โรคปอดบวม อาการปอดบวม อาการโรคปอดบวม อาการปอดบวมในเด็ก


970 ผู้ชม


โรคปอดบวม อาการปอดบวม อาการโรคปอดบวม อาการปอดบวมในเด็ก

 
ระวัง"ปอดบวม"ปลายฝนต้นหนาว เด็กเล็กเสี่ยงสูง
ทั่วโลกตายกว่าปีละ 2 ล้านคน
          ข้อมูลองค์การอนามัยโลก (ฮู) ระบุว่า โรคปอดบวมเป็นสาเหตุการตายของเด็กทั่วโลกกว่าปีละ 2 ล้านคน หรือทุกๆ 15 วินาทีจะมีเด็กตาย 1 คน องค์กรพันธมิตรวันปอดบวมโลก (World Pneumonia Day Coalition) จึงกำหนดให้วันที่ 2 พฤศจิกายน 2552 เป็น “วันปอดบวมโลก” ครั้ง แรก เพื่อกระตุ้นให้ทุกคนร่วมมือกันลดอุบัติการณ์การเสียชีวิตจากโรคปอดบวม เน้นย้ำให้สถานพยาบาลในสังกัดสาธารณสุขจังหวัดเพิ่มการเฝ้าระวังโรคปอดบวม เป็นพิเศษ
          ศ.เกียรติคุณ นพ.ธีรชัย ฉันทโรจน์ศิริ ประธานชมรมโรคระบบหายใจและเวชบำบัดวิกฤตในเด็กแห่งประเทศไทย กล่าว ว่า ช่วงปลายฝนต้นหนาวเป็นฤดูที่โรคระบบทางเดินหายใจระบาดหนัก เนื่องจากอากาศชื้นจะเอื้ออำนวยให้เชื้อโรคต่างๆ มีชีวิตอยู่ได้นานขึ้น โดยเฉพาะโรคปอดบวม ซึ่งเป็นโรคที่เด็กเล็กเป็นกันมาก ที่สำคัญพบว่าโรคปอดบวมเป็นโรคแทรกซ้อนที่สำคัญ จากเด็กที่ได้รับเชื้อไข้หวัดใหญ่ ซึ่งจะส่งผลให้อาการทวีความรุนแรงมากขึ้นหลายเท่า จนอาจจะทำให้เสียชีวิตได้ ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส หรือเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัสชนิดรุนแรง (โรคไอพีดี)
          เชื้อนิวโมคอคคัส หรือ สเตรปโตคอคคัส นิวโมเนียอี นอกจากจะก่อให้เกิดปอดบวมรุนแรง หรือปอดอักเสบแล้ว ยังสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ ที่ทำให้เกิดโรคติดเชื้อรุนแรง เช่น โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคติดเชื้อในกระแสเลือดและหูอักเสบ เป็นต้น และถ้าเกิดกับเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ขวบ หรือในเด็กเล็กที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องก็จะมีอาการรุนแรงมากขึ้นได้
          โดยทั่วไปเชื้อนิวโมคอคคัส พบอยู่ในโพรงจมูกและลำคอของคนทั่วไป โดยเฉพาะในเด็กเล็กจะมีความชุกของเชื้อในโพรงจมูกสูงกว่าในผู้ใหญ่ และสามารถแพร่กระจายสู่คนอื่นโดยผ่านละอองฝอยของน้ำมูก หรือเสมหะ เวลาไอจาม หรือฝ่ามือที่สัมผัสกับสิ่งต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปลายฝนต้นหนาว หรือหน้าหนาว
          ซึ่งอากาศเย็นทำให้เชื้อสามารถแพร่กระจายในอากาศได้ดี ในที่ที่เด็กอยู่รวมกันหนาแน่น เช่นในสถานเลี้ยงเด็กกลางวัน (Day Care) เด็ก ที่อยู่ในชุมชนแออัด เด็กที่เป็นโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคปอด โรคเบาหวาน และโรคเลือดซิกเคิลเซลล์ และในกลุ่มเด็กที่มีภูมิต้านทานต่ำ เช่น ผู้ที่ตัดม้ามออก หรือม้ามทำงานไม่ปกติ ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี ก็จะมีความเสี่ยงสูงขึ้น เป็นต้น
          ในกรณีเด็กเล็ก ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคปอดบวมนั้น พ่อแม่ควรเฝ้าระวังและป้องกันอย่างใกล้ชิด ด้วยการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและดูแลสุขภาพของลูกให้แข็งแรง หากลูกไม่สบายต้องสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด เพราะเด็กเล็กยังไม่สามารถบอกกล่าวอาการเจ็บป่วยได้ด้วยตนเอง และบางครั้งมีโอกาสมีปอดบวมแทรกซ้อนได้ อาการสำคัญที่ต้องสังเกตคือ ไข้ ไอมาก หายใจเร็วกว่าปกติ หอบ หรือหายใจลำบากจนซี่โครงบุ๋ม ซึ่งอาการดังกล่าวเป็นสัญญาณเตือนว่าลูกอาจเป็นปอดบวม ควรรีบพาไปพบแพทย์
          สามารถ ป้องกันได้ง่ายๆ โดยทำร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมากๆ ล้างมือบ่อยๆ ปิดปาก ปิดจมูกทุกครั้งที่ไอจาม และที่สำคัญที่สุดคือ การสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ทารก เช่น เด็กเล็กควรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพื่อให้มีภูมิต้านทานจากแม่ส่งผ่านไปลูกทางน้ำนม ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไอพีดี ป้องกันโรคติดเชื้อทางระบบหายใจ ซึ่งเด็กๆ ในหลายประเทศได้รับการฉีดแล้ว ส่วนในประเทศไทยพ่อแม่และผู้ปกครองอาจต้องปรึกษากุมารแพทย์เพื่อพิจารณาถึง ความจำเป็นในการให้วัคซีนดังกล่าวแก่ลูกหลาน 
โรคปอดบวมเป็นสาเหตุการตายของเด็กทั่วโลกกว่าปีละ 2 ล้านคน หรือทุกๆ 15 วินาทีจะมีเด็กตาย 1 คน องค์กรพันธมิตรวันปอดบวมโลก เพื่อกระตุ้นให้ทุกคนร่วมมือกันลดอุบัติการณ์การเสียชีวิตจากโรคปอดบวม เน้นย้ำให้สถานพยาบาลในสังกัดสาธารณสุขจังหวัดเพิ่มการเฝ้าระวังโรคปอดบ
ขอขอบคุณข้อมูล สสส. 


แหล่งที่มา : thaihealth.or.th

อัพเดทล่าสุด