หลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยา หลักฐานที่ใช้ในการเลือกตั้ง หลักฐานทางประวัติศาสตร์ของไทย


10,528 ผู้ชม


หลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยา หลักฐานที่ใช้ในการเลือกตั้ง หลักฐานทางประวัติศาสตร์ของไทย

 

 

การแบ่งสมัยของประวัติศาสตร์

การแบ่งสมัยของประวัติศาสตร์
     ในปัจจุบันนักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีได้แบ่งช่วงสมัยของประวัติศาสตร์ออกอย่างกว้าง ๆ เป็น 2 สมัย คือ
     1. สมัยก่อนประวัติศาสตร์ คือ ช่วงระยะเวลาตั้งแต่มนุษย์ถือกำเนิดขึ้นมาและดำรงชีพโดยยึดถือหลักฐานที่ เป็นตามธรรมชาติเช่นเดียวกับ สัตว์โลกอื่นๆต่อมามนุษย์บางกลุ่มสามารถปรับชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นโดย การนำเอาทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ไฟ น้ำ หิน โลหะ ไม้ เป็นต้น มาใช้ประโยชน์ สร้างสมความเจริญและถ่ายทอดสู่คนรุ่นหลัง จนสามารถพัฒนาเป็นสังคมเมือง การเรียนรู้เรื่องราวในยุคนี้ได้จากหลักฐานทางโบราณคดี เช่น โครงกระดูก เครื่องมือเครื่องใช้ และภาพศิลปะถ้ำต่าง ๆ
     ยุคหินเก่า – พบเครื่องมือหินกรวดกะเทาะหน้าเดียว ที่บ้านเก่า จ.กาญจนบุรี
     ยุคหินกลาง – พบภาชนะดินเผาผิวเกลี้ยง ลายเชือกทาบ ที่ถ้ำผี จ.แม่ฮ่องสอน ถ้ำไทรโยค จ.กาญจนบุรี
     ยุคหินใหม่ – พบเครื่องมือหินขัด เครื่องปั้นดินเผาชนิด 3 ขา ที่บ้านเก่า จ.กาญจนบุรี
     ยุคสำริด – พบเครื่องประดับสำริด กลองมโหระทึก ภาชนะดินเผาวาดลวดลายด้วยสีแดง ที่บ้านเชียง จ.อุดรธานี
     ยุคเหล็ก – พบเครื่องมือที่ทำจากเหล็ก ที่บ้านดอนตาเพชร จ.กาญจนบุรี บ้านก้านเหลือง จ.อุบลราชธานี
     2. สมัยประวัติศาสตร์ หมายถึง สมัยที่มีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้บันทึกบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ทำให้การศึกษาประวัติศาสตร์ในช่วงยุคสมัยนี้ชัดเจนมากขึ้นโดยอาศัยหลักฐาน ทางโบราณคดีสนับสนุน ช่วงสมัยนี้สามารถแบ่งย่อยได้ เช่น การตั้งเมืองหลวง การเปลี่ยนราชวงศ์ เป็นต้น
     สุโขทัย
     อยุธยา
     ธนบุรี
     รัตนโกสิทร์

หลักฐานที่ใช้ในการศึกษาเรื่องราวของชนชาติไทย
     1. หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร บันทึกเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับคนไทยในสมัยโบราณไว้ อาจจะปรากฏอยู่ตามฐานเจดีย์ กำแพงโบสถ ผนังถ้ำ แผ่นไม้ ใบลาน สมุดข่อย เช่น จารึกสุโขทัย จารึกมอญ เป็นต้น
     2. หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น โครงกระดูกมนุษย์ พระพุทธรูป ร่องรอย การตั้งถิ่นฐานของชุมชนเป็นต้น

ประเภทของหลักฐาน
     1. หลักฐานชั้นต้นหรือปฐมภูมิ หมายถึง บันทึกหรือคำบอกเล่าของผู้พบเห็นเหตุการณ์หรือผู้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ หรือผู้ร่วมสมัยกับเหตุการณ์ เช่น บันทึก จดหมายเหตุ เป็นต้น
     2. หลักฐานชั้นรองหรือทุติยภูมิ หมายถึง ผลงานการค้นคว้าที่เขียนขึ้นหรือเรียบเรียงขึ้นภายหลังจากเกิดเหตุการณ์นั้น แล้ว โดยอาศัยหลักฐานชั้นต้นและเพิ่มเติมด้วย ความคิดเห็น คำวินิจฉัย ตลอดจนเหตุผลอื่น ๆ ประกอบ เช่น พงศาวดาร ตำนาน คำให้การ เป็นต้น

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทย
     1. จารึก - พบครั้งแรกที่ปราสาทเขาน้อย อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว จารึกนี้ทำขึ้นเมื่อ พ.ศ.1180 บันทึกด้วยอักษรปัลลาวะ
     2. ตำนาน - เล่าเรื่องราวประวัติความเป็นมาของบุคคล โบราณสถาน โบราณวัตถุ เน้นเรื่องศาสนา เช่น ตำนานจามเทวีวงศ์
     3. พงศารดาร - บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์และอาณาจักร เช่น พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ (เป็นฉบับที่เก่าแกที่สุดที่เหลืออยู่)
     4. จดหมายเหตุ - บันทึกครั้งละเหตุการณ์เดียว ระบุวัน-เวลา
     5. อื่นๆ - เช่น หนังสือราชการ กฎหมาย วรรณกรรม หนังสือพิมพ์

ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์
     1. กำหนดหัวเรื่อง
     2. รวบรวมข้อมูลหลักฐาน
     3. ประเมินคุณค่าของหลักฐานทั้งภายนอกและภายใน
     4. ตีความหลักฐาน
     5. วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล

แหล่งที่มา : thaigoodview.com

อัพเดทล่าสุด