ภาพระบายสีวันอาสาฬหบูชา วันอาสาฬหบูชา เวียนเทียนไหม ภาพวาดวันอาสาฬหบูชา


4,475 ผู้ชม


ภาพระบายสีวันอาสาฬหบูชา วันอาสาฬหบูชา เวียนเทียนไหม ภาพวาดวันอาสาฬหบูชา

 

อาสาฬหบูชาทำบุญเวียนเทียน..ณ..พระอุโบสถวัดระฆังโฆสิตาราม

 

26 กรกฎาคม สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ไปในพิธีเจริญพระพุทธมนต์ ทรงสดับพระธรรมเทศนา เนื่องในวันอาฬหบูชา ณ พระอุโบสถวัดระฆังโฆสิตาราม เขตบางกอกน้อย

ประชาชนต่างส่งเสียงทรงพระเจริญดังกึกก้อง จากนั้นเสด็จฯ เข้ายังพระอุโบสถ ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระพุทธปฏิมาประธานพระอุโบสถ ทรงกราบ เสร็จแล้วเจ้าพนักงานอาราธนาพระปริตร จากนั้น พระสงฆ์และสามเณรวัดระฆังโฆสิตาราม จำนวน 115 รูป เจริญพระพุทธมนต์ เสร็จแล้วทรงจุดธูปเทียนเครื่องทรงธรรม พระธรรมธีรราชมหามุนี เจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม ขึ้นนั่งยังธรรมาสน์ ถวายศีลและถวายพระธรรมเทศนา เรื่อง พาลปัญฑิตกถา โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับ คนโง่และคนฉลาด โดยทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นเพราะความฉลาดมักลงเอยด้วยความร่มเย็นเป็นสุข และความพอใจของทุกฝ่าย ในทางตรงกันข้าม ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นเพราะความโง่ ย่อมจบลงด้วยความผิดหวังเสียใจ และความลำบากเดือดร้อนเสมอ (ภาพจากผู้จัดการ เนื้อหาจากมติชน)

จากนั้นเสด็จฯ ไปทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมบูชากัณฑ์เทศน์และจตุปัจจัยไทยธรรมแด่พระสงฆ์ ทรงหลั่งทักษิโณทก ทรงกราบที่หน้าเครื่องนมัสการ ทรงลาพระสงฆ์ ก่อนเสด็จประทับรถยนต์พระที่นั่งเสด็จพระราชดำเนินกลับ

ช่วงระหว่างนั้น ข้าพเจ้าหลบสายฝนที่โปรยปรายมาตลอดเวลา ที่ศาลาท่าน้ำ เพื่อรอการเวียนเทียนรอบพระอุโบสถ รอจนนาน ฝนก็ไม่มีทีท่าว่าจะหยุดจึงเดินเวียนเทียนท่ามกลางสายฝน และเข้าไปภายในพระอุโบสถ

วัดระฆังโฆสิตาราม นั้นเดิมเรียกว่า วัดบางหว้าใหญ่ เป็นวัดโบราณครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี คู่กับวัดบางหว้าน้อย คือ วัดอมรินทราราม ปีพุทธศักราช ๒๓๑๐ กรุงศรีอยุธยาเสียกรุงแก่พม่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ทรงกู้อิสรภาพของไทยกลับคืนมาได้ และเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ พร้อมกับตั้งพระนครหลวงขึ้นใหม่เรียกว่า กรุงธนบุรี เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๓๑๑

พุทธศักราช ๒๓๑๒ หลังจากที่ทรงขึ้นครองราชย์แล้วก็ทรงใฝ่พระทัยในพระพุทธศาสนา พระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์ยกวัดบางหว้าใหญ่ซึ่งเดิมเป็นวัดราษฎร์ขึ้นเป็นพระอารามหลวง และทรงมีพระราชปรารภว่า พระไตรปิฎกคงกระจัดกระจายเสียหายเมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาให้แก่พม่า เพราะพม่าได้เผาบ้านเมืองและวัดวาอารามพินาศลง จึงมีพระราชประสงค์จะรวบรวมชำระสอบทานพระไตรปิฎกนั้นให้ถูกต้องครบถ้วนตามเดิม และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไปอัญเชิญพระไตรปิฎกจากเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งยังมีบริบูรณ์อยู่เพราะพม่ายังไปทำลายไม่ถึง ประจวบกับสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีต้องเสด็จพระราชดำเนินไปทำสงครามที่เมืองนครศรีธรรมราช เมื่อเสร็จราชการสงครามแล้วได้ทรงพบพระอาจารย์รูปหนึ่งมีชื่อว่า พระอาจารย์สี แต่เดิมพระอาจารย์สีรูปนี้อยู่ประจำที่วัดพนัญเชิง แขวงเมืองกรุงเก่า เป็นผู้มีความสามารถแตกฉานในพระไตรปิฎก ทั้งเป็นผู้ทรงคุณทางวิปัสสนาธุระ ซึ่งพระองค์ทรงรู้จักดี เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าแล้ว ท่านได้หลีกไปอยู่ที่เมืองนครศรีธรรมราช สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงให้รวบรวมพระไตรปิฎกจากนครศรีธรรมราชได้แล้ว เสด็จกลับกรุงธนบุรีพร้อมกันนั้นก็ได้อาราธนาพระอาจารย์สีร่วมมาในขบวนนั้นด้วยและโปรดเกล้าฯ ให้ครองวัดบางหว้าใหญ่ พร้อมทั้งทรงตั้งให้เป็นสมเด็จพระสังฆราชด้วย

