
จุดโทษ (Penalty Mark)
   จากจุดกึ่งกลางประตูแต่ละข้าง ให้วัดเป็นแนวตั้งฉากเข้าไปในสนามแข่งขันเป็นระยะทาง 6 เมตร และให้ทำจุดแสดงไว้ จุดนี้เรียกว่า จุดโทษ
จุดโทษที่สอง (Second Penalty Mark)
   จากจุดกึ่งกลางประตูแต่ละข้าง ให้วัดเป็นแนวตั้งฉากเข้าไปในสนามแข่งขันเป็นระยะทาง 10 เมตร และให้ทำจุดแสดงไว้ จุดนี้เรียกว่า จุดโทษที่สอง
เขตมุม (The Corner Area)
   จากมุมสนามแต่ละด้านให้เขียน 1 ใน 4 ของส่วนโค้งไว้ด้านในสนามแข่งขัน โดยมีรัศมี 25 เซนติเมตร
เขตเปลี่ยนตัว (Substitution Zone)
   เขตเปลี่ยนตัวอยู่บริเวณเส้นข้างของสนามแข่งขันตรงด้านหน้าของทีมที่จัดที่นั่งผู้เล่นสำรองไว้ เขตเปลี่ยนตัวมีความยาว 5 เมตร จะสังเกตได้จากบนเส้นข้างจะมีเส้นกว้าง 8 เซนติเมตร ยาว 80 เซนติเมตร (วัดเข้าด้านในสนาม 40 เซนติเมตร และวัดออกจากด้านนอกสนาม 40 เซนติเมตร) ผู้เล่นจะเปลี่ยนเข้าและออกต้องอยู่ภายในเขตเปลี่ยนตัว
   ระหว่างเขตเปลี่ยนตัวทั้งสองข้างตรงเส้นแบ่งแดนและเส้นข้างจะมีช่องว่างระยะ 5 เมตร ตรงหน้าโต๊ะผู้รักษาเวลา
ประตู (Goals)
   ประตูต้องตั้งอยู่บนกึ่งกลางของเส้นประตูแต่ละด้านประกอบด้วย เสาประตูสองเสา มีระยะห่างกัน 3 เมตร และเชื่อมต่อกันด้วยคานตามแนวนอน ซึ่งส่วนล่างของคานจะอยู่สูงจากพื้น 2 เมตร
   เสาประตูและคานประตูทั้งสองด้านจะมีความกว้างและความหนา 8 เซนติเมตร อาจติดตาข่ายไว้ที่ประตูและคานประตูด้านหลัง ตาข่ายประตูต้องทำด้วยป่าน ปอ หรือ ไนล่อน จึงอนุญาตให้ใช้ได้
   เส้นประตูมีความกว้างเท่ากับเสาประตูและคานประตู ที่เสาและคานด้านหลังประตูมีลักษณะเป็นรูปโค้ง วัดจากริมด้านบนของเสาประตู ไปสู่ด้านนอกของสนามมีความลึกไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร วัดจากริมด้านล่างของเสาประตูไปด้านนอกของสนามมีความลึกไม่น้อยกว่า 100 เซนติเมตร
ความปลอดภัย (Safety)
   ประตูอาจเป็นแบบที่แยกประกอบและโยกย้ายได้ แต่จะต้องติดตั้งไว้กับพื้นสนามอย่างมั่นคงและปลอดภัย
พื้นผิวของสนามแข่งขัน (Surface of the Pitch)
   พื้นผิวสนามจะต้องเรียบ อาจทำด้วยไม้หรือวัสดุสังเคราะห์และต้องหลีกเลี่ยงพื้นผิวสนามที่ทำด้วยคอนกรีต หรือยางมะตอย
ข้อตกลง (Decisions)
1.   ในกรณีเส้นประตูยาวระหว่าง 15 – 16 เมตร รัศมีที่ใช้เขียนส่วนโค้งเขตโทษยาว 4 เมตร ในกรณีนี้จุดโทษจะไม่อยู่บนเส้นเขตโทษ แต่ยังคงเป็นระยะ 6 เมตร โดยวัดจากกึ่งกลางเสาประตูและมีระยะห่างเท่ากันทั้งสองข้าง
2.   การใช้สนามพื้นหญ้าตามธรรมชาติ สนามหญ้าเทียม หรือพื้นดิน อนุญาตให้ใช้ในการแข่งขันระดันลีก แต่ไม่อนุญาตให้ใช้ในการแข่งขันระหว่างชาติ
3.   เครื่องหมายจะถูกเขียนไว้ด้านนอกของสนามแข่งขันวัดออกมา 5 เมตร เป็นมุมฉากกับเสาประตูเพื่อทำให้แน่ใจว่าผู้เล่นอยู่ห่างจากจุดเตะจากมุม 5 เมตร ความกว้างของเครื่องหมาย 8 เซนติเมตร
4.   ทั้งสองทีมอยู่ด้านหลังเส้นข้าง ถัดจากช่องว่างด้านหน้าโต๊ะเจ้าหน้าที่

กติกาฟุตซอล ข้อ 2

ลูกบอล (The Ball)
คุณลักษณะและหน่วยการวัด (Qualities and Measurements)    
ลูกบอลต้อง
1.   เป็นทรงกลม
2.   ทำด้วยหนัง หรือวัสดุอื่นๆที่เหมาะสม
3.   เส้นรอบวงไม่น้อยกว่า 62 เซนติเมตร และไม่เกินกว่า 64 เซนติเมตร
4.   ขณะเริ่มการแข่งขันลูกบอลต้องมีน้ำหนักไม่น้อยกว่า 400 กรัม และไม่มากกว่า 440 กรัม
5.   ความดันลมของลูกบอล 0.4 – 0.6 ระดับบรรยากาศ (400 – 600 กรัมต่อตารางเซนติเมตร) ที่ระดับน้ำทะเล
การเปลี่ยนลูกบอลที่ชำรุด (Replacement of a Defective Ball)
   ถ้าลูกบอลแตกหรือชำรุดในระหว่างการแข่งขันจะดำเนินการดังนี้
1.   การแข่งขันต้องหยุดลง
2.   เริ่มเล่นใหม่โดยการปล่อยลูกบอล (Dropped Ball) ณ ที่ลูกบอลตก (ชำรุด)
ถ้าลูกบอลเกิดแตกหรือชำรุดในขณะบอลอยู่นอกการเล่น ให้เริ่มเล่นใหม่โดยการเตะเริ่มเล่นการเล่นลูกจากประตู การเตะจากมุม การเตะโทษ ณ จุดโทษ หรือการเตะเข้าเล่น
การเริ่มเล่นให้เป็นไปตามกฎกติกา
ในขณะการแข่งขัน การเปลี่ยนลูกบอลจะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ตัดสิน
ข้อตกลง (Decisions)
1.   ในการแข่งขันระหว่างชาติไม่อนุญาตให้ใช้ลูกบอลที่ทำด้วยสักหลาด
2.   การทดสอบลูกบอลเมื่อปล่อยจากความสูง 2 เมตร โดยวัดจากการกระดอนครั้งแรก ต้องกระดอนจากพื้นไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร และไม่สูงกว่า 65 เซนติเมตร
3.   ในการแข่งขัน ลูกบอลที่ใช้ต้องแสดงให้เห็นถึงความต้องการทางเทคนิคอย่างน้อยที่สุด ตามที่ระบุไว้ในกติกาข้อที่ 2 เท่านั้นจึงจะอนุญาตให้ใช้ได้
4.   ในการแข่งขันของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ และการแข่งขันภายในความรับผิดชอบของสหพันธ์ฟุตบอล ต้องมีสัญลักษณ์ 3 อย่าง ดังนี้
   ได้รับการรับรองจากสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (FIFA APPROVED)
   ได้รับการตรวจสอบจากสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (FIFA INSPECTED)
   ลูกบอลมาตรฐานใช้แข่งขันระหว่างชาติ (INTERNATIONAL MATCHBALL STANDARDS)
สัญลักษณ์ที่ปรากฏอยู่ที่ลูกบอลคือ สัญลักษณ์ที่ระบุว่าลูกบอลดังกล่าวได้รับการทดสอบอย่างเป็นทางการแล้ว สำหรับการแข่งขันของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ และการแข่งขันภายในความรับผิดชอบดูแลของสหพันธ์ต่างๆ ลูกบอลที่ใช้ต้องแสดงถึงความต้องการทางเทคนิคอย่างน้อยที่สุดตามที่ระบุไว้ในกติกาข้อ 2 เท่านั้นที่อนุญาตให้ใช้ได้ การยอมรับลูกบอลที่ใช้ดังกล่าวข้างต้น จะอยู่ภายใต้เงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งที่แสดงให้เห็นบนลูกบอลว่าเป็นไปตามความต้องการทางเทคนิค ดังกล่าว
   สมาคมฟุตบอลแห่งชาติสามารถออกกฎบังคับให้ใช้ลูกบอลที่มีสัญลักษณ์อย่างใด อย่างหนึ่งจากเงื่อนไข 3 ประการ สำหรับการแข่งขันภายในประเทศหรือในการแข่งขันอื่นๆทุกรายการ ลูกบอลจะต้องเป็นไปตามกติกาข้อ 2
   ในกรณีที่สมาคมฟุตบอลแห่งชาติ บังคับใช้ลูกบอลที่มีสัญลักษณ์ที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ(FIFA APPROVED) และได้รับการตรวจสอบจากสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (FIFA INSPECTED) แต่สมาคมฟุตบอลแห่งชาติสามารถอนุญาตให้ใช้ลูกบอลมาตรฐานแข่งขันระหว่างชาติ(INTERNATIONAL MATCHBALL STANDARDS) ก็ได้
ในการแข่งขันของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ และในรายการแข่งขันที่อยู่ภายในการดูแลของสมาพันธ์และสมาคมฟุตบอลแห่งชาติไม่อนุญาตให้ทำการโฆษณาสินค้าบนลูกบอล ยกเว้นสัญลักษณ์ของการแข่งขัน และผู้จัดตั้งการแข่งขัน หรือสัญลักษณ์ทางการค้าที่ได้รับอนุญาตจากกฎเกณฑ์ของการแข่งขัน และอาจจะจำกัดขนาดและจำนวนของเครื่องหมายเหล่านั้น

