อาการแพ้ท้องเริ่มตอนไหน อาการแพ้ท้อง เริ่มตอนไหน อาหารแก้อาการแพ้ท้อง


24,019 ผู้ชม


อาการแพ้ท้องเริ่มตอนไหน อาการแพ้ท้อง เริ่มตอนไหน อาหารแก้อาการแพ้ท้อง

 

 
อาการที่อาจเกิดขึ้นกับคุณแม่ที่ตั้งท้องจ้า
รู้สึกเปรี้ยวปาก 
อยากกินอาหารแปลกๆ รู้สึกพะอืดพะอมอยากจะอาเจียน ส่วนใหญ่มักจะเป็นตอนเช้า หลังตื่นนอน กลิ่นอาหาร น้ำหอมที่เคยชอบ ตอนนี้กลับไม่ชอบ อยากกินของเปรี้ยว อย่างมะม่วง มะดัน มะกอก ยิ่งเปรี้ยวยิ่งอร่อย 
อาการเหล่านี้เป็นสัญญาณที่บอกว่า คุณกำลังจะได้เป็นแม่คนกับเขาแล้วล่ะ เราเรียกอาการเหล่านี้ว่า “แพ้ท้อง” ค่ะ 
ส่วนใหญ่อาการแพ้ท้องจะเกิดขึ้น เมื่อประจำเดือนขาดไปประมาณ 2 สัปดาห์ ถ้าจะนับอายุครรภ์ก็ประมาณ 6 สัปดาห์ อาการแพ้ท้องนี้จะเพิ่มขึ้น คือแพ้มากขึ้นเรื่อยๆ และจะแพ้หนักที่สุดในช่วงสัปดาห์ที่ 9 หลังจากนั้นอาการก็จะเริ่มดีขึ้น แม่ท้องส่วนใหญ่จะหายแพ้ในช่วงสัปดาห์ที่ 14 แต่ก็มีแม่ท้องบางคนที่มีอาการแพ้ท้องไปจนถึงคลอด บางคนก็แทบไม่มีอาการแพ้ท้องเลยค่ะ 
อาการแพ้ท้องจะแสดงออกได้หลายอย่าง แต่ที่เห็นและเป็นกันมาก จนหยิบไปเป็นฉากในละครทีวีบ่อยๆ ก็อาการอาเจียนโอ้กอ้ากนี่ล่ะ ช่วงนี้คุณแม่ท้องจึงอาจกินอาหารได้น้อย ดังนั้นสิ่งที่ควรคำนึงถึงก็คือเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ และหลีกเลี่ยงจากสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ เช่น อาหารบางชนิด กลิ่นน้ำหอม ดอกไม้ ฯลฯ ซึ่งจะแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคลรวมถึงอาการแพ้มากแพ้น้อยที่จะเกิดขึ้นด้วย ส่วนเหตุผลของอาการเหล่านี้แม้แต่ในวงการคุณหมอเอง ก็ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดเลยค่ะ แต่ก็สันนิษฐานกันว่าน่าจะมาจาก 2 ปัจจัยคือ 
ฮอร์โมน 
ผู้หญิงเราเมื่อตั้งครรภ์ฮอร์โมนหลายชนิดในร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งฮอร์โมนที่สร้างมาจากรกที่เรียกว่า human chorlonic gonadotroin (hCG) ซึ่งจะมีระดับสูงสุดในช่วงเดือนแรกๆ ของการตั้งครรภ์ ส่งผลให้คุณแม่เกิดอาการแพ้ท้องมากขึ้นตามไปด้วย เมื่อระดับฮอร์โมนลดลงอาการแพ้ท้องก็จะลดลงจนหายไปในที่สุด แต่ก็มีคุณแม่บางท่านที่มีอาการแพ้เป็นระยะเวลานาน จนกระทั่งคลอด ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องร้ายแรงอะไรนะคะ หากมีการดูแลครรภ์ที่ดี 
นอกจากนี้การตั้งครรภ์ผิดปกติ เช่น ครรภ์แฝด ครรภ์ไข่ปลาอุก ภาวะเหล่านี้ทำให้ฮอร์โมนจากรก เข้ามาอยู่ในกระแสเลือดของแม่มากขึ้น ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนได้มากกว่าปกติ 
