อาการคนท้อง1อาทิตย์ อาการคนท้องลม อาการคนท้อง37สัปดาห์


8,203 ผู้ชม


อาการคนท้อง1อาทิตย์ อาการคนท้องลม อาการคนท้อง37สัปดาห์

 

คลาย 15 ปัญหาคาใจแม่ท้อง

ตั้งครรภ์

คลาย 15 ปัญหาคาใจแม่ท้อง
 (รักลูก)
         เมื่อรู้ว่ามีอีกหนึ่งชีวิตน้อย ๆ อยู่ในท้อง เชื่อว่าคุณแม่คงมีปัญหาคาใจมากมาย และนี่คือปัญหายอดฮิตที่คุณแม่มักถามมาครับ
 Q : ถ้าแพ้ท้องมากควรทำอย่างไร ลูกในท้องจะเป็นอันตรายไหม
         A : แพ้ท้อง เป็นการอาการที่เกิดขึ้นได้ในคุณแม่ตั้งครรภ์ สาเหตุเกิดจากฮอร์โมนของการตั้งครรภ์ที่ชื่อ Beta-hCG ซึ่งมีปริมาณสูงในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ถ้าคุณแม่มีอาการแพ้ไม่มากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในเรื่องอาหารอาจช่วยได้ครับ เช่น ไม่ปล่อยให้ท้องว่างหรือหิวจนเกินไป กินอาหารมื้อเล็ก ๆ แต่บ่อย ๆ จากที่เคยกินวันละ 3 มื้อ กระจายเป็นวันละ 5-6 มื้อแทน โดยพยายามหลีกเลี่ยงอาหารที่มีกลิ่นฉุนหรือประเภทของทอดของมัน หากเป็นมากขึ้นควรปรึกษาแพทย์ครับ แพทย์อาจให้ยาแก้แพ้ เช่น Dramamine หรือวิตามิน บี 6 ซึ่งยา Dramamine อาจทำให้มีอาการง่วงได้
         แต่ถ้าไม่อยากกินยา การดื่มน้ำขิงอุ่น ๆ อาจช่วยได้ครับ เพราะมีงานวิจัยหลายชิ้นที่บ่งชี้ว่าน้ำขิงสามารถช่วยลดอาการแพ้ท้องได้ แต่ถ้ามีอาการแพ้มากจนกินอะไรไม่ได้เลยแม้กระทั่งน้ำ มีอาการอ่อนเพลียมาก ก็ควรนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล เพื่อรับน้ำเกลือเจือจางระดับฮอร์โมนในกระแสเลือด ซึ่งส่วนใหญ่จะดีขึ้นใน 1-2 วัน โดยถ้าได้รับการรักษาที่เหมาะสม อาการแพ้ท้องก็จะไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์ครับ
 Q : คุณแม่ควรฝากครรภ์เมื่อไหร่จึงจะเหมาะสมที่สุด
         A : เมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ควรฝากครรภ์ให้เร็วที่สุดครับ แพทย์จะได้ตรวจร่างกาย ตรวจเลือดรวมถึงตรวจอัลตราซาวนด์เพื่อยืนยันอายุครรภ์ (ในกรณีที่คุณแม่จำประจำเดือนครั้งสุดท้ายที่มาไม่ได้ หรือไม่แน่ใจ) เพราะการตรวจอัลตราซาวนด์ตั้งแต่อายุครรภ์น้อย ๆ มีความแม่นยำสูง มีประโยชน์ในการคำนวณวันครบกำหนดคลอด
         นอกจากนี้ ยังสามารถตรวจภาวะแทรกซ้อนหรือความผิดปกติของการตั้งครรภ์ในช่วงแรก ๆ ได้เร็วขึ้นด้วยครับ เช่น การตั้งครรภ์นอกมดลูกภาวะครรภ์ไข่ลม หรือครรภ์ไข่ปลาอุก และถ้าผลการตรวจเลือดหรือตรวจร่างกาย หรือการตรวจอัลตราซาวนด์พบความผิดปกติ แพทย์จะได้รีบให้การรักษา หรือมีเวลาในการตรวจเพิ่มเติมได้ เช่น การตรวจทาลัสซีเมีย เป็นต้น
 Q : โฟลิกสำคัญอย่างไร ต้องกินทุกวันหรือไม่
