หลักฐานทางประวัติศาสตร์สากล ขอใช้สิทธิบุตรคนเดิมต้องแนบหลักฐานอะไร หลักฐานทางประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์


2,663 ผู้ชม


หลักฐานทางประวัติศาสตร์สากล ขอใช้สิทธิบุตรคนเดิมต้องแนบหลักฐานอะไร หลักฐานทางประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์

 

หลักฐานทางประวัติศาสตร์

    แหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์ในการศึกษาปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยแต่ละยุคสมัยอาจจำแนกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

  1. หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ หลักฐานที่เป็นตัวหนังสือโดยมนุษย์ได้ทิ้งร่องรอยขีดเขียนเป็นตัวหนังสือประเภทต่างๆ ในรูปของการจารึกในศิลาจารึกและการจารึกบนแผ่นโลหะ นอกจากนี้หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นลายลักษณ์อักษรประเภทอื่น เช่น พงศาวดาร จดหมายเหตุ ตำนาน และกฎหมาย
  2. หลักฐานที่เป็นวัตถุ ได้แก่ วัตถุที่มนุษย์แต่ละยุคแต่ละสมัยได้สร้างขึ้น และตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน เช่น โบราณสถาน ประกอบด้วย วัด เจดีย์ มณฑป และโบราณวัตถุ ประกอบด้วย พระพุทธรูป ถ้วยชามสังคโลก

      การแบ่งลำดับความสำคัญของหลักฐานทางประวัติศาสตร์เป็น 2 ประเภท คือ

  1. หลักฐานชั้นต้นหรือหลักฐานปฐมภูมิ เป็นหลักฐานที่มาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้นจริงๆ โดยมีการบันทึกของผู้ที่เกี่ยวกับเหตุการณ์โดยตรง หรือผู้ที่รู้เหตุการณ์นั้นด้วยตนเอง  ดังนั้นหลักฐานช่วงต้น  จึงเป็นหลักฐานที่มีความสำคัญและน่าเชื่อถือมากที่สุด  เพราะบันทึกของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์หรือผู้อยู่ในเหตุการณ์บันทึกไว้  เช่น  จดมายเหตุ คำสัมภาษณ์  เอกสารทางราชการ  บันทึกความทรงจำ  กฎหมาย  หนังสือพิมพ์  ภาพยนตร์  สไลด์  วีดิทัศน์       แถบบันทึกเสียง โบราณสถาน  แหล่งโบราณคดี  โบราณวัตถุ
  2. หลักฐานชั้นรองหรือหลักฐานทุติยภูมิ เป็นหลักฐานที่เขียนขึ้นโดยบุคคลที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้นโดยตรง โดยมีการเรียบเรียงขึ้นภายหลังจากเกิดเหตุการณ์นั้นๆ ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของบทความทางวิชาการและหนังสือต่างๆ เช่น พงศาวดาร ตำนาน บันทึกคำบอกเล่า ผลงานทางการศึกษาค้นคว้าของนักวิชาการ  สำหรับหลักฐานชั้นรองนั้นมีข้อดี   คือ  มีความสะดวกและง่ายในการศึกษาทำความเข้าใจ  เนื่องจากเป็นข้อมูลได้ผ่านการศึกษาค้นคว้า  ตรวจสอบข้อมูล  วิเคราะห์เหตุการณ์และอธิบายไว้อย่างเป็นระบบ  โดยนักประวัติศาสตร์มาแล้ว

ลักษณะสำคัญของหลักฐานประวัติศาสตร์ในประเทศไทย

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในประเทศไทย มีอยู่หลายลักษณะ อาจแบ่งลักษณะสำคัญของหลักฐานออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

1. หลักฐานที่ไม่ใช่ลายลักษณ์อักษร ได้แก่

1.1 โบราณสถาน หมายถึง สิ่งก่อสร้างโดยฝีมือมนุษย์ขนาดต่างๆกัน อยู่ติดกับ
พื้นดินไม่อาจนำเคลื่อนที่ไปได้ เช่น กำแพงเมือง คูเมือง วัง วัด ตลอดจนสิ่งก่อสร้างที่อยู่ในวัด 
และวัง เช่น โบสถ์ วิหาร เจดีย์ และที่อยู่อาศัย 
การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับโบราณสถาน จำเป็นต้องเดินทางไปยังสถานที่ตั้งของโบราณสถานนั้นๆ

