ประวัติวันอาสาฬหบูชา ประวัติ วันอาสาฬหบูชา ประวัติวันอาสาฬหบูชา 2555
ประวัติความเป็นมาของวันอาสาฬหบูชาและประวัติวันเข้าพรรษา
เพราะเป็นวันแรกที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเทศนาหรือหลักธรรมที่ทรงตรัสรู้ได้
2 เดือนเป็นครั้งแรกแก่เบญจวัคคีย์ทั้ง 5 ณ มฤคทายวัน ตำบลอิสิปตนะ เมืองพาราณสี
ในชมพูทวีป ปัจจุบันตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนการใช้พุทธศักราชถึง
45 ปี
เหตุที่ธรรมเทศนาของพระพุทธองค์มีความสำคัญ เพราะพระพุทธองค์ทรง
เปรียบดังผู้ทรงเป็นธรรมราชา ทั้งยังเป็นผู้เริ่มต้นแผ่ขยายอาณาจักรแห่งธรรม
ที่นำมาซึ่งความสงบสุขร่มเย็น ดังนั้นธรรมเทศนาที่ทรงแสดงครั้งแรกจึงได้ชื่อ
ว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แปลว่าพระสูตรแห่งการหมุนวงล้อธรรมหรือพระสูตร
แห่งการแผ่ขยายธรรมจักร
โดยในตอนแรกนั้นเหล่าพระปัญจวัคคีย์ยังไม่เชื่อว่าพระพุทธองค์ทรงเป็นอรหันต์
แต่เมื่อได้ฟังการเทศนาจนจบ พระโกณฑัญญะ หนึ่งในปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ที่ประกอบไปด้วย
พระโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม
และเมื่อพระโกณทัญญะได้ดวงตาเห็นธรรมจึงขออุปสมบทเป็นพระภิกษุใน
พระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าก็ได้ประทานอุปสมบทให้ด้วยวิธีที่เรียกว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา
พระโกณฑัญญะจึงได้เป็น พระอริยสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา ต่อมาพระวัปปะ
พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม และได้อุปสมบทตามลำดับ
ใจความสำคัญของการปฐมเทศนาก็คือ การสอนหลักมัชฌิมาปฏิปทาหรือ
การดำเนินตามทางสายกลางโดยไม่หลงใน รูป รส กลิ่น เสียง และไม่ทรมานตน
ให้เกิดความลำบาก อาทิ การบำเพ็ญตบะหรือการคอยพึ่งแต่อำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์
เป็นต้น อีกหลักหนึ่งก็คือ อริยสัจ 4 ที่ได้ทรงค้นพบด้วยตัวพระองค์เองโดยมีความหมาย
ว่า ความจริงอันประเสริฐของอริยะ นั่นก็คือบุคคลที่ห่างไกลจากกิเลสนั่นเอง ได้แก่
1. ทุกข์ คือ ปัญหาทั้งหลายที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ ซึ่งเราต้องรู้เท่าทันตามความเป็น
จริงว่ามันคืออะไร ต้องยอมรับและกล้าเผชิญหน้ากับมัน รวมถึงการไม่ยึดติด
2. สมุทัย คือ เหตุเกิดแห่งทุกข์หรือต้นเหตุของปัญหา ซึ่งเกิดจากตัณหาหรือความอยากมีอยากได้
3. นิโรธ คือ ความดับทุกข์ โดยการรู้เท่าทันโลกและชีวิต อีกทั้งต้องดำเนินชีวิตด้วยการใช้ปัญญา
4. มรรค คือ กระบวนวิธีแห่งการแก้ปัญหาโดยใช้ มรรคมีองค์ 8 ได้แก่
-
- สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) คือ รู้เข้าใจถูกต้อง เห็นตามที่เป็นจริง
-
- สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ) คือ คิดสุจริตตั้งใจทำสิ่งที่ดีงาม
-
- สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) คือ กล่าวคำสุจริต
-
- สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ) คือ ทำการที่สุจริต
-
- สัมมาอาชีวะ (อาชีพชอบ) คือ ประกอบสัมมาชีพหรืออาชีพที่สุจริต
-
- สัมมาวายามะ (พยายามชอบ) คือ เพียรละชั่วบำเพ็ญดี
-
- สัมมาสติ (ระลึกชอบ) คือ ทำการด้วยจิตสำนึกเสมอ ไม่เผลอพลาด
-
- สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ) คือ คุมจิตให้แน่วแน่มั่นคงไม่ฟุ้งซ่าน
การถือปฏิบัติวันอาสาฬหบูชาในประเทศไทย
พิธีวันอาสาฬหบูชาเริ่มกำหนดเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาขึ้นเป็นครั้ง
แรกในประเทศไทย เมื่อพุทธศักราช 2501 โดยพระธรรมโกศาจารย์ (ชอบ อนุจารี)
ครั้งดำรงตำแหน่งสังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การศึกษาได้เสนอคณะสังฆมนตรี ให้เพิ่ม
วันศาสนพิธีทำพุทธบูชาขึ้น อีกวันหนึ่ง คือ วันธรรมจักร หรือวันอาสาฬหบูชา ด้วย
เป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมจักกัปปวัตนสูตร คณะสังฆมนตรีลงมติรับ
หลักการให้เพิ่มวันอาสาฬหบูชาและให้ถือเป็นหลักปฏิบัติในเวลาต่อมา โดยออกเป็น
ประกาศคณะสงฆ์ เรื่อง กำหนดวันสำคัญทางศาสนา เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2501
และในวันเดียวกันนั้นได้มีประกาศสำนักสังฆนายก กำหนดระเบียบปฏิบัติในพิธีอาสาฬหบูชา
ขึ้นไว้ให้วัดทุกวัดถือปฏิบัติทั่วกัน กล่าวคือก่อนถึงวันอาสาฬหบูชา 1 สัปดาห์ให้เจ้าอาวาส
แจ้งแก่พระภิกษุสามเณรตลอดจนศิษย์วัด คนวัดช่วยกันปัดกวาด ปูลาดอาสนะ จัดตั้งเครื่อง
สักการะให้ประดับธงธรรมจักรรอบพระอุโบสถตลอดวัน ทั้งเวลาเช้าและเวลาบ่ายให้มีการ
ฟังธรรมตามปกติ เวลาค่ำให้ภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา มาประชุมพร้อมกันที่หน้า
พระอุโบสถ หรือพระเจดีย์ จุดธูปเทียนแล้วถือรวมกับดอกไม้ยืนประนมมือสำรวมจิต
โดยพระสงฆ์ผู้เป็นประธานนำกล่าวคำบูชาจบแล้วทำประทักษิณ
ครั้นแล้วให้ภิกษุสามเณรเข้าไปบูชาพระรัตนตรัยทำวัตรค่ำแล้ว สวดธรรมจักร
กัปปวัตนสูตร จบแล้วให้อุบาสก อุบาสิกาทำวัตรค่ำ ต่อจากนั้นให้พระสังฆเถระ
แสดงพระธรรมเทศนาธรรมจักรกัปปวัตนสูตรแล้ว ให้พระภิกษุสามเณรสวดธรรม
จักรกัปปวัตนสูตรทำนองสรภัญญะ เพื่อเจริญศรัทธาปสาทะของพุทธศาสนิกชน
จบแล้ว ให้เป็นโอกาสของพุทธศาสนิกชนเจริญภาวนามัยกุศล มีสวดมนต์สนทนาธรรม
บำเพ็ญสมถะและวิปัสสนา เป็นต้น ตามควรแก่อัธยาศัยให้ใช้เวลาทำพิธีอาสาฬหบูชา
ไม่เกิน เวลา 24.00 น. และได้มีการทำพิธีอาสาฬหบูชาอย่างกว้างขวาง นับแต่นั้นมา
ทางราชการ ได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีให้มีการชักธงชาติ ถวายเป็นพุทธบูชาในวันนี้ด้วย
แหล่งที่มา : oknation.net