กติกาฟุตซอล ข้อ 3


จำนวนผู้เล่น (THE NUMBER OF PLAYERS)
ผู้เล่น (Players)
ในการแข่งขันจะมีผู้เล่นสองทีม แต่ละทีมต้องมีผู้เล่นในสนามไม่เกิน 5 คน และต้องมีผู้เล่นคนหนึ่งเป็นผู้รักษาประตู
ขั้นตอนการเปลี่ยนตัว (Substitution Procedure)
1.   การเปลี่ยนตัวจะเปลี่ยนเมื่อใดก็ได้ในขณะแข่งขันภายใต้ระเบียบของการแข่งขันอย่างเป็นทางการที่สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติสมาพันธ์ฟุตบอล หรือสมาคมฟุตบอลแห่งชาติกำหนดไว้
2.   อนุญาตให้มีผู้เล่นสำรองไม่เกิน 7 คน
3.   การเปลี่ยนตัวผู้เล่นในระหว่างการแข่งขันไม่จำกัดจำนวนสามารถเปลี่ยนตัวได้ตลอดเวลา ผู้เล่นที่ถูกเปลี่ยนออกสามารถเปลี่ยนกลับเข้าไปเล่นได้อีก โดยการเปลี่ยนตัวกับผู้เล่นที่เล่นในสนาม
4.   การเปลี่ยนตัวออกและเข้าสามารถทำได้ตลอดเวลาในขณะลูกบอลอยู่ในการเล่น หรือลูกบอลอยู่นอกการเล่น แต่ต้องกระทำตามเงื่อนไข
   ผู้เล่นที่ออกจากสนามต้องออกในเขตเปลี่ยนตัวของตนเองเท่านั้น
   ผู้เล่นที่เปลี่ยนตัวจะต้องเปลี่ยนตัวในเขตของตนเอง แต่ต้องให้ผู้เล่นในสนามที่ถูกเปลี่ยนตัวออกได้ผ่านเส้นข้างออกจากสนามโดยสมบูรณ์ก่อน
   การเปลี่ยนตัวอยู่ในอำนาจและดุลพินิจของผู้ตัดสินเท่านั้น ว่าจะให้เข้าเล่นได้หรือไม่
   การเปลี่ยนตัวจะถือว่าสมบูรณ์เมื่อผู้ที่เปลี่ยนตัวได้เข้าสนามและถือว่าเป็นผู้เล่นทันที ส่วนผู้ที่เปลี่ยนตัวออกจะถือว่าเป็นผู้เล่นสำรอง
ผู้รักษาประตูสามารถเปลี่ยนตำแหน่งกับผู้เล่นคนอื่นได้
การกระทำผิดและการลงโทษ (Infringements/Sanction)
   ถ้าในขณะเปลี่ยนตัว ผู้เล่นสำรองได้เข้าไปในสนามก่อนที่ผู้เล่นในสนามจะออกนอกสนามโดยสมบูรณ์
1.   หยุดการเล่น
2.   ผู้เล่นที่จะออกต้องให้ออกจากสนาม
3.   ผู้เล่นสำรองที่เข้ามาต้องถูกคาดโทษด้วยใบเหลือง
4.   การเริ่มเล่นใหม่ ให้ฝ่ายตรงข้ามเตะโทษโดยอ้อม ณ จุดที่ลูกบอลอยู่ในการเล่นได้หยุดลง อย่างไรก็ตาม ถ้าลูกบอลอยู่ในเขตโทษ การเตะโทษโดยอ้อมจะกระทำจากเส้นเขตโทษที่จุดใกล้ตำแหน่งของลูกบอลมากที่สุด ในขณะที่การเล่นได้หยุดลง
ถ้าในระหว่างการเปลี่ยนตัว ผู้เล่นสำรองที่เปลี่ยนออกได้เปลี่ยนตัวออกนอกเขตเปลี่ยนตัว
1.   หยุดการเล่น
2.   ผู้เล่นที่กระทำผิดต้องถูกคาดโทษด้วยใบเหลือง
3.   การเริ่มเล่นใหม่ ให้ฝ่ายตรงข้ามได้เตะโทษโดยอ้อม ณ จุดที่ลูกบอลอยู่ในการเล่นได้หยุดลง อย่างไรก็ตาม ถ้าลูกบอลอยู่ในเขตโทษ การเตะโทษโดยอ้อมจะกระทำจากเส้นเขตโทษที่จุดใกล้ตำแหน่งของลูกบอลมากที่สุด ในขณะที่การเล่นได้หยุดลง
ข้อตกลง (Decisions)
1.   การเริ่มเล่นแต่ละทีมต้องมีผู้เล่น 5 คน
2.   ถ้าในกรณีผู้เล่นทีมหนึ่งถูกไล่ออกจากการแข่งขัน และเหลือผู้เล่นน้อยกว่า 3 คน(รวมผู้รักษาประตู)การแข่งขันต้องถูกยกเลิก

กติกาฟุตซอล ข้อ 4


อุปกรณ์ของผู้เล่น (THE PLAYER’S EQUIPMENT)
ความปลอดภัย (Safety)
   ผู้เล่นต้องไม่ใช้อุปกรณ์หรือสวมใส่สิ่งใดที่เป็นอันตรายต่อตนเอง และผู้เล่นอื่น รวมถึงเครื่องประดับต่างๆทุกชนิด
อุปกรณ์เบื้องต้น (Basic Equipment)
   ข้อบังคับเบื้องต้นเกี่ยวกับอุปกรณ์ของผู้เล่น ประกอบด้วย
1.   เสื้อยืดหรือเสื้อเชิ้ต
2.   กางเกงขาสั้น (ถ้าสวมกางเกงปรับอุณหภูมิ สีของกางเกงนั้นจะต้องเป็นสีเดียวกันกับสีหลักของกางเกง
3.   ถุงเท้ายาว
4.   สนับแข้ง
5.   รองเท้า รองเท้าที่อนุญาตให้ใช้ได้ ต้องเป็นรองเท้าผ้าใบหรือรองเท้าแบบหนังนิ่ม หรือรองเท้าออกกำลังกายที่พื้นรองเท้าทำด้วยยาง หรือวัสดุที่คล้ายคลึงกัน การสวมรองเท้าเป็นข้อบังคับในการแข่งขัน
เสื้อยืดหรือเสื้อเชิ้ต (Jersey of Shirt)
1.   หมายเลข 1 – 15 จะอยู่ด้านหลังของเสื้อ
2.   สีของหมายเลขจะเห็นชัดเจนและแตกต่างจากสีเสื้อ
สำหรับการแข่งขันระหว่างชาติ จะหมายเลขขนาดเล็กอยู่ด้านหน้าเสื้อด้วย
สนับแข้ง (Shinguards)
1.   ต้องอยู่ภายถุงเท้ายาวทั้งสองข้าง
2.   ทำจากวัสดุที่เหมาะสม (ยาง พลาสติก โพลียูรีเทน หรือ วัสดุที่คล้ายคลึงกัน)
3.   ต้องเหมาะสมในการป้องกัน
ผู้รักษาประตู (Goalkeepers)
1.   อนุญาตให้ผู้รักษาประตูสวมใส่กางเกงขายาวได้
2.   ผู้รักษาประตูแต่ละทีมต้องสวมชุดให้มีสีแตกต่างจากผู้เล่นคนอื่น และผู้ตัดสิน
ถ้าผู้เล่นเปลี่ยนตัวเป็นผู้รักษาประตู ผู้เล่นที่เป็นผู้รักษาประตูต้องสวมเสื้อผู้รักษาประตูที่มีหมายเลขด้านหลังของตนเองอนุญาต
การกระทำผิด การลงโทษ (Infringements/Sanctions)
สำหรับการกระทำผิดใดๆของกติกานี้
   ผู้เล่นที่กระทำผิด ผู้ตัดสินจะให้ผู้เล่นออกจากสนามแข่งขันเพื่อแก้ไขอุปกรณ์ที่ขาดหายไป ผู้เล่นจะกลับเข้ามาเล่นได้อีกเมื่อลูกบอลอยู่นอกการเล่น และต้องแจ้งให้ผู้ตัดสินทราบ เพื่อตรวจสอบว่าอุปกรณ์ของผู้เล่นนั้นแก้ไขถูกต้อง

