หลักฐานทําพาสปอร์ต หลักฐานสมัยรัตนโกสินทร์ หลักฐานการสมัครงาน


1,385 ผู้ชม


หลักฐานทําพาสปอร์ต หลักฐานสมัยรัตนโกสินทร์ หลักฐานการสมัครงาน

 

 

นำพระพุทธรูปออกนอกราชอาณาจักร

ข้อแนะนำการส่งหรือนำพระพุทธรูปออกนอกราชอาณาจักร

 

บุคคลทั่วไป

 

                  ๑.  กรอกแบบฟอร์มการขออนุญาตที่ทางราชการจัดให้  (ศก.๖)

            ๒. ทำหนังสือถึงอธิบดีกรมศิลปากร  ให้เหตุผลส่งหรือนำไปเพื่ออะไร  ไว้ที่ใดโดยละเอียด

            ๓.  ในกรณีที่นำติดตัวไปเอง  ถ่ายสำเนาหนังสือเดินทางของผู้ขออนุญาต  ๑  ชุด 

                 ในกรณีที่ส่งไปถ่ายสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน  หรือบัตรข้าราชการ

            ๔.  ให้แสดงหลักฐานเป็นเอกสารรับรองจากองค์กร  องค์การ

                 (องค์กร, องค์การที่เป็นที่เชื่อถือ  และยอมรับจากทางราชการ)

สมาคม   หมายถึง   ต้องทำงานเกี่ยวข้องกับศาสนาซึ่งเป็นที่เชื่อถือและยอมรับจากทางราชการ

สถาบันที่เกี่ยวข้องกับศาสนา   คือ  พระสงฆ์ที่มีสมณศักดิ์  เป็นเจ้าอาวาส  รองเจ้าอาวาส  ผู้ช่วยเจ้าอาวาส  หรือเลขาธิการสมเด็จพระสังฆราช  เป็นผู้ลงนามรับรอง  หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่เชื่อถือได้ว่าจะส่งหรือนำพระพุทธรูปออกนอกราชอาณาจักรเพื่อสักการบูชา   เพื่อศึกษาวิจัย   เพื่อเผยแพร่เกียรติคุณ   หรือเพื่อแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมหรือโบราณคดี

ในกรณีที่เจ้าอาวาสวัด  รองเจ้าอาวาสวัดฯ  หรือผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัด  รับรอง    ต้องมีเอกสาร  ดังนี้

            ๑.  ทำหนังสือจากวัดถึงอธิบดีกรมศิลปากร

            ๒. สำเนาใบสุทธิประวัติเดิม – ปัจจุบัน

            ๓.  สำเนาใบแต่งตั้งสมณศักดิ์  หรือหลักฐานยืนยันชื่อลงนามในหนังสือรับรอง

ในกรณีที่ข้าราชการรับรอง    (ต้องเป็นข้าราชการตั้งแต่  ระดับ ๔  ขึ้นไป)

            ๑.  ทำหนังสือจากผู้รับรองถึงอธิบดีกรมศิลปากร  รับรองผู้ขออนุญาตส่งหรือนำพระพุทธรูปออกนอกราชอาณาจักร

            ๒. สำเนาบัตรข้าราชการ  ด้านหน้า – หลัง

อนึ่ง    เอกสารที่เป็นสำเนา  ให้ผู้รับรองลงนามรับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ

 

ภาพถ่ายของวัตถุ

 

            ใช้ภาพสี  ขนาด ๓ x ๕ นิ้ว  จำนวน  ๒  ภาพ  ต่อวัตถุ  ๑  รายการ   ถ่ายภาพเฉพาะด้านหน้าให้   ชัดเจน  หากมีพลาสติกห่อหุ้มให้เอาออกก่อนถ่ายภาพ   นำวัตถุที่จะส่งหรือนำออกทุกชิ้นไปแสดงต่อคณะกรรมการตรวจพิสูจน์ฯ  ในวันที่ยื่นคำร้อง (ศก.๖)   ณ  สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  เลขที่ ๘๑/๑  ถนนศรีอยุธยา  (อาคารกรมศิลปากรใหม่)  เทเวศร์  แขวงวชิระ  เขตดุสิต  กรุงเทพฯ  ๑๐๓๐๐

            ระยะเวลาออกใบอนุญาต          ๒   วันทำการ

            เวลาทำการตรวจพิสูจน์            เช้า    เวลา  ๑๐.๐๐  น.

