หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร หลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ประเภทของหลักฐานทางประวัติศาสตร์
หลักฐานทางประวัติศาสตร์
ตัวอย่างหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของประเทศอียิป ในสมัยอียิปโบราณ เป็นตัวอักษรภาพ
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ หมายถึง ร่องรอยการกระทำ การพูด การเขียน การประดิษฐ์ การอยู่อาศัยของมนุษย์ หรือลึกไปกว่าที่ปรากฏอยู่ภายนอก คือ ความคิดอ่าน โลกทัศน์ ความรู้สึก ประเพณีปฏิบัติของมนุษย์ในอดีต ความรู้สึกของคนในปัจจุบัน สิ่งที่มนุษย์จับต้องและทิ้งร่องรอยไว้ กล่าวได้ว่าอะไรก็ตามที่มาเกี่ยวพันกับมนุษย์ หรือมนุษย์เข้าไปเกี่ยวพันสามารถใช้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้ทั้งสิ้น
การแบ่งประเภทของหลักฐานทางประวัติศาสตร์
๑) แบ่งตามยุคสมัย
(๑) หลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ คือ หลักฐานที่เกิดขึ้นในสมัยที่ยังไม่มีการบันทึกเป็นอักษร แต่เป็นพวกซากโครงกระดูกมนุษย์ ซากสิ่งมีชีวิตต่างๆ เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องประดับ ร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของชุมชน ตลอดจนความพยายามที่จะถ่ายทอดประสบการณ์ของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ ในลักษณะของการบอกเล่าต่อๆกันมา เป็นนิทานหรือตำนานซึ่งเราเรียกว่า “มุขปาฐะ”
(๒) หลักฐานสมัยประวัติศาสตร์ คือ หลักฐานสมัยที่มนุษย์สามารถประดิษฐ์ตัวอักษร และบันทึกในวัสดุต่างๆ มีร่องรอยที่แน่นอนเกี่ยวกับสังคมเมือง มีการรู้จักใช้เหล็ก และโลหะอื่นๆ มาเป็นเครื่องมือใช้สอยที่ปราณีต มีร่องรอยศาสนสถานและประติมากรรมรูปเคารพในศาสนาอย่างชัดเจน
๒) แบ่งตามลักษณะหรือวิธีการบันทึก
(๑) หลักฐานประเภทลายลักษณ์อักษร ได้แก่ จารึก ตำนาน พงศาวดาร จดหมายเหตุ บันทึกความทรงจำ เอกสารทางวิชาการ ชีวประวัติ จดหมายส่วนตัว หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร กฎหมาย วรรณกรรม ตำรา วิทยานิพนธ์ งานวิจัย ในการศึกษาประวัติศาสตร์ในประเทศไทย มีการเน้นการฝึกฝนทักษะการใช้หลักฐานประเภทลายลักษณ์อักษร เป็นส่วนใหญ่ จนอาจกล่าวได้ว่าหลักฐานประเภทนี้เป็นแก่นของงานทางประวัติศาสตร์ไทย
(๒) หลักฐานไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ หลักฐานโบราณคดี เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุ เงินตรา หลักฐานจากการบอกเล่า ที่เรียกว่า “มุขปาฐะ”หลักฐานด้านภาษา เกี่ยวกับพัฒนาการของภาษาพูด หลักฐานทางศิลปกรรม ได้แก่ จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม นาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์ หลักฐานประเภทโสตทัศน์ ได้แก่ ภาพถ่าย ภาพสไสด์ แผนที่ โปสเตอร์ แถบบันทึกเสียง แผ่นเสียง ภาพยนตร์ ดวงตราไปรษณียากร