 

                                     ปราสาทหินพิมาย                                                  ปราสาทหินพนมรุ้ง
ที่มาภาพ  https://www.thaigoodview.com/files/u1300/pimai.jpg      ที่มาภาพ : https://www.kodhit.comimages/stories/travel/
norteast/phasadkhow/12.jpg

1.2 โบราณวัตถุ หมายถึง สิ่งของโบราณที่มีลักษณะต่างๆกัน สามารถนำติดตัว 
เคลื่อนย้ายได้ ไม่ว่าสิ่งของนั้นๆ จะเกิดขึ้นตามธรรมชาติ  เป็นสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น หรือเป็น  ส่วนหนึ่งส่วนใดของโบราณสถาน และสิ่งของที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นเหล่านี้เกิดขึ้นในสมัยประวัติศาสตร์ เช่น พระพุทธรูป เทวรูป รูปเคารพต่างๆ เครื่องประดับ และเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ

               การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับโบราณวัตถุ ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปยังสถานที่ทางประวัติศาสตร์เสมอไป และสามารถไปศึกษาได้จากแหล่งรวบรวมทั้งของราชการ เช่น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

                 

                   เครื่องปั้นดินเผาในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง                    หม้อบ้านเชียง
ที่มาภาพ : https://www.thaitourzone.com/eastnorth/udon/museum.JPG       ที่มาภาพ : https://gaprobot.spaces.live.com/
blog/cns!EDF1593B634FDF0!319.entry

2. หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ 
                2.1 จารึก ในแง่ของภาษาแล้วมีคำอยู่ 2 คำที่คล้ายคลึงและเกี่ยวกับข้องกัน คือ 
คำว่า จาร และจารึก 
คำว่า จาร แปลว่า เขียนอักษรด้วยเหล็กแหลมลงบนใบลาน 
คำว่า จารึก แปลว่า เขียนเป็นรอยลึกลงบนแผ่นศิลาหรือโลหะ

                ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ คำว่า จารึก หมายรวมถึง หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งใช้วิธีเขียนเป็นรอยลึก ถ้าเขียนเป็นรอยลึกลงบนแผ่นหิน เรียกว่า ศิลาจารึก เช่น ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 จารึกพ่อขุนรามคำแหง ถ้าเขียนลงบนวัสดุอื่นๆ เช่น แผ่นอิฐ เรียกว่า จารึกบนแผ่นอิฐ แผ่นดีบุก เรียกว่า จารึกบนแผ่นดีบุก และการจารึกบนใบลาน

                นอกจากนี้ยังมีการจารึกไว้บนปูชนียสถานและปูชนียวัตถุต่างๆ โดยเรียกไปตามลักษณะของจารึกปูชนียวัตถุสถานนั้นๆ เช่น จารึกบนฐานพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย สมัยลพบุรี

จารึกบนฐานพระพุทธรูป วัดป่าข่อย จังหวัดลพบุรี 
ที่มาภาพ : https://pirun.kps.ku.ac.th/~b4927046/mon4_5_clip_image001_0000.jpg

 

 จารึกวัดโพธิ์ จังหวัดนครปฐม 
ที่มาภาพ : https://www.openbase.in.th/files/u10/monstudies035.jpg

                เรื่องราวที่จารึกไว้บนวัสดุต่างๆ ที่พบในดินแดนประเทศไทย ส่วนมากจะเป็นเรื่องราวของพระมหากษัตริย์และศาสนา จารึกเหล่านี้มีทั้งที่เป็นตัวอักษร ภาษาไทย ภาษาขอม ภาษามอญ       ภาษาบาลี และภาษาสันสกฤต จารึกที่ค้นพบในประเทศไทยมีอยู่จำนวนมาก เช่น จารึกสมัย    ทวารวดี จารึกศรีวิชัย จารึกหริภุญชัย  และจารึกสุโขทัย