กติกาฟุตซอล ข้อ 5


ผู้ตัดสิน (THE RFEREE)
อำนาจหน้าที่ของผู้ตัดสิน (The Authority of the Referee)   
การแข่งขันแต่ละครั้งจะถูกควบคุมโดยผู้ตัดสิน ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้มีอำนาจและปฏิบัติหน้าที่ตามที่กติกาแข่งขันกำหนดไว้นับตั้งแต่ได้ก้าวเข้าสู่สถานที่ตั้งของสนามแข่งขัน และจะสิ้นสุดเมื่อได้ออกจากสนามที่ตั้งนั้นไป
อำนาจและหน้าที่ (Powers and duties)
   ผู้ตัดสินต้อง
1.   ปฏิบัติตามกติกาการแข่งขัน
2.   อนุญาตให้การเล่นดำเนินต่อไปเมื่อทีมที่ถูกกระทำผิดจะเกิดการได้เปรียบจากการให้ประโยชน์ (Advantage) ถ้าการคาดคะเนในการได้เปรียบนั้นไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ในขณะนั้น ก็จะลงโทษตามความผิดที่เกิดขึ้นตั้งแต่ครั้งแรกนั้นได้
3.   ทำการบันทีกรายงานการแข่งขัน ซึ่งรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการควบคุมระเบียบวินัยทุกอย่างที่กระทำกับผู้เล่นหรือเจ้าหน้าที่ทีมและเหตุการณ์อื่นๆ ทุกกรณีที่เกิดขึ้นก่อนการแข่งขัน ระหว่างการแข่งขัน หรือภายหลังการแข่งขัน
4.   ทำหน้าที่เป็นผู้รักษาเวลาในกรณีที่ไม่มีผู้รักษาเวลา
5.   หยุดการเล่น หยุดการเล่นชั่วคราว หรือยุติการแข่งขันในกรณีที่มีการกระทำผิดกติกาการแข่งขัน หรือเมื่อเห็นว่ามีเหตุจำเป็นต่างๆ เช่น การรบกวนการแข่งขันจากภายนอกสนาม
6.   สามารถคาดโทษ และให้ออก ถ้าผู้เล่นกระทำผิด
7.   แน่ใจว่าไม่มีบุคคลอื่นที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้าไปในสนามการแข่งขัน
8.   หยุดการเล่นเมื่อเห็นว่าผู้เล่นได้รับบาดเจ็บอย่างร้ายเเรง (Seriously Injured)และเคลื่อนย้ายผู้เล่นออกจากสนามแข่งขัน
9.   อนุญาตให้การเล่นดำเนินต่อไปจนกว่าลูกบอลจะอยู่นอกการเล่น ถ้าเห็นว่าผู้เล่นบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย
10.   พิจารณาลูกบอลที่ใช้ในการแข่งขันให้เป็นไปตามกติกาข้อ 2
การพิจารณาตัดสินใจของผู้ตัดสิน (Decisions the Referee)
   การพิจารณาตัดสินใจของผู้ตัดสนที่เกี่ยวข้องกับสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในการแข่งขันถือเป็นข้อยุติ
ข้อตกลง (Decisions)
1.   ถ้าผู้ตัดสินและผู้ตัดสินที่2 แสดงสัญญาณการกระทำผิดพร้อมกันและเป็นการขัดแย้งกัน ซึ่งทำให้ฝ่ายหนึ่งได้เปรียบจะต้องทำตามการตัดสินใจของผู้ตัดสิน
2.   ผู้ตัดสินและผู้ตัดสินที่2 สามารถคาดโทษและให้อกแต่ในกรณีที่เขาเกิดความขัดแย้งจะต้องทำตามการตัดสินใจของผู้ตัดสิน

กติกาฟุตซอล ข้อ 6


ผู้ตัดสินที่2 (THE SECOND REFEREE)
หน้าที่ (Duties)
   ผู้ตัดสินที่2 ได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ด้านตรงข้ามของสนามแข่งขันกับผู้ตัดสิน เขาได้รับอนุญาตให้ใช้นกหวีดได้
   ผู้ตัดสินที่2 จะช่วยเหลือผู้ตัดสินในการควบคุมการแข่งขันให้เป็นไปตามกติกาการแข่งขัน
   ผู้ตัดสินที่2 
1.   มีอำนาจในการสั่งหยุดการเล่นเมื่อมีการกระทำผิดกติกาการแข่งขัน
2.   จะต้องแน่ใจว่าการเปลี่ยนตัวผู้เล่นปฏิบัติอย่างถูกต้อง
ในกรณีที่ผู้ตัดสินที่2 ปฏิบัติตนหรือประพฤติตนไม่เหมาะสม ผู้ตัดสินสามารถเปลี่ยนผู้ตัดสิน ที่2 ออกจากการปฏิบัติหน้าที่และให้ผู้อื่นมาปฏิบัติหน้าที่แทน และเขียนรายงานเสนอต่อผู้มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบและพิจารณาต่อไป
ข้อตกลง (Decisions)  
   ในการแข่งขันระหว่างชาติ ต้องมีผู้ตัดสินที่2
 

กติกาฟุตซอล ข้อ 7

ผู้รักษาเวลาและผู้ตัดสินที่3 (THE TIMEKEEPER AND THE THIRD REFEREE)
หน้าที่ (Duties)
   ผู้รักษาเวลาและผู้ตัดสินที่3 ต้องได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่นั่งอยู่ด้านนอกสนามที่เส้นแบ่งแดนด้านเดียวกับเขตเปลี่ยนตัว
   ผู้รักษาเวลาและผู้ตัดสินที่3 จะใช้นาฬิกาจับเวลาที่เหมาะสม และจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ที่แสดงให้เห็นการกระทำผิดกติการวม ซึ่งทางสมาคมและสโมสรที่เป็นเจ้าของสนามจัดเตรียมไว้ให้ก่อนเริ่มการแข่งขัน
ผู้รักษาเวลา (The Timekeeper)
1.   ต้องแน่ใจว่าเวลาของการแข่งขันเป็นไปตามข้อกำหนดของกติกาข้อ8 โดยปฏิบัติดังนี้
   เริ่มจับเวลาของตนเองหลังจากการเตะเริ่มเล่น
   หยุดเวลาเมื่อลูกบอลอยู่นอกการเล่น
   เริ่มจับเวลาภายหลังการเตะเข้าเล่น การเล่นลูกจากประตู การเตะจากมุม การเตะโทษ ณ จุดโทษ หรือการเตะโทษจุดโทษที่2 การขอเวลานอก หรือการปล่อยลูกบอล
2.   ควบคุมการขอเวลานอก 1 นาที
3.   ควบคุมระยะเวลาของการลงโทษ 2 นาที เมื่อผู้เล่นถูกไล่ออก
4.   เป็นผู้แจ้งเมื่อหมดเวลาการแข่งขันในครึ่งเวลาแรกครึ่งเวลาหลัง เมื่อหมดเวลาในช่วงการต่อเวลาพิเศษ และหมดเวลาการขอเวลานอกโดยการใช้สัญญาณนกหวีดหรือเสียงสัญญาณอื่นๆ ที่ชัดเจนและแตกต่างจากเสียงสัญญาณของผู้ตัดสิน 
5.   เป็นผู้บันทึกการขอเวลานอก และการรักษาเวลานอกของแต่ละทีม ต้องแจ้งให้ผู้ตัดสินและทีมที่เข้าแข่งขันทราบข้อเท็จจริง การอนุญาตการขดเวลานอกเมื่อผู้ฝึกสอนทีมใดทีมหนึ่งต้องการร้องขอ
6.   เป็นผู้บันทึกการกระทำผิดกติการวม 5 ครั้งแรกของแต่ละทีมในแต่ละครึ่งเวลา ซึ่งมีการจดบันทึกโดยแจ้งสัญญาณเมื่อมีการกระทำผิดครั้งที่5 ให้ผู้ตัดสินและแต่ละทีมทราบ
ผู้ตัดสินที่3 (The Third Referee)

   ผู้ตัดสินที่3 จะเป็นผู้ช่วยในการรักษาเวลา
1.   เป็นผู้บันทึกการกระทำผิดกติการวม 5 ครั้งแรกของแต่ละทีมในแต่ละครึ่งเวลาของการแข่งขัน ซึ่งมีการจดบันทึกโดยผู้ตัดสิน และให้สัญญาณเมื่อมีการกระทำผิดครั้งที่5 ให้แต่ละทีมทราบ
2.   เป็นผู้บันทึกเกี่ยวกับการหยุดการแข่งขัน และเหตุผลของการหยุดการแข่งขัน
3.   เป็นผู้บันทึกหมายเลขผู้เล่นที่ทำประตูได้
4.   เป็นผู้บันทึกหมายเลขผู้เล่นที่ถูกคาดโทษ หรือไล่ออก
5.   เป็นผู้บันทึกข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขัน
ในกรณีที่มีผู้รักษาเวลาและผู้ตัดสินที่3 ปฏิบัติตนหรือประพฤติตนไม่เหมาะสม ผู้ตัดสินสามารถเปลี่ยนออกจากการปฏิบัติหน้าที่และให้ผู้อื่นมาปฏิบัติหน้าที่แทน และเขียนรายงานเสนอต่อผู้มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบพิจารณาต่อไป
ในกรณีที่ผู้ตัดสินมีการบาดเจ็บ ผู้ตัดสินที่3 อาจเข้าไปปฏิบัติหน้าที่แทนผู้ตัดสินหรือผู้ตัดสิน  ที่2ได้
ข้อตกลง (Decisions)
1.   ในการแข่งขันระหว่างชาติ ต้องมีผู้รักษาเวลาและผู้ตัดสินที่3
2.   ในการแข่งขันระหว่างชาติ นาฬิกาจับเวลาจะต้องใช้ร่วมกับอุปกรณ์ที่จำเป็นอื่นๆ (จับเวลาได้เที่ยงตรงมีกลไกการจับเวลา 2 นาทีของการกระทำผิดสำหรับผู้เล่น 4 คนในเวลาเดียวกันได้และมีเครื่องสัญญาณแสดงการกระทำผิดรวมของแต่ละทีมในแต่ละครึ่งเวลา

