อาการมะเร็งปากมดลูกระยะสุดท้าย อาการมะเร็งปากมดลูกระยะแรก อาการมะเร็งปากมดลูกขณะตั้งครรภ์
มะเร็งระยะลุกลาม (Advanced Cancer)
“มะเร็ง” คืออะไร
มะเร็ง (Cancer) คือ กลุ่มของโรคที่เกิดเนื่องจากเซลล์ของร่างกายมีความผิดปกติที่สารพันธุกรรม ส่งผลให้เซลล์
มีการเจริญเติบโต และมีการแบ่งตัวเพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์อย่างรวดเร็ว และมากกว่าปกติ ทำให้เกิดก้อนเนื้อผิดปกติขึ้น
ถ้าเซลล์พวกนี้เกิดอยู่ในอวัยวะใดก็จะเรียกชื่อ มะเร็ง ตามอวัยวะนั้นเช่น มะเร็งปอด มะเร็งสมอง มะเร็งเต้านม มะเร็ง
ปากมดลูก มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งผิวหนัง เป็นต้น มะเร็งแต่ละชนิดจะมีการดำเนินของโรค
ไม่เหมือนกัน ดังนั้นการรักษามะเร็งแต่ละชนิดจึงมีวิธีการรักษาที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอวัยวะที่เป็นมะเร็ง ระยะของ
มะเร็ง และสภาพร่างกายของผู้ป่วย
“มะเร็งระยะลุกลาม” คืออะไร
มะเร็งระยะลุกลาม (Advanced cancer) หมายถึง มะเร็งที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ซึ่งจะแตกต่างกับ
มะเร็งระยะแพร่กระจาย (Metastatic cancer) เนื่องจากมะเร็งระยะลุกลามไม่จำเป็นต้องมีการแพร่กระจายไปยัง
อวัยวะอื่นเสมอไป ยกตัวอย่างเช่น มะเร็งสมองบางชนิดที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ จัดเป็นมะเร็งระยะลุกลาม
แม้ยังไม่มีการแพร่กระจายก็ตาม ในทำนองเดียวกัน มะเร็งระยะแพร่กระจายก็ไม่จำเป็นต้องเป็นมะเร็งระยะลุกลาม
เช่น มะเร็งของอัณฑะ แม้ว่าจะมีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นแล้ว แต่ก็ยังมีวิธีรักษาได้
“มะเร็งระยะลุกลามไม่ใช่จุดจบของชีวิตเพราะยังมีการรักษาเพื่อบรรเทาความทรมานและเพิ่มคุณภาพชีวิตของ
ผู้ป่วย กรุณาปรึกษาแพทย์ของท่านเพื่อให้ได้รับการดูแลที่เหมาะสมและอย่าพึ่งท้อแท้” การดูแลแบบประคับประคอง
ส่วนมะเร็งระยะลุกลามเฉพาะที่ (Locally advanced cancer) นั้น หมายถึง มะเร็งที่มีการเจริญเติบโตออก
ไปนอกอวัยวะนั้นๆ แล้ว แต่ยังไม่มีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นในร่างกาย มะเร็งส่วนใหญ่ในระยะนี้มักสามารถ
รักษาให้หายได้ เช่น มะเร็งต่อมลูกหมาก แต่ในมะเร็งบางชนิด แม้ว่าจะอยู่ในระยะลุกลามเฉพาะที่ แต่จัดว่าเป็นมะเร็ง
ระยะลุกลามเช่นกัน หากไม่สามารถรักษาให้หายได้ เช่น มะเร็งตับอ่อน เป็นต้น
ผู้ป่วยบางรายอาจพบว่าตนเองเป็นมะเร็งระยะลุกลามในครั้งแรกที่ทราบว่าตนเองเป็นมะเร็ง แต่บางรายอาจพบ
ว่าตนเองเป็นมะเร็งระยะลุกลามหลังจากได้รับการรักษามานานแล้ว ซึ่งโดยส่วนใหญ่ มะเร็งระยะลุกลามมักเกิดขึ้นภาย
หลังจากที่เป็นมะเร็งแล้วระยะหนึ่ง และการรักษาที่ได้รับไม่สามารถหยุดยั้งการเจริญของมะเร็งได้อีกต่อไป อาการของ
ผู้ป่วยเหล่านี้มักแย่ลงและจำเป็นต้องได้รับการรักษา โดยอาการที่มักพบบ่อยได้แก่ อาการอ่อนเพลีย น้ำหนักลด อาการ
ปวด เช่น ปวดกระดูกจากการแพร่กระจายของมะเร็งไปยังกระดูก ปวดท้องจากการแพร่กระจายของมะเร็งไปยังตับ
และอาการเหนื่อยหอบจากการแพร่กระจายของมะเร็งไปยังปอด เป็นต้น