         A : กรดโฟลิกหรือโฟเลต มีความสำคัญต่อการสร้างเซลล์ และซ่อมแซมเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะช่วง 3 เดือนแรก มีผลต่อพัฒนาการการสร้างเซลล์ระบบประสาทสมองและไขสันหลัง สามารถป้องกันโรค ความผิดปกติ หรือความพิการของระบบประสาทสมองและไขสันหลังได้ เช่น โรคทารกที่ไม่มีกะโหลกศีรษะ (Anencephaly) หรือมีรูเปิดที่ไขสันหลัง (Spina bifida)
         มากกว่าครึ่งหนึ่งของคุณแม่ตั้งครรภ์ไม่ได้มีการวางแผน และมาพบแพทย์หลัง 2-3 เดือนไปแล้ว จึงไม่ได้รับโฟลิกเสริม เพื่อป้องกันโรคมาตั้งแต่ช่วงเริ่มต้น ดังนั้น การกินโฟลิกที่ถูกต้อง คือ ต้องกินทุกวันตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ จนถึงช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ครับ หลังจาก 3 เดือนความต้องการปริมาณโฟลิกจะน้อยลง อาจไม่จำเป็นต้องกินต่อ แต่แพทย์บางท่านอาจให้กินต่อไป เพื่อบำรุงเม็ดเลือดแดง ซึ่งโดยมากมักมีโฟลิกรวมอยู่ในเม็ดยาธาตุเหล็กแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องกินแยกเม็ดครับ
 Q : ภาวะแท้งคุกคาม คืออะไร
         A : คือภาวะตั้งครรภ์และมีเลือดออกทางช่องคลอดในช่วง 3 เดือนแรก โดยการตรวจภายในพบว่าปากมดลูกยังปิดอยู่และเลือดออกไม่มาก ร่วมกับตรวจอัลตราซาวนด์ซึ่งยังพบการเต้นของหัวใจของทารกในครรภ์ ชาวบ้านอาจเรียกเลือดที่ออกว่าเลือดล้างหน้าเด็ก ชื่อของอาการเป็นการแท้ง แต่ยังไม่มีการแท้งเกิดขึ้นครับ โดยโอกาสของการตั้งครรภ์ต่อและการแท้งมีอย่างละครึ่ง (50 : 50) ถ้าเลือดหยุดการตั้งครรภ์ก็สามารถดำเนินต่อได้ตามปกติ แต่ถ้ายังมีเลือดออกอยู่เรื่อย ๆ ร่วมกับอาการปวดบีบท้องน้อยก็อาจมีการแท้งตามมาครับ
         ดังนั้น ระยะนี้แพทย์ส่วนใหญ่จะให้หยุดงานเพื่อนอนพักให้มากที่สุด โดยงดกิจกรรมต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็น โดยแพทย์บางท่านอาจให้การรักษาโดยใช้ยาฮอร์โมนในกลุ่ม Progesterone ที่เรียกว่ายากันแท้ง ซึ่งมีทั้งรูปแบบยาฉีดและยากิน
 Q : ยาที่ใช้ระหว่างตั้งครรภ์ มีผลต่อลูกหรือไม่
        A : ยาบางชนิดมีผลต่อความผิดปกติหรือพิการของทารกในครรภ์ได้ ถ้าใช้ในช่วงเวลาที่ทารกกำลังสร้างอวัยวะและยานั้น เป็นยาอันตราย เช่น ยารักษาสิวบางชนิด เช่น Isotretinoin ถ้าคุณแม่กินในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ โอกาสเกิดความผิดปกติของทารกสูงถึงร้อยละ 50 เช่น ความผิดปกติของใบหน้า ใบหู รูหู ตลอดจนหัวใจของทารกในครรภ์
         ดังนั้น การใช้ยาใด ๆ ที่อาจจะมีผลต่อทารกในครรภ์จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้งครับ สำหรับยาสามัญประจำบ้านที่เราใช้กันเป็นประจำ เช่น ยาแก้ปวดลดไข้ในกลุ่มของ Acetaminophen หรือ พาราเซตามอล ใช้ได้อย่างปลอดภัยเวลามีอาการปวดศีรษะหรือมีไข้ และยาที่ใช้ภายนอก ยานวดต่าง ๆ ก็ไม่มีผลต่อทารกในครรภ์ จึงไม่จำเป็นต้องกลัวจนไม่กล้าใช้ยาใด ๆ เลย
