โรงพยาบาลรามาธิบดีคลีนิคหอบหืด สมุนไพร หอบหืด


1,172 ผู้ชม


โรงพยาบาลรามาธิบดีคลีนิคหอบหืด สมุนไพร หอบหืด


เตรียมตั้งคลินิกโรคหืดใน รพ.ทั่วประเทศ ตั้งเป้าลดจำนวนผู้ป่วย

สปสช.จับมือเครือข่ายคลินิกโรคหืด พัฒนารูปแบบบริการผู้ป่วยโรคหืดอย่างเป็นระบบ จัดตั้งคลินิกโรคหืดแบบง่ายใน รพ.ชุมชนทั่วประเทศ หลังนำร่องที่ขอนแก่นประสบผลสำเร็จ สามารถลดจำนวนผู้ป่วยภาวะหอบเฉียบพลันได้กว่าร้อยละ 20 และมีอัตราผู้ป่วยเข้าถึงบริการมากขึ้น ส่งผลผู้ป่วยไม่ต้องทุกข์ทรมานจากการหอบ ลดการรักษาในห้องฉุกเฉินได้
วันนี้ (15 ธ.ค.) ที่โรงแรมเอเชีย กทม.ในการประชุมใหญ่ประจำปีการดูแลผู้ป่วยโรคหืด ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างโครงการเครือข่ายคลินิกโรคหืด คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้มีพิธีลงนามความร่วมมือระหว่างโครงการเครือข่ายคลินิกโรคหืด และ สปสช.ในการพัฒนารูปแบบบริการผู้ป่วยโรคหืดอย่างเป็นระบบ
พญ.เขมรัสมี ขุนศึก-เม็งราย ที่ปรึกษาอาวุโส สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข พบว่า จำนวนผู้ป่วยโรคหืดที่เข้านอนรับการรักษาใน รพ.เพิ่มมากขึ้นทุกปี ในปี 2538 มีอัตรา 66,679 คน เพิ่มเป็น 100,808 คน ในปี 2550 และคาดว่า จะมีผู้ป่วยโรคหืดที่มีอาการหอบรุนแรงจนต้องไปรักษาที่ห้องฉุกเฉินไม่ต่ำกว่าปีละ 1 ล้านคน ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตต่ำ นอกจากนั้น พบว่า ผู้ป่วยโรคหืดในประเทศไทยที่ได้รับยาพ่น สเตียรอยด์ ซึ่งเป็นยาหลักที่ใช้ในการรักษาโรคมีเพียงร้อยละ 6.7 ซึ่งสอดคล้องกับผลการดำเนินงานของ สปสช.ในปี 2550 พบว่า การรักษาด้วยยาพ่นสเตียรอยด์ การประเมินสมรรถภาพปอด และการประเมินการใช้ยาสูด อยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 10 สะท้อนว่า ผู้ป่วยโรคหืดเข้าถึงบริการน้อยมาก
ทั้งนี้ สปสช.จึงได้พัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคหืด โดยเริ่มดำเนินการในปี 2551 นำร่องจัดบริการคลินิกโรคหืดแบบง่าย (Easy Asthma Clinic) ตาม รพ.ชุมชน ในพื้นที่ สปสช.เขตขอนแก่น โดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น ผลการดำเนินงาน พบว่า หน่วยบริการที่ให้การดูแลตามแนวทางที่กำหนดจะสามารถลดจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาด้วยภาวะหอบรุนแรงเฉียบพลันได้มากกว่าร้อยละ 20 และมีจำนวนผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยยาพ่นสเตียรอยด์จำนวนเพิ่มขึ้น ในปี 2553 ด้วยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงได้ขยายบริการคลินิกโรคหืดแบบง่ายใน รพ.ทั่วประเทศ เพิ่มเป็น 451 แห่ง และในปี 2554 จะขยายให้ครอบคลุมหน่วยบริการประจำทั่วประเทศ ซึ่งการลงนามความร่วมมือกับโครงการเครือข่ายคลินิกโรคหืดครั้งนี้ เป็นการสนับสนุนด้านวิชาการในการดำเนินการคลินิกใน รพ.นั่นเอง
รศ.นพ.วัชรา บุญสวัสดิ์ ประธานโครงการเครือข่ายคลินิกโรคหืด กล่าวว่า การจัดตั้งคลินิกโรคหืดแบบง่ายตาม รพ.ชุมชนนั้น เป็นการทำให้แนวทางการรักษาโรคหืดง่ายขึ้น เป็นการจัดระบบที่จะทำให้แพทย์ใช้เวลาน้อยลงในการดูแลผู้ป่วย และการให้ความรู้เรื่องโรคหืด รวมทั้งแนวทางการรักษาโรค ความรู้เรื่องยาและวิธีการใช้ยาพ่นชนิดต่างๆ แก่ผู้ป่วย ทำให้การดูแลรักษาผู้ป่วยมีประสิทธิภาพมากขึ้น ผลที่ได้รับจากการจัดตั้งคลินิกโรคหืดแบบง่าย คือ การรักษาโรคหืดในรพ.ชุมชนที่อยู่ห่างไกลจะได้มาตรฐาน มีการวัดประเมินสมรรถภาพปอด และมีการใช้ยา สเตียรอยด์เพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยโรคหืดมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ไม่ต้องทุกข์ทรมานกับอาการหอบ และสามารถลดการเข้ารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉิน และลดการนอนรักษาที่ รพ.ได้ด้วย
ทั้งนี้ มีหน่วยบริการที่เข้ารอบในการดำเนินกิจกรรมคลินิกโรคหืด 6 แห่ง ประกอบด้วย รพ.พหลพลพยุหเสนา จ.กาญจนบุรี รพ.ปากน้ำชุมพร จ.ชุมพร รพ.ขอนแก่น (กุมารเวชกรรม) จ.ขอนแก่น รพ.สมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ จ.หนองคาย รพ.สมเด็จพระยุพราช เชียงของ จ.เชียงราย รพ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช


แหล่งที่มา : 110.164.68.234/news_raja

อัพเดทล่าสุด