อาการเจ็บหน้าอกด้านขวา เจ็บหน้าอกข้างขวา เจ็บหน้าอกฝั่งขวา


41,132 ผู้ชม


อาการเจ็บหน้าอกด้านขวา เจ็บหน้าอกข้างขวา เจ็บหน้าอกฝั่งขวา

 

ปวด เจ็บ แน่นหน้าอก นำไปสู่โรคร้ายอะไรบ้าง

เจ็บหน้าอก โรคหัวใจ


อาการปวด เจ็บ แน่นหน้าอก อาจนำไปสู่โรคร้ายอะไรได้บ้าง (Slim up)
ที่มาจาก : โรงพยาบาลพญาไท1
          เจ็บแน่นหน้าอก นำไปสู่โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 3 ของคนไทย รองจากมะเร็งและอุบัติเหตุ (ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขปี 49-50)
          ผู้ป่วยจะมีอาการจุกเสียดแน่นตรงกลางหน้าอก อึดอัด หายใจไม่สะดวกเหมือนมีอะไรมีบีบรัด หรือกดทับ อาจปวดร้าวไปที่คอ แขนซ้าย หรือกราม ร่วมกับอาการคลื่นไส้ เหงื่อออกท่วมตัว อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นเมื่ออกกำลังกาย และดีขึ้นเมื่อพักหรืออมยาใต้ลิ้น ถ้าหลอดเลือดหัวใจตีบมาก อาการแน่นหน้าอกอาจรุนแรง และอาการไม่ดีขึ้น แม้หยุดพักหรืออมยาใต้ลิ้น เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หัวใจอาจหยุดเต้นอย่างกะทันหันหรือเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน
พฤติกรรมที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
           มีประวัติสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน
           อายุที่เพิ่มขึ้น
           เพศชายจะมีความเสี่ยงมากกว่าเพศหญิง ซึ่งเพศหญิงวัยหมดประจำเดือนจะมีโรคเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
           ภาวะไขมันในเลือดสูง
           ความดันโลหิตสูง
           การสูบบุหรี่
           โรคเบาหวาน
          