 Q : การเจาะน้ำคร่ำ คืออะไร มีอันตรายหรือไม่
         A : การเจาะตรวจน้ำคร่ำ คือการแทงเข็มขนาดเล็กผ่านทางหน้าท้องคุณแม่ เพื่อเข้าไปในโพรงมดลูกและถุงน้ำคร่ำ และดูดเอาน้ำคร่ำซึ่งเป็นน้ำที่อยู่รอบ ๆ ตัวลูกและมีเซลล์ของลูกอยู่ แล้วนำเซลล์เหล่านี้ไปผ่านขบวนการทางห้องปฏิบัติการ เพื่อตรวจดูความผิดปกติของโครโมโซม เช่น ดาวน์ชินโดรม หรือโรคพันธุกรรมอื่น ๆ เช่น ทาลัสซีเมีย เป็นต้น
        การเจาะน้ำคร่ำสามารถเกิดอันตรายต่อการตั้งครรภ์ได้ครับ เช่น เกิดการรั่วซึมของถุงน้ำคร่ำ การติดเชื้อในถุงน้ำคร่ำ และทารกเสียชีวิตในครรภ์ (Fetal loss) โดยโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนประมาณร้อยละ 0.5 (1 ใน 200 ราย)
        ดังนั้น การเจาะน้ำคร่ำจึงควรทำโดยมีข้อบ่งชี้ เช่น อายุแม่มากกว่า 35 ปีนับจากวันครบกำหนดคลอด หรือพบความผิดปกติของทารกในครรภ์จากการตรวจอัลตราซาวนด์ที่สงสัยว่าสัมพันธ์กับความผิดปกติของโครโมโซม หรือทารกมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคโลหิตจางทาลัสซีเมีย โดยแพทย์จะให้คำปรึกษา แนะนำถึงข้อดีและข้อเสียก่อนเจาะทุกราย (Genetics counseling)
 Q : ตอนท้องมีเซ็กส์ได้ไหม
        A : ได้ครับ แต่ต้องไม่มีข้อห้าม เช่น ไม่มีประวัติการแท้งบ่อย ๆ ในช่วงไตรมาสแรก หรือต้องไม่มีภาวะรกเกาะต่ำหรือเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดที่ยังหาสาเหตุไม่ได้ หรือมีประวัติการคลอดหรือถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด แต่ควรขึ้นอยู่กับความพร้อมของคุณแม่ด้วย เพราะการแบกน้ำหนักการตั้งครรภ์ก็แย่แล้ว ยังจะให้มีอะไรกันอีกอย่างนี้คงต้องค่อย ๆ คุยกันครับ
        โดยช่วงที่เหมาะสม คือช่วงไตรมาสที่ 2 (ช่วงอายุครรภ์ 4-6 เดือน) เพราะท้องยังไม่ใหญ่เกินไป จนทำให้อึดอัด ความนุ่มนวลและท่าที่เหมาะสมจะช่วยให้การมีเพศสัมพันธ์ราบรื่นขึ้น โดยท่าที่ดีไม่ควรให้คุณแม่ต้องรับน้ำหนักของสามี เช่น ท่าที่คุณแม่อยู่ด้านบนหรือด้านข้าง
 Q : คนท้องทำฟันได้หรือไม่
        A : คนท้องสามารถทำฟัน ตรวจฟันได้ตามปกติ เหมือนคนทั่วไปครับ แต่บางอย่าง เช่น การขูดหินปูนหรือการถอนฟัน ที่หมอฟันพิจารณาแล้วว่าอาจทำให้เสียเลือดมากจนเกิดอันตราย อาจพิจารณาเลื่อนไปทำในช่วงหลังคลอดแทนครับ
