โรคถุงลมโป่งพอง คือ สาเหตุโรคถุงลมโป่งพอง การป้องกันโรคถุงลมโป่งพอง


835 ผู้ชม


โรคถุงลมโป่งพอง คือ สาเหตุโรคถุงลมโป่งพอง การป้องกันโรคถุงลมโป่งพอง

 

 

โรคถุงลมโป่งพอง (Pulmonary Emphysema)
โดย : นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ


ส่วนใหญ่เกิดจากการสูบบุหรี่ พบในผู้สูงอายุ โดยที่สมรรถภาพการทำงานของปอดจะค่อยๆ ลดลงไปเรื่อยๆ และผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อยเป็นลำดับ เมื่อโรคเป็นมากขึ้น แม้เพียงทำกิจวัตรประจำวัน เช่น ล้างหน้า แปรงฟัน รับประทานอาหาร ผู้ป่วยก็จะรู้สึกเหนื่อย... 

imageส่วนใหญ่เกิดจากการสูบบุหรี่ พบในผู้สูงอายุ โดยที่สมรรถภาพการทำงานของปอดจะค่อยๆ ลดลงไปเรื่อยๆ และผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อยเป็นลำดับ เมื่อโรคเป็นมากขึ้น แม้เพียงทำกิจวัตรประจำวัน เช่น ล้างหน้า แปรงฟัน รับประทานอาหาร ผู้ป่วยก็จะรู้สึกเหนื่อย ผู้ป่วยโรคนี้ต้องทนทุกข์ทรมานมาก ทำให้สุขภาพและความเป็นอยู่เสื่อมถอยลง ซึ่งรวมทั้งทางด้านจิตใจด้วย นอกจากนั้นยังเป็นภาระกับบุคคลในครอบครัว และต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาเป็นจำนวนมาก


ปอด หลอดลม และถุงลม

ภายในปอดประกอบไปด้วยถุงลมเล็กๆ เป็นจำนวนนับล้านๆ ถุง ถุงลมเหล่านี้มีขนาดเล็กมากกว่าปลายเข็ม
ผนังถุงลมจะบางมาก และมีเส้นเลือดฝอยบุอยู่ตามผนังถุงลม เวลาคนเราหายใจเข้าสู่ปอด อากาศที่มีออกซิเจน
จะเข้ามาถึงถุงลมเล็กๆ เหล่านี้ ซึ่งจะเป็นที่ที่ออกซิเจนซึมผ่านผนังถุงลมเข้าสู่เส้นเลือดฝอยเพื่อไปเลี้ยงร่างกาย ขณะเดียวกันคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นก๊าซเสียจะถูกขับออกจากเส้นเลือดฝอยเข้าสู่ถุงลม และถูกขับออกจากร่างกายโดยการหายใจออก

สาเหตุของโรค

สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการสูบบุหรี่ เนื่องจากการสูบบุหรี่จะต้องมีการสูดเอาควันบุหรี่เข้าไปในร่างกาย โดยผ่านเข้าไปในปอด สารพิษในควันบุหรี่ที่มีมากมายก่อให้เกิดอันตรายต่อเนื้อปอดและหลอดลม

ในชาวตะวันตก พบสาเหตุเกิดจากภาวะพร่องเอ็นซัยม์อัลฟาวันแอนติทริปซิน กลุ่มนี้ทำให้เกิดโรคถุงลมโป่งพองชนิดถ่ายทอดทางพันธุกรรม อาการปรากฎเด่นชัดในช่วงวัยกลางคน ผู้ป่วยมักจะไม่สูบบุหรี่ ภาวะนี้พบได้ร้อยละ 3 ของโรคปอดเรื้อรังทั้งหมด

imageบุหรี่เป็นปัญหาสำคัญ

ปัจจุบันพบว่ามีผู้เสียชีวิตด้วยโรคจากบุหรี่ทั่วโลกประมาณปีละ 5 ล้านคน ทุกๆ 10 รายที่เสียชีวิต จะมี 1 รายที่เสียชีวิตด้วยสาเหตุจากบุหรี่ องค์การอนามัยโลกคาดว่าภายในปี ค.ศ. 2030 ตัวเลขจะเพิ่มเป็น 1 รายในทุก 6 ราย หรือประมาณ 10 ล้านคนต่อปี ถ้าแนวโน้มยังเป็นอยู่ดังที่ปรากฎ คนจำนวน 500 ล้านคน ที่ยังมีชีวิตอยู่ในวันนี้จะสูญเสียด้วยสาเหตุจากบุหรี่ในอนาคต ครึ่งหนึ่งในจำนวนดังกล่าวในวัยกลางคน คนเหล่านั้นจะมีอายุสั้นกว่าที่ควรประมาณ 20-25 ปี

ในปี ค.ศ. 1990 ผู้เสียชีวิต 2 ใน 3 ราย ด้วยสาเหตุจากบุหรี่ เป็นผู้ที่อยู่ในประเทศที่มีรายได้สูง แต่ภายในปี ค.ศ. 2030 ผู้เสียชีวิต 7 ใน 10 ราย ด้วยสาเหตุจากบุหรี่ จะเป็นผู้ที่อยู่อาศัยในประเทศที่ประชากรมีรายได้น้อยและรายได้ปานกลาง

แหล่งที่มา : 108health.com

อัพเดทล่าสุด