ผู้ป่วยที่มีอาการต่างๆ เหล่านี้ควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายและตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติมเพื่อ
ค้นหาสาเหตุของอาการต่างๆ อันจะนำไปสู่การดูแลรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม การตรวจทางห้องปฏิบัติการบอกถึง
การแพร่กระจายของมะเร็งไปยังอวัยวะต่างๆได้ ยกตัวอย่างเช่น หากตรวจพบความผิดปกติในการทำงานของตับแสดง
ว่าอาจมีการแพร่กระจายของมะเร็งไปยังตับแล้ว นอกจากนี้ยังมีการตรวจพิเศษที่เฉพาะเจาะจงกับมะเร็งแต่ละชนิดด้วย
เรียกว่า Tumor marker เช่น PSA (Prostate-specific antigen) สำหรับมะเร็งต่อมลูกหมาก และ CEA
(Carcinoembryonic antigen) สำหรับมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นต้น ส่วนการตรวจด้วยภาพถ่ายทางรังสีวินิจฉัยนั้นใช้เพื่อ
ดูอวัยวะต่างๆที่สงสัยว่าอาจมีการแพร่กระจายของมะเร็ง เช่น
ภาพเอ็กซเรย์ปอด (Chest x-ray)
ภาพเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computer tomography, CT scan) ซึ่งจะทำให้เห็นภาพตัดขวางของอวัยวะ
ต่างๆ ได้ชัดเจนกว่าภาพเอ็กซเรย์ธรรมดา อีกทั้งยังมีประโยชน์ในแง่ของการตรวจเพิ่มเติมและการรักษาด้วย เช่น ใช้
กำหนดตำแหน่งในการเจาะชิ้นเนื้อไปตรวจ โดยการตรวจด้วย CT scan จะใช้เวลาประมาณ 15-30 นาที ซึ่งนานกว่า
การถ่ายภาพเอ็กซเรย์ธรรมดา และบางครั้งอาจต้องมีการฉีดหรือรับประทานสารทึบรังสี (Contrast media) ด้วยเพื่อ
เพิ่มความแม่นยำในการตรวจ อย่างไรก็ดี ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการไม่พึงประสงค์จากสารทึบรังสีได้ เช่น ร้อนวูบวาบ
ผื่นลมพิษ หายใจไม่สะดวก ความดันต่ำ
ภาพถ่ายคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging, MRI scan) เป็นการตรวจโดยส่งผ่าน
คลื่นวิทยุเข้าไปในร่างกายแล้วรับสัญญาณที่ออกมาแทนการใช้รังสีเอ็กซ์ ซึ่งทำให้เห็นรายละเอียดของเนื้อเยื่อและ
อวัยวะต่างๆได้ดี โดยเฉพาะสมองและไขสันหลัง ซึ่งอาจต้องมีการฉีดสารทึบรังสีเช่นเดียวกับการตรวจ CT scan
ข้างต้น แต่จะใช้ระยะเวลาในการตรวจนานกว่า CT scan
การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound) นิยมใช้เป็นการตรวจเบื้องต้น เนื่องจากสามารถทำได้ง่าย
และไม่ต้องใช้รังสีเอ็กซ์ จึงไม่มีข้อห้ามในการตรวจ
การตรวจเพทสแกน (Positron emission tomography,PET scan) เป็นการตรวจโดยฉีดสารเภสัชรังสี
เข้าไปในร่างกายแล้วใช้กล้องชนิดพิเศษเพื่อตรวจวัดปริมาณรังสี ซึ่งปริมาณรังสีจะสูงในบริเวณที่เซลล์มีการทำงานมาก
หรือมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว เช่นมะเร็ง ดังนั้นจึงใช้ในการตรวจหามะเร็งได้ทั่วร่างกาย ในปัจจุบันได้มีการนำมาใช้
ร่วมกับ CT scan ด้วย เพื่อให้เห็นรายละเอียดของอวัยวะต่างๆได้ชัดเจนขึ้น เรียกว่า PET/CT scan
ภาพสแกนกระดูก (Bone scan) เป็นการตรวจหาการแพร่กระจายของมะเร็งไปยังกระดูก โดยฉีดสารเภสัช-
รังสี เข้าเส้นเลือดแล้วตรวจวัดปริมาณรังสีเช่นเดียวกับการตรวจ PET scan ข้อดีของ Bone scan คือ สามารถตรวจ
พบการกระจายของมะเร็งไปยังกระดูกได้เร็วกว่าภาพถ่ายเอกซเรย์ธรรมดา ความผิดปกติที่พบคือ บริเวณที่มีปริมาณ