        แต่กรณีที่มีความจำเป็นก็อาจพิจารณาเป็นรายๆ เพราะคนท้องจะมีเส้นเลือดที่ขยายใหญ่ขึ้นไปเลี้ยงเกือบทุกอวัยวะในร่างกาย เหงือกของคุณแม่จึงมีเลือดคั่ง การแปรงฟันปกติก็อาจมีเลือดออกได้ ซึ่งแพทย์แนะนำให้คุณแม่ตั้งครรภ์แปรงฟันเบา ๆ และใช้แปรงที่มีขนนุ่มขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์
 Q : ทำอย่างไรจึงจะรู้ว่าลูกในท้องสมบูรณ์ครบ 32 หรือเปล่า
        A :การมารับการฝากครรภ์แต่แรกเริ่มเมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ รับการซักประวัติ และตรวจร่างกาย ตรวจเลือดตามโปรแกรมของการฝากครรภ์ ตลอดจนการตรวจอัลตราซาวนด์เพื่อดูอายุครรภ์และอวัยวะต่าง ๆ ของทารกในครรภ์เป็นสิ่งที่จำเป็นครับ
        โดยเฉพาะประวัติต่าง ๆ ที่แพทย์ซัก คุณแม่ต้องให้ข้อมูลที่เป็นจริงและถูกต้อง เพื่อแพทย์จะได้สืบค้นถึงความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ ที่อาจเกิดกับลูก เช่น โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมต่าง ๆ เช่น ทาลัสซีเมีย หรือโรคที่มีโอกาสเป็นช้ำ เช่น ปากแหว่ง เพดานโหว่ ซึ่งคุณแม่ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์โดยเคร่งครัด เช่น กินยาบำรุง การงดหรือละเว้นสิ่งมีโทษต่าง ๆ 
        อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครในโลกนี้ที่จะกล้ายืนยันว่าเด็กที่อยู่ในท้องแข็งแรงหรือสมบูรณ์ 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะโรคบางโรคไม่อาจตรวจพบได้โดยง่าย บางโรคมีโอกาสเกิดขึ้นได้ในภายหลัง การเห็นอวัยวะต่างๆ จากเครื่องตรวจอัลตราซาวนด์ก็ให้ข้อมูลเพียงลักษณะภายนอก หรือเห็นการทำงานก็เพียงบางอวัยวะ ดังนั้น การจะบอกว่าทารกในครรภ์หูตึงหรือไม่ ตามองเห็นไหมปัญญาอ่อนหรือไม่ ไม่อาจทำได้ หลายโรคอาจต้องมาเฉลยเมื่อคลอดออกมาแล้ว แต่ภาวะต่าง ๆ ที่กล่าวมาไม่ได้พบได้บ่อย ๆ จึงไม่ควรกังวลจนเกินไปครับ
 Q : กำหนดคลอดวันที่เท่าไร นับอย่างไร
        A : แพทย์นิยมนับอายุครรภ์เป็นสัปดาห์ และเริ่มนับตั้งแต่วันที่ประจำเดือนมาวันแรกของครั้งสุดท้าย (LMP: last menstrual period)
        โดยปกติแพทย์จะคำนวณวันครบกำหนดคลอดไว้ที่ 40 สัปดาห์ (280 วัน) แต่ทารกในครรภ์จะเริ่มครบกำหนดคลอดได้ ตั้งแต่อายุครรภ์ 37 สัปดาห์ (259 วัน) เป็นต้นไป ดังนั้น การคลอดครบกำหนดจะอยู่ในช่วงอายุครรภ์ ระหว่าง 37-40 สัปดาห์ การคลอดก่อนกำหนด หมายถึงการคลอดก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ ไม่ใช่ก่อน 40 สัปดาห์อย่างที่หลาย ๆ คนเข้าใจกันนะครับ
        วิธีคำนวณวันครบกำหนดคลอดอย่างง่ายๆ โดยอาศัยกฎของเนกเกล คือ การนำวันแรกของการมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย +7 วัน +9 เดือน เช่น ประจำเดือนครั้งสุดท้ายมาวันแรกวันที่ 5 มีนาคม 2555 (คำนวณโดย+7 วัน = วันที่ 12 บวกอีก 9 เดือน คือ ธันวาคม) ดังนั้น วันครบกำหนดคลอดคือ 12 ธันวาคม 2555 เป็นต้น
