โรคลำไส้แปรปรวน วิธีรักษาโรคลำไส้แปรปรวน ยารักษาโรคลำไส้แปรปรวน


3,204 ผู้ชม


โรคลำไส้แปรปรวน วิธีรักษาโรคลำไส้แปรปรวน ยารักษาโรคลำไส้แปรปรวน

 


โรคไอบีเอส (IBS) หรือในชื่อไทยคือโรคลำไส้ทำงานแปรปรวน 

โรคไอบีเอส (IBS) หรือชื่อเต็มภาษาอังกฤษคือโรค Irritable Bowel Syndrome หรือในชื่อไทยคือโรคลำไส้ทำงานแปรปรวน โรคนี้ไม่ได้เป็นโรคใหม่ แต่เป็นโรคที่มีมานานแล้วเป็นโรคที่วินิจฉัยได้ยาก อาการของโรคไม่มีความเฉพาะเจาะจง แพทย์จึงไม่ค่อยได้มีการวินิจฉัยโรคนี้ ในปัจจุบันมีข้อมูลเกี่ยวกับโรคไอบีเอสให้ชัดเจนขึ้น จึงมีการวินิจฉัยโรคนี้เพิ่มมากขึ้น
 
โรคไอบีเอสหรือโรคลำไส้ทำงานแปรปรวน เป็นโรคของลำไส้ที่ทำงานผิดปกติไป ทำให้เกิดการปวดท้องร่วมกับมีอาการท้องเสียหรือท้องผูก หรือท้องเสียสลับกับท้องผูก โดยที่ตรวจไม่พบความผิดปกติทางพยาธิสภาพที่ลำไส้ เช่น ส่องกล้องตรวจลำไส้จะไม่มีอาการ อักเสบ ไม่มีแผล ไม่มีเนื้องอกหรือมะเร็ง เป็นต้น และการตรวจเลือดต่างๆ ก็ไม่พบความผิดปกติ รวมทั้งไม่มีโรคของอวัยวะอื่นๆที่จะมีผลให้การทำงานของลำไส้ผิดปกติ เช่น โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ หรือโรคเบาหวาน เป็นต้น โรคไอบีเอสเป็นโรคเรื้อรัง มักเป็นๆหายๆหรืออาจเป็นตลอดชีวิต เป็นโรคที่ไม่ทำให้สุขภาพเสื่อมโทรมแม้จะเป็นมาหลายๆปี และไม่ทำอันตรายถึงแก่ชีวิต แต่เป็นโรคที่สร้างความรำคาญและความทุกข์ทรมานให้ผู้ป่วยอย่างมากได้ เนื่องจากผู้ป่วยจะวิตกกังวลว่าทำไมโรคไม่หายแม้ได้ยารักษา ทำให้มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ และประสิทธิภาพของการทำงานลดลง
 
ในสหรัฐอเมริกาและยุโรปพบร้อยละ 10-20ของประชากรในประเทศญี่ปุ่นพบร้อยละ 25ของประชากร ในประเทศไทยมีข้อมูลค่อนข้างน้อยในการศึกษาเรื่องนี้ ข้อมูลที่มีอยู่คือพบได้ประมาณร้อยละ 7ของประชากร แต่ถ้าศึกษาเฉพาะกลุ่มผู้ป่วย ที่มีอาการท้องเสียเรื้อรังแล้วมาพบแพทย์ จะพบว่าเป็นโรคไอบีเอสถึงร้อยละ 10-30จากตัวเลขดังกล่าว ในประเทศไทยจะมีผู้ป่วยไอบีเอสประมาณไม่ต่ำกว่า 5ล้านคน ซึ่งอาจจะเป็นการประมาณที่ต่ำกว่าเป็นจริง เพราะว่าในรายที่มีอาการไม่มากอาจคิดว่าตนเองไม่ได้เป็นโรคนี้ พบว่ามีผู้ป่วยเพียงร้อยละ 15เท่านั้น ที่ไปพบแพทย์ เนื่องจากเกรงว่าจะเป็นโรคร้ายแรง เช่น กลัวเป็นมะเร็ง มากกว่าที่จะไปพบแพทย์ เพราะความรุนแรงของโรค
 
ในต่างประเทศ โดยทั่วไปพบโรคไอบีเอสได้บ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ช่ายประมาณ 2:1 ถึง 4:1สำหรับสาเหตุที่พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายนั้นยังไม่รู้สาเหตุที่แน่นอน สิ่งหนึ่งที่มีความแตกต่างกันคือผู้หญิง เมื่อมีอาการของโรคแม้จะไม่รุนแรง มักจะไปพบแพทย์มากกว่าผู้ชาย ส่วนข้อมูลในบ้านเราพบในผู้หญิงและผู้ชายจำนวนใกล้เคียงกันหรือพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายเล็กน้อย

