โรคหลอดเลือดสมองตีบ ยาขยายโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน การรักษาโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน


6,658 ผู้ชม


โรคหลอดเลือดสมองตีบ ยาขยายโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน การรักษาโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน

 

การใช้ยาละลายลิ่มเลือดรักษาโรคหลอดเลือดสมองตีบ
โดย : นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ

         ความก้าวหน้าทางการแพทย์ ทำให้ค้นพบวิธีรักษาโรคเส้นเลือดสมองตีบ โดยการใช้ยาละลายลิ่มเลือดเช่นเดียวกับการรักษาโรคเส้นเลือดหัวใจ เนื่องจากเส้นเลือดสมองที่ตีบตัน จะทำให้สมองขาดเลือดทันทีทันใด ผลก็คือ ผู้ป่วยเกิดอาการอัมพาต หรืออัมพฤกษ์อย่างกระทันหัน... 

 

imageปัจจุบันถ้าเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือตันการรักษาก็มีได้หลายแนวทางขึ้นกับตำแหน่งของโรคและระยะเวลาก่อนที่จะมาพบแพทย์ ในปัจจุบันได้มีการคิดค้นยาใหม่ๆ หลายชนิด โดยเฉพาะยาละลายลิ่มเลือด ซึ่งอาจช่วยให้ผู้ป่วยอาการดีขึ้นได้ แต่มีข้อจำกัด คือ ผู้ป่วยจะต้องได้รับยาภายในระยะเวลา 3 ชั่วโมงหลังจากมีอาการ และจะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อป้องกันและรักษาภาวะแทรกซ้อนได้อย่างทันท่วงที

การรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด

imageการรักษาโดยใช้ยาละลายลิ่มเลือด เรียกว่า thrombolytic therapy เป็นแนวทางการรักษาชนิดใหม่ ที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าได้ผลดีมากในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ หรือตันบางกลุ่ม ผลการศึกษาวิจัยใหญ่ๆ จำนวนมากพบว่าได้ผลดีในผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองชนิดตีบ ทำให้ขาดเลือดไปเลี้ยงสมอง โดยใช้ยาละลายลิ่มเลือดชนิดฉีดเข้าเส้นเลือด ได้ทดลองใช้ยาหลายชนิด ในขนาดที่ต่างๆ กัน ในช่วงระยะเวลาหลังจากเกิดอาการที่แตกต่างกัน พบว่าสามารถนำมาใช้ในเวชปฏิบัติได้ผลดี

