สมุนไพรรักษาโรคผิวหนังสุนัข ยาสมุนไพรรักษาโรคเบาหวาน สมุนไพรรักษาโรคเก๊าต์


5,079 ผู้ชม


สมุนไพรรักษาโรคผิวหนังสุนัข ยาสมุนไพรรักษาโรคเบาหวาน สมุนไพรรักษาโรคเก๊าต์

 

 

สมุนไพรรักษาเบาหวาน

      เบาหวาน ( Diabetes mellitus) เป็นความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิต ฮอร์โมน อินซูลิน 
( Insulin) ไม่เพียงพอ อันส่งผลทำให้ระดับ น้ำตาล ใน กระแสเลือด สูงเกิน โรคนี้มีความรุนแรงสืบเนื่องมาจากการที่ร่าง
กายไม่สามารถใช้น้ำตาลได้อย่างเหมาะสม โดยปกติน้ำตาลจะเข้าสู่เซลล์ร่างกายเพื่อใช้เป็นพลังงานภายใต้การควบคุมของ
ฮอร์โมนอินซูลินในผู้ชายที่เป็นโรคเบาหวานจะไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ   ผลที่เกิดขึ้นทำให้ระดับน้ำตาล
ในเลือดสูงขึ้น ในระยะยาวจะมีผลในการทำลายหลอดเลือด  ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจนำไปสู่สภาวะ
แทรกซ้อนที่รุนแรงได้
นิดและสาเหตุ
    
เบาหวาน สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่
       •  โรคเบาหวานชนิดที่ 1 
เกิดจากภูมิต้านทานของร่างกายทำลายเซลล์ ซึ่งสร้างอินซูลินในส่วนของ ตับอ่อน ทำให้ร่างกายหยุดสร้างอินซูลิน ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 จึงจำเป็นต้องฉีดอินซูลิน เพื่อควบคุมน้ำตาลใน
เลือดระยะยาว
             
•  โรคเบาหวานชนิดที่ 2 าเหตุที่แท้จริงนั้นยังไม่ทราบชัดเจน แต่มีส่วนเกี่ยวกับ พันธุกรรม นอก
จากนี้ ยังมีความสัมพันธ์กับภาวะน้ำหนักตัวมาก และขาดการออกกำลังกาย ทั้งวัยที่เพิ่มขึ้น เซลล์ของผู้ป่วยยังคงมีการสร้าง
อินซูลินแต่ทำงานไม่เป็นปกติ เนื่องจากมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้เซลล์ที่สร้างอินซูลินค่อยๆถูกทำลายไป บางคนเริ่มมีภาวะ
แทรกซ้อนโดยไม่รู้ตัว และต้องการยาในการรับประทาน และบางรายต้องใช้อินซูลินชนิดฉีด เพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือด

อาการ
      
ถ้าหากพบอาการดังต่อไปนี้ ควรปรึกษาแพทย์
    
•  ปัสสาวะมากขึ้นและบ่อยครั้งขึ้น

        •  ปัสสาวะกลางคืนบ่อยขึ้น (ระหว่างช่วงเวลาที่เข้านอนแล้วจนถึงเวลาตื่นนอน)
        •  หิวน้ำบ่อยและดื่มน้ำในปริมาณที่มากๆ
        •  เหนื่อยง่ายไม่มีเรี่ยวแรง
        •  น้ำหนักตัวลดโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะถ้าหากน้ำหนักเคยมากมาก่อน
        •  ติดเชื้อบ่อยกว่าปกติ เช่น ติดเชื้อทางผิวหนังและกระเพาะอาหาร
        •  สายตาพร่ามองเห็นไม่ชัดเจน
        •  เป็นแผลหายช้า
      โดย เบาหวานชนิดที่ 2 อาจจะมีอาการเหล่านี้บางอย่าง หรืออาจไม่มีอาการเหล่านี้เลย อาการแทรกซ้อน
      
 •  ภาวะแทรกซ้อนทางสายตา ( Diabetic retinopathy)

        •  ภาวะแทรกซ้อนทางไต ( Diabetic nephropathy)
        •  ภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท ( Diabetic neuropathy)
        •  โรคหลอดเลือดหัวใจ ( Coronary vascular disease)
        •  โรคหลอดเลือดสมอง ( Cerebrovascular disease)
        •  โรคของหลอดเลือดส่วนปลาย ( Peripheral vascular disease)
        •  แผลเรื้อรังจากเบาหวาน ( Diabetic ulcer)

