โรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ อันตรายจากบุหรี่ ผลเสียของการสูบบุหรี่


2,440 ผู้ชม


โรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ อันตรายจากบุหรี่ ผลเสียของการสูบบุหรี่

 

บุหรี่กับการเกิดโรคมะเร็ง
โดย : นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ  
         บุหรี่กับการเกิดโรคมะเร็ง ในปัจจุบันพบว่า ในควันบุหรี่จะมีสารก่อมะเร็งทั้งหมดประมาณ 42 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งรวมสารก่อมะเร็งมากที่สุด สำหรับกลุ่มที่มีผลต่อโรคมะเร็งคือ ทาร์หรือน้ำมันดิน ซึ่งบางคนเรียกว่าเป็นคราบบุหรี่นั่นเอง ทาร์หรือน้ำมันดินจัดเป็นกลุ่มที่น่าสพึงกลัวที่สุด เพราะเปรียบเสมือนเป็นตัวรุกรานเงียบ... 

 สำหรับสารที่เป็นส่วนประกอบของทาร์ หรือน้ำมันดิน คือพวกกลุ่มไฮโดรคาร์บอน จะมีการรวมตัวกันเป็นสารที่มีความเหนียวติดอยู่กับเนื้อปอด โดยตัวของมันเองจะมีสมบัติเป็นสารก่อมะเร็ง สำหรับกลุ่มที่มีผลต่อโรคมะเร็งคือ ทาร์หรือน้ำมันดิน ซึ่งบางคนเรียกว่าเป็นคราบบุหรี่นั่นเอง ทาร์หรือน้ำมันดินจัดเป็นกลุ่มที่น่าสพึงกลัวที่สุด เพราะเปรียบเสมือนเป็นตัวรุกรานเงียบ สำหรับสารที่เป็นส่วนประกอบของทาร์ หรือน้ำมันดิน คือพวกกลุ่มไฮโดรคาร์บอน จะมีการรวมตัวกันเป็นสารที่มีความเหนียวติดอยู่กับเนื้อปอด โดยตัวของมันเองจะมีคุณสมบัติเป็นสารก่อมะเร็ง

สารพิษในควันบุหรี่มีประมาณ 4,000 ชนิด แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ 3 กลุ่ม คือ

  • ทาร์หรือน้ำมันดิน
  • นิโคติน
  • ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์

นอกจากนี้ในควันบุหรี่ยังมีสารบางชนิดที่จะก่อให้เกิดมะเร็งได้ ถ้ารวมกับสารเคมีชนิดอื่นๆ ในควันบุหรี่ นอกจากนี้ในควันบุหรี่ยังมีสารที่เร่งสารเจริญเติบโตของมะเร็ง หากผู้สูบบุหรี่นั้นๆ มีมะเร็งอยู่ในร่างกายแล้ว

การเกิดโรคมะเร็ง

  1. จากสถิติของโรคมะเร็งในประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า มีจำนวนถึงร้อยละ 30 ของผู้ป่วยโรคมะเร็ง ที่มีสาเหตุสำคัญเกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่ รองจากสารก่อมะเร็งที่มีอยู่ในอาหาร และสารปรุงแต่งทุกชนิด
  2. มะเร็งที่เกิดจากการสูบบุหรี่ได้แก่ มะเร็งปอด ลำคอ กล่องเสียง ช่องปาก และหลอดอาหารส่วนต้น นอกจากนี้ยังมีมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ตับอ่อนและปากมดลูกอีกด้วย
  3. การสูบบุหรี่ทำให้เกิดการเสียชีวิตจากมะเร็งปอดได้ถึงร้อยละ 87 นอกจากนี้ยังสามารถทำให้เกิดมะเร็งกล่องเสียง มะเร็งช่องปาก มะเร็งคอหอย มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
  4. ผู้ได้รับควันบุหรี่ในอากาศโดยมิได้สูบ เรียกว่า ผู้สูบบุหรี่มือสอง มีอัตราการตาย 3,000 คนต่อปีในสหรัฐอเมริกา
  5. อัตราความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง และโรคจากการสูบบุหรี่เพิ่มขึ้นตามปริมาณการสูบ
  6. การเลิกสูบบุหรี่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างมาก และมีผลทันที ซึ่งรวมไปถึงการลดอัตราเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอดและมะเร็งอื่นๆ โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดในสมองตีบหรือเตก และโรคปอดเรื้อรัง