สภาพจิตใจ 
ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อค่ะว่าใจและกายนั้นสามารถส่งต่อถึงกัน หากเรามีจิตใจที่อ่อนแอจากภาวะเครียด วิตกกังวล ไม่ว่าจะจากการตั้งครรภ์ การคลอด หรือแม้กระทั่งการเลี้ยงดูลูกในอนาคต ส่งผลให้ร่างกายคุณแม่แสดงออกด้วยการคลื่นไส้อาเจียนที่เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นช่วงนี้ควรพยายามทำจิตใจให้สดชื่นไม่คิด ไม่กังวล เพื่อลูกในท้องจะได้คลอดออกมาอย่างสมบูรณ์แข็งแรงค่ะ 
แม่แพ้ท้องต้องดูแลอย่างไร 
อย่างที่บอกค่ะ อาการส่วนใหญ่จะแสดงออกด้วยการคลื่นไส้อาเจียน คุณแม่บางคนอาเจียนจนหมดเรี่ยวหมดแรง นับเป็นความรู้สึกที่ทรมานทั้งใจทั้งกาย หลักในการดูแลตัวเองในช่วงแพ้ๆ อย่างนี้ก็คือ เลือกกินและเลือกทำในสิ่งที่จะช่วยให้คุณกินอาหารได้มาก และเลี่ยงสิ่งที่จะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนแบบนี้ค่ะ 
เลือกอย่างนี้สิคุณแม่ 
• กินอาหารอ่อนๆ ย่อยง่าย เพราะระหว่างตั้งครรภ์ ฮอร์โมนที่สูงขึ้นจะมีผลทำให้ลำไส้ทำงานช้าลง อาหารที่ย่อยยากจะผ่านไปได้ยากทำให้มีอาการอืดแน่นท้องได้ง่าย ซึ่งก็ง่ายต่อการคลื่นไส้ อาเจียน 
• ควรกินอาหารในขณะที่ยังอุ่นๆ อยู่ หรือจิบน้ำอุ่น เมื่อรู้สึกมีอาการคลื่นไส้อยากจะอาเจียน 
• แบ่งอาหารเป็นมื้อย่อยๆ หลายๆ มื้อ เพราะการกินอาหารครั้งละมากๆ จนอิ่ม ส่วนใหญ่มักอาเจียนออกมาหมดได้เหมือนกัน ควรกินครั้งละน้อยๆ ให้พอรู้สึกอิ่ม ใน 1 วัน อาจจะแบ่งอาหารเป็นมื้อย่อยๆ สักประมาณ 5-6 มื้อ 
• หลังกินอาหารอิ่มแล้วควรเดินช้าๆ ประมาณ 15-30 นาที เพื่อให้อาหารย่อย และจะช่วยให้คุณแม่รู้สึกผ่อนคลาย หากมีอาการคลื่นไส้อยากจะอาเจียนให้นั่งพัก หลับตาพร้อมกับหายใจยาวๆ ลึกๆ 
• ดื่มน้ำขิงอุ่นๆ จะช่วยให้รู้สึกดีขึ้น 
• ในช่วงเช้าควรหาอาหารที่กินง่ายๆ รองท้องเพื่อไม่ให้ท้องว่าง เช่น ขนมปังกรอบ คุกกี้ 
• หากคุณรู้สึกแพ้มากชนิดที่เรียกว่ากินอะไรเข้าไปก็อาเจียนออกมาหมด ควรหาลูกอม ขนมหวาน น้ำผลไม้ เพื่อให้ร่างกายรับพลังงานเพียงพอ และป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ 
• หลังจากอาเจียนใหม่ๆ ควรดื่มน้ำอุ่นๆ กลั้วคอและล้างกลิ่นที่อาจเป็นสาเหตุให้คุณแม่พะอืดพะอมขึ้นมาอีก 
• หากิจกรรมหรืองานอดิเรกที่ชอบทำให้รู้สึกเพลินๆ เพื่อให้ลืมความรู้สึกที่อยากจะอาเจียน 
สิ่งที่ต้องเลี่ยง 
 กลิ่นที่ทำให้เกิดอาการแพ้ ไม่ว่าจะเป็นกลิ่นอาหาร น้ำหอม ฯลฯ อย่าลืมบอกให้คนในบ้านรู้ด้วยนะคะว่า คุณแม่แพ้กลิ่นอะไรบ้าง 