 Q : ระหว่างคลอดเองกับผ่าตัดคลอดอย่างไหนดีกว่ากัน
        A : โดยปกติองค์การอนามัยโลก (WHO) ส่งเสริมให้มีการคลอดเองทางช่องคลอด (Normal labor) ให้มากที่สุด และการผ่าตัดคลอดพิจารณาทำนายที่ไม่สามารถคลอดเองได้ครับ เพราะการคลอดเองจะมีการเสียเลือดน้อยกว่า ฟื้นตัวไวกว่า และค่าใช้จ่ายในการคลอดก็ถูกกว่า
        ขณะที่มีคุณแม่ที่จำเป็นต้องผ่าตัดคลอดช่วยเพียงร้อยละ 15-20 โดยข้อบ่งชี้ของการผ่าตัดคลอดส่วนใหญ่ เช่น การผิดสัดส่วนระหว่างศีรษะลูกกับอุ้งเชิงกรานแม่หรือศีรษะลูกใหญ่กว่าเชิงกรานแม่จึงไม่สามารถคลอดออกมาได้ ภาวะรกเกาะต่ำขวางทางคลอด การที่เด็กไม่กลับหัวอยู่ในท่าที่ผิดปกติ เช่น เอาก้นลง หรืออยู่ในท่าขวาง
        ทั้งนี้ การคลอดทางช่องคลอดหรือผ่าตัดคลอด ก็มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนต่อมารดาและทารกได้ทั้งสิ้น ดังนั้น การดูแลการฝากครรภ์ที่เหมาะสม และเลือดวิธีคลอดที่เหมาะสมตามสภาพของคนไข้ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความปลอดภัยของทารกในครรภ์ครับ
 Q : อัลตราซาวนด์ปลอดภัยต่อลูกในท้องหรือไม่ ต้องทำบ่อยแค่ไหน
        A : อัลตราซาวนด์เป็นคลื่นเสียงความถี่สูง ไม่ใช่รังสีเหมือนเครื่องเอกซเรย์ ปัจจุบันมีงานวิจัยทางการแพทย์มากมายยืนยันครับว่ากรทำอัลตราซาวนด์ปลอดภัยต่อทารกในครรภ์ สามารถทำบ่อยได้เท่าที่ต้องการหรือมีความจำเป็น แต่พึงระลึกไว้เสมอว่าอัลตราซาวนด์เป็นเครื่องมือสำหรับดูเงาสะท้อนของทารกในครรภ์ จึงไม่ได้เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการยืนยันความผิดปกติของทารกในครรภ์ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะมีปัจจัยต่าง ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องมากมาย
        ปกติการทำอัลตราซาวนด์มีความสำคัญใน 3 ช่วงหลักๆ คือ ในไตรมาสแรกประมาณ 6-12 สัปดาห์ เพื่อยืนยันอายุครรภ์ ในไตรมาสที่ 2 ช่วงอายุครรภ์ 16-22 สัปดาห์ เพื่อตรวจคัดกรองความผิดปกติของอวัยวะต่าง ๆ และในไตรมาสสุดท้าย ช่วงอายุครรภ์ 32-36 สัปดาห์ เพื่อประเมินการเจริญเติบโตและสภาพแวดล้อม เช่น รก ปริมาณน้ำคร่ำ รวมถึงสุขภาพทารกในครรภ์
 Q : น้ำหนักควรขึ้นมากน้อยเท่าไรขณะตั้งครรภ์
        A : น้ำหนักของคุณแม่ตั้งครรภ์ปกติควรขึ้นประมาณ 12-15 กิโลกรัม ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์จนถึงคลอด โดยแบ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักในช่วง 3 เดือนแรก เพียง 2 กิโลกรัม เนื่องจากเป็นช่วงที่กำลังสร้างอวัยวะต่าง ๆ ประกอบกับบางคนยังมีอาการแพ้ท้องจึงขึ้นได้ไม่มาก จากนั้นน้ำหนักจะขึ้นเร็วขึ้นประมาณ 0.5 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ หรือประมาณ 2 กิโลกรัมต่อเดือนและจะค่อย ๆ ชะลอ โดยจะขึ้นช้าๆ อีกครั้งในช่วงใกล้คลอดครับ