 

ศิลาจารึกหลักที่ 1 จารึกพ่อขุนรามคำแหง
ที่มาภาพ https://www.thaigoodview.com/library/teachershow/nongkhai/thanagorn_n/plan_history/image/pic1130704120859.jpg

                                2.2 เอกสารพื้นเมือง เอกสารพื้นเมืองนับได้ว่าเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่สำคัญของประเทศไทย มักปรากฏในรูปหนังสือสมุดไทย และเรียกชื่อแตกต่างกันออกไป เช่น ตำนาน พงศาวดาร จดหมายเหตุ ดังมีรายละเอียด ดังนี้

1) ตำนาน เป็นเรื่องที่เล่าถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอดีต เล่าสืบต่อกันมาแต่โบราณจนหาจุดกำเนิดไม่ได้ แต่ไม่สามารถรู้ได้ว่าใครเป็นคนเล่าเรื่องราวเป็นคนแรก สิ่งที่พอจะรู้ได้ก็คือ มีการเล่าเรื่องสืบต่อกันมาเป็นเวลานานพอสมควร จนกระทั่งมีผู้รู้หนังสือได้จดจำและบันทึกลงเป็นลายลักษณ์อักษร ต่อมาจึงมีการคัดลอกตำนานเหล่านั้นเป็นทอดๆไปหลายครั้ง หลายครา ทำให้เกิดมีข้อความคลาดเคลื่อนไปเรื่อย ๆ ดังนั้น  เรื่องที่ปรากฏอยู่ในตำนานจึงอาจถูกเปลี่ยนแปลงไปจากเรื่องเดิม  เนื้อเรื่องของตำนาน ส่วนมากเป็นเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญของบ้านเมืองหรือชุมชนสมัยดั้งเดิมเกี่ยวกับปูชนียสถานและปูชนียวัตถุ หรือเกี่ยวกับพฤติกรรมของบุคคลสำคัญ เช่น พระมหากษัตริย์ วีรบุรุษ โดยสามารถจัดประเภทของตำนานไทยได้ 3 ลักษณะ คือ

1.1) ตำนานในรูปของนิทานพื้นบ้าน เช่น เรื่องพญากง พญาพาน ท้าวแสนปม

1.2) ตำนานในรูปของการบันทึกประวัติของพระพุทธศาสนา จุดมุ่งหมายเพื่อรักษาศรัทธา ความเชื่อ สัญลักษณ์ของพุทธศาสนา เช่น ตำนานพระแก้วมรกต

1.3) ตำนานในรูปของการบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับเหตุการณ์บ้านเมือง ราชวงศ์ กษัตริย์ และเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับมนุษย์และสัตว์ในอดีต เช่น ตำนานสิงหนวัติกุมาร 
ตำนานจามเทวีวงศ์  ตำนานมูลศาสนา ตำนานชินกาลมาลีปกรณ์

                                       2) พงศาวดาร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสให้ความหมายของพงศาวดารว่าหมายถึง เรื่องราวที่เกี่ยวกับพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งสืบสันติวงศ์ลงมาถึงเวลาที่เขียนนั้น แต่ต่อมามีการกำหนดความหมายของพงศาวดารให้กว้างออกไปอีกว่าหมายถึง การบันทึกเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับอาณาจักรและกษัตริย์ที่ปกครองอาณาจักร   พงศาวดารจึงมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีจวบจนกระทั่งสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ 4) สามารถจำแนกพงศาวดารได้ 2 ลักษณะคือ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาและพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ เช่น พงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐ   พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 2 ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ และพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1-4 ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษธิบดี (ขำ บุนนาค) 
อย่างไรก็ตามแม้ว่าหลักฐานประเภทพงศาวดารจะมีข้อบกพร่องอยู่มาก แต่ก็เป็นหลักฐานที่มีประโยชน์ในการศึกษาประวัติศาสตร์

 

                                      พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์         พงศาวดารสกลรัชกาลที่ 2                                                                                                   ที่มาภาพ : https://kanchanapisek.or.th/kp8/
ที่มาภาพ : https://j.static.fsanook.com/category/2008/                                                       culture/sgk/pic/sum1.gif
07/16/5/b/4047205_1.jpg