กติกาฟุตซอล ข้อ 8

ระยะเวลาของการแข่งขัน (THE DURATIONOF THE MATCH)
ช่วงเวลาของการเล่น (Periods of Play)
   การแข่งขันแบ่งระยะเวลาออกเป็น 2 ครึ่ง ครึ่งละ 20 นาทีเท่ากัน การรักษาเวลาเป็นหน้าที่ของผู้รักษาเวลา ซึ่งมีหน้าที่ตามที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ7
   ระยะเวลาของการแข่งขันแต่ละครึ่งอาจมีการเพิ่มเวลาเพื่อการเตะโทษ ณ จุดโทษ
เวลานอก (Time-Out)
   ทั้งสองทีมมีสิทธิ์ขอเวลานอก เป็นระยะเวลา 1นาที ได้ในแต่ละครึ่งเวลา ภายใต้เงื่อนไขต่อไปนี้
1.   ผู้ฝึกสอนเท่านั้นที่มีสิทธิ์ในการขอเวลานอก 1นาทีจากผู้รักษาเวลา
2.   การขอเวลานอกสามารถกระทำได้ตลอดเวลา แต่จะให้เวลานอกเมื่อทีมได้ครอบครองบอล(ส่งบอลเข้าเล่น)
3.   ผู้รักษาเวลาต้องแสดงการอนุญาตสำหรับการขอเวลานอกของทีมเมื่อลูกบอลอยู่นอกการเล่น โดยการใช้สัญญาณนกหวีดหรือเสียงสัญญาณอื่นๆที่แตกต่างจากผู้ตัดสินใช้อยู่
4.   เมื่ออนุญาตให้เป็นเวลานอก ผู้เล่นทุกคนต้องรวมกันอยู่ในสนามแข่ง  ถ้าต้องการได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ทีม จะกระทำได้เฉพาะที่เส้นข้างบริเวณหน้าที่นั่งสำรองของตนเอง ผู้เล่นทุกคนต้องไม่ออกนอกสนามแข่งขัน เช่นเดียวกับเจ้าหน้าที่ที่ให้คำแนะนำ จะต้องไม่เข้าไปในสนามแข่งขัน
5.   ถ้าทีมไม่ใช่สิทธิ์การขอเวลานอกในครึ่งเวลาแรก จะไม่สามารถนำไปทดแทนกันได้ในครึ่งเวลาหลัง
การพักครึ่งเวลา (Half-time Interval) ต้องไม่เกิน 15 นาที
ข้อตกลง (Decisions)
1.   ถ้าไม่มีผู้รักษาเวลา ผู้ฝึกสอนต้องขอเวลานอกกับผู้ตัดสิน
2.   ถ้าระเบียบการแข่งขันระบุให้มีการต่อเวลาพิเศษในกรณีที่การแข่งขันในเวลาปกติ ถ้าผลการแข่งขันจบลงด้วยการเสมอกัน การแข่งขันในระหว่างการต่อเวลาพิเศษของการแข่งขันจะไม่มีการขอเวลานอก
 


กติกาฟุตซอล ข้อ 9

การเริ่มเล่นและการเริ่มเล่นใหม่ (THE START AND RESTART OF PLAY)
การเตรียมการเบื้องต้น (Preliminaries)
   การเลือกแดนกระทำโดยการเสี่ยงด้วยเหรียญ ทีมที่ชนะการเสี่ยงจะเป็นผู้เลือกประตูในการรุกในครึ่งเวลาแรกของการแข่งขันอีกทีมจะเป็นฝ่ายเตะเริ่มเล่น เพื่อเริ่มต้นการแข่งขัน
   ทีมที่ชนะการเสี่ยงจะทำการเตะเริ่มเล่นในครึ่งเวลาหลังของกาแข่งขัน
   ทั้งสองจะเปลี่ยนแดนกันในครึ่งเวลาหลังชองกางแข่งขันและทำการรุกประตูฝ่ายตรงข้าม
การเตะเริ่มเล่น (Kick Off)
   การเตะเริ่มเล่น เป็นการเริ่มเล่นหรือเป็นการเริ่มเล่นใหม่
1.   เมื่อเริ่มต้นการเเข่งขัน
2.   หลังจากทำประตูได้
3.   เมื่อเริ่มต้นการเเข่งขันครึ่งเวลาหลัง
4.   เมื่อเริ่มต้นการเเข่งขันแต่ละครึ่งของการต่อเวลาพิเศษโดยไม่มีการพัก สามารถทำประตูได้โดยตรงจากการเตะเริ่มเล่น
ขั้นตอนในการดำเนินการ (Procedure)
1.   ผู้เล่นทุกคนต้องอยู่ในแดนของตนเอง
2.   ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามกับทีมที่กำลังเตะเริ่มเล่นต้องอยู่ห่างจากลูกบอลไม่น้อยกว่า 3 เมตร จนกระทั่งลูกบอลอยู่ในการเล่น
3.   ลูกบอลต้องวางนิ่งอยู่บนจุดกึ่งกลางสนาม
4.   ผู้ตัดสินให้สัญญาณ
5.   ลูกบอลอยู่ในการเล่นเมื่อถูกเตะและเคลื่อนที่ไปข้างหน้า
6.   ผู้เตะไม่สามารถเล่นลูกบอลเป็นครั้งที่สองจนกว่าลูกบอลจะถูกสัมผัสโดยผู้เล่นคนอื่นก่อน ภายหลังที่ทีมหนึ่งทำประตูได้อีกทีมหนึ่งจะเป็นฝ่ายได้เตะเริ่มเล่น
การกระทำผิดและการลงโทษ ( Infringements / Sanction )
   ถ้าผู้เตะได้สัมผัสลูกบอลเป็นครั้งที่สองก่อนที่ลูกจะถูกสัมผัสโดยผู้เล่นคนอื่น
   การเตะโทษโดยอ้อม จะให้ฝ่ายตรงข้ามได้เตะโทษโดยอ้อม ณ จุดที่การกระทำผิดกติกาเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ถ้าการกระทำผิดกติกาเกิดขึ้นภายในบริเวณเขตโทษของผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม การเตะโทษโดยอ้อมจะกระทำจากเส้นเขตโทษ ณ จุดที่ใกล้ที่สุดกับที่การกระทำผิดกติกาเกิดขึ้นมากที่สุด
   การกระทำผิดอื่นๆของการเตะเริ่มเล่น ให้ทำการเตะเริ่มเล่นใหม่
การปล่อยลูกบอล ( Dropped Ball ) 
   การปล่อยลูกบอลเป็นวิธีการหนึ่งของการเริ่มเล่นใหม่ หลังจากการเล่นได้หยุดลงชั่วคราวขณะที่ลูกบอลอยู่ในการเล่น และขณะที่หยุดเล่นในเวลานั้น หรือด้วยเหตุผลอื่นที่ไม่ได้ระบุไว้ในกติกาการแข่งขัน ลูกบอลยังไม่ได้ผ่านออกเส้นข้างหรือเส้นประตู
ขั้นตอนในการดำเนินการ ( Procedure )
   ผู้ตัดสินเป็นผู้ปล่อยลูกบอล ณ จุดที่ซึ่งลูกบอลอยู่ในขณะที่การเล่นได้หยุดลง ยกเว้นเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นบริเวณเขตโทษ ในกรณีนี้ผู้ตัดสินจะปล่อยลูกบอลจากเขตโทษ ณ จุดใกล้กันกับลูกบอลมากที่สุดในขณะที่การเล่นได้หยุดลง
   การเริ่มเล่นใหม่จะสมบูรณ์เมื่อลูกบอลได้สัมผัสพื้นสนาม
การกระทำผิดและการลงโทษ ( Infringements / Sanctions )
   การปล่อยลูกบอลอีกครั้งหนึ่ง
1.   ถ้าลูกบอลถูกสัมผัสโดยผู้เล่นคนหนึ่งคนใดก่อนที่ลูกบอลจะสัมผัสสนาม
2.   ถ้าลูกบอลออกจากสนามการแข่งขันไปหลังจากสัมผัสพื้นสนามแล้ว แต่ไม่ถูกสัมผัสโดยผู้เล่นคนใดคนหนึ่งก่อน