                                                  บ่าย   เวลา  ๑๔.๐๐  น.

 

ฝ่ายบริหารงานทั่วไป   สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

โทรศัพท์, โทรสาร  ๐ ๒๖๒๘ ๕๐๓๓

 

 

ขั้นตอนและวิธีการ

การขอรับใบอนุญาตส่งหรือนำโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุออกนอกราชอาณาจักร

 

๑.   ผู้ขออนุญาต  ต้องกรอกในคำขอรับใบอนุญาตส่งหรือนำโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุออกนอกราชอาณาจักร(ศก.๖)  พร้อมแนบเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ในคำขอรับใบอนุญาต   ณ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  เลขที่ ๘๑/๑  ถนนศรีอยุธยา  เทเวศร์  แขวงวชิระ  เขตดุสิต  กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐

๒.  ผู้ขออนุญาต  จะต้องนำโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุที่ขออนุญาตส่งออกทุกชิ้นไปให้คณะกรรมการตรวจพิสูจน์  ณ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ   หากไม่สามารถนำไปให้ตรวจพิสูจน์ ณ สถานที่ดังกล่าวได้ ผู้ขออนุญาตสามารถทำหนังสือพร้อมทั้งแสดงเหตุผลต่ออธิบดีขอให้มีการตรวจพิสูจน์  ณ สถานที่ที่เก็บรักษาโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุ  ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการนี้ทั้งหมด

๓.  เจ้าหน้าที่จะผูกตะกั่วประทับตราที่โบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุทุกชิ้น  ที่คณะกรรมการตรวจพิสูจน์ สรุปความ เห็นอนุญาตให้ส่งหรือนำออกนอกราชอาณาจักรได้

๔.  ภายใน ๑ - ๒ วันทำการ  ให้ผู้ขอรับใบอนุญาตไปรับใบอนุญาต   พร้อมชำระค่าธรรมเนียม

      ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง  ณ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

      ค่าธรรมเนียมศิลปวัตถุประเภทพระพุทธรูป  สมัยรัตนโกสินทร์ ช่วงระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ถึงปัจจุบัน

      - ขนาดยาวหรือสูงเกิน  ๑๐๐ เซนติเมตร                             ชิ้นละ  ๓๐๐  บาท

      - ขนาดยาวหรือสูงเกิน ๕๐ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๑๐๐  เซนติเมตร     ชิ้นละ  ๒๐๐  บาท

      - ขนาดยาวหรือสูงไม่เกิน  ๕๐  เซนติเมตร                          ชิ้นละ  ๑๐๐  บาท

      ค่าธรรมเนียมศิลปวัตถุ  สมัยรัตนโกสินทร์ ช่วงระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ถึงปัจจุบัน

      - ขนาดยาวหรือสูงเกิน  ๑๐๐ เซนติเมตร                             ชิ้นละ  ๒๐๐  บาท

      - ขนาดยาวหรือสูงเกิน ๕๐ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๑๐๐  เซนติเมตร     ชิ้นละ  ๑๐๐  บาท

      - ขนาดยาวหรือสูงไม่เกิน  ๕๐  เซนติเมตร                          ชิ้นละ   ๕๐  บาท

๕.  เจ้าหน้าที่จะออกบัตรประจำวัตถุ (บัตรสีชมพู)  เพื่อให้ผู้ขอรับใบอนุญาตนำไปผูกกับปลายเชือกที่ประทับตราตะกั่วที่โบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุทุกชิ้น

๖.   ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องลงชื่อรับรองว่าจะนำบัตรประจำวัตถุไปผูกติดกับปลายเชือกตราตะกั่วที่ประทับวัตถุให้ถูกต้องตรงกับเลขหมายรายการในใบอนุญาต

 

แหล่งที่มา : finearts.go.th

อัพเดทล่าสุด