ธรรมชาติบำบัดรักษาโรคนอนไม่หลับ การฝั่งเข็มรักษาโรคนอนไม่หลับ การศึกษาพฤติกรรมผู้เป็นโรคนอนไม่หลับ
คลินิกฝังเข็ม
การฝังเข็ม ตามแนวคิดของศาสตร์การแพทย์แผนจีนนั้น การฝังเข็มมีฤทธิ์ในการรักษาโรค 3 ประการ คือ
1.แก้ไขการไหลเวียนของเลือดลมปราณที่ติดขัด
2.ปรับอวัยวะต่างๆ ในร่างกายให้อยู่สมดุล
3.กระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย เพื่อกำจัดเหตุปัจจัยที่เป็นอันตรายออกไปจากร่างกาย
4.ยับยั้งความเจ็บปวด
5.ทำให้กล้ามเนื้อที่หดเกร็งมีการคลายตัว
วิธีการฝังเข็ม
แพทย์จะใช้เข็มเล็กๆขนาด 0.18 – 0.30 มม. ปักลงในตำแหน่งจุดต่างๆของร่างกาย แล้วกระตุ้นโดยใช้นิ้วมือหมุนปั่น หรือใช้เครื่องไฟฟ้าหมุนกระตุ้นโวลต์ต่ำ ใช้เวลาประมาณ 30 นาที แล้วจึงถอนออกโรคที่สามารถรักษาได้ด้วยการฝังเข็ม องค์การอนามัยโรคระบุว่า มีโรคหลายชนิด หลายกรณีที่สามารถทำการรักษาได้ โดยโรคและอาการที่พบบ่อยๆมี ดังนี้
- อัมพาต อัมพฤกษ์ แขน-ขา อ่อนแรง
- ปวดศีรษะ
- นอนไม่หลับ เครียด วิตกกังวล
- ท้องผูก
- โรคบริเวณใบหน้า, ปวดสามแฉก, อัมพาตใบหน้าครึ่งซีก, หน้ากระตุก, ขากรรไกรค้าง, อ้าปากไม่ขึ้น
- โรคกล้ามเนื้อ เอ็น, ข้อกระดูกและปลายประสาทชา, ปวดข้อรูมาตอยด์, ชาปลายมือปลายเท้า, ตะคริว, ปวดหลัง, ปวดหัวเข่า, เข่าบวม, ข้อเข่าเสื่อม, ข้อเข่าพลิก
- ปวดจากมะเร็ง, เนื้องอก, ปวดแผลผ่าตัด
- แพ้ท้อง, อาเจียน, ทานอาหารไม่ได้
- เบาหวาน, และภาวะแทรกซ้อน ปลายเท้าคล้ำดำ ชาปลายมือปลายเท้า
- ความดันโลหิตสูง, ไขมันในเลือดสูง
- ลดความอ้วน ลดความอ้วนหลังคลอด ลดไขมันเฉพาะที่ ต้นขา น่อง ต้นแขน ท้องแขน
- เพิ่มน้ำหนัก คนผอม ผู้ป่วยเรื้อรัง
- บำรุงสุขภาพ วัยเรียน วัยทำงาน และผู้สูงผู้สูงอายุ
- โรคผู้สูงอายุ สั่นกระตุก, พาร์คินสัน, หลงลืม, ความจำเสื่อมโรคอัลไซเมอร์
- โรคสูติ-นรีเวช ปวดประจำเดือน, ประจำเดือนมาไม่ปกติ ช้า เร็ว มาไม่แน่นอน
- วัยทอง
- เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
- โรคภูมิแพ้
- ลบรอยตีนกา รอยเหี่ยวย่นใต้คาง ท้องแขน ฝ้า กระ สิว ผมร่วง เส้นเลือดขอด
- เลิกยาเสพติด เช่น สุรา, บุหรี่, ยาเสพติด
- โรคระบบทางเดินอาหารและลำไส้ เช่น ปวดท้องเรื้อรัง ริดสีดวงทวาร
- โรคอื่นๆ ซึ่งแพทย์จะพิจารณาเป็นรายๆไป
ข้อห้ามในการฝังเข็ม
ไม่ควรทำการฝังเข็มในผู้ป่วยต่อไปนี้
1.สตรีตั้งครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงใกล้คลอด
2.ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด เช่น โรคฮีโมฟีเลีย
3.โรคมะเร็ง (ที่ยังไม่ได้รับการรักษา)
4.โรคที่ต้องการการรักษาด้วยการผ่าตัด
ระยะเวลาฝังเข็ม
ควรฝังเข็มอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง และต่อเนื่องกันอย่างน้อย 10 ครั้ง แล้วแต่การพิจารณาของแพทย์
โรคเรื้อรังอาจต้องใช้ระยะเวลานานขึ้น การรักษาแต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที
อัตราค่ารักษาโดยการฝังเข็ม
-ค่าบริการครั้งละ 700 บาท
-มีรายละเอียดและเงื่อนไขตามที่ รพ.กำหนด
แพทย์ฝังเข็ม โดยศัลยแพทย์ ระบบประสาทวิทยา
1.พลเอก นพ.บุญเลิศ จันทราภาส
ศัลยแพทย์ผ่าตัดสมอง และไขสันหลัง
ผู้เชี่ยวชาญ การฝังเข็มแผนจีน
ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่ง
อุปนายก สมาคมแพทย์ฝังเข็ม และสมุนไพรแห่งประประเทศไทย
อบรมด้าน
-การฝังเข็มของระบบประสาท สมองและไขสันหลัง
-การฝังเข็มรอบดวงตา รักษาโรค
-การฝังเข็มเสริมความงาม
- FELLOW IN NEUROSURGERY U OF MINNESOTA
- MICROSURGERY COURSE U. OF FLORIDA
- F.I.C.S.
