บทความวันสำคัญ วันสำคัญ เดือนตุลาคม วันสำคัญประจำเดือนสิงหาคม


887 ผู้ชม


บทความวันสำคัญ วันสำคัญ เดือนตุลาคม วันสำคัญประจำเดือนสิงหาคม

 

วันสำคัญในเดือนตุลาคม
6 ตุลาคม วันครูสากล
10 ตุลาคม วันสุขภาพจิตแห่งโลก
13 ตุลาคม วันตำรวจไทย , วันสารทไทย (วันแรม 15 ค่ำ เดือน 10)
14 ตุลาคม วัน 14 ตุลา ประชาธิปไตย
18 ตุลาคม ครบรอบ 200 ปี วันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย"
19 ตุลาคม วันเทคโนโลยี เพื่อเทอดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช "พระบิดาแห่งเทคโนโลยีไทย"
19-23 ตุลาคม งานสัปดาห์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี
21 ตุลาคม วันครบรอบ 104 ปี วันพระราชสมภพสมเด็จย่า, วันพยาบาลแห่งชาติ,วันสังคมสงเคราะห์แห่งชาติ, วันรักต้นไม้แห่งชาติ, วันทันตสาธารณสุขแห่งชาติ
23 ตุลาคม วันปิยมหาราช
24 ตุลาคม วันสหประชาชาติ
28 ตุลาคม วันออกพรรษา (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11)  
วันนี้ในอดีต
2 ตุลาคม 2499
มีการเปิดตัวนาฬิกาปรมาณู (Atomic clock) เรือนแรกชื่อ Atomicron ที่ Overseas Press Club กรุงนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
2 ตุลาคม 2485
มีการสาธิต การเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์แบบต่อเนื่อง ได้เป็นครั้งแรกที่เมืองชิคาโก สหรัฐอเมริกา
2 ตุลาคม 2479
มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงแอลกอฮอล์เครื่องแรก ที่เมือง Atchison มลรัฐ Kansas สหรัฐอเมริกา
3 ตุลาคม 2495
อังกฤษ ทดลองระเบิดปรมณูลูกแรก ชื่อ เฮอริเคน (Hurricane) ที่ Monte Bello ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเป็นประเทศที่ 3 ในโลกที่ได้ทำการทดลอง โดยใช้เชื้อเพลิงเป็นพลูโตเนียม เช่นเดียวกับ Fatman ของสหรัฐ เชื้อเพลิงพลูโตเนียม ผลิตในประเทศอังกฤษ ที่เมือง Windscale (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น Sellafield) โดยเฮอริเคนถูกวางอยู่ในลำเรือที่จอดอยู่ที่ความลึก 40 ฟุต ห่างจากฝั่ง 400 หลา การระเบิดเกิดขึ้นที่ความลึก 9 ฟุต จากผิวน้ำ แรงระเบิดทำให้เกิดหลุมลึก ที่ก้นทะเลขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1,000 ฟุต ลึก 20 ฟุต 
4 ตุลาคม 2500
เริ่มยุคอวกาศของโซเวียต และทำให้เกิดความกลัวขึ้นในอเมริกา เมื่อโซเวียตส่งยานอวกาศลำแรกชื่อ สปุตนิค (Sputnik) จากคาซัคสถาน (Kazakhstan) ขึ้นสู่วงโคจรรอบโลก โดยใช้เวลา 95 นาที ในการโคจรหนึ่งรอบ หรือ 2,000 ไมล์ต่อชั่วโมง ที่ความสูง 500 ไมล์ จากพื้นโลก ยานสปุตนิคใช้เวลาอยู่บนอวกาศนาน 3 เดือน ก่อนจะตกลงสู่พื้นโลก เมื่อวันที่ 4 มกราคม2501
4 ตุลาคม 2477 
Enrico Fermi ทำการวัดความเร็วของนิวตรอนออกมาได้
9 ตุลาคม 2518
Andrei Sakharov บิดาแห่งระเบิดไฮโดรเจนของโซเวียต เป็นนักวิทยาศาสตร์โซเวียตคนแรก ที่ได้รับรางวัลโนเบล ในข้อเขียนที่ไม่เห็นด้วย กับรัฐบาลโซเวียต โดยในปี 2500 เขาได้เขียนบทความแสดงถึงผลกระทบของรังสีระดับต่ำ คณะกรรมการรางวัลโนเบล ได้ยกย่องให้เขาเป็น ผู้ที่มีความรับผิดชอบต่อมนุษยชาติ ขณะที่รัฐบาลโซเวียต ไม่อนุญาตให้เขาไปรับรางวัลโนเบล ที่ประเทศนอร์เวย์  
10 ตุลาคม 2506
มีการตกลงทำสนธิสัญญา จำกัดการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ the Limited Nuclear Test Ban Treaty (LTBT) โดยรัฐบาล อังกฤษ อเมริกา และโซเวียต ซึ่งมีการห้ามการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ ในบรรยากาศ ในอวกาศ และใต้ทะเล  
13 ตุลาคม 2528