การดูแลป้องกันโรคเบาหวาน
   
  •  ควบคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติและแก้ไขปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ การรักษาจำเป็นจะต้องทำงานร่วมกันระหว่าง ผู้ป่วย แพทย์ผู้ให้คำแนะนำเรื่องโรคเบาหวาน โภชนาการ และ ยา การรักษานี้จะช่วยให้เกิดความสมดุลทั้ง
ในด้านโภชนาการ การออกกำลังกาย และการใช้ยารักษา
   •  ควรเจาะระดับน้ำตาลในเลือดสม่ำเสมอ ให้ปรึกษาแพทย์ว่าควรเจาะช่วงใด และบ่อยแค่ไหนถึงจะดีที่สุด
      •  ยาบางชนิดหรือยา 
สมุนไพร อาจมีผลต่อการควบคุมน้ำตาลในเลือด จะต้องตรวจสอบกับแพทย์และ เภสัชกร ก่อนเลือกผลิตภัณฑ์ยาเหล่านี้

เคล็ดลับการรักษาด้วยว่านหางจระเข้

         โรคเบาหวานเกิดจากการเผาผลาญอาหารในร่างกายผิดปกติไปและว่านหางจระเข้ก็ช่วยกระตุ้นการเผาผลาญอาหาร
ในร่างกายได้ จึงใช้ได้ผลดีมาก
     วิธีรับประทานจะรับประทานว่านสดหรือจะดื่มน้ำคั้นว่านหางจระเข้ก็ได้ ในปริมาณ 15กรัมทุกวันหากเป็นการรับ
ประทานเพื่อป้องกันโรค ก็อาจรับประทานในปริมาณที่น้อยลง 
         
ใคร ๆ ก็รู้ว่ามีประโยชน์ สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานนั้นการออกกำลังกายมีประโยชน์ทั้งในแง่ของ
การทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง และยังสามารถป้องกันการเกิดเป็นโรคเบาหวานในคนที่มีปัจจัย
เสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้ด้วย ก่อนที่จะเริ่มออกกำลังกาย ผู้ป่วยโรคเบาหวานจะต้องมีการเตรียมตัวและวาง
แผนมากกว่าคนทั่วไปอีกเล็กน้อย 

           การออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรออกกำลังนานเกินกว่า 30 นาที โดยควรมีช่วงของการอุ่นเครื่อง 10 
นาที และช่วงของการเบาเครื่อง 10 นาทีด้วย แต่เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานจะต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดบาดแผลที่บริเวณ
เท้า ดังนั้น การออกกำลังกายจึงควรเลือกประเภทที่ไม่มีผลต่อการบาดเจ็บที่เท้า เช่น โยคะ รำมวยจีน การเดินเร็ว การว่าย
น้ำ หรือการปั่นจักรยาน 

          สำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่จำเป็นต้องฉีดอินซูลิน อาจจะต้องปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินสภาพเบาหวาน ปรับอาหาร
และปรับปริมาณยาก่อนที่จะออกกำลังกาย ควรจะออกกำลังกายก่อนฉีดยา และตรวจระดับน้ำตาลในเลือดก่อนและหลังการ
ออกกำลังกายในระยะแรก เพื่อให้ทราบการเปลี่ยนแปลงของน้ำตาลในเลือด อย่าฉีดอินซูลินลงในกล้ามเนื้อที่ใช้ออกกำลัง 
เช่น บริเวณหน้าขาเพราะจะทำให้เกิดดูดซึมอินซูลินอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้น้ำตาลในเลือดต่ำจนเกิดอันตราย พบว่าตำแหน่ง
ที่ดีที่สุดในการฉีดยาควรเป็นบริเวณหน้าท้องและที่สำคัญขณะออกกำลังกายควรพกอาหารพวกคาร์โบไฮเดรตที่ออกฤทธิ์เร็ว 
เช่น น้ำตาลก้อน หรือท็อฟฟี่ติดตัวเพื่อเตรียมไว้แก้ไขปัญหาน้ำตาลในเลือดต่ำฉุกเฉิน เราพบว่าการออกกำลังกายสม่ำเสมอ
ทุกวันแบบไม่หักโหมนั้นเป็นวิธีหนึ่งที่มีประโยชน์ต่อร่างกายแล้วยังช่วยให้ยืดอายุผู้ป่วยเบาหวานให้ยาวนานอีกด้วย แพทย์
หญิงเจรียง จันทรกมล นายกสมาคมศิษย์เก่าแพทย์จุฬาลงกรณ์ สนับสนุนข้อมูลโดย แพทย์หญิงศิริกานต์ นิเทศวรวิทย์ อายุร
แพทย์ต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิสม 

 


แหล่งที่มา : info.muslimthaipost.com

อัพเดทล่าสุด