- อนุมัติบัตรเวชศาสตร์ครอบครัว
- ประกาศนียบัตร TRADITIONAL CHINESE MEDICINE SHANGHAI UNIVERSITY
- วปรอ.4414
2.นพ.วรินทร ทานาค
- แพทยศาสตร์บัณฑิตจากวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฏเกล้า เกียรตินิยมอันดับ 1 เมื่อปี 2540
- วุฒิบัตรสาขาประสาทศัลยศาสตร์ จากโรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า เมื่อ ปี 2544
- วุฒิบัตรสาขาแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว เมื่อ ปี 2545
- ประกาศนียบัตร แพทย์เวชศาตร์การบิน เมื่อ ปี 2548
- ประกาศนียบัตร หลักสูตรฝังเข็มโรคระบบประสาทและสมอง เมื่อ ปี 2552
เวลาทำการ
จันทร์-เสาร์ 10.00 – 14.00 น.
อาทิตย์ 13.00 - 15.00 น.
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่คลินิกแพทย์ฝังเข็มวิภาวดี
โทร 0-2561-1111 กด 2922,2923
...................................
คลินิคฝังเข็ม โดยแพทย์จีน
รายนามผู้เชี่ยวชาญ
1.อาจารย์วิวัฒน์ จงหมายลักษณ์ (แผนจีน)
อังคาร , พฤหัส 14.00 - 19.00 น. เสาร์ 09.00 - 19.00 น.
https://www.facebook.com/wiwat.jongmailuk
2.อาจารย์ชรัช งามศรัทธา (แผนจีน)
จันทร์,ศุกร์ 14.00 - 19.00 น.
3.อาจารย์วิชัย ลิ้มพิพัฒนโสภณ (แผนจีน)
พุธ 14.00 - 19.00 น.
อาทิตย์ 09.00 - 19.00 น.
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการฝังเข็ม องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศยอมรับการรักษาโรคหรือบรรเทาอาการด้วยวิธีฝังเข็มไว้ดังนี้
1. การรักษาที่ได้ผลเด่นชัดเป็นพิเศษอาการปวด โรคปวดคอเรื้อรัง, หัวไหล่, ข้อศอก, กระดูกสันหลัง, เอว, หัวเข่า โรครูมาต้อยตริ่ง, ปวดจากการเคล็ดขัดยอก, ปวดประจำเดือน, ปวดนิ่วในถุงน้ำดี, ปวดศรีษะที่มีสาเหตุจากความเครียดหรือก่อนการมีประจำเดือน, ปวดไตเนื่องจากสาเหตุต่างๆ, ปวดในทางเดินปัสสาวะ, ปวดเส้นประสาทหรือปวดเส้นประสาทบนใบหน้า, ปวดหลังผ่าตัด, ปวดไม้ดำเกรน, อาการซึมเศร้า อาการทั่วไป อัมพฤกษ์ และผลข้าเคียงหลังจากป่วยด้วยโรคทางสมอง, ความดันโลหิตสูงหรือต่ำ, เม็ดเลือดขาวน้อยกว่าปกติ, สมรรถภาพทางเพศถดถอย, ภูมิแพ้, หอบหืด, หวาดวิตกกังวล, นอนไม่หลับ ขากรรไกรค้าง, แพ้ท้อง, คลื่นเหียงอาเจียน, การเลิกเหล้า บุหรี่ ยาเสพติด
2. การรักษาที่ได้ผลดี อาการเจ็บเฉียบพลัน หรือเรื้อรังในลำคอ (ต่อมทอมซิล), อาการวิงเวียนศรีษะสาเหตุจากน้ำในช่องหู, สายตาสั้นในเด็ก, เด็กในครรภ์มารดาอยู่ในท่าขวาง (ทำให้คลอดยาก) , โรคอ้วน, โรคประสาท, การปวดของเส้นประสาทสะโพก, เส้นเอ็นอักเสบ, ปวดลำไส้เนื่องจากพยาธิ, อาการผิดปกติของลำไส้เมื่อเกิดความเครียด
การรักษาที่ได้ผล ท้องผูก, ท้องเดิน, การมีบุตรยาก ที่มีสาเหตุจากทั้งฝ่ายชาย, และฝ่ายหญิง, กระเพาะอาหารเลื่อนต่ำ, สะอึก, เรอบ่อย,ปัสสาวะไม่รู้ตัว ไม่คล่อง, ไซนัลอักเสบ, หญิงหลังคลอดมีน้ำนมไม่พอ