รังสีสูงผิดปกติ อาจเป็นตำแหน่งของก้อนมะเร็ง หรืออาจเกิดจากการอักเสบของข้อ หรือโรคของกระดูกเองก็ได้ จึงอาจ
ต้องอาศัยการตรวจวินิจฉัยอื่นเพิ่มเติมในกรณีที่สงสัยภาวะดังกล่าว แต่ในกรณีที่มีการทำลายของกระดูกจากมะเร็งจน
หมดแล้ว อาจทำให้ไม่พบลักษณะการเพิ่มขึ้นของปริมาณรังสีได้ ทำให้การแปลผลผิดพลาด
เมื่อพบความผิดปกติจากการตรวจร่างกาย การตรวจทางห้องปฏิบัติการ และจากภาพถ่ายรังสีแล้วยังจำเป็นต้อง
มีการตรวจทางพยาธิวิทยาเพื่อยืนยันว่ามีเซลล์มะเร็งอยู่ในบริเวณนั้นจริงหรือไม่ โดยแพทย์จะทำการตัดชิ้นเนื้อ ขนาด
เล็กๆจากบริเวณรอยโรคที่สงสัยว่าผิดปกติออกมาตรวจสอบเพิ่มเติม
อย่างไรก็ดี มะเร็งระยะลุกลามสามารถรักษาได้แม้จะไม่หายขาด แต่การรักษาจะช่วยให้ก้อนมะเร็งมีขนาดเล็ก
ลงช่วยบรรเทาอาการอันเกิดจากมะเร็ง รวมทั้งอาจช่วยยืดชีวิตของผู้ป่วยได้ด้วย ผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามบางราย
สามารถมีชีวิตอยู่ได้นานหลายปี ทั้งนี้เนื่องจากผู้ป่วยโรคมะเร็งแต่ละคนมีการตอบสนองต่อการรักษาแตกต่างกัน อีกทั้ง
มะเร็งแต่ละชนิดก็มีการเจริญเติบโตในอัตราที่ต่างกันออกไปด้วย
“มะเร็งระยะแพร่กระจาย” คืออะไร
มะเร็งระยะแพร่กระจาย (Metastatic cancer) หมายถึง มะเร็งที่มีการแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นในร่างกาย
รวมทั้งต่อมน้ำเหลืองในบริเวณที่ไกลจากมะเร็งปฐมภูมิ ซึ่งเซลล์มะเร็งมักไปยังส่วนอื่นทางกระแสเลือด หรือทางเดิน
น้ำเหลืองที่มีอยู่ทั่วร่างกาย โดยมะเร็งที่สามารถแพร่กระจายได้นั้น จำเป็นต้องมีคุณสมบัติสำคัญคือ การออกจากก้อน
มะเร็งปฐมภูมิและเข้าสู่กระแสเลือดหรือทางเดินน้ำเหลืองเพื่อไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย จากนั้นเซลล์มะเร็งจะแนบ
ติดกับผนังของหลอดเลือดหรือท่อน้ำเหลืองเพื่อผ่านไปยังอวัยวะอื่น ซึ่งเป็นที่ที่มะเร็งจะเจริญเติบโตขึ้นได้ในที่สุดจึงได้
มีความพยายามคิดค้นวิธีที่จะยับยั้งกระบวนการเติบโตและแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งเหล่านี้ขึ้น เช่น การผลิตยาเพื่อ
ป้องกันการกระจายของเซลล์มะเร็งเข้าสู่กระแสเลือด และยาเพื่อป้องกันการสร้างเส้นเลือดใหม่ที่เข้าไปเลี้ยงเซลล์มะเร็ง
เป็นต้น คุณสมบัติที่จำเป็นอีกอย่างหนึ่งสำหรับเซลล์มะเร็งได้แก่การหลบหลีกจากการถูกทำลายโดยระบบภูมิคุ้มกันของ
ร่างกาย ดังนั้นจะเห็นได้ว่าเซลล์มะเร็งได้มีการปรับตัวอย่างมากมายเพื่อการอยู่รอดในร่างกาย จึงมักเป็นเหตุให้การ
รักษามะเร็งในระยะนี้เป็นไปด้วยความยากลำบาก ความเชื่อที่ว่าหากงดอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งแล้วจะทำให้เซลล์มะเร็ง
ไม่เจริญเติบโตเป็นความเท็จ เพราะเซลล์มะเร็งมีความสามารถพิเศษที่จะเติบโตได้ในสภาวะแวดล้อมที่จำกัดอยู่แล้ว
ดังนั้นผู้ป่วยควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง ตลอดจนทำจิตใจให้แจ่มใส
อวัยวะที่มักพบการแพร่กระจายของมะเร็ง ได้แก่ ปอด กระดูก ตับ และสมอง ซึ่งมะเร็งแต่ละชนิดมักมีลักษณะ
ของการแพร่กระจายแตกต่างกันออกไป จากการศึกษาพบว่ามีสารพันธุกรรมหรือสารบางอย่างบนผิวของเซลล์มะเร็ง