  โรคไอบีเอสพบได้ทุกวัยตั้งแต่ในวัยรุ่นจนถึงวัยสูงอายุโดยพบได้บ่อยในคนวัยทงานคืออายุ เริ่มต้นเฉลี่ยระหว่าง 20-30ปีและจะพบได้บ่อยไปจนถึงอายุ 60 ปี หลังอายุ 60 ปี จะพบน้อยลง และพบว่าโรคไอบีเอสมักพบได้บ่อยในคนที่มีสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมชั้นกลางถึงชั้นสูง
 
ในคนปกติการถ่ายอุจจาระของแต่ละคนจะมีความแตกต่างกันมากบางคนจะถ่ายอุจจาระทุกวัน บางคนถ่ายอุจจาระเป็นบางวัน โดยทั่วไปถือว่าการถ่ายอุจจาระที่ปกติคือ การถ่ายอุจจาระ ไม่เกิน 3ครั้งต่อวัน หรือไม่น้อยกว่า 3ครั้งต่อสัปดาห์ ลักษณะอุจจาระที่ปกติจะต้องเป็นก้อน แต่ต้องไม่แข็งเป็นลูกกระสุนหรือเหลวมากหรือเป็นน้ำ ต้องไม่มีเลือดปนและไม่มีปวดเกร็งท้องร่วมด้วย อาการปวดจะดีขึ้นหลังถ่ายอุจจาระพร้อมๆกับปวดท้อง ผู้ป่วยจะมีความผิดปกติของการถ่ายอุจจาระร่วมด้วย อาจเป็นท้องเสียหรือท้องผูกก็ได้ หรือเป็นท้องผูกสลับกับท้องเสีย ลักษณะอุจจาระจะเปลี่ยนไปเป็นก้อนหรือเหลวจนเป็นน้ำ ผู้ป่วยอาจถ่ายอุจจาระลำบากขึ้นต้องเบ่งมากหรืออาจรู้สึกอยากถ่ายอุจจาระทันที กลั้นไม่อยู่ ผู้ป่าวยจะรู้สึกอยากถ่ายอุจจาระบ่อยๆ แม้เพิ่งไปถ่ายอุจจาระมา มีความรู้สึกเหมือนถ่ายไม่สุด จะมีการถ่ายเป็นมูกปนมากับอุจจาระมากขึ้น ผู้ป่วยจะมีท้องอืดมีลมมากในท้อง เวลาถ่ายอุจจาระมักมีลมออกมาด้วย ผู้ป่วยมักมีอาการเหล่านี้เป็นๆหาย รวมเวลาแล้วมักนานเกิน 3เดือน ในช่วง 1ปี ที่ผ่าน ส่วนใหญ่มักมีประวัติเป็นมานานหลายปีถ้าผู้ป่วยมีอาการถ่ายเป็นเลือด มีไข้ ซีดลง มีอาการช่วงหลังเที่ยงคืน หรือมีอาการปวดเกร็งท้องมากตลอดเวลา อาการเหล่านี้บ่งชี้ว่าไม่ใช่โรคไอบีเอส
 
โรคไอบีเอสจะได้รับการวินิจฉัยก็ต่อเมื่อแพทย์ได้วินิจฉัยแยกโรคอื่นๆแล้วหรือหาโรคอื่นที่จะอธิบายว่าเป็นสาเหตุของโรคไอบีเอสไม่ได้ในวัยรุ่นหรือผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 40ปี แพทย์จะวินิจฉัยโรคไอบีเอสโดยอาศัยอาการของผู้ป่วยเป็นหลัก และจะให้การรักษาไปก่อนโดยไม่จำเป็นต้องทำการสืบค้น สำหรับผู้ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาหรือผู้ที่มีอายุมากว่า 40หรือ 50ปี นอกจากแพทย์จะซักประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียดแล้วจะทำการสืบค้น ได้แก่ ตรวจเลือด ตรวจอุจจาระ ตรวจเอกซ์เรย์ลำไส้ใหญ่ หรือ ส่องกล้องตรวจ ลำไส้ใหญ่ ซึ่งผลการตรวจร่างกายและการสืบค้นต่างๆจะต้องอยู่ในเกณฑ์ปกติ



แหล่งที่มา : 108health.com

อัพเดทล่าสุด