อาการปวดไมเกรน ไมเกรนเรื้อรัง รักษาโรคไมเกรน
ไมเกรน…ที่สุดของอาการปวดศีรษะ!
ไมเกรน คือ โรคปวดศีรษะชนิดหนึ่ง มักปวดข้างเดียว แถวขมับ หรืออาจจะปวดบริเวณเบ้าตา อาการปวดไมเกรนอาจจะปวดได้นาน 2-3วัน หรืออาจจะปวด 2-4 ชั่วโมง อาการปวดศีรษะจะรุนแรงมากขึ้นอีก เมื่อมีการเคลื่อนไหวร่างกาย และในขณะที่มีอาการปวดมักจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย
อาการปวดไมเกรนมักมีอาการนำมาก่อนที่จะเกิดอาการปวด เรียกว่าออร่า คืออาจจะเป็นแสงแวบเข้าตา แสงจ้า ตาพร่ามัว มีอาการชาที่ด้านใดด้านหนึ่งของร่างกาย ซึ่งจะเกิดเป็นช่วงสั้นๆ
ไมเกรนพบได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย มักจะพบในช่วงอายุ 10-40 ปี แต่พบในเด็กอายุ 7-8 ขวบได้ โดยพบอัตราการเกิดไมเกรนในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยผู้หญิงมีอัตราการเกิดร้อยละ 18 ผู้ชายร้อยละ 6 และในเด็กร้อยละ 4 แต่พออายุมากขึ้นเรื่อยๆ อาการจะน้อยลง
ปัจจุบันยังไม่มีใครทราบสาเหตุที่แท้จริงของไมเกรน แต่เชื่อว่าเกิดจากการเปลี่ยนระดับเซโรเทนินในร่างกาย ทำให้เส้นเลือดแดงในสมองเกิดการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ ซึ่งมีปัจจัยที่กระตุ้นได้หลายอย่าง แต่ที่สำคัญที่สุดคือ การพักผ่อนไม่เพียงพอ นอนดึก นอนไม่หลับ ซึ่งนอกจากจะกระตุ้นไมเกรนแล้วยังไปกระตุ้นอาการปวดกล้ามเนื้อด้วย
ไมเกรนแบ่งระดับของอาการปวดเป็น 6 ระดับ
1. Classic Migraine เริ่มช่วงวัยรุ่น เมื่ออายุมากขึ้นอาการปวดศีรษะจะดีขึ้น บางครั้งมีอาการนำออร่า เช่น เห็นแสงแสบ ตามองไม่เห็น ชาซีกใดซีกหนึ่ง
2. Common Migraine มักปวดบริเวณหน้าผาก รอบดวงตา ขมับและขากรรไกร มักปวดข้างใดข้างหนึ่งแต่ส่วนใหญ่ไม่มีอาการนำ
3. Hemoplegic Migraine มีอาการอ่อนแรงของแขนขาข้างหนึ่ง เป็นช่วงสั้นๆ หรือบางคนอาจจะมีเวียนศีรษะ จากนั้นประมาณครึ่งชั่วโมงจะมีอาการปวดศีรษะตามมา
4. Ophthalmoplegic Migraine ผู้ป่วยจะปวดศีรษะร่วมกับหนังตาตก เห็นภาพซ้อน
5. Basilar Artery Migraine ก่อนปวดศีรษะจะเวียนศีรษะ ทรงตัวไม่ได้ เห็นภาพซ้อน
6. 6.Status Migrainosus ผู้ป่วยจะปวดศีรษะนานกว่า 72 ชั่วโมงและมีอาการมากกว่าปกติ
ใน ปัจจุบันทางการแพทย์ยังไม่มีวิธีรักษาไมเกรนให้หายขาดได้ แต่มีวิธีช่วยให้ความถี่และความรุนแรงลดน้อยลง โดยการหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ ล่าสุดในประเทศไทยได้พัฒนาการรักษาโรคไมเกรนจากศาสตร์การกดจุดรักษาโรค โดยการปรับระบบกล้ามเนื้อและการกระตุ้นการทำงานของระบบประสาท เพื่อปรับสมดุลการทำงานของหลอดเลือดแดงที่อยู่ภายนอกและภายในศีรษะ อันเป็นสาเหตุของการปวดศีรษะ โดยอาการปวดศีรษะจะลดลงภายในครั้งแรกของการรักษา และเมื่อรักษาอย่างต่อเนื่องจะสามารถป้องกันการกลับมาของไมเกรนได้ โดยที่ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องกินยา ทั้งนี้ผู้ป่วยเป็นไมเกรนต้องดูแลสุขภาพอย่างสม่ำเสม
แหล่งที่มา : women.sanook.com