ที่เป็นตัวกำหนดว่าเซลล์มะเร็งนั้นจะแพร่กระจายไปยังอวัยวะใด เช่น มะเร็งปอดมักแพร่กระจายไปที่สมองหรือกระดูก
มะเร็งลำไส้ใหญ่มักแพร่กระจายไปที่ตับ มะเร็งต่อมลูกหมากมักแพร่กระจายไปที่กระดูก และมะเร็งเต้านมมักแพร่
กระจายไปที่กระดูก ปอด ตับ และสมอง เป็นต้น ในปัจจุบันจึงได้มีการวิจัยจำนวนมากมุ่งเน้นไปที่การยับยั้งการเปลี่ยน
แปลงของสารพันธุกรรมดังกล่าวเพื่อป้องการการเจริญเติบโตและแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง สำหรับมะเร็งเม็ดเลือด
เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia, Multiple myeloma) และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma) นั้น เนื่องจาก
เม็ดเลือดสามารถเดินทางไปได้ทั่วร่างกาย จึงสามารถพบเซลล์มะเร็งได้ทุกที่ แต่มะเร็งกลุ่มนี้ก็ไม่จัดเป็นมะเร็งระยะ
แพร่กระจายแต่อย่างใด
การเรียกชื่อของมะเร็งที่มีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆนั้น จะเรียกตามชื่อของมะเร็งปฐมภูมิ หรือมะเร็งที่
เป็นจุดเริ่มต้น เช่น มะเร็งต่อมลูกหมากที่มีการแพร่กระจายไปยังกระดูก ก็ยังคงเรียกว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากไม่ใช่
มะเร็งกระดูก เนื่องจากลักษณะของเซลล์เป็นเซลล์จากต่อมลูกหมาก ในทำนองเดียวกัน มะเร็งเต้านมที่มีการแพร่
กระจายไปยังปอด ก็เรียกว่ามะเร็งเต้านม ไม่ใช่มะเร็งปอด เป็นต้น ซึ่งการแยกระหว่างมะเร็งปฐมภูมิกับมะเร็งที่แพร่
กระจายมานั้น ทำได้โดยการตัดชิ้นเนื้อที่สงสัยไปตรวจทางพยาธิวิทยา เพื่อให้ทราบว่าต้นกำเนิดของมะเร็งมาจาก
อวัยวะใด มะเร็งระยะแพร่กระจายอาจตรวจพบพร้อมกัน หรือหลังจากมะเร็งปฐมภูมินานเท่าไรก็ได้ และในบางครั้งก็
อาจตรวจพบมะเร็งที่แพร่กระจายไปยังอวัยวะต่างๆ โดยไม่ทราบว่าอวัยวะใดเป็นต้นกำเนิดที่เรียกว่า Cancer of
Unknown Origin
ผู้ป่วยบางรายที่เป็นมะเร็งระยะแพร่กระจายอาจไม่แสดงอาการใดๆ แต่พบโดยบังเอิญจากการตรวจภาพถ่าย
รังสีหรือการตรวจเลือด ในกรณีที่มีอาการจากมะเร็งระยะแพร่กระจาย อาการมักขึ้นอยู่กับขนาดและตำแหน่งที่มีการ
แพร่กระจาย เช่น มะเร็งที่มีการแพร่กระจายไปยังกระดูกมักทำให้มีอาการปวดและกระดูกหัก มะเร็งที่มีการแพร่
กระจายไปยังสมองอาจทำให้มีอาการปวดศีรษะ ชัก หรือมึนงง มะเร็งที่มีการแพร่กระจายไปยังปอดอาจทำให้มีอาการ
หายใจลำบาก มะเร็งที่มีการแพร่กระจายไปยังตับ อาจทำให้มีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง ท้องบวมได้ เป็นต้น
การรักษามะเร็งระยะแพร่กระจายสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การรักษาด้วยยาเคมีบำบัด การฉายแสง การรักษา
ทางชีวภาพ การรักษาด้วยฮอร์โมน การผ่าตัด และการผ่าตัดโดยใช้ความเย็น (Cryosurgery) หรือใช้หลายวิธีร่วมกัน
ขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็ง ขนาด และตำแหน่งที่มีการแพร่กระจาย นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงอายุ สภาพร่างกาย การรักษา
ที่เคยได้รับ และความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละรายด้วย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมการเจริญเติบโตของมะเร็ง และ