เราจะป้องกันโรคหัวใจได้อย่างไร
           หยุดสูบบุหรี่ หากท่านสูบบุหรี่ต้องหยุดสูบทันที หรือหากคิดจะสูบบุหรี่ก็ให้เลิกความคิดนี้ การหยุดสูบบุหรี่จะเป็นการป้องกันโรคหัวใจได้ดี การสูบบุหรี่ไม่ว่าจะเป็น บุหรี่ไร้ควัน หรือบุหรี่ที่มีนิโคตินต่ำ หรือซิการ์ก็จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ 
           สำหรับท่านที่ไม่ได้สูบบุหรี่หากท่านอยู่ใกล้ชิดกับคนที่สูบบุหรี่ ท่านอาจจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจเหมือนคนที่สูบบุหรี่ เนื่องจากเป็นผลจากการสูบบุหรี่มือสอง
           บุหรี่มีสารเคมีมากกว่า 4,800 ชนิด ซึ่งเป็นอันตรายต่อหัวใจและหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบได้ง่าย
           บุหรี่จะทำให้หัวใจท่านทำงานมากขึ้น เนื่องจากเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงตีบ หัวใจเต้นเร็ว และความดันโลหิตเพิ่มขึ้น
           ผู้หญิงสูบบุหรี่ร่วมกับการกินยาคุมกำเนิด จะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจเพิ่มขึ้น
           ข่าวดีสำหรับผู้ที่สูบบุหรี่ หากท่านหยุดสูบบุหรี่ ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจจะลดลงอย่างรวดเร็ว โดยประมาณว่าจะเหมือนคนปกติใน 1 ปี การออกกำลังกาย ทุกท่านทราบว่าการออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดี แต่มีเพียงจำนวนไม่มากที่ออกกำลังกาย การออกกำลังกายสม่ำเสมอจะช่วยลดการเกิดโรคหัวใจได้ 1 ใน 4 หากร่วมกับปรับพฤติกรรมอื่นจะช่วยลดการเกิดโรคหัวใจได้มากขึ้น 
ผลดีของการออกกำลังกาย
           ทำให้หัวใจแข็งแรง
           ควบคุมน้ำหนักไม่ให้ขึ้น
           ลดระดับความดันโลหิต
           ลดโอกาสเกิดโรคเบาหวานและไขมันในเลือด
           แนะนำให้ออกกำลังกายปานกลางวันละ 30-40 นาที สัปดาห์ละ 3-5 วัน หากไม่สามารถออกกำลังกายดังกล่าวได้ ท่านสามารถออกกำลังกายโดยการทำงานบ้านเพิ่ม เช่น การทำสวน การล้างรถ การเดินไปตลาด การขึ้นบันไดแทนการขึ้นลิฟต์
การรับประทานอาหารสุขภาพ หลักการรับประทานอาหารสุขภาพง่าย ๆ มีดังนี้
           หลีกเลี่ยงอาหารมันบางชนิดที่มีผลเสียต่อหัวใจ เช่น ไขมันอิ่มตัว (Saturated far), Tran fatty acid ได้แก่ น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว ไขมันจากสัตว์ เครื่องในสัตว์ กุ้ง ปลาหมึก ไก่ทอด พิซซ่า กล้วยแขก เนย มาการีน
           ให้รับประทานผักและผลไม้เพิ่มขึ้น เพราะผักและผลไม้จะช่วยป้องกันหลอดเลือดของท่าน
           รับประทานปลาเพราะเนื้อปลามี Omega-3 fatty acid
           หมั่นตรวจสุขภาพ ท่านที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจ โรคอ้วน หรือมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจหรือท่านที่อายุมากกว่า 35 ปี โดยไม่มีความเสี่ยง ให้ท่านได้รับการตรวจ
                 ความดันโลหิต
                 ระดับไขมันในเลือด
                 ระดับน้ำตาล
                 ซึ่งเป็นการตรวจประจำปี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การตรวจสมรรถภาพหัวใจโดยการเดินสายพาน (EST) หรือเมื่อแพทย์สงสัยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ แพทย์จะตรวจร่างกาย ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง ตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการเดินสายพาน หรือาจใช้เครื่องมือที่มีเทคโนโลยีสูง เช่น 64-slice CT Scan หรือการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI ซึ่งผู้ป่วยอาจได้รับการตรวจเพียงบางอย่าง หรือหลายอย่างเพื่อที่จะวินิจฉัยให้ได้ว่า มีหลอดเลือดหัวใจตีบหรือไม่ และควรวางแผนการรักษาอย่างไร 
          การรักษานั้นขึ้นอยู่กับระยะและความรุนแรงของโรค เช่น หากไม่รุนแรงนักสามารถรักษาหายได้ด้วยยา วิธีการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน หรืออาจใช้การผ่าตัด Bypass
          การตรวจสวนหลอดเลือดหัวใจละทำบอลลูนหลอดเลือดหัวใจ (CAG&PCI) ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอก และตรวจพบว่า มีความผิดปกติของคลื่นหัวใจผิดปกติหรือการตรวจสมรรถภาพหัวใจ ด้วยการเดินสายพานทำให้สงสัยว่าอาจมีสภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตัน
          การตรวจสวนหลอดเลือดหัวใจ เป็นวิธีการตรวจที่สำคัญในการวินิจฉัยหลอดเลือดหัวใจตีบ และยังทำการรักษาต่อด้วยการทำบอลลูนหลอดเลือดหัวใจ ตรงตำแหน่งที่ตีบได้ด้วยโดยจะสามารถบอกถึงข้อมูลตำแหน่งของหลอดเลือดหัวใจตีบ ที่บริเวณใดและตีบกี่เส้น (เส้นเดียวหรือมีหลายเส้น) และตีบกี่เปอร์เซนต์ และยังดูการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจห้องซ้ายได้ด้วย โดยจะใช้เวลาในการตรวจวินิจฉัยเพียง 15-20 นาที และเป็นข้อมูลบอกถึงแนวทางการรักษาด้วยยา (ในกรณีที่ตีบไม่มาก) บอลลูน หรือการผ่าตัดและการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยได้ต่อไป
          ผู้ป่วยบางรายที่ทำการตรวจด้วยวิธีนี้ไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล สามารถมาตรวจตอนเช้าและนอนพักพื้นประมาณ 6-8 ชม. ก็สามารถกลับบ้านได้ และมาพบแพทย์ในวันรุ่งขึ้น เพื่อวางแผนการรักษาต่อไป


แหล่งที่มา : health.kapook.com

อัพเดทล่าสุด