มะเร็งปอด

  1. ความเสี่ยงของการเกิดโรคโรคมะเร็งปอด โดยเฉลี่ยผู้สูบบุหรี่เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปอดมากกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ 12 เท่า แต่หากสูบมานาน 21- 40 ปี โอกาสเสี่ยงมากว่าผู้ไม่สูบถึง 30 เท่า และจากสถิติของสหรัฐอเมริกา พบว่า ร้อยละ 30 ของผู้ป่วยมะเร็งปอดที่มิได้สูบบุหรี่เกิดโรคมะเร็งจากควันบุหรี่ที่ผู้อื่นสูบ
  2. มะเร็งปอดจัดเป็นมะเร็งอันดับหนึ่งในชายไทย ส่วนในภาคเหนือที่มีอัตราการสูบบุหรี่สูงสุด พบว่า มีผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดทั้งในบุรุษ และสตรีสูงกว่าภาคอื่นๆ นอกจากนี้จากสถิติการเกิดมะเร็งปอดในประเทศไทย พบว่า ภาคเหนือของประเทศไทยมีอัตราการเกิดมะเร็งสูงสุด ทั้งนี้อาจเนื่องจากอัตราการสูบบุหรี่ในภาคเหนือสูงกว่าในภาคอื่นๆ
  3. หากผู้สูบบุหรี่สามารถหยุดสูบบุหรี่ได้ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างถาวรในปอด จะสามารถความเสี่ยงของโรคมะเร็งปอดได้ และหากเลิกได้นาน 10-15 ปี จะลดอัตราเสี่ยงของโรคมะเร็งปอดลงครึ่งหนึ่ง ผู้ที่สูบบุหรี่จัด มากกว่าวันละ 1 ซอง ถ้าเริ่มสูบบุหีรี่ตั้งแต่อายุยังน้อย จะมีโอกาสเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปอด และโรคภัยจากบุหรี่สูงที่สุด

คำแนะนำ

  1. ถ้าหากท่านยังไม่เคยสูบบุหรี่มาก่อนขอให้ตัดสินใจให้ดี ส่วนผู้ที่สูบบุหรี่อยู่แล้ว ก็คงยังไม่สายเกินไปที่จะเลิกบุหรี่ เพราะสองสิ่งแรกที่ท่านจะได้รับทันทีจากการเลิกสูบบุหรี่คือ ตัวท่านรับสารพิษน้อยลงไป และบุญกุศลจากการที่ท่านจะไม่ทำร้ายผู้อื่นอีกต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำร้ายคนในครอบครัวของท่านเอง
  2. อนุมูลอิสระมีบทบาททั้งในกระบวนการเริ่มต้นและการส่งเสริมการเกิดโรคมะเร็ง โดยการเปลี่ยนแปลงในระดับดีเอ็นเอของเซลล์ อนุมูลอิสระฮัยดรอกซิลกรุ้ป สามารถเข้าจับกับดีเอ็นเอ แล้วส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเบสพิวรีน และไพริมิดีน โดย oxidative lesion ที่เกิดบนดีเอ็นเอของเซลล์ปกติ โดยเฉลี่ยเท่ากับ 1 ต่อเบส 106 เบส ซึ่งจำนวนนี้ยังสูงกว่าการจับของสารก่อมะเร็ง กับเบสของดีเอ็นเอของเซลล์ที่สัมผัสอยู่กับสารก่อมะเร็งเสียอีก ดังนั้นจึงไม่น่าสงสัยเลยว่าการทำลายของ ดีเอ็นเอโดยอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นเองในร่างกายเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดการเจริญของเซลล์มะเร็งเมื่อคนมีอายุมากขึ้นเรื่อยๆ
  3. ปัจจัยสำคัญของการเจริญของเซลล์มะเร็ง น่าจะเกี่ยวข้องกับการกลายพันธ์ของยีน p53 ซึ่งเป็นยีนกดการเจริญของเซลล์มะเร็ง โดยการยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ ถ้ายีน p53 โดนยับยั้งจะทำให้เซลล์ที่ดีเอ็นเอถูกทำลายสามารถผ่านเข้าสู่ cell cycle เพื่อการแบ่งตัวกลายเป็นเซลล์มะเร็งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากการเปลี่ยนแปลงของดีเอ็นเอดังกล่าวจะทำให้เกิดสารผลลัพธ์ ซึ่งส่วนใหญ่ที่พบคือ 8-hydroxy-2-deoxyguanosine (8-OH-dG) โดยจัดว่าเป็นตัวชี้วัดทางชีววิทยาตัวหนึ่งที่สามารถวัดได้ทั้งใน และนอกร่างกายของคนหรือสัตว์ทดลอง นอกเหนือจากการทำลายดีเอ็นเอโดยตรงโดยอนุมูลอิสระแล้ว การทำลายโดยปฏิกิริยาออกซิเดชั่น ยังเกิดได้กับไขมัน หรือโปรตีน ยกตัวอย่างเช่น เอนไซม์ที่ใช้ซ่อมแซมดีเอ็นเอ ซึ่งสุดท้ายก็จะนำไปสู่การทำลายพันธุ์ของดีเอ็นเอนั่นเอง

 


แหล่งที่มา : 108health.com

อัพเดทล่าสุด