เพื่อบรรเทาอาการอันเนื่องมาจากมะเร็ง โดยให้เกิดผลข้างเคียงจากการรักษาน้อยที่สุด เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย
ตารางแสดงตัวอย่างของการแพร่กระจายของมะเร็งแต่ละชนิด
ชนิดของมะเร็ง อวัยวะที่มักมีการแพร่กระจายมะเร็งสมอง พบการแพร่กระจายนอกสมองน้อย อาจพบในไขสันหลังได้ มะเร็งเต้านม กระดูก ตับ ปอด สมอง ลูกตา ผิวหนังบริเวณหน้าอก มะเร็งหลอดอาหาร อวัยวะใกล้เคียง ปอด ตับ ต่อมน้ำเหลืองในช่องท้อง มะเร็งกระเพาะอาหาร กระจายทั่วช่องท้อง ตับ ปอด (พบน้อย) สมองและกระดูก มะเร็งลำไส้ใหญ่ ตับ กระดูก ปอด (พบน้อย) สมอง มะเร็งลำไส้ตรง อวัยวะในอุ้งเชิงกราน ปอด สมอง กระดูก มะเร็งตับ มักเจริญเติบโตอยู่ในเนื้อตับเอง มะเร็งปอด ต่อมหมวกไต ตับ กระดูก สมอง ปอดข้างเดียวกันหรือ
อีกด้าน เยื่อบุหัวใจมะเร็งตับอ่อน กระจายทั่วช่องท้อง ตับ ปอด สมอง มะเร็งเม็ดสีของผิวหนัง ต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียง สมอง ปอด ตับ กระดูก มะเร็งบริเวณปากและลำคอ ปอด มะเร็งเม็ดเลือดขาว มีการกระจายทั่วร่างกายอยู่แล้ว อาจพบในไขกระดูก ผิวหนัง มะเร็งเม็ดเลือดขาว ชนิด
Multiple myelomaกระดูก มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มักอยู่ในต่อมน้ำเหลือง ม้าม และไขกระดูก อาจพบการ
แพร่กระจายไปยังสมอง และกระเพาะอาหาร บางกรณีอาจ
พบการแพร่กระจายตามน้ำหล่อเลี้ยงไขสันหลังได้ เรียกว่า
Lymphomatous menignitisมะเร็งรังไข่ กระจายทั่วช่องท้อง ปอด ตับ (พบน้อย) สมองและผิวหนัง มะเร็งต่อมลูกหมาก กระดูก สมอง มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ อวัยวะในอุ้งเชิงกราน ปอด ตับ กระดูก
การป้องกันมะเร็งระยะแพร่กระจายและมะเร็งระยะสุดท้าย
วิธีการที่ดีที่สุดสำหรับการป้องกันมะเร็งระยะแพร่กระจายและมะเร็งระยะลุกลาม คือการตรวจพบมะเร็งตั้งแต่
ระยะเริ่มแรกและให้การรักษาอย่างทันท่วงทีก่อนที่จะมีการแพร่กระจายของโรค ดังนั้น การตรวจคัดกรองสำหรับโรค
มะเร็งจึงเป็นสิ่งจำเป็น เช่น การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมด้วยการตรวจเอกซเรย์เต้านม การตรวจคัดกรองโรค
มะเร็งปากมดลูกด้วยการตรวจแปบเสมียร์ การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วยการตรวจอุจจาระ และ/หรือการ
ส่องกล้อง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม วีธีการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งบางชนิดนั้นยังมีขีดจำกัด ทำให้บางครั้งกว่าที่จะตรวจ
พบมะเร็งได้ก็พบว่ามีการแพร่กระจายไปแล้ว
"มะเร็งกำเริบ" คืออะไร
มะเร็งกำเริบ (Recurrent cancer) หมายถึง การกลับมาเป็นซ้ำของมะเร็งหลังจากรักษาจนมีการหายขาด
ของโรค (Remission) แล้ว โดยการกำเริบในบริเวณมะเร็งปฐมภูมิและบริเวณใกล้เคียง เรียกว่า การกำเริบเฉพาะ
ที่ (Local recurrence) การกำเริบในต่อมน้ำเหลืองใกล้ๆ เรียกว่า การกำเริบในบริเวณข้างเคียง (Regional
recurrence) ส่วนการกำเริบในอวัยวะอื่นๆในร่างกาย เรียกว่า การกำเริบแบบมีการแพร่กระจาย (Metastatic
recurrence) ซึ่งการรักษามะเร็งกำเริบนี้ แม้ว่าสามารถทำได้ยากกว่าการรักษาครั้งแรก แต่ยังไม่จัดเป็นมะเร็งระยะ