การรักษาโดยใช้ยาละลายลิ่มเลือดเป็นวิธีที่ได้ผลดี
เมื่อใช้อย่างถูกต้องและทันท่วงที และได้ผลดีที่สุด เมื่อให้ยาภายใน 3 ชั่วโมงหลังเกิดอาการ ในขณะที่ยาจะไม่ได้ผลหากผู้ป่วยมีอาการมานานเกิน 6 ชั่วโมงไปแล้ว ความสำคัญจึงอยู่ที่การวินิจฉัยที่ถูกต้องตั้งแต่เนิ่นๆ และอยู่ในโรงพยาบาลที่มีแพทย์และเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ครบถ้วน ถือได้ว่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่ในการรักษาโรคนี้
ผลที่เกิดจากอัมพาตหรืออัมพฤกษ์
imageอัมพาตหรืออัมพฤกษ์เป็นผลที่เกิดขึ้นภายหลัง จากที่สมองเกิดภาวะผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดกับเนื้อสมอง ทำให้สมองส่วนนั้นไม่สามารถทำงานได้ อาจเป็นอย่างชั่วคราวหรือถาวร อาการที่มักจะพบได้ทั่วไป ก็คือ พูดไม่ชัด พูดไม่ถูกความหมาย ลิ้นแข็ง แขนขาไม่มีแรง หรือชา ซึ่งอาการอาจเกิดได้แบบทันทีทันใด และค่อยๆ เป็นมากขึ้นใน
ช่วง 2-3 วัน หรือเป็นๆ หายๆ กลุ่มหลอดเลือดสมองตีบตันพบมากประมาณร้อยละ 70 ของทั้งหมด ผลที่เกิดขึ้นพบว่าร้อยละ 30 ของผู้ป่วยจะเสียชีวิต อีกร้อยละ 30 ต้องทุพพลภาพหรือทำงานไม่ได้และมีเพียงร้อยละ 30 เท่านั้นที่หายจากโรค แต่ก็ต้องทานยาควบคุมไปตลอดชีวิต
ปัจจุบันนี้ แพทย์ต้องตระหนัก และเข้าใจในความสำคัญ ของระยะเวลาหลังมีอาการซึ่งถือเป็นโอกาสทอง เมื่อมีคนไข้โรคหลอดเลือดสมอง มาถึงโรงพยาบาล เพื่อจะได้ปกป้องเนื้อสมองไม่ให้เสียหายถาวร
imageระยะเวลาที่ให้ยา
การรักษาโรคเส้นเลือดสมองตีบ ด้วยยาละลายลิ่มเลือดได้ผลดีมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อให้ยาภายใน 3 ชั่วโมงแรกหลังผู้ป่วยมีอาการ และจะไม่ได้ผลถ้าผู้ป่วยรายนั้นมีอาการเกิน 6 ชั่วโมงไปแล้ว แต่พบว่ามีปัญหาเกิดขึ้น จากการที่ยาทำให้เลือดออกในสมอง ซึ่งพบในผู้ป่วยบางราย แม้ว่าจะเป็นส่วนน้อยไม่ใช่ทั้งหมด ก็ถือว่าเป็นข้อจำกัดที่สำคัญและต้องระมัดระวัง เนื่องจากเมื่อมีเลือดออกในสมองแล้ว จะเกิดอันตรายต่อผู้ป่วยรายนั้นค่อนข้างมาก ทำให้ผลการรักษาโดยรวมไม่ดีเท่าที่ควร
ยาละลายลิ่มเลือด จะไปช่วยลดความเสียหายที่เกิดจากภาวะขาดเลือด ภาวะเลือดออก และจากภาวะสมองบวมความก้าวหน้าทางยารักษานี้ นับเป็นเครื่องมือใหม่ ที่เข้ามาช่วยประชาชนผู้สูงอายุ ในปี 1995 งานวิจัยของ National Institutes of Neurological Disorders and Stroke (NINDS) ใช้ยาละลายลิ่มเลือดชนิด tissue plasminogen activator (tPA) ศึกษาแบบสุ่มตัวอย่าง ผู้ป่วย 624 ราย ให้ยาฉีดภายใน 3 ชั่วโมง หลังเกิดอาการ ให้ยาฉีดในขนาด 0.9 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัม เทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้ให้ยาฉีด เมื่อติดตามไปนานถึง 3 เดือน พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับยาฉีด ไม่มีความพิการเกิดขึ้นมากถึงร้อยละ 50 และร้อยละ 12 มีอาการดีขึ้นอย่างเห็นimageได้ชัด
ผลการจากวิเคราะห์ผลการศึกษาวิจัยในครั้งนั้นทำให้สำนักงานอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกาอนุมัติให้ใช้ยาละลายลิ่มเลือดในการรักษาโรคหลอดเลือดสมองชนิดตีบและตัน ในปี 1996 และได้รับการอนุมัติในประเทศต่างๆ ได้แก่ แคนาดา ยุโรป อเมริกาใต้ และเอเชีย
ผลกระทบของโรคหลอดเลือดสมอง
จากข้อมูลสาธารณสุขพบว่า ผลกระทบจากโรคอัมพาต หรืออัมพฤกษ์นับว่าสูงมาก เมื่อพิจารณาถึงการเสียชีวิต และความพิการที่เกิดขึ้นจัดเป็นสาเหตุนำของความพิการ ที่เกิดในผู้ใหญ่ที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่ง ค่าใช้จ่ายในการรักษา และความเสียหายจากการตกงานรวมกันแล้ว จะสูงมากอย่างน่าตกใจ แนวทางในปัจจุบัน ก็เช่นเดียวกับการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน คือ ต้องให้การรักษาโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ หลังจากเกิดภาวะนี้ ผลการรักษาจึงจะดี ความสามารถในการป้องกัน ความเสียหายของวิธีการนี้ ทำให้เกิดความจำเป็นเร่งด่วน ที่จะต้องรับรู้และประเมินผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง ต่อการเกิดภาวะสมองขาดเลือดเสียแต่เนิ่นๆ และด้วยความรวดเร็วแม่นยำ


แหล่งที่มา : 108health.com

อัพเดทล่าสุด