 อาหารทอด มันๆ ควรหลีกเลี่ยงนะคะ เพราะความมันในอาหารก็เป็นสาเหตุที่ทำให้อาเจียนได้ 
 ไม่ควรปล่อยให้หิวด้วยเพราะกลัวว่ากินเข้าไปแล้วจะทำให้อาเจียน เพราะในขณะที่ท้องว่าง กระเพาะจะหลั่งน้ำย่อยออกมาตามเวลาปกติ ดังนั้นน้ำย่อยที่ออกมาจะทำให้คุณแม่รู้สึกแสบร้อนในท้อง และอาจมีอาการจุกเสียด คลื่นไส้อาเจียนมากขึ้น จึงควรกินอาหารรองท้องไว้บ้าง 
 ไม่ควรนอนทันทีหลังกินอาหาร เพราะการนอนทันทีจะทำให้อาหารไหลย้อนกลับออกมาได้ง่าย 
 ไม่ควรอดนอน เพราะการพักผ่อนไม่เพียงพอจะเป็นสาเหตุของการเวียนหัว และคลื่นไส้ได้ทั้งวันค่ะ 
 ในช่วงที่แพ้ท้อง ไม่ควรไปไหนมาไหนที่ต้องใช้เวลาเดินทางหรือนั่งอยู่ในรถนานเกินไป จะทำให้คุณแม่รู้สึกอ่อนเพลียได้ 
 หลีกเลี่ยงการไปกินอาหารนอกบ้านที่มีคนพลุกพล่าน หรือร้านที่มีส่วนของครัวกับโต๊ะอาหารอยู่ในบริเวณเดียวกัน เพราะคุณอาจได้กลิ่นอาหารที่ไม่ชอบ ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนได้ 
อาการแพ้ท้อง 
อาการแพ้ท้องมักเกิดในระยะแรกของการตั้งครรภ์พอเข้าสู่ไตรมาสสองอาการแพ้ท้องจะหายไปอาการของอาการแพ้ท้องมีอะไรบ้าง 
- คลื่นไส้อาเจียนหลังจากดื่มน้ำหรือรับประทานอาหาร 
- น้ำหนักลด 
- ขาดน้ำ 
- ปัสสาวะสีเข้ม 
- เกลือแร่ในร่างกายอาจผิดปกติ 
การดูแลตัวกรณีที่อาการไม่มาก 
- รับประทานอาหารว่างที่มีโปรตีนสูง 
- งดอาหารที่มีไขมันหรือใยอาหารสูงรับประทานอาหารที่มีแป้งสูง 
- ให้รับประทานอาหารครั้งละน้อยๆแต่บ่อยๆ 
- ให้รับประทานอาหารบนเตียงตอนตื่นนอนเนื่องจากการเคลื่อนไหวจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน 
- เลือกรับประทานอาหารที่มีรสดี 
- อย่าให้ท้องว่างเพราะท้องว่างจะทำให้เกิดคลื่นไส้อาเจียน 
- หลีกเลี่ยงกลิ่นฉุนๆ 
- งดดื่นน้ำผลไม้ กาแฟ แอลกอฮอล์ระหว่างรับประทานอาหาร 
- ดื่มน้ำขิงอาจจะบรรเทาอาการ 
ถ้ามีอาการมากน้ำหนักตัวลดมาก 
- แพทย์จะให้ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน 
- ให้น้ำเกลือเพื่อแก้คลื่นไส้อาเจียน 
การเปลี่ยนแปลงทางเต้านม 
ไตรมาสแรก 
หลังการตั้งครรภ์6-8สัปดาห์จะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเต้านม คุณแม่จะรู้สึกว่าเต้านมใหญ่ขึ้น กดจะเจ็บเนื่องจากมีการเจริญเติบโตของไขมันและต่อมน้ำนม เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงขยายใหญ่ขึ้นจนสังเกตเห็นได้ ควรเลือกขนาดของยกทรงให้เหมาะสม หัวนมและฐานหัวนมจะดำขึ้น 
ไตรมาสสอง 
ขนาดของเต้านมจะใหญ่ขึ้นและมีการเริ่มสร้าง colustrum ซึ่งไม่จำเป็นต้องเกิดกับทุกคนแรกๆจะมีลักษณะเหนียวข้นต่อมาจะมีลักษณะเหลวใส ของเหลวนี้จะหลังเมื่อมีการบีบหรือมีความตื่นเต้นทางเพศ 
