วันเข้าพรรษา ประวัติ รูปวันเข้าพรรษาแบบการ์ตูน ภาพระบายสีวันเข้าพรรษา


14,185 ผู้ชม


วันเข้าพรรษา ประวัติ รูปวันเข้าพรรษาแบบการ์ตูน ภาพระบายสีวันเข้าพรรษา

 

ประเพณีนิยมในวันเข้าพรรษา

ประเพณีในวันเข้าพรรษา ที่ปฏิบัติกันในคณะสงฆ์โดยเฉพาะนั้น ช่วงเช้าพระภิกษุจะมาประชุมในโบสถ์ เจ้าอาวาสจะเป็นผู้ให้โอวาท และบอกข้อกำหนดใน การประพฤติปฏิบัติตัวในช่วง ๓ เดือน 
นอกจากนี้ยังมีธรรมเนียมสงฆ์ที่ปฏิบัติ สืบต่อกันมาจนเป็นประเพณีที่ดีงามในวันเข้าพรรษา อีกหลายพิธีได้แก่
๑. การอธิษฐานพรรษา
ก่อนเข้าพรรษาอย่างน้อย ๗ วัน พระเถระสมัยโบราณโดยเฉพาะหลวงปู่วัดปากน้ำ ท่านจะให้ทบทวนความประพฤติของตนเองว่า มีข้อบกพร่องในเรื่องใด พอถึงวันเข้าพรรษาก็นำเรื่อง ที่ทำให้เสียหายมากที่สุด มาอธิษฐานเป็น บทฝึกตัวประจำพรรษา คือตั้งใจงดเว้นหรือ เลิกความประพฤติ นั้นๆ ให้ได้ตลอดสามเดือน
๒. พิธีขอขมา
มีพิธีขอขมากันของพระผู้ใหญ่และพระผู้น้อย เพราะแม้ว่าจะปรารถนาดีต่อกัน แต่เมื่อยังไม่หมดกิเลส ก็อาจมีการล่วงเกินกันบ้าง ก็จะได้ใช้โอกาสนี้ มาขอขมาซึ่งกันและกัน เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขและเพื่อความเจริญก้าวหน้าในพระธรรมวินัย ต่อไป 
๓. พิธีขอนิสัย
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรง ให้ความสำคัญกับการถ่ายทอดนิสัย หรือการถ่ายทอดคุณธรรมมาก นอกจากจะทรงให้ พระผู้ใหญ่ทำหน้าที่ถ่ายทอด ความรู้ทางด้านธรรมะให้พระผู้น้อยแล้ว พระองค์ยังทรงให้ถ่ายทอดนิสัยดีๆ ให้อีกด้วย ดังนั้นใน วันเข้าพรรษานี้ จึงมีประเพณีสำหรับพระพรรษา ๑ ถึงพรรษา ๕ เรียกว่า พิธีขอนิสัย

ข้อปฏิบัติของคณะสงฆ์ที่ดีงาม ซึ่งถ่ายทอดผ่านธรรมเนียมประเพณีในวันเข้าพรรษานี้ ปู่ย่าตาทวดให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก นอกจากฝ่ายชายที่มีอายุครบ ๒๐ ปี จะมาบวชเป็นพระภิกษุแล้ว ท่านที่ไม่ได้บวชทั้งฝ่ายหญิงฝ่ายชาย ก็อธิษฐานตัดใจหักดิบเลิกอบายมุข ทุกชนิดอย่างเด็ดขาด บางท่านอธิษฐานรักษาศีล ๕ หรือศีล ๘ ตลอดทั้งพรรษา บางท่านอธิษฐานนั่งสมาธิวันละหนึ่งชั่วโมงตลอดทั้งพรรษา คือปู่ย่าตาทวดท่านทุ่มเทจิตใจ เพื่ออบรมศีลธรรม ให้แก่ตนเองอย่างเข้มข้น 
ข้อคิดที่ได้จากตรงนี้ ก็คือ หากครอบครัวใด หรือสถาบันการศึกษาใด นำประเพณีของ พระภิกษุในช่วงเข้าพรรษานี้ไปประพฤติปฏิบัติอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะการอธิษฐานจิตหักดิบ เลิกอบายมุขทุกประเภท และตั้งใจทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา กันตลอดทั้งพรรษา ย่อมจะเกิดประโยชน์ทั้งในด้านครอบครัว การศึกษา การอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ซึ่งจะส่งผลดีต่อสังคม โดยรวมอย่างยิ่งต่อไป และย่อมจะส่งผลถึงการสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวต่อไป ตราบชั่วลูกชั่วหลานนานนับพันปี

 


แหล่งที่มา : inno.pyo1.go.th

อัพเดทล่าสุด