ต่อมามีการสังคายนาพระไตรปิฎกจนสำเร็จเรียบร้อยบริบูรณ์ เป็นต้นฉบับที่ถูกต้องตามพระราชประสงค์ ณ วัดบางหว้าใหญ่ นี้เอง

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้เสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕ แล้วได้ทรงย้ายเมืองหลวงจากกรุงธนบุรีมาตั้งใหม่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เรียกชื่อว่า กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ฯ และทรงโปรดเกล้าฯ ให้อาราธนาสมเด็จพระสังฆราช (สี) ที่ถูกถอดยศในสมัยของพระเจ้ากรุงธนบุรี มาครองวัดบางหว้าใหญ่ตามเดิม และรับสั่งให้พระสงฆ์วัดบางหว้าใหญ่และวัดโพธาราม (ปัจจุบัน คือ วัดพระเชตุพน อยู่ตรงท่าเตียน) เข้ารับบิณฑบาตในพระราชวัง ผลัดเวรกันวัดละ ๗ วัน สมเด็จพระสังฆราช (สี) นี้ จึงนับว่าเป็นปฐมสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์

นยุคต้นแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ วัดบางหว้าใหญ่นี้เป็นวัดในความอุปถัมภ์ของเจ้านายในวังหลัง สมเด็จเจ้าฟ้าหญิง กรมพระยาเทพสุดาวดี พระนามเดิม สา เป็นสมเด็จพระพี่นางพระองค์ใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และเป็นพระชนนีของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข (วังหลัง) ทรงมีตำหนักที่ประทับอยู่ใกล้กับวัดบางหว้าใหญ่ จึงได้ทรงปฏิสังขรณ์ทั่วพระอาราม ส่วนพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเจริญด้วยพระราชศรัทธาได้ทรงสร้างพระปรางค์ใหญ่ขึ้น ๑ องค์ ที่หน้าพระอุโบสถ (หลังเก่า) พระราชทานช่วยสมเด็จพระพี่นางพระองค์นั้นและได้มีพระราชดำรัสสั่งให้รื้อตำหนักปิดทองที่เรียกกันว่า ตำหนักทอง อันเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ซึ่งตั้งอยู่ในพระราชวังเดิมมาปลูกไว้ที่วัดระฆังโฆสิตาราม ทางด้านทิศใต้ของพระอุโบสถ ทรงอุทิศเป็นสังฆบูชาถวายให้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช (สี)

รั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงพระประชวร ใกล้จะสวรรคต จึงมีพระราชดำรัสสั่งว่า ฉัตรกั้นพระเมรุ เมื่อเสร็จการพระเมรุแล้ว ขอให้นำไปถวายพระประธานวัดระฆัง ครั้นถึงวันพฤหัสบดี แรม ๓ ค่ำ เดือน ๙ พุทธศักราช ๒๓๕๒ ก็ทรงสวรรคต เหตุนี้ฉัตรกั้นพระประธานในพระอุโบสถวัดพระระฆังโฆสิตารามจึงเป็นเสวตฉัตร ๙ ชั้น แต่เดิมเศวตฉัตรองค์นี้กั้นถวายพระประธานในพระอุโบสถหลังเก่า (ปัจจุบันเป็นพระวิหาร) ต่อมาในรัชกาลที่ ๓ เกิดไฟไหม้เสนาสนะสงฆ์ ลุกลามตั้งแต่ทิศใต้อ้อมไปจนถึงทิศตะวันตก ใกล้จะถึงตำหนักจันทน์ (หอพระไตรปิฎก) ไฟจึงดับลง ตำหนักทองซึ่งเคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในพระราชวังเดิม ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดให้รื้อมาปลูกไว้ที่วัดระฆังโฆสิตารามก็ถูกไฟไหม้ด้วย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระอุโบสถขึ้นใหม่ และขยายเขตวัดทางด้านทิศเหนือให้กว้างออกไป พร้อมกันนั้น กรมหมื่นนราเทเวศร์ (ได้ทรงกรมหลวงในรัชกาลที่ ๓) พระโอรสในกรมพระราชวังหลัง เจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ ได้ทรงสร้างพระเจดีย์โดยเสด็จพระราชกุศลกรมละหนึ่งองค์ภายในกำแพงพระอุโบสถด้านทิศเหนือ และได้ทรงสร้างเสนาสนะสงฆ์เพิ่มขึ้นอีกในเนื้อที่ที่ได้ขยายออกไป ได้อัญเชิญพระประธานหล่อมาประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถที่ทรงสร้างขึ้นใหม่จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้นำเศวตฉัตรในพระอุโบสถหลังเก่ามากั้นพระประธานองค์ใหม่ พระประธานองค์เก่านั้น ของเดิมองค์เล็ก ปั้นด้วยปูน มีเสาหินขนาดย่อมเป็นแกน ไม่ใหญ่โตอย่างเดี๋ยวนี้ และผุพังทรุดโทรมมาก


แหล่งที่มา : oknation.net

อัพเดทล่าสุด