ลุกลามหากยังสามารถรักษาให้หายได้ ยกตัวอย่างเช่น มะเร็งขนาดเล็กที่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด ต่อมามีการ
กำเริบเกิดขึ้นที่ตำแหน่งเดิม อาจสามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยการผ่าตัดเป็นบริเวณกว้างเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี ใน
กรณีที่มีการกำเริบแบบมีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น (Metastatic recurrence) แล้ว มักจัดว่าเป็นมะเร็งระยะ
ลุกลาม
การรักษามะเร็งระยะลุกลาม
ในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะลุกลามนั้น แม้ว่าจะไม่มีวิธีทำให้หายขาดจากโรคได้ แต่การรักษาเป็นสิ่งที่
จำเป็นยิ่ง ทั้งนี้เพื่อบรรเทาอาการเช็บป่วยอันเนื่องมาจากตัวโรค และเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย รวมทั้งยังช่วยยืด
ชีวิตของผู้ป่วยด้วย โดยผู้ป่วยและญาติสามารถมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเลือกวิธีการรักษาได้ตามความต้องการของ
ตนเอง เพื่อที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้อย่างมีความสุข ผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะลุกลามบางราย เมื่อทราบว่าตนเองมีความหวัง
เพียงน้อยนิดที่จะหายจากโรค เทียบกับความทรมานจากการรักษาแล้ว ก็เลือกที่จะไม่เข้ารับการรักษา แต่ในบางราย
ก็ต้องการการรักษาอย่างเต็มที่ จนในที่สุด เมื่อวาระสุดท้ายของชีวิตมาถึง ผู้ป่วยบางรายต้องการอยู่ที่บ้านกับครอบครัว
แต่บางรายต้องการอยู่ที่โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล ซึ่งสิ่งเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ผู้ป่วยสามารถตัดสินใจเลือกเองได้ ตาม
ความเหมาะสมและสถานการณ์ของตนเอง
ในการรักษาโรคมะเร็งระยะลุกลามนั้น มีหลากหลายแนวทาง หลากหลายวิธีการ โดยพิจารณาจากก้อนมะเร็ง
ปฐมภูมิและการแพร่กระจายของโรคเป็นหลัก ในที่นี้ขอกล่าวถึงแต่ละวิธีโดยสังเขปดังนี้
1. การผ่าตัด เป็นการรักษาหลักสำหรับโรคมะเร็ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการควบคุมโรคเฉพาะที่และเพื่อการ
หายขาดจากโรค แต่ในบางกรณีที่ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่มาก ไม่สามารถผ่าตัดออกได้หมด ก็จำเป็นต้องใช้วิธีการรักษา
อื่นร่วมด้วย เช่น การให้ยาเคมีบำบัดและการฉายแสง อย่างไรก็ดี ในการเลือกวิธีการรักษาด้วยการผ่าตัดนั้น จะพิจารณา
สภาวะของผู้ป่วยเป็นสำคัญ หากผู้ป่วยแข็งแรงดี การผ่าตัดน่าจะมีประโยชน์ แต่หากผู้ป่วยอยู่ในสภาพนอนติดเตียง ไม่
สามารถช่วยเหลือตนเองได้อยู่แล้ว การผ่าตัดน่าจะไม่เหมาะสม และยังเป็นการเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรก
ซ้อนจากการรักษาด้วย
สำหรับโรคมะเร็งระยะลุกลามนั้น การผ่าตัดจะพิจารณาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
เพื่อบรรเทาอาการและเพิ่มคุณภาพชีวิต รวมทั้งอาจช่วยยืดอายุของผู้ป่วยได้ด้วย เช่น ผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้
มีภาวะลำไส้อุดตันและอาการปวดเนื่องจากก้อนมะเร็ง การผ่าตัดเปิดถุงหน้าท้องในส่วนที่เหนือต่อบริเวณที่อุดตัน เพื่อ
