อาการของโรคมือ เท้า ปาก เปื่อย อาการโรคมือ เท้า ปาก โรคมือ เท้า ปากเปื่อย


1,224 ผู้ชม


อาการของโรคมือ เท้า ปาก เปื่อย อาการโรคมือ เท้า ปาก โรคมือ เท้า ปากเปื่อย

สธ.สั่งรับมือ-เฝ้าระวังโรคมือ เท้า ปาก ในนักเรียน


       รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข สั่งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ เตรียมตัวรับมือและให้เฝ้าระวังโรคมือ เท้า ปาก ในเด็กเล็ก ภาคเหนือพบ เด็กเล็ก ป่วยเป็น โรคมือ เท้า ปาก มากที่สุด ขณะที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข สั่งสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ เตรียมตัวรับมือโรคดังกล่าวด้วย
นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ระยะนี้เป็นฤดูฝน อากาศเย็นและชื้น เป็นฤดูกาลระบาดของโรคมือเท้าปาก ซึ่งมักพบในเด็กเล็ก ขณะนี้มีรายงานหลายจังหวัด เริ่มพบผู้ป่วย จึงได้สั่งการให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ เฝ้าระวังโรคอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากโรงเรียนทุกแห่งเปิดเทอมแล้ว มีเด็กอยู่รวมกันจำนวนมาก หากมีเด็กป่วยจะแพร่เชื้อติดกันได้ง่าย ถ้าพบผู้ป่วยในพื้นที่ให้สอบสวนโรคและควบคุมป้องกันไม่ให้โรคแพร่ระบาดทันที พร้อมทั้งขอความร่วมมือครูและผู้ดูแลศูนย์เด็กเล็กทั่วประเทศ หากพบเด็กป่วย มีไข้ มีแผลเปื่อยหลายแผลในปากและเจ็บ มีตุ่มพองขนาดเล็กขึ้นที่ฝ่ามือ นิ้วมือ ฝ่าเท้า ให้แจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่อยู่ใกล้ เพื่อให้การดูแลเด็กอย่างถูกวิธี และควบคุมโรคอย่างทันท่วงที
การประเมินสถานการณ์โรค มือ เท้า ปาก ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม 2555 สำนักระบาดวิทยา รายงานว่า พบผู้ป่วย 6,109 คน ยังไม่พบผู้เสียชีวิต ภาคเหนือมีผู้ป่วยมากที่สุด จำนวน 1,868 คน รองลงมาคือภาคกลาง จำนวน 1,748 คน ภาคใต้ 1,573 คน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 920 คน
โดยรวมจำนวนผู้ป่วยในรอบ 5 เดือนปีนี้ สูงกว่าปีที่ผ่านมากว่า 3 เท่าตัว ผู้ป่วยร้อยละ 81 อายุต่ำกว่า 3 ปี สำหรับ การป้องกันโรค ให้ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็กในศูนย์เด็กเล็ก ให้เด็กหมั่นล้างมือด้วยสบู่ หรือเจลล้างมือทุกครั้ง ก่อนและหลังรับประทานอาหาร หลังขับถ่ายและเล่นของเล่น ตัดเล็บให้สั้น เพื่อไม่ให้เชื้อโรคสะสมในเล็บ และเพื่อทำความสะอาดมือได้ง่าย ดูแลรักษาความสะอาดอาคารสถานที่ อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้และของเล่นต่างๆ เป็นประจำ ด้วยน้ำยาทำความสะอาดหรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
เด็กที่ป่วยเป็นโรคมือเท้าปาก ให้หยุดพักรักษาตัวที่บ้านประมาณ 1 สัปดาห์หรือจนกว่าจะหายเป็นปกติ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อสู่เด็กคนอื่น หากมีเด็กป่วยหรือมีอาการสงสัยจะป่วยเป็นโรคมือเท้าปากในศูนย์เด็กเล็กหรือ ที่โรงเรียน ให้แจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อควบคุมป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่กระจาย


แหล่งที่มา : สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ 
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

อัพเดทล่าสุด