กติกาฟุตซอล ข้อ 10

ลูกบอลอยู่ในและนอกการเล่น( THE BALL IN AND OUT OF PLAY )
ลูกบอลอยู่ในการเล่น ( Ball in Play )
   ลูกบอลอยู่ในการเล่นอยู่ตลอดเวลา นับจากการเล่นจนกระทั่งการแข่งขันสิ้นสุดลง รวมทั้งเมื่อ
1.   ลูกบอลกระดอนจากเสาหรือคานประตูเข้ามาในสนามแข่งขัน
2.   การเตะเข้าเล่นจะนำลูกบอลมาวาง ณ จุดที่ใกล้เส้นข้างและเส้นสมมติที่ขนานกับเส้นประตู ภายใต้ตำแหน่งเมื่อลูกบอลกระทบเพดาน
ลูกบอลอยู่นอกการเล่น ( Ball out of Play )
   ลูกบอลอยู่นอกการเล่นเมื่อ
1.   ลูกบอลทั้งลูกได้ผ่านเส้นประตูหรือเส้นข้างไม่ว่าบนพื้นหรือในอากาศ
2.   ผู้ตัดสินสั่งหยุดการเล่น 
3.   ลูกบอลกระทบหลังคา
ข้อตกลง ( Decision )
1.   การแข่งขันที่เล่นภายในสนามในร่ม และลูกบอลได้กระทบเพดานหลังคา การเล่นจะเริ่มเล่นใหม่ โดยผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามกับผู้เล่นที่สัมผัสลูกบอลเป็นครั้งสุดท้ายจะได้เตะเข้าเล่น ( Kick in ) หรือเล่นลูกจากประตู ( Goal Clearance )
2.   การเตะเข้าเล่น จะนำลูกบอลมาวาง ณ จุดที่ใกล้เส้นข้างและเส้นสมมติที่ขนานกับเส้นประตูภายใต้ตำแหน่งที่ลูกบอลกระทบเพดานหลังคา
 

กติกาฟุตซอลข้อ 11

 

การนับประตู( THE METHOD OF SCORING )
การทำประตู ( Goal Scored ) 
   จะถือว่าได้ประตู เมื่อลูกบอลทั้งลูกได้ผ่านเส้นประตูระหว่างเสาประตูภายใต้คานประตู ภายใต้เงื่อนไขว่า ต้องไม่มีการทำผิดกติกาการแข่งขันเกิดขึ้นโดยทีมที่ทำประตู
   ข้อยกเว้น  ผู้รักษาประตูและผู้เล่นฝ่ายลุกไม่สามารถทำประตูได้โดยตรงจากการใช้มือและแขน
ทีมชนะ ( Winning Team )
   ทีมที่ทำประตูได้มากกว่าในการแข่งขันจะเป็นฝ่ายชนะ ( Winner ) ถ้าทั้งสองทีมทำประตูได้เท่ากันหรือทำประตูกันไม่ได้ การแข่งขันครั้งนี้จะถือว่า เสมอกัน ( Draw)
ระเบียบการแข่งขัน ( Competition Rules )
สำหรับการแข่งขันที่จบลงโดยผลเสมอกัน ระเบียบการแข่งขันอาจจะกำหนดราบละเอียดซึ่งเกี่ยวข้องกับการต่อเวลาพิเศษหรือการดำเนินการอื่นๆเพื่อหาทีมที่ชนะในการแข่งขันครั้งนั้น
 


กติกาฟุตซอลข้อ 12

การเล่นที่ผิดกติกาและประพฤติผิด( FOULS AND MISCONDUCT )
การกระทำที่ผิดกติกาและเสียมารบาทจะถูกลงโทษดังนี้
โทษโดยตรง ( Direct Free Kick )
   ถ้าผู้เล่นกระทำผิดตามความผิดข้อหนึ่งข้อใดใน 6 ข้อต่อไปนี้ โดยผู้ตัดสินพิจารณาเห็นว่าขาดความระมัดระวัง ไม่ไตร่ตรองยั้งคิดหรือใช้กำลังแรงเกินกว่าเหตุ จะให้ฝ่ายตรงข้ามได้เตะโทษโดยตรง ได้แก่
1.   เตะ ( Kick ) หรือพยายามเตะคู่ต่อสู้
2.   ขัดขา ( Trips ) หรือพยายามขัดขาคู่ต่อสู้
3.   กระโดด ( Jump ) เข้าใส่คู่ต่อสู้
4.   ชน ( charges ) คู่ต่อสู้ รวมถึงการชนด้วยไหล่
5.   ทำร้าย ( Strikes ) หรือพยายามทำร้ายคู่ต่อสู้
6.   ผลัก ( Pushes ) คู่ต่อสู้
ถ้าผู้เล่นกระทำผิดตามความผิดข้อหนึ่งข้อใดใน 4 ข้อต่อไปนี้ จะให้ฝ่ายตรงข้ามได้เตะโทษโดยตรงเช่นกัน ได้แก่
1.   ดึง ( Holds ) คู่ต่อสู้
2.   ถ่มน้ำลาย ( Spits ) ใส่คู่ต่อสู้
3.   การพุ่งตัว ( Slides ) ในสภาวะที่พยายามจะเล่นลูกบอล ในขณะผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามกำลังเล่นลูกบอลหรือพยายามเล่นลูกบอลโดยคู่ต่อสู้ ( Sliding Tackle )
ยกเว้น  ผู้รักษาประตูสามารถสไลด์ในเขตโทษของตนเองเพื่อป้องกันประตูได้
4.   เล่นลูกด้วยมือโดยเจตนา
ยกเว้น  ผู้รักษาประตูที่อยู่ในเขตโทษของตนเอง
   การเตะโทษโดยตรงจะทำการเตะที่ซึ่งการกระทำผิดกติกาเกิดขึ้น
   การกระทำผิดกติกาดังกล่าวข้างต้นให้นับเป็นการทำผิดกติการวม
การเตะโทษ ณ จุดโทษ ( Penalty Kick )
   การเตะโทษ ณ จุดโทษ ถ้าผู้เล่นกระทำความผิดดังกล่าวข้างต้นภายในเขตโทษของตนเองโดยไม่ต้องคำนึงถึงตำแหน่งของลูกบอล และมีเงื่อนไขว่าลูกบอลต้องอยู่ในการเล่น
โทษโดยอ้อม ( Indirect Free Kick )
   ให้ฝ่ายตรงข้ามเตะโทษโดยอ้อม ถ้าผู้รักษาประตูกระทำผิดตามความผิดข้อหนึ่งข้อใดต่อไปนี้
1.   ภายหลังจากปล่อยลูกบอลจากการครอบครอง เขาได้รับลูกบอลคืนจากผู้เล่นฝ่ายเดียวกัน ก่อนที่ลูกบอลจะถูกส่งผ่านเส้นแบ่งแดน หรือได้ถูกเล่นหรือสัมผัสโดยผู้เล่นหรือสัมผัสโดยผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม
2.   สัมผัสหรือครองครองลูกบอลด้วยมือ ภายหลังจากผู้เล่นฝ่ายเดียวกันเจตนาเตะส่งมาให้
3.   สัมผัสหรือครองครองลูกบอลด้วยมือภายหลังจากผู้เล่นฝ่ายเดียวกันส่งมาให้โดยตรงจากการเตะเข้าเล่น
4.   สัมผัสหรือครอบครองลูกบอลด้วยมือหรือเท้าเกินกว่า 4 วินาที ยกเว้นลูกบอลอยู่ในฝ่ายแดนฝั่งตรงข้ามในสนามแข่งขัน
จะให้ฝ่ายตรงข้ามได้เตะโทษโดยอ้อม ที่ซึ่งมีการกระทำผิดกตอกาเกิดขึ้น ถ้าผู้ตัดสินพิจารณาว่าผู้เล่น
1.   เล่นในลักษณะที่เป็นอันตราย 
2.   เจตนากีดขวางการเล่นของฝ่ายตรงข้าม เมื่อตนเองไม่ได้อยู่ในระยะที่เล่นลูกบอล
3.   ป้องกันผู้รักษาประตูไม่ให้ปล่อยลูกบอลจากมือ
4.   ความผิดอื่นๆที่ไม่ได้ระบุในกติกาข้อ 12 ที่ทำให้หยุดการเล่นลงเพื่อคาดโทษหรือไล่ผู้เล่นออก
การเตะโทษโดยอ้อมจะกระทำ ณ จุดที่กระทำผิดกติกานอกจากการกระทำผิดเกิดขึ้นภายในเขตโทษ ในกรณีนี้การเตะโทษจะกระทำจากเส้นเขตโทษ ใกล้กับจุดที่กระทำผิดกติกาเกิดขึ้นมากที่สุด
การลงโทษเรื่องระเบียบวินัย ( Disciplinary Sanctions )
   การกระทำผิดที่ต้องถูกคาดโทษ ( Cautionable offences )
   ผู้เล่นต้องถูกคาดโทษและแสดงใบเหลือง ถ้าเขากระทำผิดตามความผิดข้อหนึ่งข้อใด ต่อไปนี้
1.   กระทำผิดเกี่ยวกับการประพฤติอย่างไม่มีน้ำใจเป็นนักกีฬา ( Unsporting Behaviour )
2.   แสดงการคัดค้านโดยคำพูด หรือกิริยาท่าทาง ( Dissent by Word or Action )
3.   กระทำกติกาแข่งขันบ่อยๆ ( Persistenly Infringes the law of the Game )
4.   ชะลอการเริ่มเล่นใหม่ ( Delays the Restart of play )
5.   ไม่ถอยห่างไปอยู่ในระยะที่กำหนด เมื่อมีการเตะจากมุม การเตะเข้าเล่น การเตะโทษ หรือการเล่นลูกจากประตู เพื่อการเริ่มเล่นใหม่
6.   เข้าไปสมทบหรือกลับเข้าไปสมทบในสนามโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ตัดสิน หรือกระทำ     ผิดกติกาการเปลี่ยนตัว
7.   เจตนาออกจากสนามโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ตัดสิน
การกระทำผิดดังกล่าวให้ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามเตะโทษโดยอ้อม ณ จุดที่มีการกระทำผิดกติกาเกิดขึ้น ถ้าการกระทำผิดกติกาเกิดขึ้นภายในเขตโทษ การเตะโทษ โดยอ้อมจะกระทำจาดเส้นเขตโทษ ณ จุดที่ใกล้ที่สุดที่การกระทำผิดกติกาเกิดขึ้น การคาดโทษเป็นการเพิ่มเติมโดยมีเงื่อนไขว่า ไม่ให้มีการกระทำผิดกติการุนแรงเกิดขึ้นบ่อยครั้ง
การกระทำผิดที่ต้องถูกให้ออก ( Sending off Offences )
   ผู้เล่นต้องถูกให้ออกและแสดงใบแดง ถ้ากระทำผิดตามความผิดข้อหนึ่งข้อใดต่อไปนี้
1.   กระทำผิดกติกาการเล่นอย่างรุนแรง ( Serious Foul Play )
2.   ประพฤติผิดกติกาอย่างร้ายแรง ( Violent Conduct )
3.   ถ่มน้ำลายใส่คู่ต่อสู้และบุคคลอื่นๆ ( Spits at an Opponent or any Other Person )
4.   ป้องกันฝ่ายตรงข้ามในการได้ประตูหรือทำให้เสียโอกาสในการทำประตูได้อย่างชัดเจน โดยเจตนาเล่นลูกบอลด้วยมือ (กรณีนี้ไม่รวมถึงผู้รักษาประตูที่อยู่ในเขตโทษของตนเอง)
5.   ป้องกันโอกาสในการทำประตูได้อย่างชัดเจนของฝ่ายตรงข้ามที่กำลังเคลื่อนที่มุ่งตรงไปยังหน้าประตูของฝ่ายตนโดยการกระทำผิดกติกา ต้องถูกลงโทษเป็นโทษโดยตรงหรือเตะโทษ ณ จุดโทษ
6.   กระทำผิดซ้ำซาก ( Uses Offensive ) ใช้วาจาเหยียดหยามหยาบคาย ( Insulting or Abusive Language ) หรือแสดงท่าทางไม่เหมาะสม
7.   ได้รับการคาดโทษเป็นครั้งที่สองในการแข่งขันครั้งเดียวกัน ( Receives a Second Caution in the Same Match )
ถ้าการเล่นได้หยุดลง เพราะว่าผู้เล่นถูกไล่ออกจากสนามแข่งขัน สำหรับการกระทำผิดข้อ 6 หรือข้อ 7 โดยไม่มีการกระทำผิดที่ต้องเพิ่มเติมการลงโทษอื่นใด ตามกติกาการเล่น การเริ่มเล่นใหม่โดยให้ฝ่ายตรงข้ามได้เตะโทษโดยอ้อมจากที่ซึ่งการทำผิดกติกาเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ถ้าการกระทำผิดกติกาเกิดขึ้นภายในเขตโทษ การเตะโทษโดยอ้อมจะทำการเตะจากเส้นเขตโทษที่ใกล้ที่สุดที่การกระทำผิดกติกาเกิดขึ้น
ข้อตกลง ( Decisions )
   กรณีผู้เล่นถูกให้ออก จะไม่สามารถกลับเข้ามาเล่นได้อีก และไม่สามารถนั่งบนที่นั่งสำรองได้ และผู้เล่นจะเข้าไปแทนและเล่นได้ครบทีม เมื่อครบเวลา 2 นาทีหลังให้ออก ยกเว้นมีการทำประตูได้ก่อนถึงเวลา 2 นาที ในกรณีรี้จะปฏิบัติดังนี้
1.   ถ้าเล่นโดยมีจำนวนผู้เล่น 5 : 4 คน และทีมที่มีจำนวนผู้เล่นมากกว่าทำประตูได้ ทีมที่มีผู้เล่น 4 คน จะเพิ่มจำนวนผู้เล่นให้ครบ
2.   ถ้าทั้งสองทีมมีจำนวนผู้เล่น 4 : 4 คนและมีการทำประตูได้ ให้คงเหลือผู้เล่นเท่าเดิม
3.   ถ้าเล่นโดยมีจำนวนผู้เล่น 5 : 3คนหรือ 4 : 3 และทีมที่มีผู้เล่นจำนวนมากกว่าทำประตูได้ ทีมที่มีจำนวนผู้เล่น 3 คน จะเพิ่มจำนวนผู้เล่นได้ 1 คน
4.   ถ้าทั้งสองทีมมีจำนวนผู้เล่น 3 : 3 คน และมีการทำประตูได้ ให้คงเหลือจำนวนผู้เล่นเท่าเดิม
5.   ถ้าทีมที่มีผู้เล่นน้อยกว่าทำประตูได้ การเล่นจะดำเนินต่อไป โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนผู้เล่น