                                 3) จดหมายเหตุ ในสมัยโบราณจดหมายเหตุ หมายถึง การจดบันทึกข่าวคราวหรือเหตุการณ์เรื่องหนึ่งๆ ที่เกิดขึ้นในวัน เดือน ปีนั้นๆ แต่ในปัจจุบันนี้ความหมายของคำว่า        จดหมายเหตุได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม หมายถึง เอกสารทางราชการทั้งหมด เมื่อถึงสิ้นปีจะต้องนำชิ้นที่ไม่ใช้แล้วไปรวบรวมเก็บรักษาไว้ที่กองจดหมายเหตุแห่งชาติ มีคุณค่าด้านการค้นคว้าอ้างอิงและเอกสารเหล่านี้ เมื่อมีอายุตั้งแต่ 25-50 ปีไปแล้วจึงเรียกว่า จดหมายเหตุหรือบรรณสาร การบันทึกจดหมายเหตุของไทยในสมัยโบราณ   ส่วนมากบันทึกโดยผู้ที่รู้หนังสือและรู้ฤกษ์ยามดี โดยมีการบันทึกวัน เดือน ปี และฤกษ์ยามลงก่อนจึงจะจดเหตุการณ์ที่เห็นว่าสำคัญลงไว้ โดยมากจะจดในวัน เวลา ที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้น หรือในวัน เวลา ที่ใกล้เคียงกันกับที่ผู้จดบันทึกได้พบเห็นเหตุการณ์นั้นๆ ด้วยเหตุนี้ เอกสารประเภทนี้จึงมักมีความถูกต้องในเรื่องวัน เดือน ปี มากกว่าหนังสืออื่นๆ เช่น จดหมายเหตุของหลวง เป็นจดหมายเหตุที่ทางฝ่ายบ้านเมืองได้บันทึกไว้เป็นเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์และบ้านเมือง จดหมายเหตุโหร เป็นเอกสารที่เกิดขึ้นเนื่องจากโหรซึ่งเป็นผู้ที่รู้หนังสือและฤกษ์ยามจดไว้ตลอดทั้งปี และมีที่ว่างไว้สำหรับใช้จดหมายเหตุต่างๆ ลงในปฏิทินนั้น เหตุการณ์ที่โหรจดไว้ โดยมากเป็นเหตุการณ์เกี่ยวกับดวงดาว
 

 จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ 
ที่มาภาพ : https://www.thaispecial.com/bookimages/ ที่มาภาพ : https:// upload.wikimedia.org/wikipedia /
9749353323/cover1.jpg                                          commons/thumb/1/1d/La_Loubere_Kingdom
_of_Siam.jpg/332px-La_Loubere_Kingdom_of_Siam.jpg


       สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช . (2547) . เอกสารการสอนชุดประวัติศาสตร์สังคมและการเมืองไทย           . หน้า 11 – 12.  

       สุจิตต์  วงษ์เทศ และคณะ . (2537) . หนังสือคู่มือครูสังคมศึกษารายวิชา ส 021 หลักฐานประวัติศาสตร์ในประเทศไทย   .หน้า 15 – 16.  

       สุจิตต์  วงษ์เทศ และคณะ . (2537) .หนังสือคู่มือครูสังคมศึกษารายวิชา ส 021 หลักฐานประวัติศาสตร์ในประเทศไทย   . หน้า 17 – 18 .

       สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ. (2518) .ความทรงจำ พระนคร .หน้า 122.

       ดำรงราชานุภาพ , สมเด็จฯกรมพระยา. (2505). ตำนานหนังสือพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ภาคต้น        . หน้า 8 – 9.

       พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน . หน้า 563.

       สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2547). เอกสารการสอนชุดประวัติศาสตร์สังคมและการเมืองไทย             .หน้า 14.

       ทรงสรรค์  นิลกำแหง. (2514). เอกสารบรรณรักษศาสตร์. หน้า 2.


อัพเดทล่าสุด