๓) แบ่งตามลำดับความสำคัญ
(๑) หลักฐานชั้นต้นหรือหลักฐานปฐมภูมิ (Primary sources) หมายถึง หลักฐานที่บันทึก สร้าง หรือจัดทำขึ้น โดยผู้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้นโดยตรง หรือบ่งบอกให้รู้ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้นจริงๆ ทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น สนธิสัญญา บันทึกคำให้การ จดหมายเหตุ กฎหมาย ประกาศของทางราชการ ศิลาจารึก จดหมายโต้ตอบ และที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น ภาพเขียนสีผนังถ้ำ เครื่องมือเคื่องใช้ เครื่องประดับ เจดีย์
(๒) หลักฐานชั้นรองหรือหลักฐานทุติยภูมิ (Secondary sources) หมายถึง หลักฐานที่เกิดจากการนำหลักฐานชั้นต้นมาวิเคราะห์ ตีความเมื่อเวลาผ่านพ้นไปแล้ว ได้แก่ ตำนาน พงศาวดาร
นักประวัติศาสตร์บางท่านยังได้แบ่งหลักฐานประวัติศาสตร์ออกไปอีกเป็น หลักฐานชั้นที่สามหรือตติยภูมิ (Tertiary sources) หมายถึง หลักฐานที่เขียนหรือรวบรวมขึ้น จากหลักฐานปฐมภูมิและทุติยภูมิ เพื่อประโยชน์ในการศึกษาอ้างอิง เช่น สารานุกรม หนังสือแบบเรียน และบทความทางประวัติศาสตร์ต่างๆ
สมัยโบราณ
ตะวันตก
1. อักษรที่บันทึกเป็นลงบนวัสดุต่างๆ เช่น กระดาษปาปิรุส แผ่นดินเหนียว
1.1 ชาว อียิปต์โบราณ
-อักษรภาพเฮียโรกลีฟิก (ให้ความรู้เรื่องการแพทย์ ดาราศาสตร์ โหราศาสตร์)
- คัมภีร์มรณะ (เน้นความเชื่อทางศาสนา และมีผลต่อการเขียน The Old Testament
1.2 ชาวสุเมเรียน
- อักษรคูนิฟอร์ม (อักษรลิ่ม) ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของสมัยประวัติศาสตร์ตะวันตก
- มหากาพย์ กิลกาเมซ
- อักษรฟินิเชียน ต่อมาพัฒนาเป็นอักษรภาษาอังกฤษ (Alphabet)
1.4 ประมวลกฎหมาย ฮัมมูราบี ที่ยึดหลักตาต่อตาฟันต่อฟัน
2. หลักฐานประวัติศาสตร์ของกรีก-โรมัน
2.1 กรีก
-ช่วงแรกเขียนอิงเทพนิยาย เช่น มหากาพย์อีเลียด และโอดิสซี (โฮเมอร์แต่ง)
-ช่วงหลังอิงสงครามและการเมือง เช่น ประวัติศาสตร์สงครามเปอร์เซีย (เฮโรโดตัสแต่ง)
2.2 โรมัน
-เน้นเรื่องสงคราม เช่น บันทึกสงครามกอลลิก สงครามพิวนิก (โพลิบิอุสแต่ง) ประวัติศาสตร์โรมัน (ลีวี่แต่ง) กฎหมายสิบสองโต๊ะ
จึน
1. กระดูกเสี่ยงทายในสมัยราชวงศ์ชาง
2. บันทึกประวัติศาสตร์ของซือหม่าเซียน (เน้นเรื่องการปกครองของราชวงศ์ ถือเป็นหลักฐานต้นแบบของงานประวัติศาสตร์ราชวงศ์ของจีนต่อมา)
3.สุสานจักรพรรดิฉิ๋นซีฮ่องเต้(ให้ข้อมูลด้านโบราณคดี และเหตุการณ์ในสมัยราชวงศ์ฉิ๋น)
อินเดีย
-พบหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรน้อย เพราะไม่มีนักประวัติศาสตร์เหมือนกรีกและจีน
1. เมืองโมเฮนโจดาโร และฮารัปปา เป็นหลักฐานที่สำคัญที่สุดของอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ
2. อื่นๆ เช่น คัมภีร์พระเวทของอารยัน ศิลาจารึกของพระเจ้าอโศกมหาราช
ญี่ปุ่น.