 

 

กติกาฟุตซอลข้อ 13

การเตะโทษ( FREE KICK )
ประเภทของการเตะโทษ ( Type of Free Kick )

   การเตะโทษมีทั้งโทษโดยตรง (Direct ) และโทษโดยอ้อม ( Indirect )
   ในการเตะโทษโดยตรงและโดยอ้อม ในขณะที่เตะ ลูกบอลต้องตั้งวางนิ่งอยู่กับที่ เมื่อมีการเตะเกิดขึ้น ผู้เตะต้องไม่สัมผัสลูกบอลเป็นครั้งที่สอง ก่อนที่จะถูกสัมผัสโดยผู้เล่นอื่นก่อน
   การเตะโทษโดยตรง ( The Direct Free Kick ) 
   ถ้าเตะโทษโดยตรงทีเดียวเข้าประตูของฝ่ายตรงข้าจะถือว่าเป็นประตู
   การเตะโทษโดยอ้อม ( The Indirect Free Kick )
   จะเป็นประตูเมื่อลูกบอลได้ถูกสัมผัสโดยผู้เล่นอื่นๆก่อนที่จะเข้าประตู
ตำแหน่งของการเตะโทษ ( Position of Free Kick )
1.   ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามทุกคนต้องอยู่ห่างจากลูกบอลไม่น้อยกว่า 5 เมตร จนกว่าลูกบอลอยู่ในการเล่น
2.   ลูกบอลจะอยู่ในการเล่นหลังจากลูกบอลถูกสัมผัสหรือถูกเล่น
การกระทำผิดและการลงโทษ ( Infringements/Sanctions )
   ถ้ามีการเตะโทษ ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามอยู่ใกล้ลูกบอลกว่าระยะที่กำหนด ให้เตะใหม่
   ถ้าหลังจากลูกบอลอยู่ในการเล่น ผู้เล่นได้สัมผัสลูกบอลเป็นครั้งที่ 2 ก่อนที่จะถูกสัมผัสโดยผู้เล่นคนอื่นให้ฝ่ายตรงข้ามได้เตะโทษโดยอ้อม ณ จุดที่กระทำผิดกติกาเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ถ้าการกระทำผิดนี้เกิดขึ้นภายในเขตโทษ การเตะโทษโดยอ้อมจะทำการเตะจากเส้นเขตโทษ ณ จุดที่ใกล้ที่สุดของการกระทำผิดเกิดขึ้น
   ถ้าฝ่ายที่ได้เตะโทษใช้เวลาเกินกว่า 4 วินาที ให้ฝ่ายตรงข้ามได้เตะโทษโดยอ้อม
สัญญาณ ( Signals )
1.   โทษโดยตรง ผู้ตัดสินจะยกแขนในแนวนอนชี้ไปในทิศทางของทีมที่กระทำผิด และนับเป็นการกระทำผิดรวม ผู้ตัดสินจะแสดงสัญญาณชี้นิ้วลงพื้นเพื่อที่จะแจ้งให้ผู้ตัดสินที่ 3 ทราบ
2.   โทษโดยอ้อม เมื่อผู้ตัดสินให้มีการเตะโทษโดยอ้อมจะต้องแสดงสัญญาณโดยการยกแขนชูขึ้นเหนือศีรษะ เขาจะยังยกแขนจนกว่าการเตะจะเกิดขึ้น และลูกบอลได้ถูกเล่นหรือสัมผัสโดยผู้เล่นอื่นก่อน หรือลูกบอลอยู่นอกการเล่น
 