        อย่างไรก็ตามน้ำหนักตัวควรขึ้นตลอดการตั้งครรภ์ ถ้าแม่มีภาวะน้ำหนักตัวลดลงในช่วงของการฝากครรภ์ แพทย์มักต้องหาสาเหตุของน้ำหนักที่หายไป ซึ่งการที่น้ำหนักขึ้นมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างกัน เช่น น้ำหนักตัวก่อนการตั้งครรภ์งานที่ทำ การพักผ่อน โรคประจำตัวต่าง ๆ ดังนั้น การดูที่น้ำหนักตัวของแม่ที่เพิ่มขึ้นเพียงอย่างเดียว แล้วสรุปว่าลูกตัวโตหรือตัวเล็กคงบอกได้ยาก ต้องประเมินขนาดของทารกในครรภ์จากการตรวจหน้าท้องหรือใช้การตรวจอัลตราซาวนด์มาประกอบด้วยครับ
 Q : การบล็อกหลัง ทำให้ปวดหลังเรื้อรังจริงหรือไม่
        A : ปัจจุบันการผ่าตัดคลอดนิยมใช้วิธีการบล็อกหลังมากกว่าการคมยาสลบ เพราะก๊าซคมสลบสามารถผ่านเข้าไปกดการหายใจของลูกได้ ทำให้เด็กคลอดออกมาอาจมีปัญหาการร้องและการหายใจได้ จึงใช้แค่ในกรณีฉุกเฉินหรือมีข้อห้ามต่อการบล็อกหลังเท่านั้นครับ
        การบล็อกหลังใช้เข็มบล็อกขนาดเล็กมาก (เล็กกว่าเข็มฉีดยา) รูที่เกิดจากการแทงเข็ม จึงสามารถปิดได้อย่างรวดเร็ว โดยมีงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศยืนยันว่า การบ,อกหลังไม่ได้ทำให้เกิดอาการปวดหลังเรื้อรังในอนาคต แต่ส่วนใหญ่เกิดจากกิจกรรมของคุณแม่เอง เช่น การอุ้มให้นมลูก หรือการยกของหนัก ยกผิดท่าเมื่อเกิดอาการปวดก็เลยมาโทษว่าเป็นสาเหตุมาจากการบล็อกหลังครับ
 Q : อาการอะไรที่ต้องมาพบแพทย์ และรู้ได้อย่างไรว่าเข้าสู่ระยะคลอด
        A : การเข้าสู่ระยะคลอดมักมีอาการอย่างหนึ่งอย่างใดต่อไปนี้ เช่น การมีเลือดหรือมูกปนเลือดออกทางช่องคลอด การมีน้ำเดิน (น้ำใส ๆ ไม่มีสี ไม่มีกลิ่นคล้ายปัสสาวะราด) หรือการมีท้องแข็งเป็นจังหวะสม่ำเสมอ และอาการเจ็บท้องน้อย ถ่วงท้อง รวมถึงอาการปวดถ่วงลงก้น คล้ายอาการปวดถ่ายอุจจาระ
        โดยอาการที่พามาพบแพทย์มากที่สุด คือ อาการท้องแข็งเป็นปั้น โดยจะแข็งทั่วท้อง (ถ้าแข็งแค่ข้างใดข้างหนึ่งหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของท้อง คือการโก่งตัวของลูก) จะมีจังหวะสม่ำเสมอ และแนวโน้มถี่ขึ้นเรื่อยๆ ถ้าแข็งมากขึ้น อาจมีอาการมูกเลือด หรือน้ำเดินตามมาได้ โดยปกติถ้ามีการแข็งตัวทุก ๆ 5-10 นาทีอย่างสม่ำเสมอ ควรมาพบแพทย์
        นอกจากนี้อาการปวดศีรษะ ตาพร่ามัว จุกแน่นลิ้นปี่ ก็เป็นอาการสำคัญของภาวะครรภ์เป็นพิษที่ต้องรีบมาพบแพทย์เช่นกันครับ


แหล่งที่มา : baby.kapook.com

อัพเดทล่าสุด