ข่าววันวิสาขบูชาโลก เหตุการณ์สําคัญในวันวิสาขบูชา ความเป็นมาวันวิสาขบูชา


719 ผู้ชม


ข่าววันวิสาขบูชาโลก เหตุการณ์สําคัญในวันวิสาขบูชา ความเป็นมาวันวิสาขบูชา

 


     
 

ความสำคัญของวันวิสาขบูชา

 

news25_01.jpg
ประสูติ
news25_02.jpg
ตรัสรู้
news25_03.jpg
ปรินิพพาน

 

 

 

 

"วันวิสาขบูชา" ย่อมาจาก วิสาขปุรณมีบูชา แปลว่า " การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" หนึ่ง ในวันสำคัญของพระพุทธศาสนา เนื่องจากเป็นวันที่สมเด็จพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ซึ่งเกิดขึ้นในวันและเดือนเดียวกันคือ ขึ้น15 ค่ำ เดือน 6 แต่ต่างกันแค่ช่วงเวลา นั่นคือ

1. วันประสูติ เมื่อพระนางสิริมหามายาอัครมเหสีในพระเจ้าสุโททะนะ ทรงมีพระประสูติกาลคือ เจ้าชายสิทธัตถะ ณ ป่าลุมพินีวัน ซึ่งเป็นดินแดนระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ กับกรุงเทวทหะ ปัจจุบันเรียกว่า ตำบลรุมมินเด แขวงเปชวาร์ ประเทศเนปาล ครั้งนั้นตรงกับวันศุกร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี

2. วันตรัสรู้ หลังจากที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงถือเพศฆราวาสมา 29 พรรษา จนมีพระโอรสคือ พระราหุล แล้วทรงเบื่อหน่ายทางโลก จึงเสร็จออกบรรพชา ทรงประจักษ์หลักธรรมขึ้นในพระปัญญา และตรัสรู้เป็นพระสัพพัญญูสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยสมบูรณ์ ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวฬาเสนานิคม (ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย) ตรงกับ วันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี (ขณะนั้นพระพุทธองค์มีพระชนมายุได้ 35 พรรษา หลังจากออกผนวช ได้ 6 ปี )

3. วันปรินิพพาน หลังจากพระพุทธองค์ทรงใช้เวลาทั้งหมดเผยแผ่พุทธศาสนาและสั่งสอนธรรมแก่ ประชาชน จนพระชนมายุได้ 80 พรรษาก็เสร็จดับขันธปรินิพาน ณ สาลวโนทยาน แขวงเมืองกุสินารา แคว้นมัลละ (ปัจจุบันอยู่ในเมือง กุสีนคระ) แคว้นอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย ตรงกับวันอังคารขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง ก่อนพุทธศักราช 1 ปี

เหตุการณ์สำคัญ ทั้งสามนี้ เกิดขึ้นในวันและเดือนเดียวกันทั้งทางจันทรคติที่นับวันขึ้นแรม ตามวิถีการโคจรของดวงจันทร์ และทางสุริยคติ ซึ่งนับวัน เดือน ปี ตามวิถีโคจรของดวงอาทิตย์ ความประจวบเหมาะของเวลาเช่นนี้ นับเป็นเรื่องอัศจรรย์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นกับผู้หนึ่งผู้ใดมาก่อน และเหตุการณ์หนึ่งเหตุการณ์ใดมาก่อนจนตราบเท่าปัจจุบัน

 

news25_04.jpg
news25_05.jpg

 

สำหรับ ธรรมเนียมการปฏิบัติในวันวิสาขบูชา ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน พุทธศาสนิกชนไม่ว่าจะเป็นบรรพชิต (พระสงฆ์ สามเณร) หรือ ฆราวาส (ผู้ครองเรือน) ทั่วไป จะร่วมกันประกอบพิธีสักการบูชาเป็นพิเศษเพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณา พระปัญญาคุณ และพระวิสุทธิคุณ ของพระพุทธเจ้าผู้เป็นเสมือนดวงประทีปของโลก

news25_06.jpg

นอก จากนี้ การประกอบพิธีและบทสวดมนต์ในวันวิสาขบูชา ก็ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติเช่นเดียวกับการประกอบพิธีในวันมาฆบูชา คือ การทำบุญตักบาตร กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล , เวียนเทียน, ฟังพระธรรมเทศนา และปฏิบัติธรรม

อ้างอิงข้อมูล 
ประเพณี พิธีมงคล และวันสำคัญของไทย. กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก, 2539. ประเพณีและพิธีมงคลไทย. กรุงเทพฯ : ธรรมบรรณาคาร, 2518.

แหล่งข้อมูลและภาพประกอบ 

https://www.banfun.com/buddha/visaka.html
https://www.heritage.thaigov.net/religion/daytime
https://www.dhammathai.org/day/visaka


อัพเดทล่าสุด