วิธีการปฏิบัติก่อนวัดความดันโลหิต การเตรียมตัววัดความดันโลหิต เกณฑ์การวัดความดันโลหิต


9,312 ผู้ชม


วิธีการปฏิบัติก่อนวัดความดันโลหิต การเตรียมตัววัดความดันโลหิต เกณฑ์การวัดความดันโลหิต


เตรียมพร้อมก่อนวัดความดันโลหิต

  1. ใส่เสื้อผ้าหลวมๆ
  2. นั่งพักผ่อนอย่างน้อย 5 นาที
  3. ถ้าใส่เสื้อแขนยาวห้ามม้วนจนรัดต้นแขน เพราะจะทำให้วัดได้ค่าต่ำกว่าปกติ
  4. ผ้าที่พันต้องใช้ขนาดที่เหมาะสมกับแขนผู้ป่วย
  5. ไม่สูบบุหรี่ ดื่มสุรา ชา กาแฟ ก่อนวัดความดันโลหิต 30 นาที
  6. ไม่รับประทานยากระตุ้นระบบประสาท เช่น ยาลดน้ำมูก ยาขยายรูม่านตาเป็นต้น
  7. ถ้าปวดปัสสาวะ ให้ไปเข้าห้องน้ำเพื่อถ่ายปัสสาวะเสียก่อน

เทคนิกการวัดความดันโลหิตที่ผิดพลาด

  1. ตำแหน่งของเส้นเลือดที่ทำวัดความดันโลหิตไม่อยู่ในระดับเดียวกับหัวใจ
  2. ปล่อยลมออกจากผ้าพันแขนเร็วเกินไปหรือช้าเกินไป อัตราที่เหมาะสม คือ 2 มิลมิเมตรปรอทต่อจังหวะหัวใจเต้นหนึ่งครั้ง
  3. ความดันโลหิตที่วัดครั้งแรกมักจะสูงกว่าความเป็นจริง จากการศึกษาวิจัยพบว่าค่าความดันโลหิตที่ได้จากการวัดครั้งที่ 3 มีความแม่นยำถูกต้องมากที่สุด
  4. รัดผ้าพันแขนแน่นหรือหลวมเกินไป ทำให้ค่าที่ได้คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง

ความผิดพลาดที่เกิดจากเครื่องมือ

  1. ลิ้นควบคุมการปล่อยลมขัดข้อง
  2. ท่อเชื่อมหน้ากากแสดงค่าสกปรก
  3. การใช้เครื่องวัดความดันโลหิตชนิดอะนีรอยด์ ต้องตรวจเช็คกับเครื่องที่ตั้งเป็นมาตราฐานด้วย
  4. เข็มชี้ไม่อยู่ที่ค่าศูนย์

หน่วยวัดความดันโลหิต

ค่าความดันโลหิตเราวัดเป็นหน่วยมิลลิเมตรปรอท และจะบอกค่าเป็น 2 ตัวเลขเสมอ ตัวเลขสูงกว่าหรือบางทีเรียกว่าความดันตัวบน (systolic pressure) จะเป็นความดันโลหิตขณะที่หัวใจบีบตัว และตัวเลขที่ต่ำกว่าหรือบางทีเรียกว่าความดันตัวล่าง (diastolic pressure) จะเป็นความดันโลหิตขณะที่หัวใจคลายตัว

การวัดความดันโลหิตจะต้องบันทึกค่าที่ได้ทั้งสองค่าเสมอ ทั้งค่าความดันตัวบน และค่าความดันตัวล่างมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน บางครั้งพบว่าผู้วัดความดันโลหิตให้ความสำคัญกับค่าความดันตัวบนเพียงอย่างเดียว

ค่าความดันปกติ

  1. ค่าความดันโลหิตปกติของผู้ใหญ่โดยทั่วไป ถือว่าค่าความดันตัวบนไม่เกิน 140 มิลลิเมตรปรอท และค่าความดันตัวล่างไม่เกิน 90 มิลลิเมตรปรอท
  2. ความดันโลหิตที่ “อยู่ในเกณฑ์ปกติ” คือ ต่ำกว่า 130/85 มม.ปรอท ความดันโลหิตสูงเล็กน้อย แต่ยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ 130-139/85-89 มม.ปรอท และจะเรียกได้ว่ามีความดันโลหิตสูงเมื่อ ความดันโลหิตตัวบนมากกว่า (หรือเท่ากับ) 140 และตัวล่างมากกว่า (หรือเท่ากับ) 90 มม.ปรอท
  3. ก่อนที่จะวินิจฉัยว่าผู้ป่วยมีความดันโลหิตสูง แพทย์จะต้องวัดซ้ำหลายๆ ครั้ง หลังจากให้ผู้ป่วยพักแล้ว วัดซ้ำจนกว่าจะแน่ใจว่าสูงจริง และเทคนิคการวัดความดันโลหิตต้องกระทำให้ถูกต้องครบถ้วน
  4. ความดันโลหิตเป็นค่าไม่คงที่ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาทุกวินาที การวัดซ้ำในเวลาที่ใกล้เคียงกันอาจได้คนละค่า แต่ก็จะไม่ควรจะแตกต่างกันนัก
  5. ความดันโลหิตขึ้นกับท่าของผู้ถูกวัดด้วย ท่านอนความดันโลหิตมักจะสูงกว่าท่ายืน
  6. นอกจากนั้นยังขึ้นกับสิ่งกระตุ้นต่างๆ เช่น อาหาร บุหรี่ อากาศ กิจกรรมที่กระทำอยู่ในขณะนั้น รวมทั้งสภาพจิตใจด้วย


แหล่งที่มา : 108health.com

อัพเดทล่าสุด