ระบายอุจจาระออก จะช่วยบรรเทาอาการดังกล่าวได้ หรือในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานอาหารได้ การผ่าตัด
ใส่ท่อสายยางอาหารในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กจะเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วย
เพื่อหยุดเลือด ในกรณีที่มีเลือดออกจากทางเดินอาหาร ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการส่องกล้องเพื่อหาจุดเลือด
ออกและให้การรักษาโดยการจี้จุดที่มีเลือดออก หรือหากไม่พบจุดเลือดออกที่ชัดเจนก็อาจทำการผ่าตัดเข้าไปเย็บเส้น
เลือดหรือผ่าตัดเอาส่วนที่สงสัยว่ามีเลือดออกออกไป
เพื่อบรรเทาอาการปวด โดยเฉพาะกรณีที่มีการกดทับเส้นประสาท โดยอาจผ่าตัดเพื่อตัดเส้นประสาทนั้นหรือ
ผ่าตัดเพื่อเอาก้อนมะเร็งออกก็ได้
เพื่อป้องกันภาวะกระดูกหัก เช่นในกรณีที่กระดูกดูอ่อนแอ อาจทำผ่าตัดเพื่อใส่โลหะเข้าไปดามไว้เพื่อป้องกัน
การหักโดยเฉพาะกระดูกบริเวณต้นขา หรือในกรณีที่มีการหักของกระดูกเกิดขึ้นแล้ว การผ่าตัดจะช่วยบรรเทาอาการ
ปวดและทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้งานได้เร็วขึ้นด้วย
2. การฉายแสง โดยใช้รังสีเอ็กซ์พลังงานสูงเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง ในมะเร็งที่มีการลุกลามไม่มาก การฉายแสง
อาจทำให้หายขาดจากโรคได้ สำหรับโรคมะเร็งระยะลุกลามนั้น เป้าหมายส่วนใหญ่จะเป็นการรักษาแบบประคับประคอง
เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดมากกว่า โดยฉายแสงเพื่อลดขนาดของก้อนมะเร็งลง วิธีการฉายแสงมี 2 วิธีหลักได้แก่
2.1 การฉายแสงระยะไกล (External beam radiation) วิธีการฉายจะคล้ายกับการถ่ายภาพเอกซเรย์
ธรรมดา คือผู้ป่วยอยู่ห่างจากเครื่องฉายรังสีซึ่งจะยิงลำรังสีไปยังก้อนมะเร็งโดยตรง โดยจะทำการฉายวันละ 1 ครั้ง เป็น
เวลา 5 วันต่อสัปดาห์ รวมระยะเวลา 6-7 สัปดาห์ หรือในบางกรณีอาจฉายรังสีในปริมาณสูงเพียงแค่ 1-2 วันเพื่อควบคุม
อาการก็ได้ ผลข้างเคียงจากการฉายรังสีที่พบบ่อยได้แก่ อาการอ่อนเพลีย และผิวหนังแดงไหม้ในบริเวณที่ฉายรังสีปัญหา
ที่พบบ่อยในการฉายรังสีบริเวณศีรษะและลำคอ ได้แก่ปากแห้ง เจ็บปากและคอ กลืนลำบาก ไม่รู้รสชาติอาหาร เนื่องจาก
ต่อมน้ำลายถูกทำลายไป นอกจากนี้การฉายรังสีบริเวณช่องท้องอาจทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียน และท้องเสียจาก การ
ทำลายเซลล์ในเยื่อบุทางเดินอาหาร การฉายรังสีบริเวณทรวงอกอาจทำให้เกิดแผลเป็นในปอดได้ ทำให้มีอาการหายใจ
ลำบาก และการฉายรังสีบริเวณสมองอาจทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับความคิด และความจำได้เป็นเวลานานหลายเดือนหรือ
หลายปี
2.2 การฉายแสงระยะใกล้ (Brachytherapy) เป็นการใส่แร่เข้าไปในบริเวณที่เป็นก้อนมะเร็ง หรือ
บริเวณใกล้เคียงเพื่อเพิ่มปริมาณรังสีที่ไปยังก้อนมะเร็งโดยตรง ในขณะเดียวกันก็ช่วยลดปริมาณรังสีที่ไปยังเนื้อเยื่อ
ปกติด้วย
ในทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ได้มีการนำสารเภสัชรังสีมาใช้ในการรักษาโรคมะเร็งด้วย เช่น Strontium-89
และ samarium-153 โดยฉีดเข้าเส้นเลือดให้สารกระจายไปทั่วร่างกายไปยังบริเวณที่มีเซลล์มะเร็งอยู่ เพื่อปล่อยรังสี
