หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นลายลักษณ์อักษร หลักฐานทางประวัติศาสตร์สมัยโบราณ หลักฐานทางประวัติศาสตร์ตะวันตก


8,395 ผู้ชม


หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นลายลักษณ์อักษร หลักฐานทางประวัติศาสตร์สมัยโบราณ หลักฐานทางประวัติศาสตร์ตะวันตก

 

วิธีการทางประวัติศาสตร์

   ประวัติศาสตร์คือ การศึกษาเรื่องราวและพฤติกรรมของสังคมมนุษย์ในอดีต ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลาและยุคสมัยต่างๆกัน คุณค่าสำคัญของประวัติศาสตร์คืออดีตเป็นบทเรียนที่สำคัญสำหรับปัจจุบันและอนาคต

ทศวรรษ ศตวรรษ สหัสวรรษ
ทศวรรษ หมายถึงรอบ 10 ปี ลงท้ายด้วย 0 ถึงศักราชที่ลงท้าย 9
- ทศวรรษ 1990 ตามคริสต์ศักราช หมายถึง ค.ศ. 1990-1999
- ทศวรรษ 2540 ตามพุทธศักราช หมายถึง พ.ศ. 2540-2549
ศตวรรษ หมายถึง รอบ 100 ปี ลงท้ายด้วย 01 ไปถึงศักราชที่ลงท้ายด้วย 00
- คริสต์ศตวรรษที่ 1 หมายถึง ค.ศ. 1-100
- พุทธศตวรรษที่ 25 หมายถึง พ.ศ. 2401-2500
สหัสวรรษ สหัสวรรษที่ 3 ตามคริสต์ศักราชหมายถึง ค.ศ. 2001-3000

สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นสมัยที่มนุษย์ยังไม่มีการใช้คัวอักษรบันทึกบอกเรื่องราว การศึกษาสมัยก่อนต้องอาศัยหลักฐานทางโบราณคดีเป็นหลัก
1. ยุคหิน
- ยุคหินเก่า ระหว่าง 500,000-10,000 ปีมาแล้ว ใช้เครื่องมือหินกะเทาะที่หยาบๆ อาศัยตามถ้ำและเพิงผา ไม่มีการตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่ง

- ยุคหินกลาง ระหว่างประมาณ 6,000-4,000 ปีมาแล้ว ใช้หินกะเทาะที่ทำประณีตขึ้น

- ยุคหินใหม่ ระหว่างประมาณ 6,000-4,000 ปีมาแล้ว ใช้เครื่องมือหินขัด พัฒนาที่สำคัญที่สุดในยุคนี้ เพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ทำเครื่องปั้นดินเผา ทอผ้า เครื่องจักสาน

2. ยุคโลหะ
ยุคสำริด ระหว่าง 4,000-2,500 มาแล้ว รู้จักทำเครื่องมือเครื่องใช้และเครื่องประดับด้วยสำริด เป็นสังคมเกษตรกรรม ชุมชนขยายใหญ่ขึ้น
ระหว่างประมาณ 2,500-1,500 ปีมาแล้ว มนุษย์ยุคนี้รู้จักถลุงเหล็กและนำมาหล่อเป็นเครื่องมือเครื่องใช้

สมัยประวัติศาสตร์ เป็นสมัยที่มนุษย์ในสังคมมีการใช้ตัวอักษรบันทึกบอกเรื่องราว ทั้งนี้การมีตัวอักษรใช้ในแต่ละสังคมจะเกิดขึ้นไม่พร้อมกัน ขึ้นอยู่กับพัฒนาการของสังคมอาจใช้หลักฐานทางโบราณคดีเป็นส่วนประกอบ แบ่งเป็นสมัยย่อยๆได้หลายแบบ
แบ่งตามราชธานี
ได้แก่ กรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์
แบ่งตามราชวงศ์
เฉพาะในสมัยอยุธยา สมัยราชวงศ์อู่ทอง สุพรรณภูมิ สุโขทัย ปราสาททอง บ้านพลูหลวง
แบ่งตามพระนามพระมหากษัตริย์
สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช สมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระนารายณ์มหาราช
แบ่งตามพัฒนาการและความเปลี่ยนแปลงของบ้านเมือง
สมัยอยุธยาแบ่งตาม 3 ระยะคือ อยุธยาตอนต้น ตอนกลาง และตอนปลาย ส่วนสมัยรัตนโกสินทร์ศก แบ่งได้ 3 ระยะคือ สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น สมัยรัตนโกสินทร์ยุคปรับปรุงประเทศ สมัยรัตนโกสินทร์ยุคหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
แบ่งตามลักษณะการปกครอง
เช่น สมัยรัตนโกสินทร์อาจแบ่งย่อยตามลักษณะการปกครองเป็น 2 สมัยย่อย
สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์  สมัยประชาธิปไตย
แบ่งตามแนวประวัติศาสตร์สากล ช่วงเวลาสมัยประวัติศาสตร์ตามหลักประวัติศาสตร์สากลนิยมแบ่งเป็นสมัยย่อย 4 สมัย คือ สมัยโบราณ สมัยกลาง สมัยใหม่  สมัยปัจจุบัน