-ส่วนใหญ่เป็นหลักฐานจากโบราณคดี เพราะเป็นสมัยที่ยังไม่มีตัวอักษรใช้
สมัยกลาง
ตะวันตก
1. หลักฐานที่เน้นความศรัทธาที่มีต่อศาสนา เช่น
-มหากาพย์ของโรลองด์
- หนังสือแห่งกาลเวลา
- ประวัติศาสตร์พวกแฟรงค์(บาทหลางเกรเกอรีแต่ง)
-เทวนคร (นักบุญออสตินแต่ง)
2. หลักฐานที่เน้นการเมืองการปกครองเช่น
- ทะเบียนราษฎร์ (Domsday)
- กฎบัตร Magna Carta
3. งานเขียนชื่อ Annals (คล้ายพงศาวดารแบบไทย) เป็นการบันทึกเหตุการณ์สำคัญสั้นๆในแต่ละปี โดยไม่ใส่ข่อคิดเห็นของผู้บันทึก
จีน
-ส่วนใหญ่เป็นงานบันทึกประวัติศาสตร์ในราชวงศ์
อินเดีย
-เริ่มปรากฏหลักฐานในสมัยอาณาจักร สุลต่านแห่งเดลี เน้นวีรกรรมของสุลต่าน
ญี่ปุ่น
-เป็นพงศาวดารประจำราชสำนักญี่ปุ่น เช่น หนังสือประวัติศาสตร์ชื่อ โคจิกิ นิโฮโชกิ
สมัยใหม่ สมัยปัจจุบัน
ตะวันตก
1. งานเขียนช่วงแรก (C15-18) รับแนวคิดจากการฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ
1.1 คำประกาศอิสรภาพของอเมริกา (เน้นสิทธิธรรมชาติของมนุษย์)
1.2รัฐธรรมนูญแห่งอเมริกา (แบ่งอำนาจปกครอง 3 ฝ่าย)
1.3 คำประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมือง (เป็นจุดสิ้นสุดระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์คำประกาศนี้ได้รักแนวคิดจาก Bill of Rights และ The Declaration of Independence)
1.4 สนธิสัญญาแวร์ซายส์ (ความสัมพันธ์ของโลกช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 )
1.5 ประวัติศาสตร์ความเสื่อม และการสิ้นสุดของจักรวรรดิโรมัน (กิบบันแต่ง)
2. งานเขียนช่วงหลัง (c18-20) รับแนวคิดจากวิทยาศาสตร์เช่น
2.1 สังคมฟิวดัล,วิชาของนักประวัติสาสตร์ (มาร์ก บล็อก แต่ง)
2.2 ประวัติสาสตร์สันตะปาปา, ประวัติศาสตร์ ละตินและเยอรมัน (เลโอปอนด์ รังแก)
2.3 ประวัติศาสตร์โรมัน (บารโทลด์ นีบูห แต่ง)
2.4 ประวัติสาสตร์ทั่วไปของอารยธรรมตะวันตก (ฟรังซัวส์ กิโซต์แต่ง)
2.5 อารยธรรมและทุนนิยม ใน C15-18 (เฟอร์นานด์ โบรเดล แต่ง)
2.6ศึกษาประวัติศาสตร์ (อาร์โนลด์ ทอยน์บี)
จีน
- ประวัติศาสตร์จีนสมัยใหม่เริ่มในสมัยราชวงศ์หมิง เช่นงานวรรณกรรมของ
อินเดีย
-ประวัติศาสตร์อินเดียสมัยใหม่เริ่มในสมัยราชวงศ์โมกุล เช่น ประวัติของกษัตริย์อักบาร์ และพระราชโองการของพระราชินีวิกตอเรีย
ญี่ปุ่น
-ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นสมัยใหม่เริ่มในสมัยกลางเมือง เช่นเอกสารรัฐธรรมนูญ ค.ศ.1947
แหล่งที่มา : bothong.ac.th