ฆ่าเซลล์มะเร็ง นิยมใช้ในกรณีที่มีการแพร่กระจายของมะเร็งมายังกระดูกหลายๆ แห่ง ซึ่งการรักษาด้วยการฉายแสง
ระยะไกล นั้นอาจทำได้ไม่ครอบคลุม และการฉายในบริเวณที่กว้างอาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนมากขึ้น
อย่างไรก็ดี ในบางครั้งอาจจำเป็นต้องใช้หลายวิธีร่วมกัน เพื่อให้การรักษาเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
3. การรักษาโดยการใช้ยา (Drug therapy)
3.1 ยาเคมีบำบัด (Chemotherapy) อาจให้โดยการฉีด หรือ
การรับประทานก็ได้ โดยเมื่อยาถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดแล้วก็จะสามารถไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายได้จึงเหมาะกับ
โรคมะเร็งที่มีการแพร่กระจายไปทั่วร่างกายแล้ว นอกจากนี้ยังสามารถบรรเทาอาการอันเกิดจากตัวโรคได้โดยทำให้ก้อน
มะเร็งมีขนาดเล็กลง และอาจช่วยยืดอายุของผู้ป่วยได้ สำหรับผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการให้ยาเคมีบำบัด มีดังนี้
คลื่นไส้ อาเจียน
เบื่ออาหาร
ผมร่วง (เมื่อหยุดการรักษา สามารถกลับมาเป็นปกติได้)
เจ็บปาก
เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดการติดเชื้อ
เลือดออกง่าย
อ่อนเพลีย
อ่อนแรง
ซึ่งอาการต่างๆ เหล่านี้ สามารถป้องกันและรักษาได้ด้วยยา โดยในการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดนั้นควร
ประเมินผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นว่าคุ้มค่ากับผลการรักษาที่ได้รับด้วยหรือไม่
3.2 ฮอร์โมน (Hormonal therapy) โดยใช้ยาที่ออกฤทธิ์หยุดยั้งการทำงานของฮอร์โมนหรือลดการ
สร้างฮอร์โมน เช่น ในโรคมะเร็งเต้านม การใช้ยา Tamoxifen เพื่อยับยั้งผลของ Estrogen จะทำให้เซลล์หยุดการ
เจริญเติบโตทำให้ก้อนมะเร็งมีขนาดเล็กลง หรือในโรคมะเร็งต่อมลูกหมากนั้นก็มีการใช้ฮอร์โมนเพศชาย
Testosterone เพื่อหยุดการเจริญของเซลล์มะเร็ง ผลข้างเคียงของยาแต่ละตัวจะแตกต่างกันออกไป โดยส่วนใหญ่
จะทำให้มีอาการร้อนวูบวาบ เกิดลิ่มเลือดได้ง่าย และลดความต้องการทางเพศลง
3.3 Bisphosphonates เช่น Pamidronate (ชื่อการค้า Aredia), Zolendronic acid (ชื่อการค้า
Zometa) ใช้เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้แก่กระดูก เช่นในกรณีที่มีการแพร่กระจายของมะเร็งมายังกระดูกหรือในโรค
มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด Multiple myeloma จะลดอาการปวดและลดการทำลายเนื้อกระดูกลง ซึ่งจะเหมาะกับลักษณะ
การแพร่กระจายชนิดที่ทำให้กระดูกบางลงมากกว่าชนิดที่ทำให้มีการสร้างกระดูกเพิ่มขึ้น สำหรับผลข้างเคียงของยาใน
กลุ่มนี้คือ การทำลายกระดูกที่บริเวณเหงือกและฟัน ทำให้มีอาการเจ็บปวดมาก
3.4 Targeted Therapy จัดเป็นการรักษาวิธีใหม่ โดยใช้ยาหรือสารที่มีความจำเพาะเจาะจงกับเซลล์
มะเร็งเท่านั้น เพื่อลดผลที่จะเกิดกับเซลล์ปกติ ซึ่งการใช้ Targeted therapy นี้ จะไม่มีผลข้างเคียงของไขกระดูกหรือ
เซลล์เม็ดเลือดดังเช่นในการใช้ยาเคมีบำบัด แต่ก็มีผลข้างเคียงที่อาจเป็น อันตรายได้เช่นกัน เช่น Sunitinub
(ชื่อการค้า Sutent) ใช้ในโรคมะเร็งไต เป็นต้น
แหล่งที่มา : chulacancer.net