ห้องปฏิบัติการ Fermi National Accelerator Laboratory มลรัฐ Illinois ได้ตรวจพบปฏิกิริยาการชนของ proton-antiproton เป็นครั้งแรก โดยใช้ the Collider Detector ของ Fermilab (CDF) โดยใช้เครื่องเร่งอนุภาคขนาด 1.6 TeV ซึ่งสามารถตรวจวัดได้ 23 ครั้ง ในปี 2528 เครื่อง Tevatron ที่ใมีความยาว 4 ไมล์ เป็นเครื่องเร่งอนุภาค ที่มีพลังงานสูงที่สุดในโลก ใช้เครื่องทำความเย็นขนาดใหญ่ที่สุด ในตอนที่เริ่มเดินเครื่องในปี 2526 โดยใช้ superconducting magnets 1,000 ชุด ทำความเย็นด้วยฮีเลียมเหลวที่มีอุณหภูมิ-268 องศาเซลเซียส  
17 ตุลาคม 2499
พระราชินีนาถของประเทศอังกฤษ ได้ทรงทำพิธีเปิดการเดินเครื่อง โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เครื่องแรกของอังกฤษ ที่ Calder Hall ต่อหน้าฝูงชนนับพัน นักวิทยาศาสตร์ และผู้แทนจาก 40 ประเทศ ที่เข้าร่วมงาน โรงไฟฟ้าโรงนี้ปิดตัวลง เมื่อวันี่ 31 มีนาคม 2546
17 ตุลาคม 2498
มีการค้นพบอนุภาคภายในอะตอม ซึ่งเป็นโปรตอนประจุลบ (negative proton) หรือ antiproton ที่ U.C. Berkeley  
23 ตุลาคม 2346
จอห์น ดาลตัน (John Dalton) เขียนบทความรื่องการดูดกลืนกาซของน้ำ ทำให้เขาสามารถได้ข้อสรุป น้ำหนักของธาตุและสารประกอบออกได้ 21 ชนิด  
25 ตุลาคม 2505
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์โรงแรกของเบลเยียม ชื่อ BR-3 เริ่มเดินเครื่องอย่างเป็นทางการ ซึ่ง BR-3 นี้เป็นโรงไฟฟ้าชนิด Pressurized Water Reactor เครื่องแรกของยุโรป BR-3 หยุดการเดินเครื่องเมื่อ 30 มกราคม 2530 เนื่องจากใบอนุญาตของบริษัท Westinghouse หมดอายุ BR-1 เป็นเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัย เดินเครื่อง เมื่อปี 2499 ด้วยกำลัง 4 MW ขณะที่BR-2 เป็นเครื่องปฏิกรณ์สำหรับทดสอบวัสดุ เริ่มเดินเครื่องเมื่อปี 2506 ด้วยกำลัง 80 MW ปัจจุบันประเทศเบลเยียมใช้ไฟฟ้า 55% จากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 7 โรง ให้กำลังไฟฟ้า 44 TWh  
27 ตุลาคม 2505
ประเทศไทย เริ่มมีเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู เพื่อทำการวิจัยเป็นครั้งแรก โดยคณะรัฐมนตรี อนุมัติให้คณะกรรมการ ทำสัญญา ว่าจ้างการก่อสร้าง อาคารเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูในพ.ศ.2503 จนกระทั่งแล้วเสร็จ และเดินเครื่องเข้าสู่ภาวะวิกฤติเป็นครั้งแรก เมื่อเวลา 18.32 น. ของวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2505 โดยมีชื่อเป็นทางการว่า "เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัย-1" หรือชื่อย่อว่า "ปปว.-1" ต่อมาเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2520 ได้ทำการเปลี่ยนแปลง แกนเครื่องปฏิกรณ์ฯ ใหม่ จึงมีชื่อใหม่ว่า "เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัย-1 ปรับปรุงครั้งที่ 1" ชื่อย่อว่า "ปปว-1/1" หรือชื่อสากลว่า "Thai Research Reactor-1/Modification 1" ชื่อย่อสากลว่าTRR-1/M1
28 ตุลาคม 2489
พลเรือน 5 คน ได้รับแต่งตั้งจากประธานาธิบดีทรูแมน ให้เป็นคณะกรรมการพลังงานปรมาณู ตามกฎหมายพลังงานปรมาณูของสหรัฐอเมริกา ทำให้มีการพัฒนา และการใช้ประโยชน์จากพลังงานปรมาณู ในการปรับปรุงคุณภาพชีวิต ยกระดับมาตรฐานการดำรงชีวิต เปิดโอกาสให้มีการแข่งขันในภาคเอกชน และส่งเสริมสันติภาพของโลก โดยมีการประชุมครั้งแรก เมื่อ 13 พฤศจิกายน 2489 แม้ว่าจะได้รับการรับรองจากสภาในภายหลัง มื่อ 9 เมษายน 2490 ประธานคนแรกคือ David Eli Lilienthal 
30 ตุลาคม 2504
สหภาพโซเวียต ทดลองระเบิดไฮโดรเจนขนาด 58 เมกกะตัน ที่ Novaya Zemlya ซึ่งเป็นระเบิดนิวเคลียร์ขนาดใหญ่ที่สุด เท่าที่เคยทดลองมา 

 

แหล่งที่มา : rmutphysics.com

อัพเดทล่าสุด