วิธีการทางประวัติศาสตร์
ขั้นที่
เป็นขั้นตอนแรก นักประวัติศาสตร์ต้องมีจุดประสงค์ชัดเจนว่าจะศึกษาอะไร อดีตส่วนไหน สมัยอะไร และเพราะเหตุใด เป็นการตั้งคำถามที่ต้องการศึกษา นักประวัติศาสตร์ต้องอาศัยการอ่าน การสังเกต และควรต้องมีความรู้กว้างๆ ทางประวัติศาสตร์ในเรื่องนั้นๆมาก่อนบ้าง ซึ่งคำถามหลักที่นักประวัติศาสตร์ควรคำนึงอยู่ตลอดเวลาก็คือทำไมและเกิดขึ้นอย่างไร

ขั้นที่ 2 การรวบรวมข้อมูล
ลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ให้ข้อมูล มีทั้งหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร และหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร มีทั้งที่เป็นหลักฐานชั้นต้นและหลักฐานชั้นรองการรวบรวมข้อมูลนั้น หลักฐานชั้นต้นมีความสำคัญ และความน่าเชื่อถือมากกว่าหลักฐานชั้นรอง แต่หลักฐานชั้นรองอธิบายเรื่องราวให้เข้าใจได้ง่ายกว่าหลักฐานชั้นรอง ในการรวบรวมข้อมูลประเภทต่างๆดังกล่าวข้างต้น ควรเริ่มต้นจากหลักฐานชั้นรองแล้วจึงศึกษาหลักฐานชั้นต้น ถ้าเป็นหลักฐานประเภทไม่เป็นลายลักษณ์อักษรก็ควรเริ่มต้นจากผลการศึกษาของนักวิชาการที่เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ก่อนไปศึกษาจากของจริงหรือสถานที่จริง การศึกษาประวัติศาสตร์ที่ดีควรใช้ข้อมูลหลายประเภท ขึ้นอยู่กับว่าผู้ศึกษาต้องการศึกษาเรื่องอะไร

ขั้นที่ 3 การตรวจสอบประเมินคุณค่าของหลักฐาน
วิพากษ์วิธีทางประวัติศาสตร์ คือ การตรวจสอบหลักฐานและข้อมูลในหลักฐานเหล่านั้นว่า มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ ประกอบด้วยการวิพากษ์หลักฐานและวิพากษ์ข้อมูลโดยขั้นตอนทั้งสองจะกระทำควบคู่กันไป เนื่องจากการตรวจสอบหลักฐานต้องพิจารณาจากเนื้อหา หรือข้อมูลภายในหลักฐานนั้น และในการวิพากษ์ข้อมูลก็ต้องอาศัยรูปลักษณะของหลักฐานภายนอกประกอบด้วยการวิพากษ์หลักฐานหรือวิพากษ์ภายนอก การวิพากษ์หลักฐาน (external criticism) คือ การพิจารณาตรวจสอบหลักฐานที่ได้คัดเลือกไว้แต่ละชิ้นว่ามีความน่าเชื่อถือเพียงใด

ขั้นที่ 4 การตีความหลักฐาน
การตีความหลักฐาน หมายถึง การพิจารณาข้อมูลในหลักฐานว่าผู้สร้างหลักฐานมีเจตนาที่แท้จริงอย่างไร โดยดูจากลีลาการเขียนของผู้บันทึกและรูปร่างลักษณะโดยทั่วไปเพื่อให้ได้ความหมายที่แท้จริงซึ่งอาจแอบแฟงโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม ในการตีความหลักฐาน นักประวัติศาสตร์จึงต้องพยายามจับความหมายจากสำนวนโวหาร ทัศนคติ ความเชื่อ ฯลฯ ของผู้เขียนและสังคมในยุคสมัยนั้นประกอบด้วย เพื่อทีจะได้ทราบว่าถ้อยความนั้นนอกจากจะหมายความตามตัวอักษรแล้ว ยังมีความหมายที่แท้จริงอะไรแฝงอยู่

ขั้นที่ 5 การเรียบเรียงและการนำเสนอ
การเรียบเรียงคือ การนำข้อมูลที่ตีความมาแล้วสังเคราะห์หรือรวมเข้าด้วยกัน เพื่ออธิบายหรือตอบปัญหาที่กำหนดไว้ในขั้นตอนที่ 1 ของกระบวนการทางประวัติศาสตร์ หลังจากนั้นจึงนำเสนอด้วยวิธีการที่เหมาะสม


แหล่งที่มา : guru.google.co.th

อัพเดทล่าสุด