โรคสะอึก สาเหตุของการสะอึก วิธีทำให้หายสะอึก


2,406 ผู้ชม


โรคสะอึก สาเหตุของการสะอึก วิธีทำให้หายสะอึก


สาเหตุของอาการสะอึก

  1. สำหรับสาเหตุเชื่อกันว่าเกิดจากการรับประทานอาหารมากเกิน เร็วเกินไป บางคนอาจจะมีความตึงเครียดมากไป บางคนอาจเกิดจากการดื่มเครื่องดื่มประเภทมีแอลกอฮอล์ในกระเพาะอาหาร หรือสูบบุหรี่มากเกินไป นอกจากนี้การบริโภคอาหารที่ทำให้มีก๊าซมากก็อาจเป็นสาเหตุของการสะอึกได้
  2. สาเหตุของการสะอึกอาจเกิดจากมีอะไรไปรบกวนประสาทที่ควบคุมการทำงานของกะบังลม ลมในกระเพาะอาหารขยายตัวไปกระตุ้นปลายประสาทที่มาเลี้ยวกะบังลม หรืออวัยวะใกล้กะบังลมเป็นโรคบางอย่าง เช่น เยื่อหุ้มปอดอักเสบ มูลเหตุเหล่านี้ทำให้ กะบังลมหดตัวอย่างรุนแรงทันทีทันใด การบีบรัดตัวของกะบังลมทำให้แผ่นเหนือกล่องเสียงที่คอหอยซึ่งปกติคอยกั้นไม่ให้อาหารเข้าไปในหลอดลมปิดลง เมื่อกะบังลมหดอย่างรุนแรงก็จะดึงอากาศเข้าสู่ปอดผ่านคอหอย อากาศจึงกระทบกับแผ่นปิด แล้วทำให้สายเสียงสั่นสะเทือน จึงเกิดเสียงสะอึก อย่างที่ได้ยินเวลาสะอึก
  3. อาการสะอึกเกิดได้กับคนทุกคน สาเหตุเป็นเพราะกระเพาะอาหารเกิดการระคายเคือง จึงได้ไปกระคุ้นให้เส้นประสาทในบริเวณนี้ทำงานผิดปกติ ชักนำให้กล้ามเนื้อกะบังลม กล้ามเนื้อที่กั้นกลางระหว่างช่องอกกับช่องท้อง มีการหดเกร็งตัวเป็นจังหวะๆ และกล้ามเนื้อซี่โครงก็ได้รับผลกระเทือนให้เกิดจากหดเกร็งตัวในลักษณะเดียวกัน อย่างไรก็ตาม สาเหตุก็ไม่จำเป็นต้องเกิดจากการระคายเคืองที่กระเพาะอาหารเสมอไป บางครั้งก็อาจก่อตัวที่ศูนย์การสะอึกที่อยู่ในสมองที่บังคับควบคุมให้เกิดการเคลื่อนไหวผิดปกติของกะบังลม จนเกิดเป็นอาการสะอึก
  4. นอกจากนี้ยังอาจมีสาเหตุจากความผิดปกติในบริเวณคอ และหน้าอก เช่น ก้อนเนื้องอก ต่อมน้ำเหลืองโต เป็นต้น หรือเกิดจากโรคในช่องท้อง เช่น เยื่อบุช่องท้องอักเสบ ไตวาย หรือภายหลังการผ่าตัดช่องท้อง เป็นต้น หรือบางครั้งก็อาจเกิดจากสาเหตุทางด้านอารมณ์ เช่น ความรู้สึกช็อก ความเครียดเรื้อรัง เป็นต้น
  5. สาเหตุอาจเกิดจากยาบางชนิด เช่น ยาปฏิชีวนะกลุ่ม beta-lactams, macrolides, fluoroquinolone หรือแอลกอฮอล์

การค้นหาสาเหตุ

  1. ในการค้นหาสาเหตุของการสะอึกเป็นเวลานานๆ แพทย์อาจต้องตรวจระบบทางเดินอาหารว่ามีการอักเสบของหลอดอาหารที่เกิดจากการย้อนกลับของน้ำย่อยอาหารที่มาจากกระเพาะอาหารหรือไม่ หรืออาจเกิดจากกระเพาะลำไส้อุดตัน ลำไส้โป่งพอง เยื่อบุช่องท้องอักเสบ
  2. ต้องตรวจความผิดปกติในลำคอ ในหู ในจมูก
  3. ตรวจระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคที่รบกวนต่อเส้นประสาทเวกัส เส้นประสาทฟรีนิก หรือกระบังลม เช่น การกลืนอาหารอย่างรีบร้อน อาหารติดคอ ปอดอักเสบ
  4. ตรวจระบบสมองและประสาท โรคทางระบบประสาทที่มีรอยโรคบริเวณก้านสมอง เช่น หลอดเลือดสมองตีบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ พิษสุราเรื้อรัง รวมทั้งภาวะทางจิตใจ เช่น เครียด หรืออาการแสร้งทำ ซึ่งพบบ่อยในผู้หญิง จากสาเหตุทางจิตใจมากกว่าร้อยละ 90


แหล่งที่มา : 108health.com

อัพเดทล่าสุด