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับฝังเข็ม การฝังเข็ม คือการใช้เข็มปักลงไปบนจุดฝังเข็มตามร่างการ โดยใช้หลักการของแพทย์แผนจีนที่มีมากกว่า 4000 ปี การฝังเข็มเผยแพร่ไปทั่วโลก ทั้งในยุโรป อเมริกา และญี่ปุ่น เป็นเวลาหลายร้อยปี องค์การอนามัยโลกได้จัดประชุมเมื่อ พ.ศ. 2522 และ 2538 ให้การรับรองโรคที่ใช้ฝังเข็มเป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาจำนวน 57 โรค การฝังเข็มรักษาโรคให้หายได้ โดยผ่านจุดฝังเข็มที่อยู่บนเส้นลมปราณ ซึ่งเป็นเส้นทางไหลเวียนและลำเลียงของพลัง, เลือด และของเหลวในร่างกาย รวมทั้งเชื่อมโยงอวัยวะภายในและเนื้อเยื่อต่างๆทำให้การไหลเวียนและลำเลียงไม่ติดขัด อวัยวะและเนื้อเยื่อทำงานประสานกลมกลืนกัน แพทย์แผนปัจจุบันศึกษาเวชกรรมฝังเข็ม พบว่าการฝังเข็มมีผลต่อระบบประสาทอัตโนมัติ ซึ่งควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ และมีผลต่อการหลั่งสารหลายชนิดในร่างการ ซึ่งช่วยระงับอาการปวดและลดอาการอักเสบได้ดี การฝังเข็มรักษาโรคหายได้ รักษาโรคหายได้เพียงบางส่วน ควรใช้ร่วมกับวิธีการรักษาอย่างอื่นๆ และที่สำคัญที่สุด คนไข้เองต้องปรับเปลี่ยนสภาพจิตใจและอารมณ์กับสภาพสุขนิสัยในการดำรงชีวิต ให้อยู่ในภาวะสมดุล จึงจะเป็นเงื่อนไขที่ทำให้หายจากโรคอย่างสมบูรณ์ ในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขโดยกรมการแพทย์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยการแพทย์แผนจีนเซียงไฮ้ ได้จัดอบรมแพทย์ฝังเข็มตั้งแต่ปี พ.ศ.2541 ถึงปัจจุบัน มีจำนวนกว่า 500 คนทั่วประเทศ
เข็มที่ใช้ฝัง เข็มที่ใช้ฝัง เป็นเหล็กสแตนเลส ไม่เป็นสนิม มีขนาดเล็กและบางมาก ปลายเข็มไม่ตัด ไม่กลวงไม่มีรู ได้รับการทำความสะอาดจนปลอดเชื้อ และบรรจุแผงจากโรงงาน ใช้เพียงครั้งเดียวแล้วทิ้งเลยไม่นำกลับมาใช้อีก ปลอดภัยจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบและโรคเอดส์
ความรู้สึกขณะฝังเข็ม เจ็บเล็กน้อย เมื่อเข็มผ่านผิวหนัง หายเจ็บ เมื่อถึงชั้นใต้ผิวหนัง ชา, ตื้อ, หนัก ร้าว เมื่อถึงจุดฝังเข็มไปตามทางเดินของเส้นลมปราณ
ข้อแนะนำในการฝังเข็ม
1. รับประทานอาหารตามปกติ และพักผ่อนนอนหลับอย่างเพียงพอ
2. ใส่เสื้อ กางเกง ที่หลวม พับเหนือข้อศอกและเข่าได้ ไม่สวมถุงน่องในสตรี
3. นั่งหรือนอนในท่าที่สบายไม่เกร็ง การฝังเข็มในแต่ละครั้ง ใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที
ข้อห้ามในการฝังเข็ม
1. โรคเลือดที่มีความผิดปกติของระบบแข็งตัวของเลือด
2. โรคที่ต้องการรักษาด้วยการผ่าตัด
3. โรคที่ยังไม่ทราบการวินิจฉัยที่แน่นอน
คลินิกฝังเข็มเปิดให้บริการโดยแพทย์ที่ศึกษาโดยตรงจากประเทศจีน ทุกวัน จันทร์ - ศุกร์ เวลา 10.00 - 19.00 น. เสาร์ - อาทิตย์ เวลา 09.00 - 19.00 น. รักษาได้ทุกโรค แต่ต้องปรึกษาแพทย์ก่อน ถึงข้อจำกัดของแต่ละท่าน ค่าบริการครั้งละ 700 บาท (ใช้เข็มละ 20 เล่ม ต่อ 1 ครั้ง) ต่อการรักษา หรือน้อยกว่านั้น ดูความก้าวหน้าของการรักษาในกรณีมีการใช้เข็มเกินจำนวนที่กำหนดไว้คิดเพิ่มเป็นเล่มละ 10 บาท ถามรายละเอียดได้ที่โทร 0 -2561-1111 ต่อ 2922 ,2923
แหล่งที่มา : vibhavadi.com