คุณแม่ต้องสังเกตว่าหัวนมโผล่หรือไม่ถ้าไม่โผล่ต้องปรึกษาแพทย์ 
อาการปวดหลัง 
อาการปวดหลังเป็นอาการที่พบได้บ่อยเกิดได้ตั้งแต่เดือนแรกจนใกล้คลอด สาเหตุเกิดจากมดลูกที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและมีน้ำหนักมากขึ้นทำให้หลังต้องแบกน้ำหนักเพิ่มขึ้นซึ่งมีวิธีป้องกันดังนี้ 
- อย่าใส่รองเท้าส้นสูงให้ใส่รองเท้าส้นเตี้ยๆ 
- งดยกของหนัก 
- ห้ามก้มยกของ 
- อย่ายืนนาน ถ้าหากต้องยืนนานให้ยืนด้วยขาข้างเดียวสลับกันไป 
- นั่งบนเก้าอี้ที่มีพนักพิงและให้หนุนหมอนใบเล็กๆที่หลัง 
- จัดสิ่งแวดล้อมที่บ้านและที่ทำงานเพื่อจะได้ไม่ต้องงอหลัง 
- ที่นอนต้องไม่แข็งเกินไป 
- ให้นอนตะแคงซ้ายขาขวาก่ายหมอนข้าง 
- ประคบร้อนบริเวณที่ปวด 
- ออกกำลังบริหารกล้ามเนื้อ 
การบริหารเพื่อป้องกันการปวดหลัง 
ปัสสาวะบ่อย ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์คุณแม่คงจะมีความรู้สึกอยากปัสสาวะแม้ว่าจะเพิ่งไปปัสสาวะมาเนื่องจากมดลูกที่โตกดกระเพาะปัสสาวะ อาการปัสสาวะบ่อยจะดีขึ้นเมื่อมดลูกเจริญเข้าในท้องและจะเริ่มมีอาการอีกครั้งเมื่อเด็กใกล้คลอด เมื่อมีปัสสาวะเล็ดเวลาจามหรือไอให้บริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน 
อาการปวดท้องน้อย 
เมื่อมดลูกใหญ่ขึ้นจะทำให้เอ็นทียึดมดลูกตึงตัว คุณแม่จะรู้สึกตึงหน้าท้องบางครั้งข้างเดียวบางครั้งสองข้างลักษณะจะปวดตึงๆมักจะเริ่มขณะอายุครรภ์ 18-24 สัปดาห์ การป้องกัน 
- อย่าเปลี่ยนท่าอย่างรวดเร็ว 
- เมื่อปวดท้องให้โน้มตัวมาท่งหน้า 
- ให้นอนพักหรือเปลี่ยนท่าบ่อยๆจะช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด 
อาการปวดศีรษะ 
เป็นอาการที่พบได้บ่อย ความถี่ของการปวดและความรุนแรงจะไม่เท่ากันในแต่ละคนหากท่านรับประทานยาเป็นประจำโปรดปรึกษาแพทย์ โปรดปรึกษาแพทย์หากมีอาการดังต่อไปนี้ 
- ปวดไม่หาย 
- ปวดบ่อย 
- ปวดรุนแรงมาก 
- ตาพร่ามัวหรือมองเป็นจุด 
- ปวดศีรษะร่วมกับคลื่นไส้ 
ริดสีดวงทวาร 
เป็นหลอดเลือดที่โป่งพองมักจะพบในคนที่ท้องผูก หลังคลอดอาการท้องผูกจะดีขึ้น การป้องกัน 
-หลีกเลี่ยงท้องผูก 
-รับประทานอาหารที่มีใยมาก 
-ดื่มน้ำมากๆ 
-ก้นแช่น้ำอุ่น 
-ใช้ครีมทา 
อาการจุกเสียดแน่นท้อง 
คุณแม่จะมีอาการจุกเสียดท้องอาการจุกจะเริ่มจากกระเพาะไปสู่หลอดอาหารเกิดเนื่องจากมีกรดมาก อาหารย่อยช้าและมดลูกที่ดันกระเพาะปัจจัยต่างๆเหล่านี้จะทำให้แน่นท้อง วิธีป้องกันอาการแน่นท้อง 
- รับประทานอาหารบ่อยๆเป็นวันละ 5-6 ครั้ง 
- หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำระหว่างรับประทานอาหาร 
- หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดแก๊ส และรสจัด 
- งดสุราและบุหรี่ 
- งดอาหารก่อนออกกำลังกาย 
นอนไม่หลับ 
มดลูกเริ่มโตขึ้นคุณแม่จะหาท่าสบายๆนอนยากเต็มแต่ก็มีเคล็ดในการนอนคือ 
- ถ้านอนไม่หลับให้อาบน้ำอุ่นก่อนนอน 
- ดื่มนมอุ่นๆสักแก้วจะช่วยให้หลับดีขึ้น 
- ให้นอนตะแคงข้างซ้ายมีหมอนหนุนท้องและขา 
- นอนบนม้าโยก 
ตะคริว 
คุณแม่เมื่อใกล้คลอดจะมีอาการตะคริวที่เท้าทั้งสองข้างโดยมากมักจะเป็นขณะนอน มีวิธีป้องกันดังนี้ 
-ให้เหยียดขาก่อนนอน 
-ขณะเหยียดห้ามชี้นิ้วเท้าให้ดึงข้อเท้าเข้าหาตัว 
-ประคบอุ่นที่น่อง 
-นวดน่อง 
-ดื่มน้ำมากๆ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์หรือกาแฟ 
-ให้รับประทานอาหารที่มีแคลเซียม 
อาการเหนื่อยหอบ 
เมื่ออายุครรภ์ได้31-34 สัปดาห์มดลูกใหญ่ขึ้นจนดันกำบังลมทำให้รู้สึกหายใจไม่อิ่ม คุณแม่ไม่ต้องกังวลกับอาการนี้ว่าลูกจะได้ oxygen เพียงพอหรือไม่เด็กยังคงได้รับ oxygen อย่างเพียงพอ เมื่อใกล้คลอดอายุครรภ์ 36-38 สัปดาห์จะเริ่มหายใจสะดวกขึ้นเนื่องจากเด็กเคลื่อนตัวลงช่องเชิงกรานวิธีป้องกันไม่หายเหนื่อย 
-ขยับตัวช้าๆเพื่อไม่ให้ปอดและหัวใจทำงานหนัก 
-นั่งตัวตรงเพื่อเพิ่มเนื้อที่ปอด 
-ให้นอนหัวสูง 
การเปลี่ยนผิวหนังในคนท้อง 
เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังที่พบบ่อยๆคือ 
-จะเกิดฝ้าขึ้นโดยเฉพาะบริเวณที่เจอแดดดังนั้นควรทาครีมกันแดด 
-จะเกิดรอยดำเป็นเส้นบริเวณหัวเหน่า หลังคลอดรอยดำจะหายไป 
-รอยแนวสีชมพูบริเวณหน้าท้องที่เรียกว่าท้องลายเป็นการขยายของหน้าท้องเพื่อการเจริญเติบโตของเด็ก ไม่มีทางป้องกัน รอยนี้จะค่อยๆจางหายไปหลังคลอด 
-จะเห็นเส้นเลือดบริเวณหน้าอกขยาย ผิวบริเวณผ่ามือจะแดง อาการทั้งสองเป็นผลจากฮอร์โมน 
-อาจจะเกิดสิวขึ้นให้ล้างหน้าวันละหลายครั้ง ห้ามใช้ tetracyclin และRoaccutane 
อาการบวมและเส้นเลือดขอด 
ผู้ป่วยที่ใกล้คลอดอาจจะมีอาการบวมหลังเท้าวิธีแก้ให้นั่งหรือนอนยกเท้าสูง ห้ามซื้อยาขับปัสสาวะมารับประทานเด็ดขาด ถ้าหากบวมแขนหรือหน้าต้องแจ้งแพทย์ให้ทราบ 
เส้นเลือดขอดเกิดจากมดลูกกดทับเส้นเลือดดำอาจจะเกิดบริเวณขา อวัยวะเพศหลังคลอดจะหายไปวิธีป้องกัน 
-อย่านั่งหรือยืนนานเกินไป 
-ยกเท้าสูง 
-นอนยกเท้าสูง 
-อย่าใส่ถุงเท้าที่รัดแน่น 
-ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 
-อย่านั่งไขว่ห้าง 

แหล่งที่มา : bloggang.com

อัพเดทล่าสุด