กติกาฟุตซอล ข้อ 14

การทำผิดกติการวม (Accumulated Fouls)
   จะลงโทษด้วยโทษโดยตรงตามกติกาข้อ 12
   การกระทำผิดกติการวม 5 ครั้งแรกของแต่ละทีมในแต่ละครึ่งเวลา จะต้องจดบันทึกในสรุปผลการแข่งขัน
ตำแหน่งของการเตะโทษ ( Position of Free Kick )
   สำหรับการทำผิดกติการวม 5 ครั้งแรกของแต่ละทีมในแต่ละครึ่งเวลาของการแข่งขัน จะถูกจดบันทึกไว้
1.   ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามสามารถตั้งกำแพงได้
2.   ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามทั้งหมดต้องอยู่ห่างจากลูกบอลไม่น้อยกว่า 5 เมตร จนกว่าลูกบอลจะอยู่ในการเล่น
3.   สามารถทำประตูได้โดยตรงจากการเตะโทษ
การทำผิดกติการวมเพิ่มเป็นครั้งที่หกของแต่ละทีม ในแต่ละครึ่งเวลาของการแข่งขัน จะถูกบันทึกไว้
1.   ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามไม่สามารถตั้งกำแพงได้
2.   ผู้เล่นที่เตะโทษต้องแสดงตัวอย่างชัดแจ้ง
3.   ผู้รักษาประตูต้องอยู่ภายใยเขตโทษและอยู่ห่างจากเขตบอลไม่น้อยกว่า 5 เมตร
4.   ผู้เล่นทุกคนต้องอยู่ในสนามแข่งขัน แต่อยู่หลังเส้นสมมติที่เป็นแนวระดับเดียวกันกับลูกบอล และขนานกับเส้นประตูและอยู่นอกเขตโทษ ต้องอยู่ห่างจากลูกบอลไม่น้อยกว่า 5 เมตร และไม่กีดขวางผู้ที่จะทำการเตะโทษ ไม่มีผู้เล่นคนใดสามารถผ่านเส้นสมมติจนกว่าลูกบอลจะถูกสัมผัส หรือถูกเล่น
ขั้นตอนในการดำเนินการ ( สำหรับการทำผิดกติการวม 6 ครั้ง และครั้งต่อไป ) ( Procedure for the Sixth and Further Accumulated Fouls )
1.   ผู้เล่นที่ทำการเตะโทษ ต้องเตะลูกบอลอย่างเจตนาที่จะทำประตู และต้องไม่ส่งลูกบอลไปให้กับผู้เล่นอื่น
2.   ในขณะที่มีการเตะโทษไปแล้ว จะไม่มีผู้เล่นคนใดสามารถสัมผัสลูกบอล จนกว่าลูกบอลจะถูกสัมผัสโดยผู้รักษาประตูหรือกระดอนมาจากเสา หรือคานประตู หรือได้ออกนอกสนามแข่งขัน
3.   การเตะโทษจะไม่สามารถทำการเตะได้จากระยะที่น้อยกว่า 6 เมตร นับจากเส้นประตู (ตามกติกาข้อ 13 ) ถ้าการกระทำนั้นเป็นการกระที่ต้องเตะโทษโดยอ้อมและเกิดเหตุการณ์ขึ้นภายในเขตโทษ ดังนั้น การเตะโทษจะต้องทำการเตะจากเส้น 6 เมตร ณ จุดที่ใกล้ที่สุดที่การกระทำผิดเกิดขึ้น
4.   ถ้าผู้เล่นในทีมทำผิดกติการวม 6 ครั้ง ไม่ว่าภายใยเขตแดนของฝ่ายตรงข้าม หรือภายในแดนของตนเองเหนือกว่าเส้นสมมติที่ขนานกับเส้นแบ่งแดนและหลังจุดโทษที่สองได้แสดงไว้ในกติกาข้อ 1 และการเตะโทษต้องทำภายใต้การเงื่อนไขต่างๆที่ระบุไว้ในตำแหน่งของการเตะโทษ
5.   ถ้าผู้เล่นภายในทีมของตนเงกระทำผิดกติการวม 6 ครั้งในแดนของตนเองระหว่างเส้นประตูและเส้นระยะ 10 เมตร ทีมฝ่ายตรงข้ามได้เตะโทษ ซึ่งสามารถเลือกได้ว่าจะเตะจากจุดโทษที่สองหรือจากจุดกระทำผิด
6.   ถ้าการแข่งขันมีการต่อเวลาพิเศษ การกระทำผิดกติกาทั้งหมดในครึ่งเวลาหลังจากที่นับรวมไว้ก่อน การเล่นจะถูกนำมานับรวมต่อเนื่องในการต่อเวลาพิเศษ
การกระทำผิดและการลงโทษ ( Infringements / Sanctions)
1.   ผู้เล่นฝ่ายรับกระทำผิดกติกา
1.1   ถ้าทำประตูไมได้ให้เป็นประตู
2.2   ถ้าทำประตูได้ ให้เป็นประตู
2.   ผู้เล่นทีมเดียวกันกับผู้เตะเป็นผู้กระทำผิดกติกา
1.1   ถ้าทำประตูได้ ให้ทำการเตะใหม่
2.2   ถ้าทำประตูไม่ได้ไม่มีการเตะใหม่
3.   ถ้าผู้เล่นทำผิดกติกาหลังจากที่ลูกบอลได้อยู่ในการเล่น
   ให้ฝ่ายตรงข้ามได้เตะโทษโดยอ้อมจากจุดที่การกระทำผิดกติกาเกิดขึ้น ถ้าจุดที่เกิดขึ้นอยู่ในเขตโทษ การเตะโทษจะต้องทำการเตะจากเส้นเขตโทษที่อยู่ใกล้ที่สุดที่การกระทำผิดกติกาเกิดขึ้น

 

กติกาฟุตซอล ข้อ 15

 

การเตะโทษ ณ จุดโทษ( THE PENALTY KICK )
การเตะโทษ ณ จุดโทษ จะลงโทษแก่ทีมที่กระทำผิดความผิดที่เป็นโทษโดยตรง ซึ่งการกระทำผิดภายในเขตโทษของตนเองและขณะที่ลูกบอลอยู่ในการเล่น
   สามารถทำประตูได้โดยตรงจากการเตะโทษ ณ จุดโทษ
   อนุญาตให้ชดเชยเวลาสำหรับการเตะโทษ ณ จุดโทษ เมื่อหมดเวลาการแข่งขันของแต่ละครึ่ง หรือเมื่อหมดเวลาของการต่อเวลาพิเศษ
ตำแหน่งของลูกบอลและผู้เล่น ( Position of the Ball and the Players )
   ลูกบอล ( The ball )
   ตั้งอยู่บนจุดโทษ
   ผู้เล่นที่ทำการเตะโทษ ( The Players Taking the Penalty Kick )
   แสดงตนอย่างชัดเจน
   ผู้รักษาประตูฝ่ายรับ ( The Defending Goalkeeper )
   ต้องยืนอยู่เส้นประตูระหว่างเสาประจูและหันหน้าเข้าหาผู้เตะจนกว่าลูกบอลได้ถูกเตะ
   ผู้เล่นคนอื่นๆที่นอกเหนือจากผู้เตะ ( The Players Other than Kick are Located )
1.   อยู่ในสนามแข่งขัน
2.   อยู่นอกเขตโทษ
3.   อยู่ด้านหลัง หรือแนวเดียวกันกับจุดโทษ
4.   อยู่ห่างจากจุดโทษไม่น้อยกว่า 5 เมตร
ขั้นตอนในการดำเนินการ ( Procedure )
1.   ผู้เล่นที่ทำการเตะโทษ ณ จุดโทษต้องเตะลูกบอลไปข้างหน้า
2.   เขาต้องไม่เล่นลูกบอลเป็นครั้งที่สองก่อนที่จะถูกสัมผัสโดยผู้เล่นอื่น
3.   ลูกบอลจะอยู่ในการเล่น เมื่อถูกเตะและเคลื่อนที่ไปข้างหน้า
เมื่อการเตะโทษ ณ จุดโทษ ในระหว่างการทำการแข่งขัน หรือเมื่อมีการชดเชยเวลาออกไปในครึ่งเวลา หรือเมื่อหมดเวลาในครึ่งแรก หรือหมดเวลาการแข่งขัน อนุญาตให้มีการเตะโทษหรือเตะใหม่ ให้เป็นประตูถ้าบอลได้ผ่านระหว่างเสาประตูภายใต้คานประตู
4.   ลูกบอลสัมผัสไม่ว่าจะเป็นเสาประตูและ/หรือคาน ประตูและ/หรือผู้รักษาประตู
การกระทำผิดและการลงโทษ ( Infringements/Sanctions )
1.   ถ้าผู้เล่นฝ่ายรับกระทำผิดกติกา
   ถ้าทำประตูไม่ได้ ให้ทำการเตะใหม่
   ถ้าทำประตูได้ให้เป็นประตู
2.   ถ้าผู้เล่นทีมเดียวกันกับผู้เตะเป็นผู้กระทำผิดกติกา
   ถ้าทำประตูได้ ให้ทำการเตะใหม่
   ถ้าทำประตูไม่ได้ ไม่มีการเตะใหม่
3.   ถ้าผู้เตะกระผิดกติกาหลังจากลูกบอลได้อยู่ในการเล่น
3.1   ให้ฝ่ายตรงข้ามได้เตะโทษโดยอ้อมจากจุดที่การกระทำผิดกติกาเกิดขึ้น ถ้าจุดที่การกระทำผิดกติกานั้นอยู่ในเขตโทษ การเตะโทษจะต้องทำการเตะโทษจากเส้นเขตโทษ ที่อยู่ใกล้ที่สุดที่การกระทำผิดกติกาเกิดขึ้น

 

กติกาฟุตซอล ข้อ 16

 

การเตะเข้าเล่น( KICK IN )
   การเตะเข้าเล่นเป็นวิธีการอย่างหนึ่งของการเริ่มเล่นใหม่ ไม่สามารถทำประตูได้โดยตรงจากการเตะเข้าเล่น
การเตะเข้าเล่น ( A Kick in Awarded )
1.   เมื่อลูกบอลผ่านเส้นข้างออกไปทั้งลูกไม่ว่าจะบนพื้นหรือในอากาศ หรือกระทบหลังคา
2.   จากจุดที่ซึ่งลูกบอลตัดผ่านออกเส้นข้างไป
3.   ให้ฝ่ายตรงข้ามกับผู้เล่นที่สัมผัสลูกบอลเป็นครั้งสุดท้าย
ตำแหน่งของลูกบอลและผู้เล่น ( Position of  the Ball and the Players )   
1.   ลูกบอลจะต้องว่างนิ่งอยู่บนเส้นข้าง
2.   การเตะเข้าเล่นเตะไปในทิศทางใดก็ได้
ผู้เล่นที่จะเตะ ( The Player Taking Kick in )
   ในขณะที่จะส่งลูกบอลเข้าเล่นเท้าข้างในข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างของผู้เตะจะต้องวางอยู่เส้นข้าง หรือบนพื้นด้านนอกเส้นข้าง
   ผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม ( The Player the Defending Team )
   ก่อนจะมีการเตะ ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามต้องห่างจากลูกบอลไม่น้อยกว่า 5 เมตร
ขั้นตอนในการดำเนินการ ( Procedure )
1.   ผู้เล่นที่จะเตะต้องเตะเข้าเล่นภายในเวลา 4 วินาที
2.   ผู้เล่นที่เตะเข้าเล่นจะไม่สามารถเล่นลูกบอลเป็นครั้งที่สองได้ จนกว่าลูกบอลจะถูกสัมผัสหรือเล่นโดยผู้เล่นอื่น
3.   ลูกบอลอยู่ในการเล่นหลังจากถูกเตะหรือถูกสัมผัส
การกระทำผิดและการลงโทษ ( Infringements / Sanctions )
   ผู้เล่นที่เตะเข้าเล่นไม่สามารถเล่นลูกบอลเป็นครั้งที่สองได้ก่อนที่ลูกบอลจะถูกสัมผัสหรือเล่นโดยผู้เล่นคนอื่น จะให้ฝ่ายตรงข้ามเตะโดยอ้อม ณ จุดที่กระทำผิดเกิดขึ้น ยกเว้น การกระทำผิดเกิดขึ้นภายในเขตโทษ จะให้เตะโทษจากเส้นเขตโทษ ณ จุดที่ใกล้ที่สุดที่การกระทำผิดกติกาเกิดขึ้น
การเตะเข้าเล่น จะให้ฝ่ายตรงข้ามได้เตะเข้าเล่น ถ้า
1.   การเตะเข้าเล่นกระทำไม่ถูกต้อง
2.   การเตะเข้าเล่นจากตำแหน่งที่กระทำนอกเหนือจากจุดที่ลูกบอลได้ออกเส้นข้างไป
3.   การเตะเข้าเล่น ไม่กระทำภายในเวลา 4 วินาทีจากระยะเวลาที่ได้ครอบครองลูกบอล
4.   เมื่อมีการกระทำผิดอื่นๆของกติกาการแข่งขัน


กติกาฟุตซอล ข้อ 17


การเล่นลูกจากประตู( THE GOAL CLEARANCE )

การเล่นลูกจากประตู เป็นวิธีการหนึ่งของการเริ่มเล่นใหม่ไม่สามารถทำประตูได้โดยตรงจากการเล่นลูกจากประตู
การเล่นลูกจากประตูเมื่อ
   เมื่อลูกบอลทั้งลูกได้ผ่านเส้นประตูออกไปทั้งลูก ไม่ว่าจะเป็นทั้งบนพื้นหรือในอากาศ โดยผู้เล่นฝ่ายลุกสัมผัสลูกบอลเป็นครั้งสุดท้าย และไม่ใช่เป็นการทำประตูตามเงื่อนไขของกติกาข้อ 11
ขั้นตอนในการดำเนินการ ( Procedure )
1.   ผู้รักษาประตูเป็นผู้ส่งลูกเข้าเล่นจากจุดใดก็ได้ภายในเขตโทษของตนโดยผู้รักษาประตูทีมฝ่ายรับ
2.   ฝ่ายตรงข้ามต้องอยู่เขตโทษจนกว่าลูกบอลอยู่ในการเล่น
3.   ผู้รักษาประตูไม่สามารถเล่นลูกบอลเป็นครั้งที่สองจนกว่าจะถูกสัมผัสโดยผู้เล่นคนที่สอง
4.   ลูกบอลอยู่ในการเล่นเมื่อถูกส่งโดยตรงจากเขตโทษ
การเล่นลูกจากประตูจะสมบูรณ์เมื่อลูกบอลถูกสัมผัส หรือเล่นโดยผู้เล่นอื่นที่อยู่นอกเขตโทษ หรือเมื่อลูกบอลสัมผัสพื้น
การกระทำผิดและการลงโทษ ( Infringements / Sanctions )
1.   ถ้าลูกบอลไม่ได้ถูกส่งโดยตรงออกนอกเขตโทษ การเล่นลูกจากประตูให้กระทำใหม่
2.   ถ้าหลังจากลูกบอลอยู่ในการเล่น ผู้รักษาประตูสัมผัสลูกบอลเป็นครั้งที่สอง ก่อนที่จะถูกสัมผัสโดยผู้เล่นอื่น ให้ฝ่ายตรงข้ามได้เตะโทษโดยอ้อม ณ จุดที่การกรพทำผิดกติกาเกิดขึ้น
3.   หลังจากบอลอยู่ในการเล่น ผู้รักษาประตูได้รับลูกบอลคืนจากผู้เล่นฝ่ายเดียวกัน ให้ฝ่ายตรงข้ามได้เตะโทษโดยอ้อม การเตะโทษโดยอ้อมจะกระทำจากเส้นเขตโทษ ณ จุดที่ใกล้ที่สุดที่การกระทำผิดกติกาเกิดขึ้น
4.   ถ้าการเล่นลูกจากประตูไม่ส่งลูกบอลเข้าเล่นภายใน 4 วินาที จากระยะเวลาที่ครอบครองลูกบอล ให้ฝ่ายตรงข้ามได้เตะโทษโดยอ้ออมจากเส้นเขตโทษ ณ จุดที่ใกล้ที่สุดที่การกระทำผิดกติกาเกิดขึ้น

กติกาฟุตซอล ข้อ 18


การเตะจากมุม( THE CORNER KICK )

การเตะจากมุมเป็นวิธีการหนึ่งของการเริ่มเล่นใหม่
   สามารถทำประตูได้โดยตรงจากการเตะจากมุม แต่ต้องทำประตูฝ่ายตรงข้ามเท่านั้น
เตะจากมุมเมื่อ ( A Corner Kick Awarded When )
   เมื่อลูกบอลทั้งลูกได้ผ่านออกเส้นประตูไปทั้งบนพื้นหรือในอากาศ โดยผู้เล่นฝ่ายรับสัมผัสลูกเป็นครั้งสุดท้าย และไม่ใช่เป็นการทำประตูตามเงื่อนไขของกติกาข้อ 11
ขั้นตอนในการดำเนินการ ( Procedure )
1.   ลูกบอลต้องวางไว้ภายในเขตมุมใกล้กับมุมสนามมากที่สุดอย่างชัดเจน
2.   ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามต้องอยู่ห่างจากลูกบอลไม่น้อยกว่า 5 เมตร จนกว่าลูกบอลจะอยู่ในการเล่น
3.   ลูกบอลจะถูกเตะโดยผู้เล่นฝ่ายรุก
4.   ลูกบอลอยู่ในการเล่นเมื่อถูกเตะ หรือถูกสัมผัส
5.   ผู้เตะต้องไม่เล่นลูกบอลเป็นครั้งที่สองจนกว่าจะถูกเล่นหรือสัมผัสโดยผู้เล่นคนอื่นๆก่อน
การกระทำผิดและการลงโทษ ( Infringements / Sanctions )
   ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามจะได้เตะโทษโดยอ้อม ถ้า
1.   การเตะจากมุม ผู้เล่นได้เล่นหรือสัมผัสลูกบอลเป็นครั้งที่สอง ก่อนจะถูกเล่นหรือสัมผัสโดยผู้เล่นอื่น การเตะโทษโดยอ้อมจะกระทำ ณ จุดที่การกระทำผิดเกิดขึ้น
2.   การเตะจากมุมไม่กระทำภายในเวลา 4 วินาที จากระยะที่ได้ครอบครองลูกบอลเพื่อทำการเตะ การเตะโทษโดยอ้อมจะกระทำการเตะที่เขตมุม
การกระทำผิดอื่นๆ ( For any Other Infringement )
   ให้ทำการเตะจากมุมใหม่
 


แหล่งที่มา : yanchaow.com

อัพเดทล่าสุด